Group Blog
มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
8
9
10
12
13
14
15
16
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
แชร์การจัดดอกไม้จากหนังสือ

ตั้งแต่เรียนจัดดอกไม้จบมาสามปีก็ไม่มีโอกาสได้ไปเรียนเพิ่มและก็ไม่ได้จัดบ่อยอีกเลยอยากไปเรียนต่อแต่ก็ไม่มีเวลาแล้ว เวลาไปอ่านหนังสือจัดดอกไม่ดีๆเสียดายไม่ได้เก็บข้อมูลไว้อาศัยจำ เลยคิดว่าขอมีหน้านี้เพื่อจะรวบรวมอะไรดีๆมาแบ่งปันกันดีกว่า แต่ชุดสามจะเป็นการเอาข้อมูลมาจากที่อื่นน่ะค่ะ อาจไม่ได้จัดเองเหมือนบล็อกก่อนๆ

ความสำคัญของรูปทรง

คำว่า รูปทรง สำหรับนักจัดดอกไม้หมายถึง รูปแบบ รวมทั้งวิธีการจัดดอกไม้ที่มีลักษณะและข้อกำหนดเฉพาะ ซึ่งสามารถจำแนกความแตกต่างได้ทันทีที่มองเห็น รูปทรงมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทาง ช่วยให้การจัดดอกไม่จัดได้ง่ายขึ้น การรู้จักรูปทรงและขั้นตอนของการจัดทำให้สามารถพัฒนา ออกแบบ ผสมผสานการจัดดอกไม้ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้
การจัดดอกไม่รูปทรงเดียว ผู้จัดสามารถประยุกต์ใช้ได้ตามวาระโอกาส เช่นการจัดดอกไม้รูปทรงกลม (Round Arrangement) ผู้จัดจะปักดอกไม้ให้เป็นทรงนั้น แล้วดัดแปลงเช่นจะห้อยแขวนไว้ตามจุดต่างๆ นำไปวางประดับบนโต๊ะ หรือเป็นช่อเจ้าสาวก็ทำได้โดยหลักวิธีการจัดดอกไม้เหมือนๆกัน

รูปทรงของการจัดดอกไม้มีหลายทรง ผู้จัดสามารถดัดแปลงการจัดอย่างไรก็ตามก็ต้องยึดรูปทรงหลักเช่นทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า ทรงสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า ทรงกลม ทรงครึ่งวงพระจันทร์ ทรงโค้งโฮการ์ธ รูปทรงสร้างสรรค์(Creative Bouquet)

การจัดทรงช่อนอกจากอิงรูปทรงแล้วยังต้องมีส่วนขององค์ประกอบศิลป์ต่างๆดังนี้
เส้นแนว(Line ) ช่วยนำสายตาไปยังส่วนต่างๆของรูปทรง เส้นแนวแบ่งได้ ๒ ลักษณะดังนี้
1. เส้นแนวตรง Static Line ไม่ว่าจะเป็นแนวนอนหรือแนวทะแยง ให้ความรู้สึกมั่นคง ไม่เคลื่อนไหวแต่แข็งกระด้าง
2. เส้นแนวไม่ตรง(Dynamic Line) เป็นเส้นแนวคดโค้งบิดงอให้ความรู้สึกอ่อนช้อย

ช่องไฟ(Space) คือช่องว่างและส่วนหนาทึบระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ทั้งลักษณะความสูง ความกว่้าง ความหนา ความลึก แยกได้สองลักษณะ
1. ช่องไฟว่าง Negative Space ช่วยให้ดูโปร่งสบายและเป็นจุดพักสายตาในงานดีไซด์
2. ช่องไฟทึบ Positive Space เป็นบริเวณที่เต็มแน่นไปด้วยดอกไม้ ใบไม้ ริบบิ้นหรือวัสดุอื่นๆ ทำให้ดูมีน้ำหนักช่วยให้ระบุรูปทรงของดีไซด์ได้ง่าย

ลักษณะพื้นผิว Texture เป็นสิ่งที่เห็นได้ด้วยตา เช่น ความเนียนบางของดอกไม้ ผิวมันลื่นของริบบิ้น ผิวหยาบของกระดาษห่อ ความแตกต่างของพื้นผิวเหล่านี้ให้ความแตกต่างที่ทำให้เห็นรายละเอียดน่าดูชม

สี Colour สีมีส่วนสำคัญของงานดีไซด์ เพราะกระทบต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พบเห็น การเลือกสีที่เหมาะสมของดอกไม้ ริบบิ้นและกระดาษห่อล้วนต้องผสมกลมกลืนกันเช่นสีของกระดาษ ผ้าหรือริบบิ้น ควรมีสีเดียวกับดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งในช่อ สีที่ผู้จัดไม่ต้องระวังคือสีขาว ซึ่งไม่มีอยู่ในวงจรสีและสีเขียวที่สัมพันธ์กับสีของใบไม้ การเลือกสีตามหลักการเบื้องต้นทางศิลปะ ได้ดังนี้
๑.สีเอกณรงค์ Monochromatic คือการจัดดอกไม้สีเดียวทั้งช่อซึ่งในสีเดียวกันนี้มีทั้งสีอ่อน แก่และความเข้มของสีหลายระดับ ทำให้ชวนมองและกลมกลืนทั้งดีไซด์
๒.สีตรงกันข้าม Complementary Colour คือสีที่อยู่ตรงข้ามกับวงจรสี เช่น เขียวกับแดง น้ำเงินกับส้ม เหลืองกับม่วง เกิดความเด่นสะดุดตา
๓. สีตรีรงค์ Analogous Colour คือสีสามสีที่อยู่ติดกันในวงจรสีในกรอบมุม 90 องศา และหนึ่งในสีทั้งสามจะต้องเป็นแม่สี(Primary Colour คือสีแดง เหลือง น้ำเงิน ) สีที่ใช้ควรแบ่งปริมาณอต่ละสีให้มาก น้อยตามลำดับจะเกิดความชัดเจนและชวนมองได้มากกว่า
การรู้จักประสมประสานรายละเอียดั้งหมดเข้าด้วยกันกับการจัดช่อดอกไม้เป็นหัวใจสำคัญ

เพื่อนๆค่ะ หัวข้อนี้ไม่ได้เขียนละเอียดแบบการจัดดอกไม้ ๑และ๒ น่ะค่ะ ให้ย้อนไปดูการจัดดอกไม้ ๑และ๒ ทบทวนก่อนน่ะค่ะ เดี๋ยวขอเวลาเขียนแล้วจะทะยอยลงให้น่ะค่ะ

หัวข้อที่ ๑  การจัดดอกไม้รูปทรงสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า  Asymetrical Triangle




Create Date : 07 มิถุนายน 2556
Last Update : 10 มีนาคม 2557 15:56:10 น.
Counter : 4007 Pageviews.

1 comments
  
ขอให้มีความสุขกับวันทำงานนะคะ พี่มด
- HaPPy FriDaY – คะ
โดย: ลงสะพาน...เลี้ยวขวา วันที่: 7 มิถุนายน 2556 เวลา:15:31:26 น.

jewelmoda
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]



ผู้หญิงคนหนึ่ง ที่อยากทำงานด้านเด็ก อยากเป็นครู แต่กลับต้องไปทำงานแบงค์ เมื่อขอเออรี่ออกมา ขอหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก เพื่อการพัฒนาเด็กไทย

Myspace angels graphics
New Comments
Friends Blog
[Add jewelmoda's blog to your weblog]