Group Blog
พฤษภาคม 2556

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
วัดวรเชษฐ ชวนท่องเที่ยว ชวนค้นคว้า ความเป็นมา

 



ประเด็นเริ่มจากวันศุกร์ ผมหาทำอะไรรอเวลางานเลี้ยงตอนเย็น ร้านหนังสือผมเจอหนังสือเล่มหนึ่ง หลายคนชอบเริ่มอ่านจากหน้าแรก แต่ผมชอบอ่านสุ่มเปิดหน้าไหนอ่านหน้าไหน ผมคิดว่าหนังสือดีไม่ใช่ดีเฉพาะส่วนหน้า มันต้องดีทั้งเล่ม



เนื้อหาด้านในบอกวิธีแก้บรรเทาปัญหาคาใจ แต่ต้องไปไหว้ขอพรองค์สมเด็จพระนเรศวร ที่แรก พิษณโลก นครราชสีมา แล้วที่สุดท้าย วัดวรเชษฐ อยุธยา หนังสือบอกว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิพระนเรศร ชวนให้รู้สึกเกิดความสนใจทันที่



วันเสาร์บ่ายสองโมงหลังจากที่เสร็จธุรกิจภาระกิจแล้ว ผมตั้งพิกัด GPS ไปวัดวรเชษฐ ปัญหาแรกเกิดเพราะมีวัดวรเชษฐสองที่ โชคดีที่ปัจจุบันการสื่อสารที่สุดยอด ทำให้ผมได้แผนที่จาก google ผมใช้เส้นทางด่วนลงสุดด่านเชียงรากน้อย เลี้ยวขวาแล้วใช้เส้น 347 ปทุมธานี-อ่างทอง ถึงสีแยกวรเชษฐเลี้ยวขวา  ก็เห็นพระเจดีย์ สาม-สีองค์อยู่ทางขวามือ แต่ปัญหาเกิดขึ้นคือ ไปซ้าย ไปขวาดี



มีรถออกทางซ้ายมือ แสดงว่าต้องไปทางขวา รถออกจากถนนใหญ่ เข้าสู่ถนนดินแดง วัดอยู่ด้านหลังพระเจดีย์ แต่ที่สงสัยคือ ป้ายจัดงานหล่อพระ ลงชื่อวัดวรเชต



ผมขับรถไปจนสุดทางรถบริเวณหน้าโบสถ์ซึ่งเป็นพื้นที่เตรียมจัดงานหล่อพระวันรุ่งขึ้น ผมลงถามพระรูปหนึ่งซึ่งกำลังเตรียมงานอยู่


“หลวงพี่ครับ ไม่ทราบว่าสถานที่ไหน ที่เก็บพระอัฐิพระนเรศวร” ผมถามคำถาม ประโยคนี้ ทำให้พระและฆราวาส หยุดทำงานแล้ว ถามผมว่า


“ไปรู้เรื่องนี้ มาจากไหน”  ผมเริ่ม งง ทำไมต้องบอกแหล่งที่มาข้อมูลด้วย ผมเลยแจ้งว่าเอามาจาก internet 



“มันยังไม่มีหลักฐานหรอกโยม จริงเท็จแค่ไหนอาตมาไม่รู้ โน่นดินสูงๆๆ ตรงนั้นโยมเห็นไหม” หลวงพี่ชี้ให้ดู ผมก็ดูแบบ งง ทำไมต้องให้ดูเนินดิน “เนินดินตรงนั้น ทหารเขาทำเป็นที่กันกระสุนที่เขาซ้อมยิงเป้ากัน”


“อย่างนี้ ผมอยู่ตรงนี้ไม่ได้แล้ว เดี๋ยวโดนลูกหลงเหรอนี้” ว่าแล้วผมก็ขอตัวเดินไปกราบพระพุทธรูปที่โบสถ์



ผมดูโบสถ์แล้วยังดูเป็นโบสถ์ใหม่ แสดงว่าวัดนี้คงสร้างได้ไม่นาน ต่อมความสงสัยเริ่มทำงานอีก ประวัติศาสตร์ของวัดนี้น่าจะอายุไม่น้อยกว่า 400 ปีแล้วนะ ผมเดินออกจากโบสถ์ แล้วไปไหว้องค์สมเด็จพระนเรศร พอออกมา มองหาทางไปพระเจดีย์ไปทางไหนได้นะ



