Be a master of your destiny, not a slave of your own fears.
 
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
4 ตุลาคม 2550

กรณีศึกษาเรื่อง CSR ที่จักราช

ในช่วงปีที่ผ่านมาเราคงจะได้ฟังได้ยินแนวคิดการบริหารจัดการที่ได้รับการกล่าวถึงในสังคมค่อนข้างมากคือเรื่องของการบริหารจัดการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR (Corporate Social Responsibitity) แนวคิด CSR นั้นที่จริงมีมานานแล้วแต่ไม่ได้การพูดถึงหรือกล่าวขวัญถึงกันมาอย่างเช่นในปัจจุบัน ในปัจจุบันเมื่อสภาพแวดล้อมและสังคมถูกละเลยจากการใช้ชีวิตบนโลกกลมๆ ใบนี้อย่างขาดความรับผิดชอบจากคนในมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือการปรับสมดุลของโลกที่ทำให้ก่อเกิดเป็นปัญหาต่างๆ อย่างมากมายในสังคมที่เราอาศัยอยู่ ภาคธุรกิจเองก็เป็นตัวเร่งส่วนหนึ่งที่ทำให้ปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงมาขึ้น

เมื่อการแข่งขันในธุรกิจรุนแรงมากขึ้น มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นเท่าใดสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมก็ถูกทำลายมากขึ้นตามไปด้วยเนื่องจากการทำธุรกิจนั้นจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเท่าที่สามารถหามาทุ่มลงเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอด สามารถยืนได้ท่ามกลางการแข่งขัน ทรัพยากรที่เราสูญเสียไปนั้นไม่ใช่แค่เพียงสภาพแวดล้อม เช่น ป่าไม้ แม่น้ำลำคลอง สินแร่ในดิน หรือในอากาศเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของภาวะเสื่อมทางสังคมเช่น การตกงาน การมีขาดสุขอนามัยของคนเรา การขาดโอกาสในทำงาน หาเลี้ยงชีพ ปัญหาความแตกแยกของครอบครัว ปัญหายาเสพติด การด้อยโอกาสทางสังคม ปัจจุปันสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต่างก็ยอมรับว่าต้องได้รับการเยียวยาแก้ไข โดยทุกภาคส่วนต้องเป็นผู้เข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจที่เป็นผู้ผลิต ผู้สร้าง และผู้ทำลาย ในเวลาเดียวกัน การพัฒนา การจับจ่ายใช้สอยที่ขาดทิศทางเหล่านี้แทนที่จะเป็นการพัฒนาสังคมประเทศให้ยั่งยืนแต่กลับกลายเป็นคมอีกด้านที่บาดลึก ทำให้สังคมขาดความยั่งยืน และเกิดการล่มสลายของสังคมและประเทศชาติ

สภาพเหล่านี้หากมองจากสังคมไทยเอง เราก็อาจจะรับรู้กันว่าเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ๆ เช่นเชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี หรือขอนแก่น นั้นสภาพที่เติบโตแบบก้าวกระโดด จังหวัดเหล่านี้มีรายได้ต่อหัวของประชากรที่ค่อนข้างสูงกว่าจังหวัดที่ได้รับการพัฒนาน้อย ทำให้เกิดการหลั่งไหลอพยพกันเข้ามาอยู่ในเมืองมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งในเมืองใหญ่มีคนมาขึ้นเท่าไร รัฐก็จำเป็นต้องสร้างสารธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยายตัวของเมื่องมากขึ้นเท่านั้น และเมื่อใดที่เรายิ่งทำให้เมืองใหญ่เจริญขึ้นก็ยิ่งมีคนหลั่งไหลกันเข้ามาอยู่อาศัยและประกอบอาชีพอยู่อาศัยกันมากขึ้น เพราะสิ่งที่เมืองใหญ่มีให้กับคนที่มาจากต่างจังหวัดก็คือ “โอกาส” โอกาสที่หาได้ยากจากการที่อยู่ในเมืองเล็ก ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการประกอบอาชีพ โอกาสที่จะได้รับการศึกษาจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยดีๆ โอกาสที่จะมีงานดีเงินเดือนสูงและมีงานทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบที่เห็นได้ชัดก็คือ ทำให้จังหวัดเล็กๆ หลายจังหวัดขาดแรงงาน ขาดโอกาสในการพัฒนาและข้อสำคัญคือขาดโอกาสที่จะได้รับความสนใจ ภาคธุรกิจเองก็ไม่ค่อยอยากจะไปลงทุน หรือลงหลักปักฐานในต่างจังหวัด เพราะการที่มีผู้คนอยู่อาศัยน้อยก็ทำให้โอกาสการขาย และขยายธุรกิจเป็นไปได้ช้าและลำบากกว่าการปักหลักทำธุรกิจอยู่ในเมืองใหญ่ และถึงแม้เมืองเล็กจะมีค่าครองชีพที่ต่ำ แต่กำลังซื้อของปประชากรในเมืองเล็กนั้นก็มีต่ำตามไปด้วย

และเพื่อที่จะทำให้รับรู้แนวคิดและต้นแบบที่ดีของเรื่องการทำ CSR มากขึ้น เมื่อเดือนที่แล้วผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมกิจการของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ในพื้นที่อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา สำหรับสมาคมนี้ก่อตั้งโดยคุณมีชัย วีระไวทยะ สมาคมนี้นั้นพัฒนามาจาก "สำนักงานบริการวางแผนครอบครัวชุมชน" ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2517สมาคมพัฒนาปประชากรและชุมชน เป็นองค์กรเอกชน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในเขตชนบทและเขตเมืองให้ดียิ่งขึ้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาองค์กรแห่งนี้ได้รับรางวัลในด้านการดำเนินงานและส่งเสริมสังคมเป็นจำนวนมากจากทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับข้อมูลบางส่วนในเรื่องนี้ผมได้รับความเอื้อเฟื้อจากท่านผ.อ.ศูนย์ฯ จักราช คือท่านผ.อ.บุญเชิด อำเภอจักราชนั้นเป็นอำเภอหนึ่งที่มีปัญหาเรื่องหนี้สินครัวเรือนของประชากร จากการสำรวจของสมาคมพบว่าในอำเภอจักราชนั้นมีครัวเรือนอยู่ 101 ครัวเรือนแต่เป็นครัวเรือนที่มีหนี้สินทั้งหมดรวม 83 ครัวเรือน หรือมีครัวเรือนที่มีปัญหาหนี้สินคิดเป็น 82% ของครัวเรือนทั้งหมด สำหรับอาชีพหลักที่ชาวบ้านในอำเภอนี้คือการเกษตร และพืชหลักที่ปลูกคือข้าว มันสัมปะหลัง และอ้อย ซึ่งราคาของพืชเกษตรไม่สามารถทำให้เกษตรกรสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยไม่มีหนี้สิน เมื่อรายได้ต่ำกว่ารายจ่าย ผลกระทบหลักของคนในอำเภอนี้ที่เกิดขึ้นก็คือ การต้องมีหนี้สินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกิดการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองใหญ่ และเยาวชนที่อยู่ในเขตอำเภอดังกล่าวมีคุณภาพที่ด้อยลง ซึ่งเป็นปัญหาเรื้องรังและยังไม่มีการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ จนเมื่อสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนเริ่มเข้ามาก็ได้นำแนวคิดใหม่เข้ามาทำเป็นต้นแบบของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยนำแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมเข้ามาใช้ซึ่งก็ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี


ที่มา:สมาคมพัฒนาระชากรและชุมชน

แนวคิดของการทำ CSR ในกรณีคือการมองจากมุมมอง 3 ด้านคือ ทางด้านสังคม เศรษฐกิจชุมชน และองค์กรชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจาก 3 หน่วยงานคือภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคธุรกิจ

วิธีการที่สมาคมฯ ได้ดำเนินการคือการเข้าไปสำรวจปัญหาที่แท้จริงของชุมชน ซึ่งก็พบปัญหาเรื่องการมีรายได้ไม่สมดุลกับรายจ่ายอย่างที่ได้กล่าวถึงในตอนต้น จากนั้นทางสมาคมก็กลับหาแนวคิดในการแก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่งปัญหาด้านรายได้ไม่พอเพียงนั้นสมาคมพบว่าเป็นปัญหาหลักที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนของชุมชนนี้ หากแก้ปัญหาเรื่องรายได้น้อยได้ ปัญหาเช่นการอพยพ ปัญหาด้านคุณภาพของเศรษฐกิจชุมชม ก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย เพื่อให้แนวคิดมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นสมาคมจึงมองไปหนทางที่จะทำอย่างไรถึงปประชากรในชุมชนจึงจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในส่วนที่ผมจะกล่าวนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการทำ CSR ในแง่ของการสร้างงานให้กับเยาวชน

สำหรับกลุ่มเยาวชนในเขตพื้นที่อำเภอจักราชเมื่อก่อนเมื่อเยาวชนเรียนจบก็จะย้ายไปทำงานที่จังหวัดอื่น ดังนั้นรูปธรรมของแนวคิดก็คือ แทนที่จะทำให้คนวิ่งไปหาโรงงาน ก็เปลี่ยนเป็นเอาโรงงานวิ่งมาหาคน ซึ่งทางศูนย์จักราชก็ได้ดำเนินการประสานงานและนำภาคเอกชนให้มาตั้งโรงงานในพื้นที่ ซึ่งถ้ามองไปก็คล้ายๆ กับการสร้างนิคมอุสาหกรรมย่อย เพื่อสร้างาน ลดการเคลื่อนย้ายของประชากร เพิ่มงานให้เข้าสู่ท้องถิ่นและสร้างรายได้ให้เยาวชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในพื้นที่

