ดื้อ-ซน-ขี้แย-งอแง-เอาแต่ใจ-ไม่รู้จักโต ลองมองนิสัยของเด็กๆเหล่านี้ในแง่ดีกันบ้างไหม
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าถ้าลูกๆหรือเด็กๆในความดูแลของคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้มีนิสัยหรือพฤติกรรมดังที่กล่าวมา (ดื้อ-ซน-ขี้แย-งอแง-เอาแต่ใจ-ไม่รู้จักโต)เจนก็ยินดีด้วยและต้องบอกว่าไม่มีความจำเป็นอันใดเลยที่จะต้องบ่มเพาะหรือปลูกฝังให้เด็กมีนิสัยหรือพฤติกรรมเหล่านี้

และถ้าหากเด็กมีนิสัยหรือพฤติกรรมเหล่านี้ สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำคือหาทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะพอควร

อย่างไรก็ตามการที่จะปรับเปลี่ยนนิสัยหรือพฤติกรรมไม่ว่าจะของเด็กหรือผู้ใหญ่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายหรือจะเห็นผลได้ในพริบตา

วันนี้เจนเลยจะชวนคุณพ่อคุณแม่มามองๆลงไปแบบลึกๆมองจากอีกด้านที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคุ้นเคย เพื่อที่จะได้เห็นว่านิสัยต่างๆเหล่านี้มัน "ไม่มีอะไรดีเลย" จริงๆหรือ



== เด็กดื้อ ==

เด็กดื้อนั้นถ้ามองจากอีกมุมก็ต้องบอกว่าสิ่งที่ผู้ใหญ่เรียกว่า "ดื้อ" นั้นอาจเป็นเพราะผู้ใหญ่เอาตัวเองเป็นที่ตั้งและปฏิเสธที่จะทำความเข้าใจกับเหตุผลของเด็ก เด็กกลุ่มนี้ถ้ามองให้ดีๆมักจะเป็นเด็กที่มีจุดยืน เชื่อมั่นในตัวเองสูง และยากที่สภาพแวดล้อมหรือสังคมจะเปลี่ยนเขาได้ เท่าที่สังเกตเด็กหลายคนที่ไม่ยอมทำตามที่ผู้ใหญ่ต้องการเพราะพวกเขาคิดว่าเหตุผลของผู้ใหญ่นั้นไม่ถูกหรือไม่ดีพอ ซึ่งก็มีทั้งที่ผู้ใหญ่ไม่ถูกจริงๆและไม่ถูกแค่ในความคิดของพวกเขา

อย่างไรก็ตามเด็กกลุ่มนี้ถ้าคุณให้เหตุผลและอธิบายจนพวกเขายอมรับ พวกเขากลับจะเป็นกลุ่มที่จะทำตามหลังจากนั้นได้อย่างมั่นคงและแน่วแน่ที่สุด และต่อให้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ทำ หรือ ถูกบีบคั้นจากแรงกดดันทางสังคมมากเพียงใด เด็กกลุ่มนี้กลับเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ยืนหยัดได้ ส่วนเด็กว่านอน สอนง่าย มักจะเปลี่ยนไปตามแรงกดดันทางสังคมง่ายกว่า พวกเขาเชื่อฟัง แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ค่อยกล้าปฏิเสธคน เด็กว่านอน สอนง่ายหลายคนโดดเรียนตามเพื่อนหรือให้เพื่อนลอกข้อสอบไม่ใช่เพราะพวกเขาอยากทำแบบนั้นแต่เป็นเพราะพวกเขา “ไม่กล้าปฏิเสธ” หรือ “เกรงใจเพื่อน”ซึ่งสิ่งเหล่านี้น้อยครั้งที่จะเกิดกับเด็กดื้อเพราะพวกเขาไม่ค่อยลังเลที่จะพูดคำว่า “ไม่”


== เด็กซน ==

เด็กซนคือเด็กอยากรู้อยากเห็นกล้าคิดกล้าทำมีความคิดสร้างสรรค์ชอบเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ๆ เด็กซนเป็นเด็กที่มีโอกาสค้นพบสิ่งใหม่ๆมากกว่าเด็กกลุ่มอื่นเพราะเด็กซนมักจะกล้าลองกล้าทำในสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่กล้า ทำให้เจอสิ่งใหม่ๆหรือวิธีการใหม่ๆมากกว่าเด็กทั่วไปดังที่ไอส์ไตน์กล่าวไว้ว่า “คนโง่เท่านั้นที่คิดว่าจะได้ผลลัพธ์ใหม่ๆจากการกระทำแบบเดิมๆ” หรืออย่างโทมัส เอดิสัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์สิ่งต่างๆมากมายหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อคนทั้งโลกนั้น ในวัยเด็กก็เป็นเด็กที่ซนมากๆจนคนทั้งหมู่บ้านระอา

