เรื่องรอบรู้ มีอยู่รอบตัว อย่ารู้แบบมั่วมั่ว ต้องคั่วแล้วคิดให้เป็น
<<
มกราคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
29 มกราคม 2556

LPG หรือ NGV

ติดตั้งแก๊ส LPGหรือ ติดตั้ง NGV อย่างไหนดีว่ากัน?

แก๊ส LPG ย่อมาจาก Liquefied Petroleum Gas คือ ก๊าซหุงต้ม มีชื่อเป็นทางการว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลว Liquefiedpetroleum gas เรียกย่อว่า LPG ซึ่งเป็นสารประกอบของ โพรเพน และบิวเพน ในอัตราส่วน 70:30 (PropaneC3H8, Butane C4H10) ได้มาจากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน หรือการแยกก๊าชธรรมชาติในโรงแยกก๊าชธรรมชาติ

ส่วนก๊าชธรรมชาติNGV ย่อมาจาก Natural Gas Vehicle หรือจริง ๆ แล้วมันแปลว่า พาหนะที่ใช้ก๊าชธรรมชาติ แต่คนเราก็เหมารวมเรียกเป็นชื่อแก๊สไปด้วยตัวแก๊สจริง ๆ เรียกว่า CNG ย่อมาจาก CompressedNatural Gas ก๊าชธรรมชาติที่ถูกบีบอัด หรือ LNG : LiquefiedNatural Gas ก๊าซธรรมชาติในรูปแบบของเหลว เอาเป็นว่าจะเรียกว่าอะไรก็ตาม มันคือ Natural Gas ก๊าซธรรมชาติก็แล้วกันมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ มีเทน (Methane CH4) ซึ่งเบากว่าอากาศแหล่งก๊าซหลักๆ ได้แก่ อ่าวไทย และ ท่อส่งจากพม่า

คุณสมบัติทั่วไป : NGV เบากว่าอากาศจึงลอยขึ้นข้างบน LPG รถยนต์ หนักกว่าอากาศ จึงกองรวมกับพื้น

สีและกลิ่น : ไร้สีและกลิ่นทั้งคู่แต่ตามมาตรฐานความปลอดภัย จึงเติมกลิ่นฉุน ๆ ลงไปให้เหม็น ๆ เวลาแก๊สรั่วจะได้รู้

การเผาไหม้ : เผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่าน้ำมันทั้งคู่จึงมีเขม่าน้อย และไม่มีสารตะกั่ว

จุดเดือด : NGV (-162) C, LPG (-50) C

จุดระเบิด : NGV 540 C, LPG 400 C

การบรรจุ: แก๊ส NGV เบากว่าอากาศและระเหยง่ายดังนั้นในการบรรจุถึงจึงต้องใช้แรงดันมากกว่าถังที่ใช้บรรจุจึงต้องใช้ถังที่ทนแรงดังสูง เมื่อเติมเต็มแล้ว ก๊าชจะมีแรงดันราว ๆ ประมาณ 2200 –2800 PSI หากเติมเต็ม ๆ จะถึง 3000 PSI หรือ 200 BAR ต้องใช้ถังเหล็กขึ้นรูป ไม่มีตะเข็บจะหนาราว ๆ 8 มม. (ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE R110) LPG หนักกว่าอากาศ และเวลาบรรจุในถัง ก๊าซหุงต้มจะควบแน่นอยู่ในรูปของเหลวถังที่บรรจุ จึงใช้ถังที่ทนแรงดันสูงไม่มาก เมื่อเติมเต็มแล้ว ก๊าซจะมีแรงดันราว ๆ100 – 130 PSI หรือประมาณ 4 – 6 BAR ต้องใช้ถังเหล็กขึ้นรูปไม่มีตะเข็บ จะหนาราว ๆ 2.5 มม. (ตามมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป ECE 67) **แรงดันลมขนาด 4 – 7 BAR มักใช้ในอุปกรณ์อุตสาหกรรมทั่วไปเช่น หัวฉีดลมสำหรับเป่าฝุ่น ซึ่งถ้ามาเป่าผิวหนังจะพอให้เป็นรอยบุ๋มเล็ก ๆไม่เจ็บไม่คัน

