This World Just Amazing!
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
13 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
ฆาตกรรมต่อเนื่อง (Serial Murder)

ฆาตกรรมต่อเนื่อง (Serial Murder)


คือ การฆ่าต่อเนื่องกัน 2 ครั้ง หรือมากกว่านั้น โดยเป็นเหตุการณ์ที่แยกกันส่วนมาก
แต่ไม่เสมอไป ที่ฆาตกรจะประกอบเหตุคนเดียว
(a series of 2 or more murders,
committed as separate events, usually,
but not always, by one offender acting alone)

คำนี้ถูกใช้ครั้งแรกโดยนักเขียนชาวอังกฤษ John Brody เมื่อปี 1966
ต่อมาคำนี้ถูกบัญญัติโดย The National Institute of Justice เมื่อปี 1988

Steve Egger ตีความว่าฆาตกรรมต่อเนื่องมีลักษณะ 6 ประการ คือ
1) มีเหยื่อมากกว่า 2 ศพ
2) ฆาตกร และเหยื่อไม่รู้จักกัน
3) การเกิดเหตุฆาตกรรมไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง (no direct connection to each other) และเกิดต่างเวลา
4) ฆาตกรมักเลือกสถานที่ก่อเหตุไม่ซ้ำกัน
5) เหยื่ออาจมีลักษณะคล้ายกับเหยื่อที่ถูกฆ่าก่อนหน้านี้ หรือเหยื่อที่จะถูกฆ่ารายถัดมา
6) ฆาตกรไม่ได้ทำเพื่ออามิตสินจ้าง แต่ทำเพื่อสนองความพอใจตามจินตนาการของตน
(the murders are not committed for material gain but for gratification based on fantasies)

ลักษณะของฆาตกรต่อเนื่อง
Holmes typology (Ronald M. และ Stephen T. Holmes)
แบ่งลักษณะของฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) ตามแรงจูงใจเป็น 2 แบบ

1. Act-focused (ฆ่าเร็ว) แบ่งเป็น
1.1 The visionary murders... ฆาตกรได้ยิน หรือเห็นภาพที่ชี้นำให้เกิดการฆ่า
1.2 The missionary murders... ฆาตกรเชื่อว่าตนมีภารกิจต้องกำจัดเหยื่อ

2. Process-focused (ฆ่าช้า)
ฆาตกรกลุ่มนี้จะหาความเพลิดเพลินกับการฆ่า โดยการทรมานเหยื่อ
และฆ่าให้ตายอย่างช้าๆ ความรู้สึกเป็นสุขจากการฆ่าเกิดจาก
- ความต้องการทางเพศ (Lust)
- ความตื่นเต้นเร้าใจ (Thrill)
- การได้มาซึ่งอำนาจ (Gain)

จากสถิติแล้วพบว่า..
- อายุฆาตกรที่เริ่มฆ่าศพแรก ประมาณ 27.5 ปี
- เป็นชาย 95 % โดย 73 % ของฆาตกรชายเป็นคนขาว
- อายุเฉลี่ยของฆาตกร ประมาณ 25-34 ปี
- จบปริญญาตรี และส่วนมากมีงานดีๆ ทำ
- เหยื่อมักมีลักษณะซ้ำกัน ลักษณะของเหยื่อ 67 % เป็นผู้หญิง เด็ก
ผู้หญิงขายบริการและคนชรา และที่น่าสนใจคือ 20 % เป็นผู้ชายที่ถูกฆ่า
รวมทั้งมีหลักฐานว่าถูกข่มขืนโดยฆาตกรด้วย
- มักใช้อาวุธประชิดตัวในการก่อเหตุ (Hands-on weapons) เช่น มักใช้มีดมากกว่าปืน
- มักเป็นลูกนอกสมรส
- มีความบกพร่องทางกายภาพ (Physical) ทางเพศ (Sexual) หรือทางอารมณ์ (Emotional)

เมื่อสืบประวัติย้อนหลัง พบว่าฆาตกรต่อเนื่องมักมีลักษณะแบบ MacDonald triad ในวัยเด็ก ได้แก่:
- ปัสสาวะรดที่นอนบ่อยๆ (Bed-wetting)
- ชอบเล่นไฟ หรือเคยมีประวัติวางเพลิง (Arson) และ
- ชอบทารุณสัตว์ (Cruelty to animals)

แล้วขณะฆ่า ฆาตกรคิดอะไรอยู่ ?
The Psychological Phases of Serial Killers

ปี 1988 นักจิตวิทยา Joel Norris
สัมภาษณ์ผู้ที่ถูกตัดสินแล้วว่าเป็นฆาตกรจากมลรัฐจอร์เจีย จำนวน 500 ครั้ง
และสรุประบบความคิดของฆาตกรต่อเนื่องได้ 7 ช่วง ได้แก่

1. Aura phase
- ฆาตกรเริ่มหลุดออกจากโลกแห่งความเป็นจริง เข้าสู่โลกแห่งความเพ้อฝัน
- ระยะนี้อาจเกิดในช่วงสั้นๆ หรือนานเป็นปี ฆาตกรอาจพยายามใช้ยาเสพติด
หรือเหล้าเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้

