Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
22 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 

สุชาย ตรีรัตน์ : ทำไมต้อง “รัฐสวัสดิการ” .... ?

บทความถอดการอภิปราย "สุชาย ตรีรัตน์ : ทำไมต้อง “รัฐสวัสดิการ” .... ? " นำมาจากประชาไทซึ่งเผยแพรวันที่ : 22/10/2550 เป็นการเรียบเรียงโดย ศรายุธ ตั้งประเสริฐ จากวันที่ 20 ต.ค.50 พรรคแนวร่วมภาคประชาชน กลุ่มองค์กรพันธมิตรซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมทั้งจากในส่วนแรงงานและจากชนบทประมาณ 30 คน ได้จัดกิจกรรม ‘สมัชชาฝ่ายซ้าย’ ขึ้น ที่ตึกเกษม อุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รศ.ดร.สุชาย ตรีรัตน์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เป็นวิทยากรในหัวข้อ “ทำไมต้องรัฐสวัสดิการ.... ???? ซึ่งมีเนื้อหาในการอภิปรายเป็นการกล่าวถึงความเป็นมา และสถานการณ์ปัจจุบัน ของรัฐสวัสดิการ โดยเฉพาะในแสกนดิเนเวียไว้อย่างกระฉับน่าสนใจ รวมทั้งสถานการณ์ในประเทศไทย กับคำกล่าวที่ว่า “ ณ วันนี้ไม่ว่าเราจะเรียกตัวเองว่าเป็น กรรมกร เกษตรกร ชาวประมง ก็เป็นเพียงแต่รูปการภายนอกที่อาจจะดูแตกต่าง ... แต่โดยเนื้อแท้แล้วเราทั้งหมดล้วนแต่เป็นชนชั้นกรรมาชีพทั้งสิ้น”





รศ.ดร.สุชาย ได้อธิบายว่ารัฐสวัสดิการเป็นผลพวงจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพที่ต่อสู้กับนายทุน หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ไม่ได้เกิดจากการหยิบยื่นให้ด้วยความปราณีจากรัฐหรือนายทุน ซึ่งตัวทฤษฎีและรูปแบบได้ค่อยๆ สั่งสมและขยายตัวขึ้นโดยมีการกดขี่ขูดรีดของระบบทุนนิยมเป็นตัวกระตุ้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบรัฐสวัสดิการได้เติบโตจนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของระบบรัฐสวัสดิการในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ แต่เมื่อมาถึงช่วงทศวรรษที่ 70 การเกิดลัทธิเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ ของ อดัม สมิต โดยนางมากาเร็ต แธทเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และนายโรนัลด์ รีแกน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหอกในการนำมาใช้ โจมตีระบบรัฐสวัสดิการว่าเป็นการทำให้สังคมต้องรับผิดชอบกับคนงอมืองอเท้าทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลง และการแยกส่วนกลไกต่างๆ ของรัฐสวัสดิการ จึงเป็นการทำให้พลังในการต่อสู้ของระบบรัฐสวัสดิการลดความแหลมคมลง และทำให้ระบบรัฐสวัสดิการในหลายๆ ประเทศทั้งในยุโรปและอเมริกาต้องล่มสลายลง



จนในปัจจุบันเหลืออยู่แต่ในกลุ่มประเทศแสกนดิเนเวีย (สวีเดน นอรเวย์ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ค ฟินแลนด์) ซึ่งมีข้อที่น่าสนใจอยู่ว่ากลุ่มประเทศนี้คุณภาพชีวิตของประชาชนถูกจัดอยู่ในระดับที่สูงมาก และส่วนใหญ่ยังมีระบบกษัตริย์อยู่ ซึ่งหากจะโจมตีให้เป็นแนวทางลัทธิคอมมิวนิสต์ก็คงจะดูแปลกๆ



สำหรับประเทศไทยได้รับเอาแนวทางของคู่พระนางแห่งลัทธิเสรีนิยมใหม่ (แธทเชอร์,รีแกน) ความหมายของรัฐสวัสดิการได้ถูกบิดเบือนและถูกลดระดับจากทฤษฎีการต่อสู้ทางชนชั้นลงมาเป็นแค่รูปแบบ ‘สังคมสงเคราะห์’ หรือการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนเฉพาะด้าน เช่น กองทุนต่างๆ และที่สำคัญก็คือ เป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นแค่หน่วยงานราชการใหม่ที่นำเอาหยาดเหงื่อแรงงานของผู้ใช้แรงงานไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น แต่เมื่อมีวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นเช่นการเลิกจ้างรัฐก็ไม่ได้นำเอากองทุนเหล่านี้มาช่วยเหลือคนงานอย่างที่ควรจะเป็น



