Enter At Your Own Risk!!
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
3 สิงหาคม 2559
 
All Blogs
 

Sinking of Japan - วิปโยควันสิ้นเกาะ

Sinking of Japan วิปโยควันสิ้นเกาะ
เรื่องโดย Komatsu Sakyou ภาพโดย Ishiki Tokihiko


--- MAJOR SPOILER ALERT ---


โอโนะเดระ โทชิโอะ เป็นนักขับเรือดำน้ำใต้ทะเลลึกมือหนึ่งในสิบของโลกที่บริษัทพัฒนาท้องทะเล K.K. ซื้อตัวมา งานอันตรายนี้ต้องมีลางสังหรณ์ดี ความสามารถสังเกตยอดเยี่ยม และประสาทสัมผัสที่เฉียบคม ในเดือนพฤศจิกายนที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมา โอโนะเดระที่มีนิสัยโดดเดี่ยวมีโอกาสพักผ่อน นักขับเรือดำน้ำรุ่นน้อง ยูกิ ชินจิ ชวนไปเที่ยวที่ร้านอาหาร/บาร์ในชั้นกึ่งใต้ถุนที่ตึกเก่าแห่งหนึ่งในชินจูกุ และก็เกิดเหตุการณ์ตึกทรุดเป็นเกลียวถล่มลง ในกลุ่มผู้ประสบภัยมี อาเบะ เรโกะ เจ้าหน้าที่กู้ภัยไฮเปอร์เรสคิวสังกัดหน่วยดับเพลิงโตเกียว (ภายหลังโดนพักงานชั่วคราวโทษฐานปฏิบัติหน้าที่โดยพลการขณะออกเวร), ทะโดโขะโระ ยูสึเกะ นักธรณีฟิสิกส์อิสระที่ตั้งสถาบันวิจัยของตนเอง และ ซากุไร มานามิ ที่เป็นครูประจำศูนย์รับเลี้ยงเด็กที่อยู่ชั้นบนสุดของตึก ซึ่งหลังจากเหตุการณ์นี้ผู้รอดตายก็ติดต่อกันจนสนิทสนมด้วย

หลังจากนั้นก็เกิดเหตุแปลกๆ มากมาย เช่น ปลาคาร์ฟในคูน้ำพระราชวังตายเพราะความร้อน ทางด่วนโทเมถล่ม แผ่นดินไหวที่ภูเขาเขตอิสึ ผศ. ยูคินางะ โนบุฮิโกะ ด้านธรณีใต้สมุทรจากมหาวิทยาลัย M (ปกติต้องมี ศ. ที่มหาวิทยาลัยเป็นหัวหน้าอยู่นา) ที่คอยช่วยงานทะโดโขะโระที่ดูจะสามารถเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้า ได้เล่าข้อสงสัยว่าจะเกิดแผ่นดินไหวระดับแปดแถบชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ให้เพื่อนรุ่นเดียวกัน คุนิเอดะ ยาสึโอะ ที่เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โอะงะตะ ชิเงะฮิโระ ทางคุนิเอดะจึงแนะนำต่อให้รัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรี ฮิโรตะ สัทสึกิ เพื่อความโปร่งใสเลยจัดเสวนาโดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ ยามาชิโระ มหาวิทยาลัย T เป็นนักวิชาการที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งคณะกรรมการวางมาตรการรับมือมหันตภัย อุตุนิยมวิทยาและธรณีวิทยา เศรษฐกิจ กฎหมาย (เรียกห้อง A-D)


แต่ทะโดโขะโระไม่สนใจร่วมเสวนา หนีออกไปคิดเรื่องในภูเขาและได้พบกับ วาตาริ ที่บอกว่ารู้จักกันพ่อของทะโดโขะโระด้วย ทะโดโขะโระเริ่มสำรวจบริเวณตึกถล่ม พบวัสดุที่เกิดจากแรงอัดมหาศาลและใต้ตึกมีอุโมงค์ลับ และตั้งข้อสงสัยให้สำรวจฝั่งทะเลญี่ปุ่น ทะโดโขะโระจึงติดต่อบริษัท K.K. และหัวหน้าแผนก โยชิมุระ กำหนดตัวโอโนะเดระให้ทำงานสำรวจใต้ทะเลด้วยเรือดำน้ำวาดะสึมิ ซึ่งก็พบว่าก้นทะเลมีการเปลี่ยนแปลงและเหตุการณ์อันตรายในเวลาเดียวกับที่ภูเขาไฟประทุในอิสึ แถมโอโนะเดระยังเห็นของในร้านที่จมหายไปแล้วลอยอยู่ในก้นทะเล ซึ่งการดำครั้งนี้ก็ทำให้ทั้งสองเริ่มระแวงสงสัย ซึ่งก็เกิดอย่างทันควันในเช้าวันขึ้นปีใหม่ ภูเขาไฟระเบิดและเกิดสึนามิที่อ่าวซางามิ ท่วมคนที่ชุมนุมกันหลายแสนเพื่อชมพระอาทิตย์ขึ้น (ในเรื่องบอกว่าละอองคลื่นซัดถึงความสูง 60 เมตร ซึ่งน่าจะสูงไม่น้อยกว่าคราวแผ่นดินไหวโตโฮคุปี 2011 ที่คลื่นสูงราว 40 เมตร)

