ธารธรรมใสเย็นยิ่ง สุขได้
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
22 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 

A Special Thank

ขอกราบพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งสั่งสอนธรรม
ขอกราบพระธรรม ให้พบหนทางที่ให้ไปถึงที่สุดแห่งธรรมนั้น
ขอกราบพระสงฆ์ ผู้ดำรงไว้ซึ่งพระศาสนา สั่งสอนให่หมู่ชนทั้งหลายได้รู้ตาม พระพุทธเจ้า และพระธรรม

ขอกราบขอบพระคุณ พ่อและแม่ ที่ได้ให้กำเนิดลูก
ขอกราบขอบพระคุณ ท่านอาจารย์สัญชัย พรหมฤาษี ผู้ชี้แจงให้ข้าพเจ้าเข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้า
ขอกราบขอบพระคุณ ท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ผู้เป็นอาจารย์สำคัญอีกท่านหนึ่ง


ขอขอบคุณ คุณ oDaineo ผู้ที่ต้องการให้ข้าพเจ้าได้เก็บรวบรวม
ข้อคิดธรรมมะต่างๆ อยู่ในระบบดังที่เห็นนี้ และจะรวบรวมให้มากขึ้น

ขอขอบคุณ คุณมอสเมืองเพชร ผู้ให้กำลังข้าพเจ้าด้วยดีเสมอมา

ขอบคุณเพื่อนสหายธรรมทุกๆท่าน

ขอบคุณผู้อ่าน ทุกท่านที่ได้อ่านบทความของข้าพเจ้า

หากสิ่งใดจะเป็นประโยชน์แก่ท่านได้
ข้าพเจ้าขอยกผลบุญกุศลทั้งปวง แด่ผู้ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้

ใจพรานธรรม




 

Create Date : 22 กรกฎาคม 2552
5 comments
Last Update : 22 กรกฎาคม 2552 14:17:17 น.
Counter : 841 Pageviews.

 

เข้ามาทักทายค่ะ

 

โดย: good thinking 27 กรกฎาคม 2552 21:33:53 น.  

 

โจรตัดเศียรพระพุทธรูปไปขาย-กรรมของเขาจะเป็นอย่างไรคะ

คนทำลายพระพุทธรูป กับคนที่ทำลายพระธรรม
ผมก็คิดว่าบาปคงแตกต่างกัน ให้ผลต่างกัน
พุทธพจน์
"จริงอยู่อนันตริยกรรมทั้งหลาย ชื่อว่า มีโทษมาก
มิจฉาทิฏฐินั่นเทียว มีโทษมากกว่านั้น
อนันตริยกรรมยังกำหนดโทษได้ แต่การกำหนดนิยตมิจฉาทิฏฐิย่อมไม่มี
การออกจากภพย่อมไม่มี กรรมใด ๆ ก็ตามที่ทำแล้วย่อมให้ผล
แต่ความเห็นผิดนี้ ตราบใดที่ยังไม่หมดสิ้น และไม่อบรมความเห็นถูก
ผู้นั้นย่อมต้องวนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีกำหนดได้ว่า เมื่อไรจึงจะพ้น"
จากคุณ : ใจพรานธรรม
เขียนเมื่อ : 24 พ.ย. 52 16:58:57

 

โดย: ใจพรานธรรม 25 พฤศจิกายน 2552 16:16:12 น.  

 

พระอรหันต์จะมีอาการหลงลืมบ้างไหมครับ

- สมองเป็นสังขาร
สังขาร เที่ยงหรือไม่เที่ยง
และ จิตมิใช่สมอง(สมองเป็นรูปธรรม จิตเป็นนามธรรม)
อาการหลงลืมเป็นเพราะจิต หรือ สมอง
ความจำได้ หมายรู้ คือตัวสัญญา(เป็นสังขารขันธ์ ไม่ใช่กายสังขาร)
แต่สมองเป็นกายสังขารไม่ใช่จิต ทำหน้าที่สื่อกลางเท่านั้น
แล้วตัวจิตอยู่ที่ใหน
จิตก็คือตัวรู้
เช่น
เราได้ยินเสียง รู้ว่านี่เป็นเสียง นี่ จิตอยู่ตรงนี้(ไม่มีความรู้สึกตรงสมองอย่างใด)
เราได้ลิ้มรส รู้ว่านี่เป็นรส นี่ จิตอยู่ตรงนี้(ไม่มีความรู้สึกตรงสมองอย่างใด)