ผมเดินผ่านกุฏิ ออกไปเจอรั้วรวดหนามกันระหว่างวัดกับพระเจดีย์ เริ่มแปลกใจเมื่อเจอป้ายคำสั่งขับไล่พระรูปหนึ่งออกจากเขตวัด ผมเดินเลาะตามรั้วลวดหนาม ไปทางขวามือก็เจอบอร์ดที่อ่านเนื้อหาแล้วชวนให้เกิดความสงสัยไปอีก มีป้ายบอกว่าติดกล้องวงจรปิด ตอนนี้นอกจากมีความสงสัยแล้วมีความระทึกใจพ่วงไปอีก



ผมเจอทางเข้าจนได้ ได้ยินเสียงสวดมนต์ผ่านเครื่องเสียง ตอนนี้ ทั้งสงสัย ระทึกใจ ว่าจะเจออะไรอีกไหม ผมเดินไปเจอกลุ่มผู้หญิงนำดอกไม้ธูปเทียนและของไหว้บริเวณหน้าเจดีย์องค์ใหญ่สุดและอยู่กึ่งกลาง ผมก็ถามเขาว่าไม่ทราบว่านำเครื่องคาวหวานมาไหว้อะไร ได้รับคำตอบว่า “นำมาไหว้องค์พระนเรศวร”




ผมมองตามบันไดขึ้นไป เห็นประตูเหล็กกั้นอยู่ เลยถามต่อไปว่า ในเจดีย์สามารถเข้าด้านในได้ไหม ได้รับคำตอบว่าเข้าไม่ได้ พร้อมกับย้ำผมว่าอย่าลืมไปดูต้นจามจุรีอยู่บริเวณหน้าโบสถ์สามต้น วิญญาณองค์พระนเรศวร องค์พระเอกาทศรถ และองค์พระสุพรรณกลัยาสถิตย์อยู่ …..พูดเสร็จทางสี่คนก็เดินจากผมไป ตอนนี้ผมอยู่ในสภาพ งง เป็นไก่ ตาแตก



ภายในวัดประกอบด้วยสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบการสร้างอยู่ราวสมัยอยุธยาตอนกลาง และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยอยุธยาตอนปลายอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการสร้างปรางค์เป็นประธานของวัดทางด้านทิศตะวันตกหลังปรางค์ประธานเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ ส่วนพระวิหารตั้งอยู่เยื้องออกไปทางด้านทิศใต้ของเจดีย์ประธาน ทางด้านทิศเหนือขององค์ปรางค์ประธานมีเจดีย์รายทรงปราสาท ซึ่งมีลวดลายปูนปั้นประดับองค์ปรางค์ที่งดงามและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ อันแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องกับลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะล้านนาซึ่งแพร่หลายมากในศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง



ผมกลับมาหาข้อมูลวัดวรเชษฐ์ทาง Internet ดูจะง่ายที่สุด ดูเหมือนวัดนี้มีประเด็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดวัดหนึ่ง นับตั้งแต่การก่อสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น หรืออยุธยาตอนกลาง พระเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ ต่างสร้างในรูปแบบทางศิลปะที่ต่างยุคสมัย แสดงถึงความสำคัญที่พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ทรงทำนุบำรุง และปลูกสร้างศาสนสถานติดต่อกันมาหลายรัชกาล ดังที่ ท่าน น.ณ ปากน้ำ ได้แสดงความเห็นทางวิชาการต่อวัดนี้อยู่เสมอๆ ว่า..."ส่วนวัดป่าแก้วเดิมก็คือ วัดวรเชษฐ์ อยู่กลางทุ่งประเชด ส่วนทางทิศตะวันตกนอกตัวเมือง วัดวรเชษฐ์มีปรางค์ใหญ่เป็นหลักของวัด และมีเจดีย์ทรงสูงก่ออิฐไม่สอปูนปรากฏอยู่ด้วย" 



เจดีย์องค์นี้คล้ายเจดีย์วัดกระซ้าย เป็นเจดีย์แบบอโยธยา แสดงว่า บนโคกนี้เคยเป็นวัดเก่ามีมาแต่สมัยอโยธยา พอสมัยสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้วใช้เป็นที่เผาศพเจ้าแก้วเจ้าไทย แล้วสถาปนาเป็น วัดป่าแก้ว ด้วยอยู่ทางทิศตะวันตกนอกตัวเมืองห่างออกไปเกือบ ๒ กม. แล้วสร้างศิลปวัตถุไว้มาก เนื่องจากเป็นวัดสำคัญ เป็นที่สถิตของพระเถระผู้ใหญ่ คือ พระวันรัต (ชื่อยศของพระภิกษุสายอรัญวาสี ชื่อและความหมายเดียวกับ พระพนรัตน์) อันเป็นสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ทั้งยังเป็นอาจารย์ของพระเจ้าแผ่นดินตลอดมาหลายสมัย


 