นโยบายประชานิยมเป็นการเริ่มต้นที่ค่อนข้างดีในการที่ทำให้คนชั้นล่างได้มองเห็นถึงสิทธิหรือสิ่งที่ตนเองมีสิทธิที่จะได้รับจากรัฐ แต่นโยบายประชานิยมไม่เท่ากับระบบรัฐสวัสดิการ การสานต่อแนวทางรัฐสวัสดิการจากต้นทุนที่สังคมมีอยู่ซึ่งก็คือการตื่นตัวของชนชั้นล่างจึงเป็นโจทย์ที่ต้องช่วยกันหาคำตอบ



แต่สำหรับแนวทางในการนำระบบรัฐสวัสดิการมาใช้ในส่วนของงบประมาณนั้น จะต้องไม่ใช่การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม,หรือภาษีบาปที่ได้จากเหล้า บุหรี่ หรือสลากกินแบ่ง มาใช้ในระบบรัฐสวัสดิการ และรูปแบบการจัดระบบสวัสดิการชุมชนที่ถูกสนับสนุนโดยรัฐและ NGOs ส่วนหนึ่งนั้น ไม่ใช่แนวคิดรัฐสวัสดิการ แต่ถือว่าเป็นการเบี่ยงเบนความหมายและเป็นการผลักภาระให้คนยากคนจน แต่จะต้องนำเอาโครงสร้างอัตราภาษีก้าวหน้ามาใช้



สำหรับคำถามที่ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งถือเป็นผู้ปฏิบัติการทางสังคมจะต้องค้นหาคำตอบก็คือ ระบบรัฐสวัสดิการในสังคมไทยจะต้องมีเนื้อหารายละเอียดในแต่ละส่วนอย่างไร ซึ่งน่าที่จะศึกษาบทเรียนประวัติศาสตร์จากที่อื่นๆ ด้วย และที่สำคัญคือ ทำอย่างไรที่จะไม่ให้แนวคิดรัฐสวัสดิการถูกช่วงชิง ทำลายไปโดยพรรคการเมืองที่ไม่ใช่ตัวแทนของชนชั้นกรรมาชีพ



รศ.สุชาย ตรีรัตน์ ได้กล่าวสรุปดังนี้

1.แม้แต่ในกลุ่มประเทศ แสกนดิเนเวียที่ใช้ระบบรัฐสวัสดิการก็ยังมีการต่อสู้ทางชนชั้นและระบบรัฐสวัสดิการก็ยังยืนหยัดท้าทายต่อสู้กับแนวทางเสรีนิยมใหม่มาโดยตลอด



2.แนวทางต่อสู้เปลี่ยนแปลงให้สังคมนำเอาระบบรัฐสวัสดิการมาใช้นั้นเป็นสิ่งที่มีทางเป็นไปได้เพราะเป็นยุทธศาสตร์ที่คนยากคนจน กรรมกร ชาวนาสามารถยอมรับได้



3.ในกระบวนการต่อสู้จะเป็นกระบวนการในการที่จะเปิดโปงให้ชนชั้นกรรมาชีพได้เห็นถึงการกดขี่ขูดรีดและความโกหกหลอกลวง



4.ชนชั้นชาวนาไม่มีอยู่แล้วในสังคมไทย ผลผลิตทางการเกษตรถูกกำหนดโดยกลไกตลาดทั้งหมด เกษตรกรเป็นเพียงแต่แรงงานในที่ดินและแรงงานไร้ที่ดินในภาคเกษตร และมีความสัมพันธ์กับภาคอุตสาหกรรมอย่างแยกไม่ออก ตอนนี้สังคมไทยก็คงมีแต่กรรมาชีพทั้งสิ้น



รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ ผู้จัดงานได้กล่าวเสริมว่า การต่อสู้เพื่อก้าวไปสู่รัฐสวัสดิการนั้นจะต้องมีพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนในการสะท้อนปัญหาและข้อเสนอทางการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพ และรัฐสวัสดิการในสังคมไทยจะต้องยึดหลัก การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า การให้บริการในระบบสวัสดิการสังคมแบบถ้วนหน้าไม่แบ่งแยกแตกต่างและเป็นระบบรัฐสวัสดิการที่ให้กับประชาชนแบบครบวงจร





 

Create Date : 22 ตุลาคม 2550
24 comments
Last Update : 22 ตุลาคม 2550 12:38:45 น.
Counter : 2630 Pageviews.

 

แว๊บมาปาด+เจิมไว้ก่อนค่ะ
เดี๋ยวเรียนเสร็จละมาอ่านอีกทีเน้อ

ปล. ขบอคุณที่แวะไปเยี่ยมค่าา

 

โดย: N'sinE IP: 210.75.123.194 22 ตุลาคม 2550 12:44:17 น.  

 

เช่นกันครับ N'sinE

 

โดย: Darksingha 22 ตุลาคม 2550 13:12:26 น.  