เราได้เห็นรูป รู้ว่านี่เป็นรูปจากการเห็น นี่ จิตอยู่ตรงนี้(ไม่มีความรู้สึกตรงสมองอย่างใด)

เราได้กลิ่น รู้ว่านี่เป็นกลิ่น นี่ จิตอยู่ตรงนี้(ไม่มีความรู้สึกตรงสมองอย่างใด)

เรารับรู้ได้จากการสัมผัส(ทางกาย ทางใจ)
รู้ว่านี่เป็นการสัมผัส(ทางกาย ทางใจ) นี่ จิตอยู่ตรงนี้(ไม่มีความรู้สึกตรงสมองอย่างใด)

ส่วนจะรู้ว่า นี่เสียงอะไร นี่กลิ่นอะไร นี่รูปอะไร นี่รสอะไร นี่สัมผัสอะไร
ความจำได้หมายรู้ ว่านั่นเปรี้ยว หวาน เป็นต้น
ว่านั้น เหม็น หอม เป็นต้น
ว่านั้น รูปสวย รูปไม่สวย ดี ไม่ดี เป็นต้น
ว่านั่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น
ส่วนนี้เป็นส่วนของสัญญา

สมองทำหน้าที่รับและส่งอารมณ์ เสมือนหนึ่งเป็นประตูให้กับจิตเท่านั้น
ถ้าความจำอยู่ที่สมอง และสัญญาอยู่ที่สมอง กรรมเจตนาบาปบุญ
ก็คงอยู่ที่สมองด้วย เมื่อตายเผาหรือสมองเสียหาย บาปบุญกรรมทั้งหลายคงเสื่อมหาย สูญสิ้นไปด้วย
หรือเราคงย้ายสมองของคนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ที่เสียชีวิตไปแล้ว
มาใส่สมองเรา เราจะได้เก่งเหมือนเขา
ซึ่งความจริงหาได้เป็นอย่างนั้น
ตัวรู้คือตัว จิต ก็หูของเราก็มี สมองของเราก็มี ยามหลับใหล จิตเข้าสู่ภวังค์ เหตุใดเราจึงไม่ได้ยินเสียง
หูหยุดทำงาน อย่างนั้นหรือ
สมองหยุดทำงานอย่างนั้นหรือ
แท้จริงเป็นเพราะจิตไม่ได้ยกเอาอารมณ์นั้นขึ้นสู่จิตใจต่างหาก

อาการหลงลืมเป็นอาการลักษณะของประตูที่เสียหาย ปิดเปิด เข้า-ออกยากลำบาก รับ-ส่งอารมณ์คลาดเคลื่นไปบ้าง
แต่จิตยังคงสภาพเดิม ต่างแค่อาการทางกาย ที่ปรากฎเท่านั้น

จากคุณ : ใจพรานธรรม
เขียนเมื่อ : 24 พ.ย. 52 11:39:08

 

โดย: ใจพรานธรรม 25 พฤศจิกายน 2552 16:17:42 น.  

 

ชาวพุทธไม่น้อยนิยมทำบุญด้วยการซื้อปลาจากตลาดที่กำลังรอคนซื้อไปกิน นำไปปล่อยในแหล่งน้ำเพื่อเป็นการทำบุญ มีใครคิดบ้างว่า
ปลาที่เราปล่อยไปนั้น มันไปกินลูกปลาเล็กปลาน้อยอีกกี่ร้อยกี่พันชีวิตในแหล่งน้ำนั้น เท่ากับว่าท่านช่วย1ชิวิตแต่ทำลายหลายพันชีวิต