2. The trolling phase
- ฆาตกรเริ่มมองหา และสะกดรอยตามเหยื่อ

3. The wooing phase (หรือ Seduction phase)
- ฆาตกรทำให้เหยื่อเชื่อใจได้แล้ว ก่อนที่จะลวงเหยื่อไปสู่กับดัก

4. The capture phase
- ฆาตกรลวงเหยื่อไปกักขังได้สำเร็จ

5. The murder phase
- เกิดเหตุฆาตกรรม ลักษณะการฆ่ามักเป็นไปตามปมที่อยู่ในใจของฆาตกร
และประสบการณ์ในวัยเด็ก

6. The totem phase
- ฆาตกรรู้สึกถึงชัยชนะที่ได้จากการฆ่า บางคนจึงเก็บสิ่งที่ระลึก
เช่น ชิ้นหน้าหนังสือพิมพ์ หรือหนังสือที่ถูกตัดออกมา รูปถ่าย ชิ้นส่วนศพ
หรือกินชิ้นส่วนของศพ สวมใส่ผิวหนังของศพ
หรือโชว์ชิ้นส่วนของศพกับเหยื่อรายใหม่

7. The depression phase
- ฆาตกรมักจมอยู่กับความหดหู่ใจหลังการฆ่า (post-homicidal depression)
ความรู้สึกหดหู่ที่เกิดจะกระตุ้นให้ฆาตกรก่อเหตุขึ้นใหม่
จึงเป็นสาเหตุให้ฆาตกรต่อเนื่องไม่สามารถหยุดการฆ่าได้

ฆาตกรเลือดเย็น
ทำไมฆาตกรถึงไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือนกับการฆ่า ?

ดร. Adrian Raine เชื่อว่า ฆาตกรที่ไม่สะทกสะท้านต่อการฆ่า (Predatory killers)
และวางแผนฆ่ามาเป็นอย่างดี จะมีการทำงานของสมองส่วน Prefrontal cortex ดีกว่า
หรือมีการทำงานปรกติ เมื่อเทียบกับฆาตกรที่ฆ่าเพราะอารมณ์หรือขาดสติ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบการทำงานของสมองของฆาตกรกลุ่มนี้อย่างแน่ชัด

ทำไมฆาตกรถึงรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้..
ยังไม่ทราบกลไกแน่นอน
แต่เรื่องความเครียดกับพฤติกรรมก้าวร้าวนั้น จากการทดลองในสัตว์ทดลอง
พบว่า พฤติกรรมการขู่ ก่อนเข้าโจมตี (Threat) กับการล่าโดยไม่มีการขู่ (Predator)
ใช้สมองคนละส่วนกัน

ที่กล่าวถึงสมองและพฤติกรรมความก้าวร้าว
ได้จากการทดลองฟังอิเลกโทรดเข้าไปกระตุ้นสมองแมว
พบว่าเมื่อกระตุ้นสมองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมก้าวร้าวต่างบริเวณกัน
จะพบการตอบสนอง 2 แบบ คือ
- แสดงการขู่ แต่ไม่โจมตี และเกิดการกระตุ้นให้สัตว์มีความเครียด (Stress)
- โจมตี โดยไม่ขู่

เด็กบ้านแตก และแนวโน้มการเป็นฆาตกร
อิทธิพลจากครอบครัวมีผลต่อการเติบโตสู่ความเป็นฆาตกรจริงหรือ?

ดร. Adrian Raine สแกนสมอง เปรียบเทียบระหว่างคนปรกติ กับ
ฆาตกรที่มาจากครอบครัวแตกแยก เช่น มีประวัติถูกล่วงละเมิดทางร่างกาย หรือทางเพศ
และฆาตกรที่มีครอบครัวปรกติ

- พบว่าฆาตกรที่มีครอบครัวปรกติ มีสมองส่วน Prefrontal cortex
ทำงานผิดปรกติมากกว่า เมื่อเทียบกับอีก 2 กลุ่ม
แสดงให้เห็นว่าความอบอุ่นในครอบครัวสำคัญต่อการป้องกันการเกิดฆาตกร

- คนที่มีครอบครัวปรกติคนหนึ่ง ต้องเกิดความผิดปรกติทางชีวภาพจริงๆ
จึงจะกลายเป็นฆาตกรได้

- ครอบครัวมีอิทธิพลอย่างมากในการผลักดันคนปรกติ
หรือเกือบจะคล้ายคนปรกติ ให้เขาเหล่านั้นกลายเป็นฆาตกร

---------------------



Create Date : 13 มกราคม 2553
Last Update : 13 มกราคม 2553 21:50:59 น. 0 comments
Counter : 525 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

JesperTR
Location :
นครสวรรค์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Hello Everyone!
ฟองน้ำลอยขึ้น พลุแตก อักษรวิ่งที่แถบล่าง นาฬิกาและปฏิทิน Flash
Friends' blogs
[Add JesperTR's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.