Group Blog
 
 
ธันวาคม 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
11 ธันวาคม 2559
 
All Blogs
 
วิธีดูครีมกันแดด และพื้นฐานที่ควรรู้





เวลาเราได้ยินโฆษณาเกี่ยวกับครีมกันแดด คำที่เราได้ยินบ่อยที่สุดก็คือ SPF และ PA และบ่อยครั้งมากที่เรามักถูกทำให้เข้าใจว่า ยิ่งมีทั้ง 2 ค่านี้สูงเท่าไรยิ่งดี แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น วันนี้เราจะทำความเข้าใจกับ 2 คำนี้ อย่างถูกต้องและถ่องแท้กันนะครับ เพื่อให้เราสามารถการเลือกครีมกันแดดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น

ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าใจ 2 คำนี้ เรามาทำความเข้าใจแสงแดดกันก่อนนะครับ
แสงแดดจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆคือ UV และแสงขาว ในส่วนของ UV ก็จะแบ่งเป็น UVA, UVB, UVC อย่างไรก็ตามตัวที่สร้างปัญหาให้ผิวเรามีแค่ UVA และ UVB เพราะ UVC โดนชั้นบรรยากาศกรองออกไปหมดแล้ว

UVA จะทำให้เกิดปัญหาริ้วรอย ความแก่ ผื่น การระคายเคือง
UVB จะทำให้ผิวไหม้ กระตุ้นเมลาโทนิน ทำให้ผิวดำ ทำให้เกิดฝ้า

ทีนี้ SPF เนี่ย มันเป็นค่าที่บอกถึงประสิทธิภาพในการป้องกันผิวไหม้แดงจากรังสี UVB เมื่อเทียบกับไม่ได้ทากันแดด

ทีนี้ เลข SPF บอกอะไร?
เลข SPF จะบอกเราว่าครีมกันแดดนั้น สามารถป้องกันรังสี UVB ได้มากน้อยขนาดไหน คร่าวๆก็ตามนี้ คือ

SPF 2-14 ป้องกัน UVB ได้ 50 – 92%
SPF 15-29 ป้องกัน UVB ได้ 93 – 95%
SPF 30-50 ป้องกัน UVB ได้ 96 – 97 %
SPF 51 ขึ้นไป ป้องกัน UVB ได้มากกว่า 98%

เอาง่ายๆก็คือ เลขยิ่งเยอะก็ป้องกันได้เยอะนั่นแหละ แต่ถามว่ามันมีนัยสำคัญมากไหม ถ้าเราพิจารณาดูดีๆ ก็จะเห็นว่า SPF แค่  15 ก็ป้องกันได้ถึง 93% เพราะฉะนั้น SPF เยอะกับน้อย ป้องกันได้ต่างกันเยอะไหม คำตอบคือ แทบไม่ต่าง ที่ต่างจริงๆ คือ ระยะเวลาครับ

วิธีคิดง่ายๆก็คือ ให้เอาระยะเวลาที่คนนั้นโดนแดดได้คือ คือโดนแล้ว ไม่ไหม้ ไม่แดง คูณกับเลข SPF ซึ่งระยะเวลานี้ แต่ละคนไม่เท่ากันนะครับ เพราะผิวแต่ละคนรับแสงแดดได้ไม่เท่ากัน บางคนโดนแปบเดียวก็ไหม้ บางคนผิวทนหน่อยก็รับได้นาน 

ยกตัวอย่างเช่น ผมสามารถโดนแดดได้ 30 นาที ก่อนที่ผิวจะไหม้ ถ้าใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 30 ตัวครีมจะสามารถกันแดดได้นาน 30 x 30 = 900 นาที หรือ 15 ชั่วโมงเลยทีเดียวก่อนที่ผิวผมจะไหม้ ซึ่งเราโดนแดดเต็มที่ก็ 12 ชั่วโมง คือสุดๆแล้ว เพราะกลางวันมีแค่ 12 ชั่วโมง เพราะฉะนั้น SPF ที่สูงมากเกินจึงไม่ได้มีความจำเป็นครับ ในทางกลับกัน ยิ่งครีมกันแดดที่มี SPF สูงๆ ก็จะเพิ่มการอุดตันทำให้เป็นสิวได้ง่ายอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ตัวเลขพวกนี้เป็นตัวเลขในห้องทดลองครับ ในสภาวะจริงมันจะมีเหงื่อของเราที่คอยชะล้างครีมกันแดดออกไปอีก เพราะฉะนั้นเวลาใช้จริง มันจะไม่ได้กันแดดได้นานเท่าที่คำนวณกันไว้นะครับ

ส่วนอีกตัวเลขคือ PA ซึ่งมันก็จะมี

PA+
PA++
PA+++

PA เนี่ยมันเป็นตัวเลขที่บอกถึงความสามารถในการป้องกันผิวหมองคล้ำจาก UVA ครับ แต่ถ้าเราอยากรู้ว่ามันป้องกันได้นานขนาดไหนเราต้องแปลง พวก PA+, PA++, PA+++ ให้เป็น UVA-PF ซะก่อน ซึ่ง

PA+ = UVA-PF 2 - <4
PA++ = UVA-PF 4 - 8
PA+++ = UVA-PF > 8

สมมติครีมกันแดดเราเป็น PA++ แสดงว่า UVA-PF ของครีมเราอาจจะเป็น 4, 5, 6, 7 หรือ 8 ก็ได้ สมมติถ้าครีมเรามี UVA-PF เป็น 7 แล้วเราสามารถโดนแดดได้ 10 นาที ก่อนผิวเราจะเริ่มหมองคล้ำจาก UVA (โดยที่ไม่ทาครีมกันแดดนะ) หมายความว่าครีมนั้นจะป้องกันเราได้นาน 7 x 10 = 70 นาที นั่นเองครับ

ที่สำคัญที่สุด ผมว่าไม่ใช่ค่า SPF หรือ PA อะไรหรอกครับ สำคัญคือครีมนั้นน่ะ ได้ตรวจค่า SPF กับ PA จริงตามที่เคลมหรือเปล่า บ่อยครั้งมากนะครับที่ผมเจอโฆษณาว่า SPF 50 แต่พอไปตรวจจริงได้แค่ 4 ก็มีครับ เพราะฉะนั้นเพื่อความชัวร์เราอาจจะถามไปเลยก็เลยได้ว่า ตรวจจริงไหม ตรวจที่ไหน มีใบรับรองผลให้ดูหรือเปล่าครับ

จริงๆ เรื่องครีมกันแดด ยังมีโฆษณาเป็น Chemical Sunscreen, Organic Sunscreen, Physical Sunscreen ซึ่งจริงๆแล้วพวกนี้ มันก็คือสารที่ใช้ในการกันแดดนั่นแหละครับ สำหรับรายละเอียดพวกนี้สามารถอ่านเพิ่มได้ใน link นี้ครับ >>> //www.jaslynsense.com/รอบรู้เครื่องสำอาง/เคล็ดไม่ลับครีมกันแดด/





Create Date : 11 ธันวาคม 2559
Last Update : 20 มกราคม 2560 23:58:00 น. 1 comments
Counter : 693 Pageviews.

 


โดย: teawpretty วันที่: 27 มกราคม 2560 เวลา:17:23:26 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Jaslyn
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








Friends' blogs
[Add Jaslyn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.