- ตัวบุญอยู่ที่เจตนา คือความตั้งใจ ปล่อยให้เค้าได้มีชีวิตรอดปลอดภัย
การมีชีวิตรอดปลอดภัยหลังจากปล่อยไปนั้น ก็เป็นเรื่องกรรม
ที่เค้าจะได้รับและสร้างต่อไป เค้าจะสร้างหรือรับ กรรมที่ดีหรือไม่ดี
มันเป็นกรรมของเขา
เราปล่อยเขาไป ก็เป็นบุญของเรา เรื่องหลังจากนั้นก็เป็นเรื่องกรรมของเขา
เราหาได้เป็นส่วนสำคัญใดๆโดยการกระทำ
ของเขาเลย เพราะเจตนาที่เราจะไปรู้ไปรับตรงนั้นมันไม่มี

เปรียบดังบิดามารดาผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
แต่มีบุตรอันทรามหนีเป็นไปเป็นโจร
บุตรของเขาได้ลักทรัพย์ของพระราชาไป
เมื่อเหล่าทหาร หมู่อำมาตย์ จับกุมตัวของเขาไว้ได้
พระราชาผู้มีคุณธรรม จะต้องลงโทษอาญาแก่บิดามารดา พี่น้อง เหล่าญาติมิตร ของบุรุษโจรอย่างนั้นด้วยอย่างนั้น
ก็หามิได้
เพราะเหตุที่ เขาเหล่านั้นมิได้มีส่วนรู้เห็น ใน"การกระทำของบุรุษโจร" นี้เลย

อีกทั้งการให้กำเนิดแก่บุตรของบิดามารดา ก็ด้วยความมีเมตตาปราถนาดี
มิได้จงใจให้บุตรของเขาเป็นโจร ฉันใด
ผู้ฉลาดในการทำบุญก็ทำด้วยจิตอันปราถนาสุขแก่ผู้รับก็ฉันนั้น

หาได้ทำเพื่อก่อทุกข์ ก่อโทษแก่เขาหรือบุคคลใดๆ หรือ สัตว์ทั้งหลายแม้แต่น้อยเลย..

จากคุณ : ใจพรานธรรม
เขียนเมื่อ : 25 พ.ย. 52 15:02:33

 

โดย: ใจพรานธรรม 25 พฤศจิกายน 2552 16:18:41 น.  

 

คำถามครับ
การทำทานสละในสิ่งที่เราอยากมีอยากได้ ให้ผู้รับ
กับ
การทำทานสละในสิ่งที่ผู้รับอยากมี อยากได้ เราจึงให้
หากมีเจตนาความตั้งใจระดับเดียวกัน(ความจริงคงไม่เป็นอย่างนั้น)
ได้บุญเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่

มีความคิดเห็นกันอย่างไรกันบ้างครับ

จากคุณ : ใจพรานธรรม

- คำถามที่คุณใจพรานธรรมถามมานั้น ผมขอตอบตามความเห็นส่วนตัวโดยแยกเนื้อหาออกเป็น ๒ ส่วนครับ

ส่วนที่ ๑ คือ การทำทานสละในสิ่งที่เราอยากมีอยากได้ ให้ผู้รับ
ส่วนที่ ๒ คือ การทำทานสละในสิ่งที่ผู้รับอยากมี อยากได้ เราจึงให้

ซึ่งทั้งสองส่วนหากมีเจตนาความตั้งใจระดับเดียวกัน จะทำให้ทั้งสองส่วนได้บุญ จัดเป็นการทำบุญทั้งคู่ แต่ว่าบุญนี้จะไม่เท่ากันครับ ส่วนที่ ๑ นั้นจะได้บุญมากกว่า เพราะว่าส่วนที่ ๑ จะได้เต็มที่ถึง ๒ ต่อ

หมายถึง ต่อที่ ๑ ได้บุญจากการการสละสิ่งที่เราอยากมีอยากได้ หรือหวงแหนอยู่ออกไป เป็นการขัดเกลาความตระหนี่อันเป็นกิเลสในใจจัดเป็นเจตนาในการทำทานชั้นสูงกว่าเจตนาทำทานทั่วไป และต่อที่ ๒ หากสิ่งที่สละออกไปนั้น เป็นสิ่งที่ผู้รับต้องการมี ต้องการได้อยู่แล้วด้วยก็จะได้บุญเป็นปีติความสุขใจเมื่อเห็นผู้รับมีความสุข นำสิ่งที่เราสละออกไปนั้นใช้ประโยชน์ประการต่างๆ พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน

แต่ส่วนที่ ๒ นั้นจะเป็นการได้เพียงบุญต่อเดียว คือได้รับความปีติสุขใจเมื่อเห็นผู้รับมีความสุขหลังจากได้รับสิ่งที่ต้องการ และนำไปใช้ประโยชน์ประการต่างๆ ครับ

จากคุณ : ศิรัสพล
เขียนเมื่อ : 24 พ.ย. 52 09:00:17

-ให้หวีกับนักบวช..ให้แว่นสายตากับผู้ตาบอด..ให้ผ้าห่มกันหนาวแก่ผู้หิวโหยท้องกิ่ว
บางคนให้เพียงเพราะอยากจะให้..โดยไม่ได้สนใจว่าผู้รับอยากจะได้หรือเปล่า
ขอให้ได้ให้..มีนักข่าวมาบันทึกภาพแล้วก็เดินทางกลับ
ท่ามกลางเสียงบ่นของชาวบ้าน..เพราะต้องนั่งตากแดดรอมาครึ่งค่อนวัน
ไหนจะรอเจ้านายเดินทางมาถึง
เมื่อมาถึงแล้วก็ต้องเข้าไปพักผ่อนอิริยาบถจิบกาแฟในห้องรับรอง
ไหนจะต้องรอคอยนักข่าวที่จะมาบันทึกภาพ..ที่ดันเดินทางมาคนละเวลา
กรณีแบบนี้..ผลของการให้ไม่แน่ใจว่าจะเหลือติดกระเป๋ากลับบ้านสักกี่มากน้อย
<< ขอบ่นนิ๊ดดดนึง >>

การให้ย่อมดีแน่ครับ..ไม่ว่าจะให้เพื่อความมุ่งหมายใด
แต่การให้ที่สมบูรณ์..น่าจะมีความสุขใจเกิดขึ้นทั้งผู้ให้และผู้รับ..รวมถึงผู้ที่พบเห็น
ผู้ให้ก็ได้บุญ..ผู้รับก็ได้ประโยชน์จากสิ่งที่ให้เต็มที่..ผู้ที่พบเห็นก็อนุโมทนา
ประโยชน์และความสุขใจที่เกิดขึ้นกับใจของผู้รับ..และสังคมรอบข้าง
น่าจะทำให้จิตใจของผู้ให้ชุ่มชื่นเบิกบานอิ่มบุญไปได้..หลายวัน..???
จากคุณ : อารยัน

- อ่านความคิดเห็นแต่ละท่านแล้ว น่าประทับใจมากครับ
แต่ท่านกล่าวได้อย่างงดงามมากครับ
ทำให้เรารู้และเข้าใจว่า การความดีนั้นต้องอาศัย"ความเหมาะสม"
ขึ้นอยู่กับกาล เวลา สถานที่และบุคคล
ประเด็นของคำถามนี้จึงแบ่งออกเป็นสองส่วน(ในคำถามเดียวกัน)
ส่วนแรก อย่างใหนได้บุญมากกว่า หรือแตกต่างกันอย่างไร
ส่วนที่สอง ความเหมาะสม กาลเวลา สถานที่บุคคล ในการทำทาน

ซึ่งและคุณ ศิรัสพล ได้นำเสนอในส่วนแรก
คุณอารยันได้นำเสนอในส่วนที่สอง


และเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น
ผมขออนุญาต อธิบายเปรียบเทียบความคิดเห็นของคุณ ศิรัสพล
และ คุณ อารยัน เพื่อความเข้าใจให้ยิ่งขึ้นไป