 

แต๊งอีกครับ ที่ไปเยี่ยม แล้วจะอ่าน จะตามเมนต์ทุกบล็อกเลยนะครับ ^^

 

โดย: BlT (BlT_HorroR ) 22 ตุลาคม 2550 15:10:36 น.  

 

ด้วยความยินดีครับสหายBlT_HorroR

 

โดย: darksingha IP: 61.19.59.3 22 ตุลาคม 2550 16:04:33 น.  

 

มาละค่ะ ตามสัญญา



อ่านมาแบบงงๆเพราะความรู้ด้านนี้ก็ด้อยเท่าหางอึ่ง
หะหะหะ

แต่ส่วนตัวคิดว่า...คงอีกนานนนนน เลยมั้งค่ะ
ถึงความเป็นไปของรัฐสวัสดิการในเมืองไทย

เหตุผล
อย่างแรก...ข้าพเจ้าคิดว่า ประชาชนไทยทีู่้สามารถ"เข้าถึงและรับรู้"ในสิทธิ์ของตัวเอง..ยังคงมีน้อย
(แม้ว่าสิทธิ์นั้นๆจะเป็นผลประโยชน์ฟรีๆของตนก็ตามเถอะ)
แถมส่วนมากก็จะไม่ค่อยสนใจกันเท่าไหร่หรอกใช่มะเรื่องแบบนี้
มีใบปลิวมาก็ไม่อ่านหรอกนะ
ประกาศกันโครมๆๆเข้าไปเหอะ...ฉันก็นั่งเล่นเนตฟังเพลงของฉันไปเนี่ย ไม่สนใจ...หนวกหูชะมัด
(อันนี้เป็นความจริงที่เจอมากับตัวค่ะ)

หนำซ้ำ..การเข้าถึงความรู้และ"ทำความเข้าใจ"กับสิทธิ์"อย่างถูกต้อง"..
และ..สามารถดำเนินการตามกระบวนการ(ที่ต้องยอมรับกันว่า)..จะวุ่นวายและยุ่งยากมากๆๆๆๆ(แน่นอน)
ของระบบราชการไทยได้สำเร็จลุล่วง
"คว้ามาได้"ซึ่งสิทธิ์อันนั้น....ก็ยิ่งมีน้อยลงตามอัตราระดับชั้นการศึกษาและเส้นสายในวงราชการ?

จริงมั้ยคะ?

และในระบบการเดินเรื่อง..ที่คงจะขยายขึ้นมาเป็นหน่วยงานขนาดยักษ์
เพื่อให้ครอบคลุมถึงประชาชนทั่วประเทศนั้น
แน่นอน..ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยกับคำนี้ค่ะ
...การคอรัปชั่น....อยู่ยงคงกระพันอยู่มาฉันใดก็อยู่ไปฉันนั้น ไม่เคยห่างหายไปจากวงการการเมืองและราชการไทย

ไม่ต้องพูดกันอีกต่อไปแล้วสินะคะ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นมาอีกบ้าง
มีบ่อยรู้กันจนเป็นสูตรแล้วนี่ ฮาาา

คอรัปชั่น ..เงินสูญ
เรื่องล่าช้า อ่ะ ทำการตรวจสอบ ..เงินสูญ
ประชาชน มารอดำเนินการ ไม่ต้องทำงานกันล่ะ ..เงินสูญ
ซักพักพอไม่ได้ดังใจ ประท้วงสิคะพี่น้อง สิทธิ์กูๆๆ ..เงิน?..เก๊อะสูญอีก

วนเวียนกันไปอย่างนี้...ไม่มีจบสิ้น...อา
รัฐสวัสดิการจ๋า แล้วเราจะเจอกันเมื่อไหร่หนอ



อืม..ทั้งนี้ทั้งนั้น..เป็นความคิดส่วนตัวล้วนๆ ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะคะ

 

โดย: N'SinE 22 ตุลาคม 2550 20:31:41 น.  

 

ขอบคุรครับ N'SinE ไว้ค่อยมาแลกเลี่ยน

 

โดย: Darksingha 22 ตุลาคม 2550 22:51:13 น.  

 





...................ขอบคุณมากนะครับที่แวะไปเยี่ยมเยียนกัน...................

 

โดย: doctorbird 23 ตุลาคม 2550 20:59:29 น.  