ข้อดี : ของการติดตั้งแก๊ส LPG

1. เป็นแก๊สที่เมื่อบรรจุใส่ถังแล้วใช้แรงดันต่ำประมาณ100 – 130 PSI หรือประมาณ 4 – 6 BAR

2. เป็นแก๊สที่มีกลิ่นเมื่อรั่วเราก็จะรู้ได้ทันที

3. ให้ค่าความร้อนใกล้เคียงกับน้ำมันเบ็นซิน

4. อุปกรณ์ต่างๆ ของระบบแก๊สรับแรงดันแก๊สค่อนข้างต่ำทำให้อายุการใช้งานยาวนาน และน้ำหนักเบา

5. หาเติมง่าย LPG มีปั๊มให้เลือกเติมได้ตามสบายนับไม่ถ้วน

ข้อเสีย : ของการติดตั้งแก๊สLPG

1. เป็นแก๊สที่มีน้ำหนักมากกว่าอากาศเวลารั่วจะลอยตัวอยู่เหนือพื้นดิน หากเกิดประกายไฟจะทำให้ติดไฟได้ง่าย

2. เป็นระบบแก๊สที่ติดตั้งได้ง่ายจึงทำให้เกิดร้านติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานมากมาย จึงเกิดปัญหาหลังจากนำไปใช้งาน

ข้อดี : ของการติดตั้งNGV, CNG

1. เป็นแก๊สที่มีเบามากกว่าอากาศเมื่อรั่วออกจากถังบรรจุจะลอยตัวขึ้น

2. ปตท.เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ในการขาย NGV ปั๊มที่มีขาย NGV ส่วนมากจึงเป็นปตท. บางจากมีนิดหน่อย (ประมาณว่า ราคาจึงขึ้นอยู่กับ ปตท.)

3. เนื่องด้วยการติดตั้งที่ยากจึงต้องมีขั้นตอนการเปิดศูนย์ติดตั้งที่ได้มาตรฐาน ร้านค้าที่ติดถัง NGV ต้องได้ตามมาตรฐานปตท.

4. ราคาแก๊สNGV ถูกกว่า LPG รถยนต์

5. ทางรัฐบาลสนับสนุนให้ใช้NGV

ข้อเสีย : ของการติดตั้งNGV, CNG

1. เป็นแก๊สที่ไม่สามารถบรรจุในถังด้วยแรงดันต่ำได้เพราะไม่ยอมเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวจึงต้องบรรจุด้วยแรงดันเพื่อการใช้งานที่ได้ระยะทางเพิ่มขึ้น ถัง 90 ลิตรน้ำวิ่งได้ประมาณ 150 กม. แรงดันที่ใช้บรรจุอยู่ที่ 3,200 PSI

2. อุปกรณ์มีน้ำหนักมากเนื่องด้วยต้องทำให้แข็งแรงทนต่อแรงดันที่สูงได้

3. ค่าความร้อนของตัวแก๊สจะต่ำกว่าน้ำมันเบ็นซินจึงทำให้สิ้นเปลืองแก๊สมากกว่าLPG รถยนต์

4. ต้องการการเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ

5. หาที่เติมยากกว่า LPG (ค่าสร้างปั๊มที่สามารถเติมNGV แพงเอาเรื่อง)

6. ค่าติดตั้งของ NGV จะสูงกว่า2 เท่า ของ LPG

**เหตุผลที่ทางรัฐบาลสนับสนุน NGV คือ ไม่อยากให้คนติด LPG ในการเติมรถ เพราะจะทำให้ ก๊าซหุงต้มสำหรับใช้ตามครัวเรือนไม่พอหรือทำให้มีราคาสูงขึ้น ทำให้ต้องขึ้นราคา เนื่องจากการLpg นำเข้าราคาสูง




Create Date : 29 มกราคม 2556
Last Update : 29 มกราคม 2556 22:06:25 น. 0 comments
Counter : 1513 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

MutainChiro
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add MutainChiro's blog to your web]