---ในส่วนความคิดเห็นของคุณ ศิรัสพล---
(ซึ่งสังคมชาวพุทธยังมีความเข้าใจน้อย ในเรื่องนี้ )
เช่น สมมติว่าเรานั่งรับประทานอาหารอยู่ บนโต๊ะกับข้าว
มีปลาทูทอด ปลาทูต้มยำ ปลาทูนึ่ง และเราก็ชอบกินปลาทูทอดเป็นที่สุด
ขณะที่กำลังรับประทาน แมวตัวหนึ่งในบ้านของเรามานั่งมองอยากกินปลา
ทู มีคำถามว่าเราจะให้ปลาทูอะไร ให้แมวตัวนี้ดี ปลาทูทอด? ปลาทูต้มยำ?
หรือ ปลาทูนึ่ง?
ถ้าถือตามหลักการทำทาน ปลาอะไรก็ได้ ก็มิผิด
แต่ถ้าถือตามนัยที่คุณศิรัสพล นำมากล่าว เราควรจะให้ปลาทูทอด ดังนี้ครับ


---ในส่วนความคิดเห็นของคุณ อารยัน---
ที่ได้แสดงความห่วงใย เกรงว่าคำอธิบายของคุณศิรัสพล จะทำให้บางท่าน
เข้าใจคลาดเคลื่อนไป
ผมจึงขอนำมาเปรียบเทียบอีกครั้ง
ก็ขอเปรียบเทียบอาหารโต๊ะเดิมนั่นล่ะ แต่คนทาน คนละคน
มีแต่ปลาทูทอด ผักต้ม และน้ำพริก (สามรายการ)
แต่ครั้งนี้คนๆนี้ชอบผักต้มมาก แมวตัวเดิมอีกเช่นกัน
แม้คนๆนี้จะชอบผักต้มมากกว่าปลาทูทอดอย่างมากมาย
แต่เขาก็ไม่ควรสละผักต้มให้แมว
ควรสละปลาทูทอด จึงจะสมควร

ดังนั้นความเหมาะสม กาลเวลา สถานที่บุคคล ในการทำทาน
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
แต่หากจะถามว่าแล้วอย่างใหนได้บุญมากกว่ากัน
บุญอยู่ลด ที่ละ ที่ทำลายกิเลส
ทำอย่างใหน ได้ลด ได้ละ ได้ทำลายกิเลสมาก
ทำอย่างนั้นได้บุญมากกว่าแน่นอนครับ


ขอบคุณทุกๆท่านที่ร่วมตอบและอ่านด้วยครับ
ขออนุโมทนาสาธุ
จากคุณ : ใจพรานธรรม
เขียนเมื่อ : 24 พ.ย. 52 10:19:28

 

โดย: ใจพรานธรรม 25 พฤศจิกายน 2552 16:21:32 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ใจพรานธรรม
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




มีหลายเรื่องที่ควรสงสัย แต่เราไม่สงสัยในสิ่งต่างๆนั้นแล้ว
เราศรัทธาแต่ในพระรัตนตรัย

..แม้เทวดา มารหรือพรหม จะมีหรือไม่มีอยู่จริง
เราก็มีธรรม มีปัญญารู้ในสิ่งต่างๆนั้นด้วยตนเองแล้ว
ทั้งปัญญา ทั้งศรัทธา เป็นสิ่งที่ท่านต้องสร้างให้เกิดขึ้นเอง
ใครสร้างท่านไม่ได้

พระพุทธเจ้า พระองค์ดุจผู้บอกทางให้เท่านั้น
จะเดินหรือไม่ เรามิได้กล่าวโทษตำหนิท่านแต่อย่างใดเลย
ท่านเชื่อ ท่านก็เดิน ท่านไม่เชื่อก็ควรแล้ว ที่ท่านจะสงสัยควรแล้วที่ท่านจะปฏิบัติ เพื่อคลายความสงสัยนั้น
S! Radio
Express 4
เพลง ทานตะวัน ---ฟอร์ด
ศิลปิน รวมศิลปิน : Express
อัลบั้ม Express 4
ดูเนื้อเพลงคัดลอกโค้ดเพลงนี้
ขอบคุณ code และ ภาพ จากคุณ aggie_nan ตามลิงค์ที่อยู่ ด้านล่างครับ
Friends' blogs
[Add ใจพรานธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.