Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
27 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
เมื่อไทยทำซีแอลยาเอดส์ : ส.ว.เดโมแครตผิด รัฐไทยผิด อุตสาหกรรมยาอเมริกันผิด คนจนในไทยผิด หรือใครผิด?

บทความ "เมื่อไทยทำซีแอลยาเอดส์ : ส.ว.เดโมแครตผิด รัฐไทยผิด อุตสาหกรรมยาอเมริกันผิด คนจนในไทยผิด หรือใครผิด?"ฉบับนี้ เป็นจดหมายจาก ศ. Brook K. Baker นักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ธอีสเทิร์น ที่ตอบโต้ Sally C. Pipes ประธานและผู้บริหารแห่งสถาบันวิจัยแห่งแปซิฟิก ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนบางส่วนจากอุตสากรรมยา และเป็นที่ปรึกษาด้านนโยบายสาธารณสุขแก่นักการเมืองพรรครีพับบลิกัน หลังจากที่ นาง Pipes เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ The Hill โจมตีการตัดสินใจทำซีแอลของรัฐบาลไทย ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาไทยโดยประชาไทเผยแพร่เมื่อวันที่ 23/10/2550




ที่มาของภาพประกอบ weblog.greenpeace.org








อย่าเห็นดีเห็นงามกับการปล้นสิทธิบัตรยาเอดส์

คอลัมน์ Op-eds หนังสือพิมพ์ The Hill



โดย Sally C. Pipes

18 ตุลาคม 2550



ลองคิดดูว่า หากสภาคองเกรสสนับสนุนมติที่ให้การยกย่องรัฐบาลต่างชาติที่เพิ่งใช้กำลังทหารก่อรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อไม่นานมานี้ กระทำการฉกฉวยทรัพย์สมบัติของบริษัทอเมริกัน และบ่อนทำลายการต่อสู้ต้านภัยเอดส์



น่าประหลาดใจอย่างยิ่งที่เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นจริงๆ เมื่อรัฐบาลทหารของประเทศไทย ซึ่งขึ้นมามีอำนาจจากการก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา ได้จงใจกระทำการปล้นยาติดสิทธิบัตรไปจากบริษัทผู้คิดค้นพัฒนาและเป็นเจ้าของยารักษาโรคเอดส์สูตรสำคัญ

และน่าตระหนกกับความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของวุฒิสมาชิก Tom Allen (พรรคเดโมแครต รัฐเมน) และวุฒิสมาชิก Sherrod Brown (พรรคเดโมแครต รัฐโอไฮโอ) ที่ในเวลานี้ได้ออกมาให้การสนับสนุนมติที่ยกย่องพฤติกรรมหัวขโมยของรัฐบาลไทย อีกทั้งยังเรียกร้องให้สหรัฐยุติการบังคับใช้มาตรการด้านทรัพย์สินทางปัญญา

เห็นได้ชัดว่าทั้งวุฒิสมาชิก Allen และวุฒิสมาชิก Brown คิดว่าประเทศไทยกำลังเล่นบทพระเอกโรบินฮู้ด ที่ปล้นทรัพย์สินทางปัญญาจากบริษัทผู้คิดค้นยารักษาโรคเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งนายบิล คลินตัน เองก็คิดเช่นนั้นด้วย โดยออกมาประกาศให้การสนับสนุนการตัดสินใจของรัฐบาลไทยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

นั่นคือการประกอบอาชญากรรมด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์


ขณะนี้ประชาชนชาวไทยต้องเผชิญทุกข์ทรมานจากภัยระบาดของโรคเอดส์ ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ประมาณการไว้ว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยเอดส์เกือบ 600,000 ราย ทว่ารัฐบาลไทยกลับใช้วิกฤติปัญหานี้เป็นช่องทางฉกฉวยสิทธิบัตรเพื่อดำเนินธุรกิจผลิตยาของตนเอง แทนที่จะให้ผู้ป่วยไทยได้มีโอกาสได้รับการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพ

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลไทยเพิ่งกล่าวปฎิเสธข้อเสนอจากบริษัทอเมริกันทั้ง 2 แห่งที่เสนอขายยาเอดส์สำคัญ 2 รายการคือ คาเลตร้า และเอฟาวิเรนซ์ ในราคาที่ถูกมาก

และรัฐบาลไทยยังได้ปฎิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอของกองทุนโลกที่จะให้ยาเอฟาวิเรนซ์โดยไม่คิดมูลค่า ถูกต้องแล้ว ให้ฟรีๆ

ด้วยรัฐบาลไทยตัดสินใจจะผลิตยาฉบับลอกเลียนแบบเสียเอง รัฐบาลไทยเมินใบอนุญาตของยาเหล่านี้ และมอบหมายให้บริษัทผู้ผลิตยาชื่อสามัญของรัฐ นั่นคือ องค์การเภสัชกรรม เป็นผู้ผลิตยาฉบับเลียนแบบ

โดยไม่สนใจเลยว่าการผลิตยาเองนั้นย่อมมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าซื้อหามาอย่างถูกกฎหมายหรือของที่ให้เปล่าอยู่แล้ว จึงเห็นได้ชัดว่า รัฐบาลจงใจทำด้วยหวังกอบโกยเข้ากระเป๋าพรรคพวกตนที่อยู่ในองค์การเภสัชกรรม หาใช่เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ในประเทศแต่อย่างใด

และเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับพฤติกรรมหัวขโมยนี้ รัฐบาลไทยใช้มาตรการขององค์การการค้าโลกที่เรียกว่า ‘ทริปส์’ หรือความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้ามาเป็นข้ออ้าง ซึ่งความตกลงทริปส์อนุญาตให้รัฐบาลบางประเทศสามารถบังคับใช้สิทธิในกรณีเกิดวิกฤตปัญหาด้านสาธารณสุขได้

แน่นอนว่า มิได้วิกฤตปัญหาเกิดขึ้นในที่นี้ เพราะประเทศไทยสามารถเข้าถึงยาที่ต้องการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ อยู่แล้ว การกระทำของรัฐบาลไทยจึงถือว่าเลวร้ายอย่างยิ่ง ด้วยบริษัทผู้ผลิตยาของรัฐหรือองค์การเภสัชกรรมนั้นไม่ได้มาตรฐานทั้งในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในเดือนกรกฎาคม 2548 มีข้อมูลเปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพขององค์การเภสัชกรรมนั้นเองเป็นต้นเหตุของการดื้อยาในผู้ป่วยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น

นอกเหนือจากประเด็นปัญหาด้านความปลอดภัยแล้ว การกระทำของรัฐบาลไทยยังถือเป็นการบ่อนทำลายระบบการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจอันเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ช่วยให้บริษัทชาติตะวันตกสามารถผลิตยารักษาโรครายการใหม่ๆ ได้ เช่นยาเอดส์ เป็นต้น


ในการทำวิจัยยาหนึ่งๆ ตั้งแต่การค้นพบในเบื้องต้นจนสามารถขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้และมาถึงมือผู้ป่วยในที่สุดนั้นมีค่าใช้จ่ายร่วม 800 ล้านเหรีญสหรัฐ อีกต้องใช้เวลากว่าทศวรรษ หากไม่มีระบบสิทธิบัตรซึ่งช่วยกำหนดระยะเวลาผูกขาดสิทธิในการจำหน่ายยานั้นๆ ไว้แล้วไซร้ ย่อมไม่มีทางถอนทุนคืนได้เลย ซ้ำยังมิอาจดึงดูดเงินลงทุนที่จำเป็นสำหรับการทำวิจัยในชั้นต้นได้เช่นกัน ดังนี้หากไม่มีการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรแล้ว อุตสาหกรรมยาที่เรารู้จักคงถึงกาลต้องล่มสลาย ทั้งยังเป็นการจำกัดและตัดโอกาสการพัฒนายาใหม่ๆ อย่างยิ่งอีกด้วย


การที่วุฒิสมาชิก Brown และวุฒิสมาชิก Allen ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลตนยอมให้ชาติอื่นๆ ยึดสิทธิในการผลิตยาสัญชาติอเมริกันไปนั้นอุปมาเหมือนการสังหารห่านที่ออกไข่ทองคำ ซึ่งก็คือนวัตกรรมด้านการแพทย์ ขณะนี้ชาติอื่นๆ อย่างบราซิลได้เริ่มเจริญตามรอยโจรปล้นยารักษาโรคนี้แล้วเช่นกัน หากยังปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป เราคงต้องโบกมืออำลายารักษาเอดส์รายการใหม่ๆ ซึ่งนั่นย่อมไม่ใช่สิ่งที่สภาคองเกรสเราสมควรเห็นดีเห็นงามด้วยเป็นแน่




นาง Pipes เป็นประธานและผู้บริหารแห่งสถาบันวิจัยแห่งแปซิฟิก (Pacific Research Institute) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนบางส่วนจากอุตสากรรมยา และเป็นที่ปรึกษาด้านนโยบายสาธารณสุขแก่นายรูดอล์ฟ (รูดี้) จูลีอานี ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2551 จากพรรครีพับบลิกัน





0000000





จดหมายโต้กลับ จาก ศาสตราจารย์ บรู๊ค เค เบเกอร์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ธอีสเทิร์น
ภาควิชาสิทธิมนุษยชนและเศรษฐกิจโลก





ข้าพเจ้าเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงกองบรรณาธิการเพื่อตอบโต้การโจมตีการตัดสินใจทำซีแอลของรัฐบาลไทย และคำกล่าวโจมตีวุฒิสมาชิก Brown และวุฒิสมาชิก Allen ที่สนับสนุนมติในปฏิญญาโดฮา

บทบรรณาธิการของนาง Sally C. Pipes เรื่องอย่าเห็นดีเห็นงามกับการปล้นสิทธิบัตรยาเอดส์ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น เปี่ยมเจตนาที่จะบิดเบือนความจริงและกฎหมาย

ประการแรก ประเทศไทยมิได้ “ปล้น” บริษัทยาสัญชาติอเมริกัน ที่ถูกคือประเทศไทยใช้มาตรการยืดหยุ่นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งอนุญาตให้ผู้ผลิตยาชื่อสามัญผลิตยาใช้ในระบบสาธารณสุขของประเทศไทยเพื่อการสาธารณประโยชน์ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ได้ อันมาตรการยืดหยุ่นนี้ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งถูกต้องตามกฎหมายไทยที่มีผลบังคับใช้นับแต่วันแรกที่บริษัทยาคู่กรณีขอจดสิทธิบัตรในประเทศไทย และถูกต้องตามกฎหมายสหรัฐในลักษณะเดียวกันที่อนุญาตให้หน่วยงานรัฐหรือผู้รับเหมาในสหรัฐใช้ผลิตภัณฑ์ติดสิทธิบัตรหรือดำเนินการเพื่อการใช้ประโยชน์โดยรัฐได้

ประการที่สอง ประเทศไทยไม่เคยปฎิเสธยาเอฟาวิเรนซ์ให้เปล่าจากกองทุนโลก ทั้งกองทุนโลกและ UNITAID ซึ่งเป็นองค์กรสนับสนุนเงินทุนในการจัดซื้อยารักษาโรคที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ต่างเห็นพ้องว่าเงินทุนของ UNITAID นั้นสามารถนำมาใช้ภายใต้โครงการของกองทุนโลกเพื่อจัดซื้อยาต้านไวรัสสูตรสำรองได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กองทุนโลกได้ระบุกฎข้อบังคับไว้ว่าให้ประเทศต่างๆ พยายามเข้าถึงยาราคาถูกที่สุดที่มีอยู่ก่อน ซึ่งในกรณีนี้หมายถึงยาชื่อสามัญ



ประการที่สาม นาง Pipes กล่าวอ้างว่าประเทศไทยพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตยาของตนเอง ด้วยการให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยาติดลิขสิทธิ์ ทว่าในเวลานี้ สำหรับยาติดสิทธิบัตรแต่ละรายการนั้นประเทศไทยล้วนใช้การนำเข้าจากผู้ผลิตยาชื่อสามัญในประเทศอินเดีย แม้ว่าประเทศไทยหวังจะสร้างโรงงานผลิตยามาตรฐานระดับโลก แต่ก็ยังไม่ได้ลงมือทำ แต่ถึงกระนั้นก็หาเป็นการไม่สมควรแต่อย่างใดไม่ หากประเทศไทยคิดที่จะพึ่งพาตนเองให้ได้ในการผลิตยาชื่อสามัญเพื่อทดแทนยาที่มีการตั้งราคาไว้สูงเกินไป

ประการที่สี่ นาง Pipes อ้างว่าความตกลงทริปส์นั้นอนุญาตให้มีการบังคับใช้สิทธิเฉพาะสำหรับบางประเทศ และเฉพาะในกรณีเกิดวิกฤตปัญหาด้านสาธารณสุขเท่านั้น ซึ่งคำกล่าวอ้างทั้งสองประการนี้ผิดไปจากหลักกฎหมาย ที่ถูกนั้นคือ ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกทุกๆ ประเทศรวมถึงสหรัฐ มีสิทธิที่จะประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิได้ตามแต่เหตุผลที่เห็นสมควร ยิ่งไปกว่านั้น มาตรการยืดหยุ่นดังกล่าวยังมิได้จำกัดเฉพาะกรณีวิกฤติฉุกเฉิน แม้ว่าในภาวะวิกฤติฉุกเฉินนั้นย่อมอนุญาตให้มีการบังคับใช้บทบัญญัติต่างๆ นี้ได้ทันทีทันใดก็ตาม