ผลของการดำเนินงานของสมาคมนั้นถือว่าประสบความสำเร็จจนสามารถเป็นแบบอย่างได้ ซึ่งสามารถดูได้จากการที่พื้นที่แห่งนี้ได้รับความสนใจจากบริษัทต่างๆ เข้ามาลงทุนสร้างงานให้แก่ชุมชนจากหลายองค์กรเช่น บริษัทไนกี้ บริษัทสหยูเนี่ยน เอส ซี เอส สปอร์ตแวร์ ซึ่งมาสร้างโรงงานในการผลิตรองเท้า บริษัทเลฟอร์มอินท์เมทส์ มาลงทุนสร้างโรงงานทำชุดชั้นในสตรีเพื่อการส่งออก บริษัทรุ่งโรจน์การปัก บริษัทเว่ยไท่เอ็นเตอร์ไพท์ ทำโรงงานรับปัก โลโก้ เครื่องหมายการค้า บริษัทเจวา เอ็นอี ทำชุดเสื้อผ้ายีนส์สำเร็จเพื่อการส่งออกเป็นต้น

ต่อคำถามที่ว่าแล้วสังคมได้รับประโยชน์อะไรจากการลงมือลงแรงในครั้งนี้ สิ่งที่เห็นได้ชัดในด้านสังคมก็คือครอบครัวในอำเภอจักราชนั้นมีความแข้มแข็งมากขึ้น เยาวชนมีเป้าหมายในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า ไม่เร่ร่อนหรืออพยพไปหางานในแหล่งอื่นๆ ครอบครัวอยู่ด้วยกันอย่างพร้อมหน้า ในด้านเศรษฐกิจชุมชนก็เกิดการกระตุ้นให้พื้นที่เกิดความน่าสนใจที่คนจะมาลงทุนมากขึ้น เนื่องเพราะมีแรงงานอยู่ในพื้นที่ ส่วนหนึ่งนั้นแรงงานที่มีฝีมือ พ่อแม่ของเยาวชนเมื่อยามว่างจากการเกษตรก็มีการสร้างงานในชุมชนเช่นการเลี้ยงสัตว์ การทำสบู่ การทำพืชสวน พืชไร่ต่างๆ ที่แปลกไปกว่าที่เคยทำ ซื้อขายกันในหมู่บ้าน ในอำเภอ เมื่อคนในชุมชนมีงานทำ มีรายได้มากขึ้น รัฐก็สามารถเก็บภาษีจากท้องถิ่นได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งรัฐก็นำภาษีเหล่านั้นกลับเข้ามเพื่อพัฒนาชุมชนเป็นไฟฟ้า ถนนหนทางน้ำประปา สาธารณูปโภคต่างๆ

ด้วยการมีเป้าหมายที่จะทำประโยชน์ให้กับสังคมนั้นสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนได้แสดงให้เห็นเป็นต้นแบบว่าธุรกิจจะมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคมได้อย่างไร และแนวคิดในการสอดประสานเพื่อให้สังคมเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นไม่ใช่จะเป็นเรื่องที่ไกลตัวเราอีกต่อไป ทั้งบริษัทเองที่เข้าร่วมก็ได้ผลประโยชน์จากการทำให้ชุมชนแข็งแรงและเกิดคุณค่ามากขึ้น ผมคิดว่าหากท่านต้องการเห็นการปฏิบัติเรื่อง CSR ที่ลึกลงไปกว่านี้ไม่ใช่แต่เข้าใจในแค่เรื่องแนวคิด ลองสละเวลาซักนิดเข้าไปเยี่ยมชม และเรียนรู้การทำ CSR ที่อำเภอจักราชได้ครับ




Create Date : 04 ตุลาคม 2550
Last Update : 4 ตุลาคม 2550 10:36:45 น. 3 comments
Counter : 2799 Pageviews.  

 
เป็นความคิดที่ดีมาก ส่งเสริม สร้างงาน รายได้ ไม่ละทิ้งถิ่นให้คนในชุมชน สมาคมฯ ทำธุรกิจเพื่อสังคมทำให้สังคมดีขึ้น

ชื่นชมความตั้งใจครับ


โดย: anusit IP: 117.47.89.134 วันที่: 17 ตุลาคม 2550 เวลา:10:04:46 น.  

 


โดย: sam IP: 124.120.90.108 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:48:34 น.  

 


โดย: น้น IP: 124.120.90.108 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:49:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Jazz-zie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





ค้นหาใน GOOGLE.CO.TH
[Add Jazz-zie's blog to your web]