ถึงเกิดเรื่องขนาดนี้แต่รัฐบาลก็ยังพยายามปิดว่าอุบัติภัยเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกัน แต่นักข่าว ทัตสึโนะ ริวอิจิ ก็พยายามตามหาเรื่อง ในขณะที่ทะโดโขะโระพบปัญหาว่ายามาชิโระบีบบริษัท K.K. ไม่ให้รับงาน (น่าสงสัยว่าทำได้ยังไง อิทธิพลขนาดนั้นเลยหรือ) ฮิโรตะที่ได้รับการสนับสนุนจากวาตาริที่เปิดตัวว่าเป็นผู้มีอิทธิพลในวงการเมืองโดยเปิด task force ห้อง D ลับพิเศษเพิ่มและหาสมาชิดที่โดดเด่นให้ คือ คาตาโอกะ คิโยชิ จากศูนย์วิจัยเทคโนโลยีป้องกันประเทศ, นาคาตะ คาซึนาริ ผู้เชี่ยวชาญด้านด้านสารสนเทศจากอเมริกา, ยาสึคาว่า โยอิจิโร่ ที่เป็นบัญชี, ยามาซากิ ทาคายูกิ ที่อยู่ฝ่ายสำรวจในคณะรัฐมนตรี แถมด้วยทัตสึโนะด้านข่าวสาร โดยทีมนี้ได้แย่งเรือดำน้ำเคลมาดิกที่เป็นรุ่นใหม่กว่ามาใช้เอง

ในเดือนมกรา ห้อง D ทำนายว่าจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่เกียวโตได้ล่วงหน้าสองวัน แต่รัฐบาลไม่ประกาศให้ประชาชนรู้ โอโนเดระจึงไปเตือน โก้ โระคุโร่ ที่เพื่อนสมัยเด็กและประสบเหตุจนตัดสินใจเข้าร่วมงานห้อง D ด้วย แล้วไม่นานก็เกิดแผ่นดินไหวที่โตเกียว (เล่ม 6) ...

เรื่องนี้น่าสนใตมากนะคะ เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่เสนอแนวคิดทางการเมืองและหน้าทีได้น่าสนใจทีเดียว ซึ่งก็เป็นเหตุให้ จขบ. จัดบล็อกนี้ในกลุ่มการ์ตูนการเมือง/สังคม เพราะรู้สึกว่าสื่อเรื่องผลกระทบต่อสังคมจากอุบัติภัยได้น่าสนใจว่าเรื่องทางวิทยาศาตร์ อย่างตอนแผ่นดินไหวที่โตเกียวที่ใช้เหตุการณ์แผ่นดินไหวปี 1923 เป็นกระจกสะท้อนประวัติศาสตร์ มีเรื่องแผ่นดินไหวที่โกเบปี 1995 ด้วย

แน่นอนว่าการถกเถียงตามทฤษฎีธรณีวิทยาและฟิสิกส์ก็มีที่อยากค้าน แต่จำเป็นตามโครงเรื่องเลยว่ากันไม่ได้ มีความเวอร์อย่างแรงในหลายจุด ตั้งแต่เล่มแรกตอนที่ตึกถล่ม ที่เกิดอุณหภูมิสูงผิดปกติ แต่พอตึกเดียวทรุดลงไปก็กลายเป็นเย็นขึ้นมาทันที ซึ่งในมุมมองของการเปลี่ยนรูปพลังงานมันแหม่งมาก อย่าว่าแต่เหตุการณ์สุดจะ localized อะไรจะขนาดนั้น เรื่องวัสดุใหม่ที่บอกว่าไม่รู้จัก แต่ไหงมีต่อว่าปกติพบในเปลือกโกลแต่เป็นครั้งแรกที่พบใกล้ผิวดิน และก็มีงงกับวาทะ 'ยุโรปกับอเมริกาก้าวล้ำนำสมัยกว่าเพราะเขานำแนวคิดทางวิทยาศาสตร์มาผสานกับแนวคิดด้านศาสนา ปรัชญา และสุนทรียศาสตร์จนกลายเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน' (จขบ. อยากกรีดร้องว่าช่วยยกตัวอย่างหน่อยได้ไหม) เรื่องเทคโนโลยีอุปกรณ์ก็อธิบายอย่างอ่านง่ายเพราะใช้การเทียบช่วยมาก

การแปลโดยทั่วไปโอเคนะคะ แต่ก็มีสงสัยหลายจุดเหมือนกัน อย่าง โบราณสถานของขั้วโลก การแปลศัพท์เทคนิคก็คิดว่าพอรู้เรื่อง ส่วนใหญ่เดาเป็นภาษาอังกฤษได้ บางครั้งมีชื่อให้ด้วย (แต่ถ้ามีหมดก็จะดีนะ) ลายเส้นอาจจะดูหยาบแต่ก็มีไดนามิกส์เหมาะกับเรื่องค่ะ สรุปว่าเรื่องน่าสนใจดี แต่พอออกถึงเล่ม 6 ก็เข้าไหดอง ลองค้นดูเห็นว่า 15 เล่มจบ ไม่ทราบว่าเมื่อไหร่จะได้อ่านจนจบนะคะ?
[03/08/16]

ที่มา
[1] Komatsu Sakyou & Ishiki Tokihiko. วิปโยควันสิ้นเกาะ (Nihon Chimbotsu). NED COMICS, เล่ม 1-6, 2550-2552 (ต้นฉบับ 2007).




 

Create Date : 03 สิงหาคม 2559
0 comments
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2559 8:08:00 น.
Counter : 2259 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


jackfruit_k
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 211 คน [?]




Latest Updates
นิยาย ไทย, จีนแปล, แปล, อังกฤษ; การ์ตูน ญี่ปุ่น, อื่นๆ; หนังสือ ไทย, แปล, อังกฤษ
New Comments
Friends' blogs
[Add jackfruit_k's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.