Group Blog
เมษายน 2561

1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
เมืองลี้ภัย/ ปุโรหิต/ปฎิทินฮิบรู / / ที่ปรากฎในพระคัมภีร์เดิม


เมืองลี้ภัย  คือ หัวเมืองหกแห่งที่ได้ถูกกำหนดเป็นเมืองลี้ภัยสำหรับผู้ที่ไม่ได้เจตนาฆ่าคน
และไม่ได้เป็นอริกันมาก่อน มีการกำหนดที่สามหัวเมืองทางฟากตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน
คือ เบเซอร์ในเขตรูเบน  ราโมท  กิเลอาดในแดนกาด โกลานในเขตบาซานของเผ่ามนัสเสร์ 
และเพิ่มเติมอีกสามเมืองหลังยึดคะนาอันได้แล้ว คือ อยู่ทางฝั่งแผ่นดินคะนาอัน
(คาเดชในแดนนัฟทาลี  เชเคมในเขตเอฟราฮิม คิริยาทอารบาคือเมืองเฮโบรนในเขตยูดาห์ )
หัวเมืองเหล่านี้อยู่ภายใต้การปกครองและตัดสินของพวกเลวี ถ้ามีผู้ถูกฆ่ากฎหมายอนุญาต
ให้ญาติพี่น้องผู้ตายแก้แค้นแทนผู้ตายได้ ดังนั้นเพื่อปกป้องคนที่ไม่เจตนาฆ่าจึงกำหนดเมือง
เหล่านี้ให้ลี้ภัยได้   อาจจากอุบัติเหตุ การป้องกันตัว 
ในเมืองลี้ภัยนี้ ผู้อาฆาตไม่มีสิทธิฆ่าเขา ที่นั่นเขาจะถูกไต่สวนอย่างยุติธรรม ถ้าเขาไม่ผิดเขาจะ
ได้อาศัยในเมืองนี้ไปจนกว่าปุโรหิตประจำเมืองจะตาย เขาจึงจะได้กลับไปบ้านเมืองเขาได้โดย
ไม่มีผิด
.......................................................................................................................

ปุโรหิต คือ เมื่อพระเจ้าให้มนุษย์สร้างพลับพลาเป็นสถานที่นมัสการแล้ว พระองค์ยังสั่งให้โมเสส
เตรียมคนกลุ่มพิเศษทำหน้าที่ปรนนิบัติพระองค์ในพลับพา  คือ ปุโรหิต เพราะมนุษย์มีความบาปไม่
สามารถนมัสการพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ด้วยตนเองได้ จึงต้องมีปุโรหิตเป็นตัวกลางเพื่อจะทูลขอพระเจ้า
แทนเราและชั่วคราวสำหรับอิสราเอล 
ในครั้งแรก โมเสสนำอาโรนและบุตรชายของเขา คือนาดับ อาบีฮู เฮเลอาซาร์ และอิธามาร์ ซึ่งเป็น
เผ่าเลวี มาให้เป็นปุโรหิตปรนนิบัติในพลับพลา พระเจ้าให้โมเสสเรียกชนอิสราเอลออกมาที่หน้า
ประตูพลับพลาและ้วให้อาโรนและบุตรชายชำระตัวให้สะอาด  อาโรนแต่งกายชุดปุโรหิต 
ส่วนบุตรของเขาสวมเสื้อผ้าป่านและรัดประคด(ผ้าคาดเอว)กับหมวกผ้า(แต่ไม่มีแผ่นมงกุฎทองคำ)
โมเสสเจิมทุกสิ่งด้วยน้ำมัน เขาเผาเครื่องบูชาคือ แกะ แพะ วัว หลายตัวเพื่อใช้เลือดในการเจิม 
ใช้เนื้อและไขมันเป็นเครื่องบูชาและกินเลี้ยงต่อหน้าพระเจ้าด้วยพิธีถวายตัวนี้ทำเจ็ดวัน ในวันที่แปด
อาโรนได้ทำหน้าที่ปุโรหิตครั้งแรกเขาเข้าไปในสถานนมัสการ ถวายเครื่องบูชาไถ่บาปของประชาชน
ในฐานะตัวแทนชาวอิสราเอล และกลับออกมาอวยพรประชาชนในฐานะตัวแทนพระเจ้า เขาทำตาม
ทุกอย่างครบถ้วนตามพระเจ้าสั่งทางโมเสส  พระสิริของพระเจ้าเห็นเป็นเมฆได้เข้ามาทางพลับพลา
ปรากฎแก่ตาชาวอิสราเอล พระเจ้าให้มีไฟพวยพุ่งขึ้นที่แท่นเผาเครื่องบูชาหน้าพลับพลาจนไหม้
เครื่องบูชาทั้งหมดแสดงถึงการรับเครื่องบูชาของเขา ประชาชนเห็นการอัศจรรย์ดังนั้นก็โห่ร้อง
และซบหน้านมัสการ