ในอนาคตเด็กจะประสบความสำเร็จมากแค่ไหนไม่ได้ขึ้นอยู่กับความขยันอดทนเหมือนในสมัยก่อนอีกแล้วแต่ขึ้นอยู่กับ “ความคิดสร้างสรรค์” ล่าสุดเจนอ่านในคอลัมน์เปิดฟ้าส่องโลกในไทยรัฐ ซึ่งได้เขียนไว้ว่า กรีซ ซึ่งเป็นชาติที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหนักสุดในยุโรปนั้น มีอัตราการจดสิทธิบัติ (ซึ่งแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์) ต่ำสุดด้วยเช่นกันคือ 8 ต่อประชากรหนึ่งล้าน ในขณะที่เยอรมันซึ่งแข็งแกร่งสุดก็มีอัตราสูงสุดด้วยเช่นกันคือ 335 และตัวเลขนี้มักผูกพันไปกับความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจอีกด้วย

อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กกลุ่มนี้ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กไปทำอันตรายให้กับคนรอบข้างรวมทั้งตัวเด็กเอง


== เด็กขี้แย ==

หนูน้อยเจ้าน้ำตา อะไรๆก็ร้องไห้ เซนซิทีฟ อ่อนไหวง่าย คือคำจำกัดความของเด็กกลุ่มนี้

ถ้าคุณมองลึกๆจะเห็นชัดว่าเด็กกลุ่มนี้จะเป็นคนที่แคร์ความรู้สึกคนอื่นมาก พร้อมที่จะเสียสละและมีจิตใจดี พวกเขามักเลือกที่จะเสียสละความสุขหรือปิดบังความรู้สึกที่แท้จริงของตนเองเพื่อให้คนรอบข้างมีความสุข เด็กกลุ่มนี้มักจะเป็นที่รักของคนรอบข้างและทำให้คนที่ใกล้ชิดมีความสุขด้วยเช่นกัน เนื่องด้วยพวกเขาจะระมัดระวังการกระทำหรือคำพูดในการทำให้คนอื่นไม่พอใจหรือไม่สบายใจเป็นอย่างมาก

คุณพ่อท่านนึงเคยบ่นกับเจนว่า ลูกสาวเซนซิทีฟมากดุนิดเดียวก็ร้องไห้แล้ว แย่จัง เจนเลยบอกว่า ไม่เห็นจะแย่เลยคุณพ่อนั่นดีออก แปลว่าลูกแคร์คุณรักคุณมาก เพราะถ้าลูกเกลียดคุณไม่แคร์ความรู้สึกคุณ คุณด่ายังไงลูกก็ไม่ร้องไห้หรอกจริงไหม และถ้าคุณดุลูกในเรื่องที่คุณไม่อยากให้ลูกทำแล้วลูกร้องไห้คุณควรจะดีใจ เพราะแปลว่าคุณใช้มาตรการเพียงแค่นี้ก็เอาอยู่ หรือคุณอยากได้ประเภท “เฆี่ยนก็แล้ว ขังไว้ในบ้านก็แล้ว ขู่จะส่งไปโรงเรียนประจำก็แล้ว ไม่ได้ผลเลย” อย่างงั้นหรอกหรือ


== เด็กงอแง ==

เด็กกลุ่มนี้ดูเหมือนจะหาข้อดีได้ยากกว่าเด็กกลุ่มอื่น อย่างไรก็ตามถ้าคุณมองแบบเจาะลึกจะเห็นได้ว่า เด็กงอแงคือเด็กที่อารมณ์ไม่ค่อยคงที่ ซื่อสัตย์ต่อความต้องการตัวเองมากกว่าเด็กทั่วไป และความจริงข้อนึงที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะยอมรับคือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของคนเรามากที่สุดแท้จริงไม่ใช่การศึกษาแต่คือประสบการณ์ เพราะฉะนั้นข้อดีของเด็กกลุ่มนี้คือเมื่อโตขึ้นไปโอกาสที่เด็กจะเป็นพวกสุดโต่งมีน้อย และเด็กงอแงมักจะมีความยืดหยุ่น เข้าใจอารมณ์ และให้อภัยต่อความอารมณ์เสียของคนอื่นได้มากกว่า เพราะพวกเขาก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน

ยกตัวอย่างเด็กที่โมโหแล้วชอบวีนเพื่อน พออีกวันเพื่อนโมโหแล้ววีนใส่บ้าง พวกเขามักจะเข้าใจแล้วคบกันได้ เพราะเมื่อโดนวีนพวกเขาจะบอกตัวเองว่า “ไม่เป็นไรหรอก เพื่อนคงอารมณ์เสียหรือช่วงวันนั้นของเดือนเพราะฉันก็เป็นบ่อย” ในขณะที่เด็กที่มีเหตุมีผลสูง อารมณ์มั่นคงจะรับไม่ค่อยได้ถ้าถูกวีนเพราะพวกเขามักจะคิดว่า “เธอจะอารมณ์ดีไม่ดียังไง เธอก็ไม่มีสิทธิมาลงกับคนอื่น เพราะฉันอารมณ์เสียแค่ไหนฉันก็ไม่เคยมาลงกับเธอเลย”


== เด็กเอาแต่ใจ==

ข้อดีชัดๆ ของเด็กกลุ่มนี้คือพวกเขามีความมั่นคงและเชื่อใจในความรักของพ่อกับแม่สูง (เพราะคนเรามักเอาแต่ใจกับคนที่เรารักและรักเราเป็นหลักโดยเฉพาะเพศหญิง) เด็กกลุ่มนี้ตั้งแต่ทำงานมาเจอบ่อยมาก บางคนผู้ปกครองมาฝากบอกช่วยปรับพฤติกรรมลูกให้หน่อย แต่ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข “ไม่เจ็บตัวและไม่เจ็บใจ”

วิธีที่เจนใช้หลักๆมีอยู่สองอย่าง หนึ่งคือสอนให้เด็กรู้จักความสุขของการเป็นผู้ให้ เพราะเด็กกลุ่มนี้มักจะเคยชินกับความสุขของการเป็นผู้รับจนลืมไปว่าความสุขนั้นสามารถได้มาจากการเป็นผู้ให้ด้วยเช่นกัน การพาเด็กไปดูคนที่ลำบากหรือด้อยโอกาสกว่าหรือแม้กระทั่งการเสียสละให้คนอื่นๆในครอบครัวเลือกร้านอาหารหรือห้างสรรพสินค้าที่ต้องการไปในวันหยุด สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาแสดงให้เด็กเห็นว่าความสุขเพียงเล็กน้อยที่เขาสละนั้นสร้างความสุขให้กับคนอื่นๆได้มากแค่ไหนและสุดท้ายเขาก็จะได้รับความสุขนั้นกลับคืนไปด้วยเช่นกัน

วิธีการที่สองคือ จับเด็กกลุ่มนี้มารวมกันเพื่อให้เป็นกระจกส่องให้กันและกัน เริ่มจากการใช้ให้พวกเขาทำอะไรสักอย่างที่ต้องการความสามัคคี อย่างตอนที่ยังสอนอยู่เจนก็จับคุณหนูเอาแต่ใจทั้งหลายให้ไปทำงานกลุ่มๆเดียวกัน กำหนดหัวข้อกว้างๆแล้วให้ไปเลือกรายละเอียดเอาเอง เช่น ให้ทำเรื่องแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดอะไรก็ได้

แน่นอนพวกเธอก็เลือกคนละจังหวัดไม่มีใครยอมใครสุดท้ายก็วิ่งมาให้เจนตัดสิน เจนเลยบอกว่าครูตัดสินให้ไมได้ และถ้าเธอตกลงกันไม่ได้ครูเสนอให้ทุกคนไปทำมาคนละจังหวัด แต่หนูก็ต้องยอมรับว่างานจะหนักเป็นสี่เท่าเพราะครูออกแบบรายงานนี้สำหรับคนสี่คนทำในหนึ่งอาทิตย์ไม่ใช่คนๆเดียว และถ้าพวกหนูเปลี่ยนใจจะรวมกันทำแบบกลุ่มอื่นๆทีหลังก็ได้ ส่วนเรื่องคะแนนจะใส่ชื่อมากี่คนก็ไม่มีผลอะไร

