Let's Diving and Take Photo
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
15 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 

พ.บ. M.D. Ph.D. , ... (ตอนที่ 1)

เคยเห็นวุฒิการศึกษาที่เขียนตามหลังชื่อกันบ้างไหม
ก็อาจจะเคยเห็นได้ตามนามบัตรทั่วๆไป อย่างเช่น วศ.บ. ก็เป็นตัวย่อของ "วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต" หรือว่า น.บ. ก็คือวุฒิ นิติศาสตร์บัณฑิต"
หรือถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะมีเหมือนกัน เช่น Eng.B. ก็คือ Bachelor of Engineering หรือว่า Sc.B. ก็คือ Bachelor of Science
หรือถ้าเป็นวุฒิปริญญาโท ก็จะเช่น วท.ม. ก็คือ "วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต" ภาษาอังกฤษ ก็เรียกว่า Sc.M. - Master of Science
เกริ่นนำมาคร่าวๆ ก็จะมาเล่าถึงวุฒิที่เราคุ้นอยู่ แล้วก็มักมีคนสับสนกันอยู่บ้าง ก็คือวุฒิการศึกษาทางการแพทย์

เมืองไทย เรียนแพทย์จบง่ายกว่าหลายๆประเทศ ก็คือเรียนจบม.ปลาย สอบคัดเลือกเข้าคณะแพทย์ได้ ก็สามารถเรียนวุฒิแพทยศาสตร์ได้เลย ใช้เวลาเรียนแค่ 6 ปี (ตามเกณฑ์) แต่อย่างบางประเทศ เช่นที่อเมริกา คนจะเรียนแพทย์ได้ ต้องได้ปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์มาก่อน 1 ฉบับ แล้วก็ค่อยมาดำเนินตามขั้นตอนการเข้ามหาวิทยาลัยของเขาต่อไป ก็ใช้เวลาเรียน 4-6 ปีว่ากันไป
ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง ER ก็อาจจะเห็นนักศึกษาแพทย์ของเขา ดูสูงวัย หรือว่า Resident อาจจะมีลูกมีครอบครัวกันไปแล้วก็มี เพราะว่าเขาใช้เวลาเรียนนานกว่าเรามาก

แต่วุฒิการศึกษาออกมา กลับเทียบเท่ากัน น่าแปลกดีครับ

เรียนแพทยศาสตร์ 6 ปีที่เมืองไทย ก็จะได้วุฒิ พ.บ. หรือ "แพทยศาสตร์บัณฑิต" เป็นวุฒิปริญญาตรี เทียบเท่าปริญญาโท คำนี้ หมายความว่า ถ้าไปรับตำแหน่งข้าราชการ ก็จะได้บรรจุในวุฒิปริญญาโท เนื่องจากเห็นว่าเรียนมา 6 ปี แต่วุฒิ ลงท้ายเพียงคำว่า "บัณฑิต" ไม่ใช่ "มหาบัณฑิต"
ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า ไม่มี แพทยศาสตร์มหาบัณฑิต หรือว่า แพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ที่เป็นวุฒิปริญญาโท และเอก ตามลำดับนั่นเอง
ดังนั้น เรียนแพทย์ จบมาก็ได้แค่ พ.บ. ไม่มีการมาเรียนต่อ ปริญญาโท หรือเอก สาขาวิชาแพทยศาสตร์ อีกต่อไป

ถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เมืองไทย ก็ให้เขียนเป็นวุฒิถึงขั้นปริญญาเอก (อาจจะเห็นว่า เป็นวุฒิสูงสุดของสาขาวิชานี้แล้ว ไม่มีมากกว่านี้อีกแล้ว) นั่นคือ เขียนเป็น M.D. หรือว่า Doctor of Medicine ถ้าเป็นที่อเมริกา การจะได้วุฒินี้ตามท้ายชื่อ ก็ต้องเรียนตามขั้นตอนอย่างที่บอกไว้ข้างต้น แต่ที่ไทย เรียน 6 ปี ก็ได้วุฒิแบบนี้ ตามท้ายชื่อแล้วครับ

แต่อย่างบางประเทศ เช่นที่อังกฤษ เขาไม่ใช่วุฒิแพทยศาสตร์ ว่าเป็น M.D. ครับ เขาจะใช้เป็น M.B.,B.S. หรือคำเต็มๆว่า Bachelor of Medicine, Bachelor of Surgery ก็เห็นๆอยู่ว่าเขียนว่าเป็นวุฒิปริญญาตรีครับ ซึ่งถ้าว่าตามชื่อเรียกแล้ว เมืองไทยก็น่าจะใช้คำเรียกวุฒิคำนี้มากกว่า เพราะเราก็ได้เพียงวุฒิปริญญาตรีเท่านั้นเองครับ

แค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ เดี๋ยวคราวหน้าจะมาเล่าว่า แล้วหมอที่เรียนต่อล่ะ จะได้วุฒิอะไร ไม่ได้เป็นปริญญาบัตร แล้วเป็นอะไร แล้ววุฒิปริญญาเอก อันอื่นๆ เรียกว่าอะไรบ้าง...
...




 

Create Date : 15 พฤศจิกายน 2549
3 comments
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2549 22:31:11 น.
Counter : 9332 Pageviews.

 

ขอบคุณที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนหมอนะคะ
ไม่เคยรู้มาก่อนเลยนะเนี่ยะ
อืมมม ยังคิดอยู่ว่าจะให้นู๋อาบิเกลเรียนหมอดีรึป่าวอ่ะค่ะ
ตอนนี้นู๋อาบิเกลอายุขวบจะครึ่งแล้ว ยังเตรียมตัวทันมั๊ยคะ
อิอิ ล้อเล่นน๊าคุณหมอ

 

โดย: Bee1st 15 พฤศจิกายน 2549 22:57:19 น.  

 

อึ๊ยส์ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ หมอ ..... เค๊ากลัวอ่ะ กลัวเข็มฉีดยา ....สยองงงงงงง ...

 

โดย: @ ปั๊กกาเป้า @..อิอิ 15 พฤศจิกายน 2549 23:17:49 น.  

 

โห่ ฉันผู้ซึ่งเห็นเนื้อหานี้ ปี 2549 เลยยยยย มีต่อไหมคะ

 

โดย: วิดา IP: 182.232.195.181 7 ธันวาคม 2566 19:03:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


jeafish
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Let's Diving and Funning with Photography
Friends' blogs
[Add jeafish's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.