 

ขอบคุณครับสหายdoctorbird ที่เข้ามาเยี่ยมครับ

แลกเปลี่ยนสหาย N'SinE ผมเห็นด้วยกับคุณนะครับ
ความจริงรัฐสวัสดิการที่ไม่ใช่รัฐสังคมสงเคราะห์ที่เป็นอยู่ มันจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรในสังคมมากกว่าที่เป็นอยู่ คนใช่มากก็ต้องเสียมาก ไม่ใช่ระบบน้ำล้นอย่างที่เป็นอยู่ มันเป็นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

ผมก็ยังสงสัยต่อจากข้อสังเกตุของสหาย N'SinE ครับ ที่คุณว่า "ประชาชนไทยทีู่้สามารถ"เข้าถึงและรับรู้"ในสิทธิ์ของตัวเอง..ยังคงมีน้อย
(แม้ว่าสิทธิ์นั้นๆจะเป็นผลประโยชน์ฟรีๆของตนก็ตามเถอะ)
แถมส่วนมากก็จะไม่ค่อยสนใจกันเท่าไหร่หรอกใช่มะเรื่องแบบนี้
มีใบปลิวมาก็ไม่อ่านหรอกนะ
ประกาศกันโครมๆๆเข้าไปเหอะ...ฉันก็นั่งเล่นเนตฟังเพลงของฉันไปเนี่ย ไม่สนใจ...หนวกหูชะมัด
(อันนี้เป็นความจริงที่เจอมากับตัวค่ะ)"
เออตกลงแล้วทำไมเขาถึงไม่สนใจ?สิทธิ์นั้นๆทั้งๆที่จะเป็นผลประโยชน์ฟรีๆของตนก็ตาม

ผมหันไปถามลุงมาแกกำลังจะไปเข้านา แกบอกว่าไม่รู้ซิรู้แต่ว่าลุงต้องรีบไปทำนาแล้ว เดี๋ยวจะถึงชั่วโมงที่เขาผันน้ำมาให้แล้วถ้าไม่รีบก็อีกนาน ไอ้ผู้ใหญ่มันก็ตามทวงหนี้ถ้าไม่ให้วันนี้มีหวังอ่วม ดอกทบต้นแล้วด้วย
ผมถามแล้วลุงกู้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ ก็ต้นปีนั่นแหละพอดีแม่อีหนูต้องเข้าโรงพยาบาลเสีย 30 บาทจริงแต่ไม่มีใครช่วยทำงาน ไอ้จุกมันก็พึ่งเข้าโรงเรียนเขาก็เก็บสารพัด
อ้าวแล้วลุงไม่มีเงินออมหรือ ลุงแกก็งง กรูจะไปเอาเงินที่ไหนมาออมฟ๊ะ ลำพังค่าเช่านาทีก็ไม่มีจะให้แล้ว

ลุงต้งรีบไปแล้ว
ครับๆงวดนี้ขอให้ถูกหวยนะลุง

ผมกลับมาคิดลุงแกตอบคำถามผมแล้ว

...การคอรัปชั่น....อยู่ยงคงกระพัน

การที่จะเกิดการแสวงหาค่าเช่าจากตำแหน่งได้(การคอรัปชั่น) มันต้องเกิดจากการที่สังคมนั้นมีการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินทางเศรษฐกิจ ในที่นี้ก็คือรัฐ แล้วจะทำยังไงให้ต้นทุนการคอร์รัปชั่นสูงขึ้น ผมว่าอาจารย์นิธิตอบไว้ดีครับ คือ สังคมกระตือรือร้น ในบทความไม่มีความโปร่งใสในสังคมเฉื่อยแฉะ ตามLinkนี้เลยครับ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=inthedark&month=17-10-2007&group=14&gblog=39

ผมว่าไปๆมาๆคำตอบของข้อสองก็กลับมาคำถามแลกนั่นหละครับ

ผมตามไปถามลุงมา ลุงทำไงดี ครับ ลุงแกตะโกนกลับมา เอไอ้นี้ไม่รู้เว้ยเรื่องของราชการ คนใหญ่คนโตเขา ทำนาส่งไอ้จุกเรียนสูงๆมันจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ข้าว่าเย็นนี้จะไปที่อำเภอหน่อยว่าจะไปบอกให้เขาเพิ่มเวลาส่งน้ำหน่อย น้ำไม่พอนา เห็นว่าต้องส่งไปสนามก๊อปเพิ่ม ลุงจะไปยังไง4โมงอำเภอก็ปิดแล้ว เออหวะแล้วจะทำไง

 

โดย: Darksingha 24 ตุลาคม 2550 11:57:00 น.  