ตอนแรกทุกคนก็ไปทำแบบงานเดี่ยวแต่พอผ่านไปสักพักพวกเธอก็เริ่มรู้สึกว่ามันเยอะ มันมาก มันมาเบียดเบียนเวลาพักผ่อนของพวกเธอ หลังจากนั้นก็เริ่มมีการสะกิดอีกคนว่าเป็นไงบ้างจากหนึ่งก็มารวมเป็นสอง สองคนก็ช่วยกันทำไปสัก80% คนที่สามพอใกล้ส่งเริ่มรู้แล้วว่าไม่ไหวเลยยอมมาขออยู่กับสองคนแรกโดยรับปากจะทำส่วนที่เหลือ 20% ให้ ส่วนคนสุดท้ายมาร้องไห้ตอนเช้าที่ รร เพราะทำไม่เสร็จไม่มีงานส่ง เพื่อนสามคนสงสารเลยเติมชื่อให้ สุดท้ายก็ส่งมาเหมือนกลุ่มอื่นๆ

พองานต่อมาพวกเธอก็เริ่มทำงานเป็นกลุ่มได้เพราะคนแรกได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ คนที่สองก็เริ่มเรียนรู้ว่าทำคนเดียวต่อให้ไหวแต่เหนื่อยและหนักแน่ๆ คนที่สามรู้สึกว่าตัวเองเป็นหนี้บุญคุณเพื่อนสองคนแรกก็เริ่มจะหยืดยุ่นและรับฟังความคิดเห็นคนอื่น ส่วนคนที่สี่ไม่ต้องพูดจาก “ถ้าไม่เอาแบบนี้ ฉันก็ไม่ทำ” กลายเป็น “เราอะไรก็ได้ พวกเธอเลือกตามสบายเลย” และที่สำคัญหนูๆทั้งสี่ตัวก็ได้เรียนรู้ด้วยตัวเองว่า “ความเอาแต่ใจนั้นไม่ใช่แค่ทำให้คนรอบข้างเดือดร้อน แต่ตัวเองก็เดือดร้อนด้วยเช่นเดียวกัน”


== เด็กไม่รู้จักโต ==

จริงๆข้อนี้อาจไม่ค่อยเป็นปัญหาสักเท่าไหร่สำหรับพ่อแม่ในยุคปัจจุบัน เพราะพ่อแม่หลายคนอยากให้ลูกเป็นเด็กไปนานๆ กลัวลูกจะเป็นสาวก่อนวัยมากกว่าจะโตช้า สาเหตุนั้นเป็นเพราะเด็กเชื่อฟังมากกว่า ควบคุมง่ายกว่า ทำตามที่พ่อแม่ต้องการมากกว่า และทำให้พ่อแม่รู้สึกว่าตัวเองยังคงเป็นคนสำคัญเสมอ

เด็กที่เจนดูแลส่วนใหญ่มากจากครอบครัวที่พ่อแม่ดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งลักษณะของเด็กกลุ่มนี้คือจะมีความเป็นเด็กสูงกว่าเด็กในช่วงวัยเดียวกัน อย่างเด็กช่วงชั้นต่ำๆ พักกลางวันพวกเธอก็ยังวิ่งเล่นที่ระเบียง ชอบกรี้ดๆกร้าดๆ เล่น ร้องเพลง อะไรไปเรื่อย จนบางทีเจนยังคิดในใจว่า “รร เปิดแผนกอนุบาลตั้งแต่เมื่อไหร่ ทำไมไม่มีใครบอกฉันสักคน”

ข้อดีที่เห็นชัดที่สุดของเด็กกลุ่มนี้คือพวกเขาจะมองโลกสดใส คิดบวก มองทุกอย่างในแง่ดี มีความสุขกับอะไรง่ายๆและมักจะทำให้คนรอบข้างมีความสุขด้วยเช่นกัน เช่น ถ้าคุณซื้อตุ๊กตาหมีให้พวกเขาตัวนึง พวกเขาอาจจะยิ้มกว้างๆกระโดดหอมแก้มคุณ ซึ่งถ้าคุณหวังจะได้รับการกระทำจากผู้ใหญ่แบบนั้น คุณอาจต้องแลกมาด้วยการซื้อกระเป๋าหรือของที่เธออยากได้ราคาหลายหมื่นหรือเป็นแสนเสียด้วยซ้ำ และต่อให้คุณดุพวกเขาหรือทำโทษพวกเขา พวกเขาจะไม่ค่อยโกรธหรือผูกใจเจ็บ(แต่ก็ไม่ค่อยเข็ดด้วยเช่นเดียวกัน) อีกอย่างคือพวกเขาไม่ค่อยจะเป็นพิษเป็นภัยกับใครและจะไม่เป็นคนที่ร้ายแบบลึกๆหรือร้ายกาจมาก และแม้ว่าพวกเขาจะโตช้าแต่เท่าที่สังเกตเด็กกลุ่มนี้มักจะโตมาอย่างมีคุณภาพ และคงรักษาจิตใจที่ดีงามไว้ได้แม้เวลาจะผ่านไปแม้ความโหดร้ายของโลกจะกัดกร่อนมากกว่าเด็กกลุ่มอื่นๆ