หน้าที่ของปุโรหิต  คือ เผาเครื่องบูชาแด่พระเจ้าตามเกณท์กำหนดไว้ คือเป็นตัวแทนของ
ประชาชนในการนมัสการพระเจ้า  
เครื่องบูชาที่ปุโรหิตต้องถวายมีห้าอย่างคือ
1เครื่องเผาบูชา (Burnt offering)  
2 ธัญญบูชา(Meal offering)
3 ศานติบูชา(Peace offering)
4เครื่องบูชาไถ่บาป(Sin Offering)
5เครื่องบูชาไถ่กรรมบาป(Trespass offering)

เครื่องเผาบูชาแยกเป็นสองประเภคคือ  เครื่องบูชาด้วยใจสมัคร เป็นกลิ่นที่พอพระทัยแด่พระเจ้า
(1-3)และ เครื่องบูชาตามเกณท์ที่พระเจ้าให้ถวาย(4-5)

1เครื่องเผาบูชา (Burnt offering)  เป็นการถวายเพื่อแสดงการยอมจำนนและการอุทิศถวายแด่
พระเจ้าด้วยวัวและนกตัวผู้ไร้ตำหนิ ทั้งหมดจะถูกเผาไฟบนแท่นบูชาจนหมด 
2 ธัญญบูชา(Meal offering) เป็นพวกเมล็ดพืชและอาหารเช่ยอดแป้ง น้ำมันผสมกำยาน 
ขนมที่ปิ้งหรือทอด ทั้งหมดต้องไร้เชื้อใส่เกลือ จะถวายบางส่วนเผาบนแท่นบูชา 
กับกำยานทั้งหมดและถวายปุโรหิตหมด ในส่วนที่เหลือเป็นการแสดงความยินดีที่พระเจ้า
ประทานสิ่งดีๆให้แก่ชีวิต
3 ศานติบูชา(Peace offering)แสดงถึงความสัมพันธ์คืนดีมีสันติภาพกับพระเจ้า แสดงออกโดยการ
เลี้ยงด้วยความยินดี ความรัก ความสามัคคีธรรม  เครื่องถวายมีสามระดับ คือ วัว แกะ แพะ 
เมื่อถวายบางส่วนที่แท่นบูชาแล้วก็จะยกบางส่วนให้แก่ปุโรหิตและที่เหลือก็เป็นของผู้ถวาย 
ซึ่งมักจะนำไปเลี้ยงในครอบครัวหรือเพื่อนฝูง
4เครื่องบูชาไถ่บาป(Sin Offering) -ลนต.4 บังคับ- มีบาปที่ทำโดยไม่ตั้งใจและอยากกลับคืนดีกับ
พระเจ้า  ใช้สัตว์ใหญ่เล็กตามแต่สถานะชนชั้นในสังคม  เช่นปุโรหิตและชุมชนจะใช้วัว  ผู้นำใช้
แกะผู้หรือเมีย  ผู้ถวายไม่มีส่วนใดๆในเครื่องถวายนี้
5เครื่องบูชาไถ่กรรมบาป(Trespass offering) -ลนต5 บังคับ- ถ้ามีผู้ใดโกงของถวายโดย
ให้ไม่เต็มจำนวนขาดไป เช่น ค่าไถ่บุตรหัวปีหรือผลแรกของพืชผลที่ต้องชดใช้ 
การทำบาปผิดใดๆต่อพระเจ้า ทำผิดธรรมบัญญัติข้อต่างๆที่มีผลเสียหายต่อ
เพื่อนบ้านและต้องชดใช้ เช่น เข้านอนกับทาสที่คนอื่นได้สู่ขอไว้แล้ว(ลนต19:20-22)  
การหายจากโรคเรื้อน(ลนต.14:10-14 )หรือนาศีร์เป็นมลทิน (กดว.6:6-12) 
เครื่องบูชานี้แตกต่างจากเครื่องบูชาไถ่บาปอื่นๆ 
(4) คือมีการชดใช้ค่าเสียหายก่อนจะนำเครื่องบูชานี้มาถวาย การชดใช้กำหนดให้คืน
เต็มจำนวนและบวกเพิ่มอีก20% เป็นโทษปรับ  ผู้ถวายไม่มีส่วนใดๆในเครื่องบูชานี้
ซึ่งเครื่องบูชาเหล่านี้ประชาชนจะนำมาให้ปุโรหิตเพื่อถวายแด่พระเจ้าตามวาระต่างๆ
ตามสมัครใจ บ้างก็ตามเงื่อนไขกำหนดในธรรมบัญญัติ เช่นบาปที่ไม่ได้ตั้งใจ 
นอกจากนี้ปุโรหิตยังมีหน้าที่สั่งสอนกฎเกณท์ต่างๆเช่นเรื่องอาหาร ของมีมลทิน 
และเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดเรื่องสุขอนามัย โรคภัยต่างๆ เช่นโรคผิวหนัง โรคเรื้อน   
กฎเกณท์การเป็นอยู่เช่น การแต่งงาน การหมั้น  การทำผิดต่อสังคมเช่นฆาตกรรม ขโมย
เป็นผู้นำชุมชนในการฉลองเทศกาลต่างๆเช่น อยู่เพิง เพนเทคอสเต  
เป็นผู้รับของถวายที่ปชช.นำมาถวายพระเจ้าเช่น  ทศางค์  ค่าไถ่บุตรหัวปี   
สรุป   ปุโรหิตคือ ผู้นำด้านจิตวิญญาน  จิตใจ  สังคม  แต่เขาก็ต้องอยู่ภายใต้
กฎบัญญัติของพระเจ้าปุโรหิตเป็นตัวกลางในการนมัสการพระเจ้า เพราะมนุษย์ติดต่อพระเจ้า
โดยตรงไม่ได้ เขาไม่สามารถถวายเครื่องบูขาต่อพระเจ้าโดยตนเองได้ ต้องผ่านปุโรหิต
 ใครเข้าใกล้พระเจ้าจะต้องตายเพราะทรงบริสุทธิ์  แม้นแต่ปุโรหิตในเวลาที่เข้าไป
ในอภิสุทธิสถานจะไม่มีใครติดตามเข้าไปได้เพราะเป็นที่บริสุทธิ์ (ผู้ใดไม่บริสุทธิ์เข้าไปก็จะตาย)
และจะเข้าเพียงปีละครั้ง เวลาเข้าไปปุโรหิตจะมีเชือกผูกที่เอว ที่ชายเสื้อของปุโรหิตจะมี
กระดิ่งผูกไว้ เมื่อเดินก็จะมีเสียงกระดิ่งดังตลอดเวลา แต่ถ้าเสียงเงียบไปก็แสดงว่าตายแล้ว 
คนข้างนอกก็จะลากเชือกออกมา(เนื่องจากอภิสุทธิสถานไม่มีใครสามารถเข้าไปได้) 
ในปัจจุบันเราไม่มีปุโรหิตแล้วเพราะพระเจ้าส่งพระเยซู(โลหิตและชีวิต)เป็นทั้งปุโรหิต
และเครื่องบูชาแทนเรา  เรามี ไม้กางเขนและโลหิตของพระเยซูเป็นสะพานนำเรา
สู่พระเจ้าอย่างถาวรนิจนิรันต์


เครืองบูชาและการนมัสการ 
เครื่องบูชาและของถวาย  - เครื่องบูชาและของถวายนั้น ใช้นมัสการและขออภัยโทษ
 การถวายมีห้าแบบ มีจุดประสงค์หลักสองประการ
 -ประการแรกคือเพื่อการสรรเสริญ ขอบพระตุณและอุทิศถวาย 
 -อีกประการคือ เพื่อเป็นการลบล้าง ชดใช้ และชำระความผิดบาป การถวายสัตว์แสดง
ให้เห็นว่า คนถวายชีวิตของเขาเพื่อพระเจ้าผ่านทางชีวิตของสัตว์

................................................................................................................