 

เอาอะไรมาให้ดูกันครับ
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย



รศ. ใจ อึ๊งภากรณ์

ภาคปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย





ผู้ที่กล่าวหาอดีตนายกฯ ทักษิณว่ากระทำความผิด มีความถูกต้องในการมองว่าทักษิณคอร์รัปชั่นทางนโยบายในการไม่จ่ายภาษีและการกระทำอื่นๆ ที่ให้ผลประโยชน์กับตนเอง ทั้งๆ ที่พฤติกรรมดังกล่าวไม่ถือว่าผิดกฏหมายสมัยนั้น แต่ตอนนี้เป็นที่น่าสลดใจ ที่ผมต้องรายงานให้ทราบว่า คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ คณะของผม กระทำการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายอันใหญ่หลวง เพราะมีการนำเงินภาษีประชาชนคนยากคนจนในจำนวน 42.6 ล้านบาท มาทำ ‘การวิจัย’ เรื่องประชาธิปไตย



พฤติกรรมนี้เป็นการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย และเป็นการโกงประชาชน เพราะผู้บริหารคณะรัฐศาสตร์ และอาจารย์ในคณะเกือบทั้งหมดสนับสนุนการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ทำลายประชาธิปไตย ต่อจากนั้น กลุ่มอาจารย์เหล่านี้เข้าไปรับตำแหน่งและค่าตอบแทนจากการเป็นที่ปรึกษา คมช. ที่ปรึกษารัฐบาลเผด็จการ และเข้าไปดำรงตำแหน่งในสนช. สภาเถื่อนที่เผด็จการแต่งตั้ง และสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ของเผด็จการที่ลดทอนสิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตย



คณาจารย์เหล่านี้สนับสนุนคมช.มาตลอดและสนับสนุนรัฐธรรมนูญของเผด็จการ พร้อมกันนั้น มีการเห็นด้วยสมยอมเพิกเฉยกับทางมหาวิทยาลัยส่วนกลาง ในการสั่งไม่ขายหนังสือต่างๆ ที่คัดค้านการทำรัฐประหาร เช่นหนังสือ A Coup for the Rich เป็นต้น แถมยังมีการเดินหน้าในกระบวนการสอบสวนพฤติกรรมของอาจารย์ที่คัดค้านเผด็จการ ซึ่งถือว่าละเมิดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ



“โครงการศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย” Thailand Democracy Watch ของคณะรัฐศาสตร์ ได้งบประมาณจากภาษีประชาชนถึง 42.6 ล้านบาท โดยหัวหน้าทีมวิจัยคือ จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ นักวิชาการคนนี้ได้นำทีมอาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ไปแก้ตัวแทนคมช.และการทำรัฐประหารตามมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียและอังกฤษ โดยใช้เงินภาษีประชาชนในการเดินทาง



ผู้ที่มีหน้าที่สร้างโครงการวิจัยนี้ อ้างว่าสังคมไทยไม่มีการเรียนรู้จากอดีต ทำให้มี “วงจรอุบาทว์ทางการเมือง” มีการด่าพลเมืองไทยว่ามีนิสัยและวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่ยอมเรียนรู้ เพิกเฉย ยอมรับคอร์รัปชั่น คำนึงถึงผลประโยชน์ใกล้ตัว ไม่ไตร่ตรอง ไม่แสวงหาข้อมูลและเหตุผล ซึ่งเป็นการด่าคนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และเป็นการด่าผู้จ่ายภาษีให้นักวิชาการมีอาชีพได้



โครงการนี้อ้างว่าคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ มีหน้าที่ในการชี้นำสังคมไทยด้านการเมืองประชาธิปไตย ให้ข้อมูลแก่ประชาชน สร้าง “ดัชนีประชาธิปไตย” เพื่อสามารถเป็นที่อ้างอิงของนักวิชาการต่างประเทศ



การที่คณาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ไม่มีความละอายใจ ไม่รู้จักความผิดของตนเองในการสนับสนุนและการร่วมมือกับเผด็จการ เป็นเรื่องน่าเศร้าและเป็นเรื่องที่ทำให้ชื่อเสียงของคณะเสียไป ขายหน้าประชาสังคมทั้งในไทยและภายนอกประเทศ แต่การรับเงินมาเป็นล้านๆ โดยการอ้างว่าคณะมีอะไรจะสั่งสอนพลเมืองไทยและนักวิชาการต่างประเทศเป็นเรื่องเหลวไหลน่ารังเกียจอย่างถึงที่สุด ผมไม่เคยคิดว่าคณะของผมจะคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายและขาดศีลธรรมในอุดมการณ์แบบนี้ วันนี้เป็นวันที่ชื่อเสียงของคณะกลายเป็นสิ่งสกปรก







ด้วยความเศร้าใจ



รศ. ใจ อึ๊งภากรณ์

ภาคปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ที่มา : ประชาไท วันที่ : 23/10/2550

แล้วลุงมาแกจะรูไหมเนี้ยะ ที่สำคัญแกอยากรูไหม ยังไงรองถามลุงแกก่อน ขอบคุณอาจารย์ใจครับ

 

โดย: Darksingha 24 ตุลาคม 2550 12:10:37 น.  

 

คือ..มองเป็นสองอย่างกว้างๆค่ะ
หนึ่ง กลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงข่าวสาร
ทั้งๆที่เป็นประชาชนส่วนที่ต้องการได้ความช่วยเหลือจากสิทธิ์นั้นมากที่สุด

สอง กลุ่มคนที่เข้าถึงข่าวสารได้ (หมายความโดยรวมถึงคนในสังคมเมืองและมีฐานะพอควร)
ซึ่งคนพวกนี้(มักจะ)่ไม่สนใจจะได้สิทธิ์นั้น
ก็ในเมื่อมีพร้อมอยู่แล้ว หรือสามารถหาสิ่งที่ดีกว่ามาได้ด้วยกำลังตัวเอง
จะไปเดินเรื่องให้มันยุ่งยากทำไม?


อะไรแบบเนี้ยค่ะ

 

โดย: ืืN'sinE IP: 210.75.123.194 24 ตุลาคม 2550 20:02:43 น.  

 

ขอบคุณครับ สหาย N'sinE ที่เข้ามาแลกเปลี่ยน

 

โดย: Darksingha 25 ตุลาคม 2550 11:01:49 น.  

 

ตามหลักเศรษฐศาตร์ได้กล่าวไว้ว่า สวัสดิการรัฐบางอยาง เช่นการสะสมเงินออม สำรอง ต่างๆ ไม่ได้สร้างให้เกิดการลงทุน กระบวนการหมุนเวียนเงินตราในกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด
ส่วนรายละเอียดอธิบายเพราะอะไรนั้น เด๋วขอไปเปิดตำราก่อนค่ะ อิอิอิอิ

 

โดย: Mudmee (Princess in the Blue ) 26 ตุลาคม 2550 21:01:55 น.  

 

ขออีกที ขอบอกว่า ไม่เห็นด้วยมั่กๆ ที่เหล่าคณะอาจารย์เหล่านั้น ทำเช่นนั้น

 

โดย: Princess in the Blue 26 ตุลาคม 2550 21:03:44 น.  

 

ขอบคุณครับคุณ Princess in the Blue สำหรับการแลกเปลี่ยน ผมเห็นด้วยกับคุณครับ

ด้วยเหตุนี้จำมีสถาบันทางการเงินต่างๆ เป็นสื่อกลางระหว่าง ผู้ ออม กับผู้ลงทุน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต (บางครั้งก็ไม่ผ่านสื่อกลางเช่นเงินกู้นอกระบบออมไปลงทุนไปด้วยดอกเบี้ยโหดรวยไปเลย) ก่อให้เกิดความมั่งคั่ง เพราะความมั่งคั่งของรัฐไม่ได้เกิดจากเงินทองในท้องประคั่งแต่อยู่ที่ประสิทธิภาพในการผลิต ยืมมุข อดัม สมิท มาใช้หน่อย

ซึ่งสื่อกลางเหล่านั้นก็เป็นประดิษฐกรรมใหม่ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต และเดี๋ยวนี้ก็ออกมาอีกเพี่ยบเลย ตามไม่ทัน(ตรงนี้ก็นำไปสู่การแสวงหามูลค่าส่วนเกิดทางเศรษฐกิจได้ด้วยผ่านตัวกลางเหล่านั้น)

เป้าหมายทางเศรษฐกิจ นอกจากสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth)และการจ้างงานเต็มที่(Full Employment)
ซึ่งเป็นผลมาจาก ประสิทธิภาพในการผลิตของระบบแล้วนั้น ยังมีเป้าหมายที่จะต้อง จัดสรรทรัพยากร(Reallocation of Resources)และกระจาย(Equal Distribution of Income ) ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม อันนี้คงเป็นโรบินฮูดโมเดล รวมทั้งรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ (Economic Stability)

บางครั้งประสิทธิภาพในการผลิตกับความเป็นธรรมในระบบ มันก็อาจขัดกัน แล้วเราจะทำอย่างไรให้ทั้ง 2 นี้ไปด้วยกัน

พอดีมองไปที่ลูกบอล 3 ลูกแรกโตจริงครับ แต่มันดันไม่กลมครับ เวลากลิ่งไปก็เป๋ไปเป๋มา
มาดูลูกที่ 2 ครับ กลมดิ๊กเลย แต่ลูกกระจิ๋วเดียว กลิ้งไปช้าจริงถ้าหากจะให้เร็วก็ต้องผลักมันแรงๆ

ลูกที่ 3 ครับกลมด้วยใหญ่ด้วย ดังนั้นเวลากลิ้งมันไปเร็วและตรงอย่างมั่นคงด้วย

เฮอ! ไอ้ลูกที่ 3 นี้ผมก็ไม่เห็นในประเทศไทยเลย รวมทั้งรูปที่ 2 ด้วยครับ ประเทศไทยมีแต่ลูกที่ 1 โตครับแต่ไม่กลม ไอ้ส่วนที่โตก็ยิ่งโตส่วนที่เว้าก็ยิ่งเว้า กลิ้งไปซ้ายมันดันไปยังกับคนเมา