มีการสร้างถนนและพูนดินสูงและกว้างใหญ่จาก วัดธรรมาราม อันเป็นท่าน้ำไปสู่วัดป่าแก้ว สำหรับเคลื่อนราชรถและผู้คนที่จะไปนมัสการพระที่วัดนั้น อ้าวแสดงว่าเนินดินที่เห็นไม่ใช่ของทหารกันทำแนวกระสุนซิ ต้นจามจุรีต้นนี้สูงใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาสูงใหญ่ ปกคลุมร่มรืน และมีต้นจามจุรีด้านซ้ายและขวามือ ลดหลั่นกัน ไม่น่าเชื่อ ลักษณะการวางตำแหน่งคล้ายเจดีย์เลย




ปรางค์ประธาน ศิลปะใกล้เคียงกับปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น (วัดพุทไธสวรรย์ วัดพระราม วัดราชบูรณะ) แต่มีการพัฒนาให้ซุ้มทิศทั้ง ๔ ยื่นออกมาจากเรือนธาตุมากขึ้น เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งโดยทั่วไปใช้อิฐต่างกัน ๒ ขนาด คือ อิฐหนาประมาณ ๑๒ ซม. ใช้ก่อส่วนฐาน และอิฐหนาประมาณ  ๕ ซม. ใช้ก่อส่วนยอด  พระปรางค์ตั้งอยู่บนฐานทักษิณ ซึ่งก่อเป็นฐานบัวลูกฟัก ฐานของปรางค์ก่อฐานบัวลูกฟักซ้อนกัน ๓ ชั้น รองรับเรือนธาตุ ซึ่งก่อมุขทิศยื่นออกมาเท่ากันทั้ง ๔ ด้าน หลังคามุขเป็นมุขลด ๓ ชั้น มีบันไดทางขึ้นสู่มุขทิศทั้ง ๔ โดยด้านตะวันออกเจาะเป็นช่องทางเข้าสู่เรือนธาตุ ส่วนมุขอีก ๓ ด้าน เป็นมุขสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนยอดทำเป็นชั้นรัดประคด ปักกลีบขนุน และมีซุ้มบันแถลงประจำทุกชั้นจำนวน ๗ ชั้น ส่วนยอดคงเป็นรูปดอกบัวตูม ปักนภศูลซึ่งพังลงหมดแล้ว ลักษณะของพระปรางค์น่าจะมีอายุอยู่ในราวต้นพุทธศตวรรษ ที่ ๒๒




วิหาร ตั้งอยู่ด้านหลังพระปรางค์ในแกนเดียวกัน เป็นวิหารขนาดใหญ่ ใช้วัสดุก่อสร้างแบบเดียวกับพระปรางค์ น่าจะเป็นงานก่อสร้างครั้งเดียวกัน วิหารมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๑๔x๒๗ เมตร มีมุขยื่นหน้าหลัง โดยมุขหน้าเป็นโถง มุขหลังเป็นมุขทึบ (มีผนัง) วิหารแบ่งเป็น ๗ ห้อง ก่อฐานบัวลูกแก้วอกไก่รองรับผนัง มีประตูทางเข้าวิหารด้านหน้าและหลัง ๒ ประตู



พระพุทธรูปประธานในอุโบสถ วัดวรเชษฐ์ น่าสนใจมาก เนื่องจากทำเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ๔ องค์ นั่งหันพระปฤษฎางค์ชนทรงปราสาท (ปัจจุบันแตกหักชำรุดหมดแล้ว) ซึ่งยังไม่เคยพบมาก่อนในศิลปกรรมสมัยอยุธยา พระพุทธรูปทั้ง ๔ องค์ดังกล่าวน่าจะหมายถึงพระพุทธเจ้าในอดีต ๔ พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธ พระโกนาคม พระกัสสปะ และพระสมณโคดม คือ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน


 


นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถ



เจดีย์ทรงระฆัง 



เจดีย์ทรงปราสาท


แนวถนนโบราณสอปูน แนวกำแพงวัด ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นอย่างสูง ส่วนวัดวรเชษฐ์ (ร้าง) มีโบราณสถานอยู่นั้นเป็นโบราณสถานที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนไว้แล้ว มีกฏหมายควบคุมอยู่ อธิบดีกรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนที่ดินที่อยู่นอกเขตโบราณสถานเป็นของสำนักพุทธศาสนาดูแล 



  


 


 




Create Date : 19 พฤษภาคม 2556
Last Update : 19 พฤษภาคม 2556 20:08:54 น.
Counter : 2814 Pageviews.

1 comments
  
thx u crab
โดย: Kavanich96 วันที่: 20 พฤษภาคม 2556 เวลา:8:27:29 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

จั๊กเด๋
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]