ปฎิทินฮีบรู  -  เดือนของฮีบรูจะเริ่มกลางเดือนในปฎิทินปัจจุบัน การปลูกพืชเริ่มในเดือน
พฤศษจิกายนและธันวาคมและเก็บเกี่ยวในเดือนมีนาคมและเมษายน

เดือน            ปฎิทินปัจจุบัน     ข้อพระธรรมอ้างอิง                 วันหยุดของอิสราเอล
 1.นิสาน          มี.ค.-เม.ย.         อพย.13:4,23:15, 34:18      ปัสคา(ลนต.23:5)
(อาบีบ)                                  ฉธบ.16:1                         ขนมปังไร้เชื้อ(ลนต.23:6)
                                                                                  ผลแรก(ลนต. 23:10)

 2.ลียาร์(ศิฟ)    เม.ย.-พ.ค.        1พกษ.6:1,37                     ปัสคาครั้งที่สอง (กดว.9:10-                                                                                            11)      

 3.สิวัน            พ.ค.-มิ.ย.         อสธ. 8:9                            เพนเทคอส(สัปดาห์)                                                                                                      ลนต.23:16    
 4.ทามมุส        มิ.ย.-ก.ค.          
 5.อับ              ก.ค.-ส.ค.
 6.เอลูล           ส.ค.-ก.ย.        นหม.6:15
 7.ทิชรี            ก.ย.-ต.ค.        1พกษ.8:2                           เสียงแตร(กดว.29:1,ลนต.23:24)
  (เอธานิม)                                                                     วันลบบาป(ลนต.23:27)
                                                                                    พลับพลา(อยู่เพิง)ลนต.23:24
 8.มาร์เคชวัล    ต.ค-พ.ย.         1พกษ.6:38
   (บูล)
 9.คิสเลฟ         พ.ย.-ธ.ค.        นหม.1:1                             ฉลองพระวิหาร(ยน.10:22)
10.เทเบท        ธ.ค.-ม.ค.         อสธ.2:16
11.เชบัท         ม.ค.-ก.พ.         ศคย.1:7
12.อาดาร์        ก.พ-มี.ค.          อสธ.3:7                              ปูริม (อสธ.9:24-32)


เทศกาลและฤดูต่างๆในปฎิทินชาวยิว  จากภาษาเดิมที่แปลมาอาจออกเสียงต่างเล็กน้อย
จากฉบับข้างบน 

เดือนนิสาน  -  ฤดูใบไม้ผลิ เกี่ยวข้าวบาร์เลย์
                    วันที่  14 ปัศคา(อพย. 12:18,ลนต.23:5)
                            15-21 ขนมปังไร้เชื้อ(ลนต. 23:6)
                            16 ถวายผลแรก (ลนต.23:10-21)
เดือนลิยาร์    -  ฤดูร้อน
                     วันที่ 14 ปัศคา(กดว.9:10-11)
เดือนสิวัน     -  ผลมะเดื่อสุก
                     วันที่  6   เพนตาคอสหรือเทศกาลสัปดาห์(ลนต.23:15)
เดือนทัมมูส   -  เก็บผลองุ่น
เดือนอาบ     -  เก็บผลมะกอก
เดือนเอลูล    -  มะเดื่อฤดูร้อน   อินทผาลัม
เดือนทิชรี     -  ฤดูฝน
 วันที่  1  เป่าเขาสัตว์(กดว.,29:1 ,ลนต. 23:24)
                     วันที่  10   วันลบมลทินบาป (ลนต. 16:29,23:27)
                             15-21  เทศกาลอยู่เพิง (ลนต.23:34)
                             22   วันประชุมบริสุทธิ์ (ลนต.23:36)

เดือนมัชเชสวัน  - ไถพรวนดิน  มะเดื่อฤดูหนาว

เดือนคิสเลฟ    -  ฤดูหว่านพืชผล 
                        25  เทศกาลฉลองพระวิหาร(ยน.10:22)

เดือนเทเบท     - ฤดูฝนช่วงปลาย เริ่มฤดูหนาวช่วงต้น

เดือนเชบัท      - ฤดูหนาว  ต้นอัลมอนด์ผลิดอก

เดือนอาคาร์    -  เก็บผลส้ม
...................................................................................




ที่มา  : บทเรียนบ้านมรรคา /อมตธรรมเพื่อชีวิตฉบับอธิบาย/
 สำรวจพระคัมภีร์อาจารย์สุรศักดิ์ คจ.ใจสมาน /
สรุปบทเรียนพระคัมภีร์ของครูมดแดง และที่อื่นๆ




Create Date : 06 เมษายน 2561
Last Update : 21 เมษายน 2561 22:37:57 น.
Counter : 757 Pageviews.

0 comments

jewelmoda
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]



ผู้หญิงคนหนึ่ง ที่อยากทำงานด้านเด็ก อยากเป็นครู แต่กลับต้องไปทำงานแบงค์ เมื่อขอเออรี่ออกมา ขอหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก เพื่อการพัฒนาเด็กไทย

Myspace angels graphics
New Comments
Friends Blog
[Add jewelmoda's blog to your weblog]