นานมาแล้วผมเห็นลูกที่ 2 ที่ได้หวัน(ไปเห็นที่หนังสือนะครับเกิดไม่ทัน) และปัจจุบันเขาก็เป็นลูกที่ 3 ครับ

พอดีแลกเปลี่ยนกับคุณPrincess in the Blue มา ก็นึกถึงเกาหลี ผมว่าเขาก็ยังเป็นลูกที่ 1 อยู่มั้งครับ ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า "แชโบว" ไม่รู้สะกดถูกปล่าว แต่เขาคงเปี้ยวสู้บ้านเราไม่ได้ระมัง ช่องว่างระหว่างส่วนที่แฟ๊บกับส่วนที่ฟูมันช่างห่างกันซะ

ถามลุงมาแกก็บอกสั้นๆว่า โอ้มันก็เป็นผลกรรมมาจากชาติที่แล้ว อยากได้ลูกบอลที่ 3 ก็ทำบุญเยอะๆ รู้จักไหมเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเองมันไม่รู้จักพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันเองนี้หว่า เองจนเพราะตัวเองๆไม่มีใครมาทำให้เองจนหลอก

เขาใจแล้วครับลุงมา

ลุงมาแกก็ตะโกนใส่หูตบท้ายจนหูผมชาไปเลยว่า
ความยากจนมันเป็นปัญหาที่ปัจเจคไม่ใช่ปัยหาเชิงโครงสร้าง รู้จักไหมเศรษฐกิจพอเพี้ยงหะ!!!!!

ตอนนั้นผมหูอื้อเหมือนโดนยากล่อมประสาทไปพักใหญ่ รู้แต่ว่าลุงมาแกไม่ธรรมดาใช้คำว่าปัจเจคและเชิงโครงสร้าง เสียด้วย

 

โดย: Darksingha 27 ตุลาคม 2550 11:53:27 น.  

 

ขอบคํณที่มาเยี่ยมชมบล็อกของผมครับ

หากต้องการความรู้เรื่องธงต่างๆ อีกก็มาได้เลยครับ ยินดีต้อนรับเสมอ

ปล. บล็อกคุณมีเรื่องดีๆ น่ารู้เพียบจริงๆ ผมเลยแอดบล็อกของคุณไว้แล้ว วันหลังจะมาเยี่ยมบ่อยๆ นะครับ

 

โดย: เซียงยอด 29 ตุลาคม 2550 1:10:20 น.  

 





............ขอให้มีความสุขมากๆนะครับ............

 

โดย: doctorbird 29 ตุลาคม 2550 18:37:22 น.  

 

ความห่างของชนชั้นมันขยายตัวมาก่อนแล้วครับ
ว่าด้วยระบบศักดินาที่ยังรากลึกอยู่ภายในประเทศ
ผู้ที่ได้ถูกกล่าวชื่อว่ารากหญ้าก็คงไม่สามารถเข้าถึงสิทธิของตนเองได้
มิใช่ว่าเขาจะทำไม่ได้ หากแต่เพราะทัศนะของเขาที่ได้จากสิ่งแวดล้อมที่มีฐานมาจากระบบศักดินา
กลายเป็นว่าเขาขอมีความสุขตามที่รัฐยื่นมาให้มากกว่า
ถ้ารัฐบาลไหนให้ความสุขให้แก่เขาได้ เขาก็ยินดีเทคะแนนให้อย่างสุดใจ

หากเรื่องที่กล่าวไว้ว่าการช่วยมากๆนั้นรั้งแต่จะให้คนที่ถูกช่วยเกียจคร้าน
แม้จะเป็นความจริงแต่ก็แก้ไขได้ยากในระบบรากฐานของศักดินา
ดั่งว่าพวกเขาต้องมีนายเหนืออยู่เสมอๆ
ความภูมิใจในศักดิ์ศรีของตนเองจึงเกิดขึ้นได้ยาก
หากเมื่อรัฐจะมิให้สวัสดิการใดๆนั้นก็คงเป็นการลำบาก
เพราะคนส่วนใหญ่ก็คงไม่พร้อมที่จะพบกับการเปลี่ยนแปลงซึ่งนำไปสู่การแข่งขัน

ผมเห็นด้วยนะครับที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
แต่ผมไม่เห็นด้วยที่จะทำให้เกิดการแข่งขันเชิงชัยชนะ

ปล.มาแสดงความคิดเห็นครับ

 

โดย: ทะเลคราม (blueocynia ) 30 ตุลาคม 2550 0:46:05 น.  

 

emo

 

โดย: wbj 30 ตุลาคม 2550 10:41:15 น.  

 

ขอบคุณคุณ wbj และทะเลคราม ที่เข้ามาเยี่ยมและแลกเปลี่ยนครับ ผมเห็นด้วยกับคุณครับ

ผมขออนุณาติคิดต่อยอดและตั้งคำถามต่อจาก คุณทะเลคราม ปัจจัยที่ทำให้เกิดความห่างชั้นมันเกิดมาจากความสามารถในการขูดรีดมูลค่าส่วนเกิดนทางเศรษฐกิจ ดังที่คุณกล่าวว่า "ความห่างของชนชั้นมันขยายตัวมาก่อนแล้วครับ" ก่อนนี้ผมก็ไม่แน่ใจว่าเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยใดนะครับที่คุณกล่าว แต่สำหรับผมก่อนหน้าสมัยปฎิรูปการปกครัองของ ร.5 อำนาจรัฐไม่ได้ครอบคลุมเหมือนตอนนี้ที่เราสถาปณารัฐชาตสมัยใหม่ได้สำเร็จแล้ว
เมื่ออำนาจไม่ครอบคลุม ความสามารถในการขูดรีดก็ไม่ครอบคุลม สมัยนั้นการขูดรีดโดยรัฐที่สำคัญก็คงจะเป็นแรงงานมั้งครับ ในสังคมเอเชีย
กลับไปดูเมื่อเริ่มมีความห่างในชั้นๆในที่นี้น่าจะเป็นความสามารถในการเข้าถึงและขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน ก็ทำให้เกิดการพึ่งพากัน ระหว่างฝ่ายที่มีปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่งและไม่มีปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่ง เหมือนผมมีแต่แรงงานคุณมีแต่สมองการจะผลิตอะไรที่ต้องใช้ 2 อย่างก็คงต้องพึ่งพากัน ปัญหามันก็อยู่ที่ว่าค่าตอบแทนปัจจัยนั้นมันเป็นธรรมหรือปล่าวก็เท่านั้น การพึ่งพาอันนี้ก็คงเรียกว่าระบบอุปถัมภ์เป็นความสัมพันธ์ในการผลิตเพราะระบบอุปถัมภ์คงไม่เกิดในสังคมที่เท่าเทียม นั่นคงเป็นสิ่งที่คุณเรียกว่า "พวกเขาต้องมีนายเหนืออยู่เสมอๆ " นั้นกระมัง
การที่เขาต้องมีนาย นายในที่นี้น่าจะหมายถึงผู้ที่เข้าถึงทรัพยากรได้ดีกว่า ดังนั้นมันก็เป้นความจำเป็นที่เขาต้องทำเช่นนั้น
ดังนั้นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่กล่าวมาคืออะไร ก็จัดการที่จุดนั้น ผมว่ารัฐสวัสดิการเป้นอะไรที่ไปจัดการที่จุดนั้น มิใช่พรั่มสวดแต่เศรษฐกิจพอเพี้ยง ชักมั่วแล้วเราจบแค่นี้ดีกว่า

 

โดย: Darksingha 30 ตุลาคม 2550 11:43:51 น.  

 






........คนไทยทุกคนรักพ่อ และจะทำดีเพื่อพ่อของเราตลอดไป........

 

โดย: doctorbird 2 พฤศจิกายน 2550 0:33:53 น.  

 

ขอบคุณครับคุณdoctorbird

ผมจะทำดี(ตามความคาดหวังของกระแสในสังคม)เพื่อประชาชนประชาชนประชาชนประชาชนประชาชนประชาชนโดยเฉพาะผู้ยากไร้ผู้ยากไร้ผู้ยากไร้ผู้ยากไร้ผู้ยากไร้ผู้ยากไร้ผู้ยากไร้ครับ

 

โดย: Darksingha 2 พฤศจิกายน 2550 14:08:04 น.  

 

แวะมาบอกว่าอัพบล๊อกละค่ะ...เชิญชมๆ

 

โดย: N'SinE 3 พฤศจิกายน 2550 11:50:41 น.  

 

ผมน่ะแวะมาอ่านของคุณ darksingha อยู่เรื่อยๆ แต่ไม่ค่อยได้มาลงชื่อเลย

แต่ยอมรับว่าอ่านไม่ค่อยจะจบ เพราะไม่ค่อยมีเวลาน่ะครับ ขออภัยตรงนี้ด้วย

แต่คุณเสียอีกที่แวะไปลงชื่อบ่อยๆ ของทางผม ขอโทษทีนะครับ

แล้วจะแวะมาอ่านให้บ่อยขึ้นครับผม

 

โดย: BrettAnderson (BrettAnderson ) 6 พฤศจิกายน 2550 19:00:16 น.  

 

ด้วยความยินดีครับคุณ
BrettAnderson

 

โดย: Darksingha 7 พฤศจิกายน 2550 12:00:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.