และสุดท้ายเจนต้องขอย้ำอีกครั้งว่าบทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ “เข้าใจ” ไม่ใช่ให้ไปปลูกฝังให้เด็กมีพฤติกรรมหรือนิสัยเหล่านี้

(บทความนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์และการศึกษาเฉพาะทาง ไม่ใช่งานวิจัยหรือเอกสารทางวิชาการและคำอธิบายหลายอย่างนั้นยังไม่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จะคิดเห็นเช่นไรนั้น ขอได้โปรดใช้วิจารณญาณตัดสินด้วยตัวเอง)



เจน



Create Date : 15 มีนาคม 2555
Last Update : 15 มีนาคม 2555 23:13:54 น.
Counter : 4425 Pageviews.

14 comments
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณเจน

ช่วงนี้หมิงหมิงก็ดื้อมากเป็นพิเศษเลยครับ
เหมือนอยู่ในช่วงท้าทายพ่อแม่เลย

แต่กำลังคิดว่าจะมาปรับที่ตัวผมเองก่อน 555

คืออย่าไปโมโหจนเกินควร

เด็กก็คือเด็ก

ผู้ใหญ่ในบางเวลายังทำตัวงี่เง่าเจ้าปัญหาเลยนะครับ แหะๆๆๆ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 มีนาคม 2555 เวลา:6:47:42 น.
  
ซี..ทุกข้อค่ะ อิอิ
โดย: มี๊เก๋&ซีทะเล (kae+aoe ) วันที่: 16 มีนาคม 2555 เวลา:8:17:55 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณเจน






โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 มีนาคม 2555 เวลา:6:46:19 น.
  
เข้ามาเยี่ยมชมครับ ^^
โดย: Sahassa วันที่: 18 มีนาคม 2555 เวลา:6:03:08 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณเจน




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 มีนาคม 2555 เวลา:6:40:23 น.
  
แรงโก้พอดูจบหมิงหมิงก็ไม่ชอบนะครับ
ไม่ร้องดูอีกเลย
เค้าบอกว่า
เต่าโหดเกินไปครับ 555

ที่ไม่ชอบที่สุด
เป็นนิทานเรื่องแจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 มีนาคม 2555 เวลา:19:08:19 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณเจน


ช่วงนี้อัพบล็อกเรื่องการศึกษาต่อแล้วครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 มีนาคม 2555 เวลา:6:43:24 น.
  
สวัสดีค่ะ ช่วงนี้เด็กๆ ปิดเทอมแล้ว น้องอิค ไปเที่ยวไหนหรือป่าวคะ ส่วนเรโน่กะเรน่า กลับไปอยู่บ้านตากะยายที่เมืองเลยค่ะ
โดย: Always & Forever วันที่: 19 มีนาคม 2555 เวลา:11:16:53 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณเจน




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 มีนาคม 2555 เวลา:6:44:17 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณเจน





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 มีนาคม 2555 เวลา:6:28:07 น.
  
ปัญหาหลักอีกอย่างคือครูไทยมีความเข้าใจในตัวเด็กและมีความรู้ด้านจิตวิทยาน้อยมาก


.
.


เห็นด้วยกับคุณเจนเลยครับ
ผมสังเกตมาตลอด
ถ้าครูน่ารัก เข้าใจเด็ก
เด็กจะรักในการเรียนรู้เพิ่มมากมายมหาศาล

โดยธรรมชาติเด็กจะอยากรู้อยากเห็นอยากถามอยู่แล้ว

ขอเพียงครูทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นให้เด็กสนใจที่จะเรียนรู้
เข้าใจอุปนิสัยเด็ก


ซึ่งคุณสมบัติแบบนี้หายากพอสมควรนะครับจากครูที่มีอยุ่ในปัจจุบัน


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 มีนาคม 2555 เวลา:13:09:41 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณเจน





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 มีนาคม 2555 เวลา:6:29:30 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณเจน




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 23 มีนาคม 2555 เวลา:6:41:18 น.
  
แวะมาเยี่ยมค่า เห็นครูเจนหายหน้าหายตา...สบายดีนะคะ ^_^
โดย: กุ๊ดจัง วันที่: 12 มิถุนายน 2555 เวลา:21:48:54 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

JanE & IK
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 44 คน [?]



Group Blog
มีนาคม 2555

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog