Group Blog All Blog
|
Kyoto medical students and work life เนื่องด้วยได้มีโอกาสไปดูงานที่โรงพยาบาลในเกียวโต ผ่านทาง IFMSA professional exchange อยู่สี่สัปดาห์ ก็เลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟัง ว่าความแตกต่างของเขากับของบ้านเราเป็นยังไง สิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าโชคดีมีอยู่สองอย่างคือ หนึ่ง ได้ไปเมื่อเรียนจบแล้ว เพราะมองอะไรได้ในมุมที่กว้างขึ้นมากกว่าคนที่ไปตอนยังเรียนไม่จบ แล้วสอง รู้สึกว่าดีที่ได้เรียนแพทย์ที่เมืองไทย .. ดีที่เราได้มีโอกาสสัมผัสกับคนไข้ และ - ของจริง - มากกว่านักเรียนญี่ปุ่น แต่ก็ชอบระบบการทำงานของญี่ปุ่นมากเหลือเกินจนรู้สึกว่า อยากไปทำงานที่นี่จัง... แต่ละที่ก็มีดีกันไปคนละแบบเนอะ ► ที่ Kyoto นี่มีโรงพยาบาลหลักหลายแห่ง เช่น Kyoto University Hospital Kyoto Prefectural University Hospital (KPUM) Kyoto City Hospital Etc. ► KPUM เป็นโรงพยาบาลของ Kyoto Prefect และมีโรงพยาบาลในเครือข่ายอีกหลายโรงพยาบาลในแถบเดียวกัน เช่น ที่ Amanohashidate และเป็นเหมือนศูนย์สำหรับ refer ของโรงพยาบาลในเครือเหล่านี้ ► โรงพยาบาลตั้งอยู่กลางเมือง Kyoto ติดกับแม่น้ำ Kamo-gawa และอีกด้านติดกับ Imperial Palace ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเป็น Kyoto University Hospital ► KPUM อันที่จริงมี 2 campus แห่งนี้คือตัวโรงพยาบาล อีกแห่งอยู่ทางตะวันตกของเมือง เป็นที่เรียนของนักศึกษา preclinic ด้านหน้าโรงพยาบาล ► มองจากทางด้านถนน Kawaramachi อีกฝั่งของถนนเป็นห้องสมุดของโรงพยาบาล (ไม่เห็นในภาพ) ![]() ![]() ► ระบบการเรียนของนักศึกษาที่ญีปุ่นต่างจากของเรามาก การ contact คนไข้น้อยกว่าของเราหลายสิบเท่า ถามดูได้ความว่าที่ญีปุ่นมีการฟ้องร้องมาก ดังนั้น คนที่จะ contact คนไข้ได้จริงๆคือคนที่เรียนจบและได้ใบประกอบวิชาชีพ แล้ว ดังนั้นนักเรียนญี่ปุ่นจึงทำหน้าที่เป็นผู้ observe เป็นหลัก ช่วงก่อนขึ้นปี 6 ก็จะมีช่วงปิดเทอมที่เขาจะต้องเลือกไป elective ในต่างโรงพยาบาล การเลือกสถานที่ก็เหมือนกับเป็นการไป survey ก่อนต้องเลือกที่ไปsuperrotation อีกสามปีต่อไปหลังจากจบน่ะเอง ► เมื่อจบแล้วจะมีระบบที่เรียกว่า superrotation ซึ่งก็คล้ายกับการเลือกสถานที่ใช้ทุนของเรา แต่ว่าของเขาตอนที่ไป superrotation จะมีคนคุม ดูแลตลอด ซึ่งก็คล้ายๆกับ extern ของเราน่ะเอง ~ สำหรับคนที่ไม่รู้ระบบการเรียนแพทย์ที่เมืองไทยมาก่อน ก็คือว่า การเรียนจะแบ่งเป้นสองส่วนใหญ่ๆคือ preclinic และ clinic preclinic จะเรียนพวกเนื้อหา ส่วน clinic คือการได้ไปเรียนกับคนไข้ในโรงพยาบาล โดยในชั้นสุดท้ายของ clinical year จะเรียกว่าเป็น extern ส่วนคนที่เรียนจบแล้วที่เมืองไทยจะมีระบบการไปใช้ทุน คือทำงานให้กันโรงพยาบาลของรัฐ เป็นเวลาตามกำหนดจริงๆแล้วก็คือสามปี ช่วงนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็น intern หรือว่าเป็นแพทย์ใช้ทุนน่ะเอง หลังจากใช้ทุนแล้ว ก็กลับมาเรียนต่อในสาขาต่างๆได้ โดยบางสาขาอาจจะเรียนต่อได้เลยหรือขอแค่ใช้ทุนแค่ปีเดียวก็พอ อย่างเช่นสาขาขาดแคลน พวกวิสัญญี จิตเวช หรือสัลยกรรมทรวงอก เป็นต้น โดยจะเรียกคนที่มาเรียนต่อเฉพาะทางเหล่านั้นว่า residence และคนที่เรียนต่อยอดลงไปอีกเป็น subspecialty ก็จะถูกเรียกว่า fellow ~ ► หลังจาก superrotation 3 ปีแล้วก็จะเข้าสู่ระบบเรียนต่อ ของเขาไม่ต้องสมัครแล้วแย่งกันเหมือนของเรา เพราะจะเป็นแบบ ใครอยากเรียนอะไรก็จะได้เรียน แล้วเท่าที่ถามดูก็ไม่เห็นใครจะเป็น GP (general practitioner) ไปตลอดโดยไม่เรียนต่อเลย ... ► นักเรียนแพทย์ญี่ปุ่น ต้องแต่งกายสุภาพเวลาอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งเขาก็ทำจริงๆ แต่งตัวสุภาพมากๆราวกับศิริราช แต่ว่าพอหลังเลิกเรียนก็จะกลับเข้าสู่ form ปกติของเขาซึ่งจะซ่ายังไงก็ได้ ไม่มีใครว่า แบ่งเวลางานและเวลาเที่ยวอย่างชัดเจน ![]() ► ที่นี่ไม่มีการอยู่เวรของนิสิตแพทย์ จึงไม่มีหอพักให้ในโรงพยาบาล ► ตอนที่ไป หา host family ไม่ทัน เลยได้อยู่กับ contact person แทน ซึ่งก็อยู่ที่ mansion ของเขา อยู่ห่างจากโรงพยาบาลโดยจักรยานก็ประมาณ 5 นาที (ถ้าฝนตกก็ประมาณ 7 นาที) ► อันนี้วิวมองจากแมนชั่นชั้น 11 ของแมนชั่น แม่น้ำตรงสุดถนนคือแม่น้ำ Kamo- gawa แม่น้ำสายหลักที่พาดผ่านเมืองเกียวโต ![]() ► ที่ญี่ปุ่น รถหยุดให้คนเดินถนน คนเดินถนนหยุดให้จักรยาน ดังนั้นตาม logic แล้ว จึงสรุปได้ว่า คนปั่นจักรยานใหญ่สุดบนถนน 55555 แถมปั่นบนฟุตบาทหรือว่าบนถนนก็ได้ ; ) ► เขาจะจัดที่จอดจักรยานไว้เป็นสัดส่วน บางถนนจะไม่ให้เข้า ก็ต้องสังเกตดีๆ อย่างแถว downtown นี่จะค่อนข้าง strict จอดมั่วซั่ว อาจต้องซื้อจักรยานใหม่ไม่รู้ตัว ![]() ► ตอนเช้าๆ ก็ปั่นจักรยานไปโรงพยาบาล แล้วก็ไปจอดแถวนี้ .. กรุณาสังเกตความหนาแน่นของจักรยานจอดซ้อนคัน นอกจากนี้บางแห่งจะเห็นว่ามีที่จอดรถจักรยานแบบเป็นคานลอนขึ้นไปหลังจากจอดแล้ว ดังนั้นก็เหมือนที่จอดจักรยานสองชั้นน่ะเอง .. เห้นแล้วรู้สึกว่าคนญีปุ่นนี่เขาต้องเห็นคุณค่าของพื้นที่ใช้สอยมากจริงๆนะเนี่ย ![]() ► แล้วก็เดินเข้าอาคาร ไปห้อง locker room เป็นอันดับแรก ด้านล่างนี่เป็นโถงทางเดินในโรงพยาบาล จะมีเส้นสีๆที่พื้นเอาไว้บอกทางเดินไปยังห้องต่างๆ สะดวกดี ที่เมืองไทยบางที่ก็มีเหมือนกัน ในรูปนี้ ข้างหน้าเป็นส่วนทำบัตร รอคัดแยกอาการ ![]() ► จะไปไหนก็มาดูตามป้ายพวกนี้ มีติดอยู่ทั่วไป ![]() ► ไปทางหนีไฟทางนี้ครับ ![]() ► หลังเปลี่ยนเสื้อผ้าเรียบร้อยแล้ว ก็ไป morning conference ที่ภาควิชากัน ![]() ► เนื้อหาของการ round ตอนเช้านี่ก็จะเป็นการ update case ที่เพิ่งผ่าตัดไป และ case ใน ICU ที่ยัง active รวมถึง discuss คร่าวๆถึง case ที่จะทำผ่าตัดในวันนั้น ทั้งหมดกินเวลาราวครึ่งชั่วโมง ► เสร็จแล้วก็ไป round ICU กัน โดยจะแบ่งเป็น pediatric ICU และ adult ICU สนใจอันไหนก็ไปดูอันนั้น young staff จะไป round ICU ให้ และสอนทุกอย่างเท่าที่ภาษาอังกฤษจะสามารถแปลได้ (special thank to Shinkawa-sensei) ► ทางเข้า ICU เปลี่ยนเสื้อกาวน์ทิ้งไว้ข้างนอก ล้างมือ ถอดนาฬิกา แล้วจึงเข้าไปได้ มีชั้นวางของไว้วางกระเป๋า หนังสือ พวกนี้ด้วย ที่เมืองไทย เสื้อกาวน์ยาวของเราจะมีช่องตรงด้านข้าง เอาไว้สำหรับเป็นช่องที่ล้วงเขาไปในกระเป๋ากางเกงได้ ซึ่งจะเหมือนกับของนักเรียนอเมริกา แต่ว่าของญีป่นจะไม่มี เด็กนักเรียนญี่ปุ่นก็เลยงงกับเสื้อกาวน์ของเรามาก หลายคนมาก ถามว่า ไอ้ช่องนี้มันมีเอาไว้ทำอะไร ... .. ![]() ► เครื่องล้างมืออัตโนมัติตรงทางเข้า ICU แค่ยื่นมือเข้าไปก็จะมีน้ำออกมา จากก๊อกด้านซ้าย สักพักก็จะเปลี่ยนเป็นหยดสบู่ลงมาให้เรา แล้วอีกสักพักก็มีน้ำล้างมือออกมาอีกทางก๊อกเดิม ต่อจากนั้นก็จะเป็นลมเป่ามือให้แห้งจากหัวเป่าทางขวามือ แถมเปลี่ยนจากระบบอัตโนมัติเป็นแบบ manual ก็ได้ด้วย สนุกดี ![]() ![]() ► หลัง round เสร็จก็จะมีเวลาว่างช่วงหนึ่งก่อนไปเข้าห้องผ่าตัด ซึ่งภาษา formal ขะเรียกว่า theatre room แต่เราก็เรียกกันง่ายๆว่า OR (โอ อาร์ วึ่งย่อมาจาก Operative room) ก็จะเป็นเวลาอาหารเช้า และเพราะว่ามันยังเช้าอยู่ ร้านอาหารยังไม่เปิด ก็จะได้อาหารมื้อเช้าแบบนี้ ซื้อจากสหกรณ์เอา อร่อยดีเหมือนกัน โดยเฉพาะ jelly ถุง เพิ่มพลังงานนี้ชอบมาก ขอแนะนำ ![]() ► กินแล้วก็ทิ้งให้ถุกที่ด้วย ► ถ้าเป็นถังขยะแบบไม่ advance มากก็จะเป็นแค่นี้ คือถังสำหรับกระป๋องและขวด PET ถังนึง ส่วนอีกอันก็ทิ้งอย่างอื่นที่เหลือทั้งหมด ![]() ► ถ้ายังมีเวลาเหลือก็เข้ามานั่งอ่านหนังสือในห้องนี้ได้ ![]() ► ได้เวลาแล้วก็ไป OR กัน! ► ก็เปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้ากันก่อน ► ของนักเรียนจะเป็นชุดสีขาว ของแพทย์จะเป็นสีฟ้า ส่วนของหมอดมยาจะมีหมวกลายดอกไม้ให้ด้วย น่ารักมาก ; ) ![]() ![]() Check ตารางว่าห้องไหน ทำอะไร แล้วก็เดินขึ้นไปอีกชั้นก็จะถึง OR *** ถึงจะไม่รู้ภาษาญีปุ่น แต่การอ่าน katakana ได้นี่ มีประโยชน์มากๆนะคะ ** ![]() แต่ช้าก่อน! ก่อนขึ้นไปเราจะเห็นว่ามีห้องอยู่ห้องนึงที่มีทีวีเพียบ และมีที่นั่งเป็นโซฟาแสนสบาย สอบถามได้ความว่าเป็นห้องสำหรับคนที่อยากดู operation แต่ไม่อยากเข้าไปยืนเก้ๆกังๆใน OR ก็สามารถมานั่งดูที่นี่ได้ เพราะว่าทุกห้อง OR มีกล้องถ่ายอย่างน้อยสองตัว คือถ่ายมุมกว้างให้เห็นทั้งห้อง (แบบภาพด้านขวา) และถ่าย field ผ่าตัด ซึ่งจะเป็นกล้องที่ติดอยู่ที่ขานึงของแกนไฟผ่าตัด ซึ่งปรับได้ ![]() ► แต่เราก็เดินผ่านไปเข้า OR กันดีกว่า ► อย่าลืม หมวก mask ![]() ► แล้วก็เดินผ่านเจ้านี่ turbulent flow กำจัดเชื้อโรคไปได้นิดหน่อยมั้ง (อันนี้บางวันก็เปิด บางวันก็ไม่เปิด..) ![]() ► ออกมาแล้วก็อย่าลืมปิดประตูด้วย จะเห็นว่าเป็นประตูแบบคล้ายบานเฟี้ยมที่เปิดปิดโดยการใช้เท้าเตะที่เปิดปิดซึ่งจะอยู่ใกล้ๆพื้นข้างๆประตูน่ะแหละ เวลาทำ ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะดูไม่ค่อยสุภาพเท่าไหร่ .. ![]() จำได้ว่าสมัยไปเกาหลีเมื่อนานมาแล้ว ที่โน่นมีเมืองวิทยาศาสตร์ และเราก็ได้เขาไปดูตึกที่เขาทำเรื่อง หนูทดลอง ระบบ SPF mice (เป็นชื่อระบบการเพราะเลี้ยงหนูทดลองที่มีระดับความสะอาด หรือจะเรียกว่า immune ดี ? ในระดับหนึ่งที่เรียกว่า spf) ก็มีห้องทางเดิน turbulent flow แบบนี้เหมือนกัน และก็มีที่ล้างมือแบบที่เอามือยื่นเข้าไปก็จะมีสเปรย์ฉีดสารฆ่าเชื้อพ่นมาให้ที่มือเลย อันนั้นก็ดีเหมือนกัน ► ที่ย้ายเตียงหน้าตาเหมือนกิโยติน .. ปรับขึ้นลงไปให้ได้ระดับเดียวกับเตียงที่เข็นมาจากวอร์ดแล้วก็ปรับให้เข้ากับเตียง OR อีกที เห็นการทำงานแล้วน่าทึ่งดีว่าเขาช่างใส่ใจแม้แต่เรื่องพวกนี้ด้วย .. ส่วนที่เมืองไทย ใช้ sliding board เป็นกระดานพลาสติกใหญ่ๆ สำหรับคนไข้ slide ตัวไป ![]() ► มีนาฬิกาจับเวลาว่าเริ่มเปิดห้องมานานเท่าไรแล้ว ![]() ► ที่เมืองไทย อย่างที่จุฬาจะมีภาควิชาศัลยกรรมทรวงอก ก็คือทำทั้งหัวใจ หลอดเลือด และปอด เรียกย่อว่า CVT (CardioVascular Thoracic Surgery) แต่ว่าที่ KPUM แบ่งออกเป็นสองหน่วย คือ Cardiovascular หนึ่งหน่อย และ Thoracic surgery อีกหนึ่งหน่วย (ได้มีโอกาสไปเรียนกับภาควิชานี้อยู่หนึ่งวัน staff ใจดีและตลกมากๆ) โดยเฉลี่ยภาควิชา CVT ที่นี่จะมีเคสผ่าตัดประมาณวันละ 2-3 เคส โดยจะแบ่ง OR สองห้อง บางวันจะเป็นของเด็กห้องนึง ผู้ใหญ่ห้องนึง บางวันก็จะเป็นผู้ใหญ่ห้องนึง vascular อีกห้องนึง เป็นต้น ► แต่ละเคสจะมี surgeon หลักหนึ่งคน ถึงจะไม่ใช่เคสตัวเองโดยตรงแต่ส่วนใหญ่แล้ว อาจารย์ที่ทำงานในสายงานเดียวกันก็จะเข้าเกือบทุกเคสด้วยกัน แล้วก็มี resident เข้าอีก 1-2 คน ส่วนคนอื่นๆก็ observe อยู่ด้านนอก ที่นี่ใช้ชุดและ ผ้าห่อ set แบบ one use เสมอ ![]() ด้านหลังมี video จาก head camera ของ surgeon และ จอ monitor ที่เลื่อนไปมาได้ และจอใหญ่มากกก ![]() ► Adult cardiac surgery ส่วนใหญ่เกือบ 80 % เป็นเคส CABG (Coronary artery bypass graft) ซึ่งที่นี่เกือบ 100 % ทำเป็น OPCAB (Off-pump coronary artery bypass) ถ้าทำได้ (ไม่มี indication อื่นในการ open heart, status คนไข้ไหว) ► เกือบทุกเคสที่มีการเสียเลือดค่อนข้างมากจะมีการใช้เครื่อง Cell saver เพื่อเป็น autotransfusion ไปเลย หรือถ้าเป็นเด็ก ถ้ารอได้ก็จะรอให้น้ำหนักมากพอที่จะทำ autotransfusion ได้ โดยหลังดมยาสลบแล้วจะเก็บเลือดออกมาไว้ใช้สำหรับหลัง/ระหว่างผ่าตัด ถ้าเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยพอรู้เรื่องไม่งอแงก็อาจทำเป็นเก็บตั้งแต่กลางสัปดาห์ก่อนผ่าตัดขณะ awake ซึ่งวิธีนี้ก็จะเก็บได้เยอะกว่า และเก็บได้หลายครั้งก่อนจะถึงวันผ่าตัดจริงด้วย ► บอกแล้วว่าทุกห้องมีกล้อง และกล้องนี่ยังเชื่อมต่อไปถึง TV ใน ICU ให้คุณพยาบาลได้ดูกันด้วย !! ![]() ► นี่ไง ตัวปรับกล้องบนเพดาน ก็พวกเราที่ยืนดูนี่แหละเป็นคนปรับ และก็เป็นคนเปลี่ยนม้วน video เวลามันหมดม้วนด้วย เพราะเขาอัดเอาไว้แทบทุก operation เลย ... เพื่อการศึกษา.. ![]() ► บางเคสก็จะมี head camera จากกล้องที่ติดกับ loupes (แว่นขยายที่ติดอยู่กับหัวของ surgeon ต้องวั่งตัด เป็นของเฉพาะบุคคล แลราคาแพงมากกกก) ของ surgeon ด้วย ก็จะมาที่ทีวีตัวนี้ .. ![]() อันนี้ Goretex หรือ PTFE graft ที่พวกเรารู้จักกันดี เตรียมหลายขนาดไว้สำหรับการผ่าตัด พอมานั่งคำนวณราคาแล้ว ตะกร้านี้ ซื้อรถดีๆได้คันนึงเลย.. (ราวๆแปดแสนบาท) ![]() อุปกรณ์ต่างๆจะมีการ label ไว้ก่อนแล้วอย่างพร้อมสรรพตั้งแต่ก่อนเริ่มเคส บางอย่างก็เป็น prepackaging มาเรียบร้อยจากโรงงานเลย เช่น propofol นี่มาเป็นหลอดฉีดมาเลย มี label ปริมาณยามาเรียบร้อย แกะออกมาก็ sterile ใช้ได้เลย สะดวกมาก ![]() ► หมอดมยาก็วิ่งไปวิ่งมาวัด ACT (activated clotting time) ในเคสที่ใช้ heparin(สารกันการแข็งตัวของเลือดชนิดหนึ่ง) (เป็นอุปกรณ์ในห้องที่ดู low tech ที่สุดแล้ว!) ![]() ► เวลาอยู่ใน OR ก็จะมีคนที่ยืนอยู่รอบนอกคอยสอน อธิบายเป็นช่วงๆ และก็จะได้หนังสือเรียนนี่แหละ ช่วยได้มาก ► หนังสือทางการแพทย์ของญี่ปุ่นเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นภาษาญี่ปุ่น แม้แต่ Harrisons ที่เราอ่านกันก็มีฉบับภาษาญี่ปุ่น ศัพท์ทางการแพทย์ก็ต่างจากเมืองไทยที่แทบไม่มีทับศัพท์เลย แม้แต่ชื่อเส้นเลือดอย่าง subclavian artery ก็ยังมีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น .. ก็ลำบากหน่อย ![]() ![]() ► ส่วนหนังสือหลักๆที่เห็นทุกคนมีไว้ประจำกายมีชื่อว่า year note เล่มที่เห็น ซึ่งก็จะมี update ทุกปี ออกประมาณเดือนเมษายน ราคาเล่มละ 20000 เยน หนาประมาณสองนิ้ว เนื้อหาจะครอบคลุมของอายุรกรรมและศัลยกรรมทั้งหมด โดยจะสรุปเฉพาะ point ที่สำคัญต่างๆ เท่าที่ดูก็ละเอียดมากขนาดมีอธิบาย segment ของ coronary arteries ละกัน ► นักเรียนญี่ปุ่นไม่ค่อยใช้ PDA กัน แปลกดีเหมือนกัน ► ที่นี่ ไม่มีการมาคุยโทรศัพท์ใน OR กัน ไม่มีการเปิดเพลง ไม่มีการพูดคุยเสียงดังโดยไม่จำเป็น ไม่มีการคุยเรื่องอื่นนอกจากเรื่องคนไข้ ... ► หลังจากจบ operation แล้ว surgeon อาจจะออกมาอธิบายว่าทำอะไรไปบ้าง เพราะอะไร ให้นักเรียนอย่างเราๆฟังกัน ► วันพุธเช้าจะเป็นวันที่ไม่มี OR แต่จะมี OPD แทน ซึ่งในภาพนี้ก็คือโต๊ะที่ OPD น่ะเอง และก็เจ้า model สำหรับอธิบายคนไข้ ![]() ![]() ► ระบบการส่งต่อของที่นี่คือ หลังผ่าตัดเมื่อคนไข้ดูสบายดีหลังจากการผ่าตัดแล้ว คนที่ดูคนไข้ต่อคือ cardiologist ซึ่งที่นี่มีประมาณ 12 คน เพื่อจะได้ไม่ load งาน surgeon ทับถมไปเรื่อยๆ ดังนั้นไนแต่ละวันที่ออก OPD จะมีคนไข้มา F/U ประมาณ 6-7 คนเท่านั้นเอง และก็ทำให้สามารถใช้เวลากับคนไข้แต่ละคนได้มาก ..อย่างมีคุณภาพ ทั้งสำหรับคนไข้และสำหรับศัลยแพทย์ด้วย ► คงเคยได้ยินคำว่า nomunication กันมาบ้าง มาจากคำว่า nomu = ดื่ม และcommunication แปลรวมได้ว่าการดื่มสังสรรค์ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในระบบญี่ปุ่นเลยทีเดียว โดยเฉพาะในชาว salary man ทั้งหลาย .. และยังรวมไปถึงในหมู่แพทย์ด้วย .. หน่วย CVT ที่นี่จะมีการไปดื่มสังสรรค์กันสัปดาห์ละสองครั้ง หลังจากผ่าตัดเสร็จในตอนเย็น ![]() ![]() นอกเหนือจากเรื่องงาน เกียวโตเป็นเมืองที่เหมาะมากในการท่องเที่ยว และการ...กิน ► มีทั้งร้านของกินจริงจัง ขนมญี่ปุ่น ฝรั่ง ร้านอาหารชั้นสูง.. มีทุกอย่างให้เลือกสรรจริงๆ ![]() ► หรือจะเลือกทำเองก็มี supermarket ราคาถูกหลายแห่ง ที่เด็กที่นี่นิยมกันคือ Fresco และ Jusco จะราคาถูกกว่าที่อื่น คุณแม่บ้านทั้งหลายก็ปั่นจักรยานกระเตงลูกมาซื้อของกันที่นี่.. ► อีกอย่าง ถ้ามาญี่ปุ่นแล้วไม่ค่อยรู้เรื่องอาหารการกินนี่จะไม่สนุกนะ ความซับซ้อนของอาหารที่นี่ คือความสนุกในการเลือกกินอย่างหนึ่งเลย ![]() เอาหละ นี่ก็เป็นสรุปคร่าวๆของการไปดูงานที่ญีป่น แล้ววันก่อนกลับ ก็มีเลี้ยงส่งที่ร้านอาหารแบบเกียวโตแท้ๆอีกด้วย... doumo arigatougozaimasu .. โค้งงามๆอีกทีค่ะ ขอบคุณค่ะ เชิญเลยค่า (โทษทีค่ะ เพิ่งมาเห็นเอาวันที่ 27 เข้าไปแล้ว) ..
เห็นคุณ MakeUpGuru 83 บ่อยๆในห้องโภชนาการ. แต่งหน้าเก่งมากๆ ((นับถือๆ)) ชอบเครื่องสำอางเหมือนกันค่ะ แล้วก็งานเราก็ยังอยู่สายเดียวกันด้วย ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ โดย: blueschizont
![]() I have been absent for some time, but now I remember why I used to love this website. Thanks , I will try and check back more often. How frequently you update your website?
Louis Vuitton Outlet handbags //www.txvision.com/ โดย: Louis Vuitton Outlet handbags IP: 94.23.252.21 วันที่: 4 สิงหาคม 2557 เวลา:3:00:03 น.
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
อ่านเพลินมาก โดย: naitabtim IP: 171.97.28.61 วันที่: 16 มีนาคม 2558 เวลา:2:05:16 น.
|
blueschizont
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() รักญี่ปุ่น Friends Blog
|
may I add u into my friend's list?