ประการที่ห้า นาง Pipes อ้างว่านวัตกรรมด้านยาต้องถึงคราหยุดชะงักไปอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียวหากประเทศไทยประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ ในทางตรงข้าม ประเทศไทยยังคงปล่อยให้ภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นร้อย 20 ของระบบสาธารณสุขในประเทศใช้ผลิตภัณฑ์ของเจ้าของสิทธิบัตรที่ตั้งราคาสินค้าไว้สูงลิบลิ่ว อีกทั้งตลาดในประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนเพียงน้อยนิดของตลาดยาทั่วโลก จึงไม่มีทางส่งผลกระทบต่อยอดขายยาราคาแพงๆ จากสิทธิผูกขาดในตลาดประเทศร่ำรวยของบริษัทยาเหล่านี้เป็นอันขาด ซึ่งตลาดนี้คิดเป็นร้อย 87 ของยอดขายทั้งหมดของบริษัทยา

อย่างที่ นาง Pipes กล่าว สิทธิบัตรนั้นอุปมาเหมือนห่านที่ออกไข่ทองคำให้กับบริษัทยา ทว่าประเทศยากจนอย่างประเทศไทยย่อมไม่มีปัญญาจ่ายค่ายาที่ตั้งราคาตามมาตรฐานทองคำเพื่อนำมารักษาชีวิตผู้ป่วยในประเทศนับแสนๆ รายได้ไหว แทนที่จะกล่าวประณามสมาชิกสภาคองเกรสทั้งสองคือวุฒิสมาชิก Brown และวุฒิสมาชิก Allen ซึ่งยืนหยัดเพื่อสิทธิของประเทศกำลังพัฒนาในการบังคับใช้ข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิที่สหรัฐเองได้เห็นพ้องสนับสนุนมานับครั้งไม่ถ้วน เราสมควรแสดงความชื่นชมยินดีนักการเมืองที่หาได้ยากเช่นวุฒิสมาชิกทั้งสองนี้ ที่กล้ายืนหยัดต่อสู้กลุ่มการเมืองเครื่องมือของอุตสาหกรรมยา ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีสมาชิกในคณะที่ปรึกษาการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของนายจูลีอานี ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2551 จากพรรครีพับบลิกันรวมอยู่ด้วย



ศาสตราจารย์ บรู๊ค เค เบเกอร์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ธอีสเทิร์น
ภาควิชาสิทธิมนุษยชนและเศรษฐกิจโลก

400 ฮันติงตั้น อเวนิว
บอสตัน, มลรัฐแมสซาชูเซตส์ 02115














Op-eds

Don’t commend theft of AIDS drug patents


By Sally C. Pipes

October 18, 2007





Imagine if Congress sponsored a resolution praising a foreign government — which recently seized power in a military coup — for stealing from U.S. companies and deliberately undermining the fight against AIDS.

Amazingly, that’s exactly what’s happening. The military government of Thailand, which came to power in a coup last September, is actively stealing patented medicine from the very companies that have developed the leading cures for AIDS.

Now, in a staggering display of cluelessness, Rep. Tom Allen (D-Maine) and Sen. Sherrod Brown (D-Ohio) have sponsored a resolution praising the Thai government for its theft and urging the United States not to enforce intellectual property standards.

Apparently, Allen and Brown think that Thailand is playing the role of Robin Hood — providing medication to AIDS victims by stealing property rights from the companies that develop cures. Bill Clinton thinks so too. In May, he expressed his support for Thailand’s decision.

That is criminally naïve.

The Thai population is suffering from an AIDS epidemic. The U.N. estimates that nearly 600,000 Thais are afflicted. But the government is more interested in using this crisis to steal patents and develop its own drug business than providing Thai patients with the effective cures.

In fact, the Thai government recently rejected an offer from two U.S. drug companies, which proposed to sell two of the world’s leading AIDS medications, Kaletra and Efavirenz, at cut-rate prices.

The Thai government also refused to accept an offer for free — that’s right, free — generic Efavirenz from The Global Fund.

Instead, the Thai government decided to manufacture its own knockoffs. It ignored the licenses for these drugs and tasked its own generic pharmaceutical company, the Government Pharmaceutical Organization (GPO), to manufacture clones.

Never mind the fact that manufacturing the drugs actually costs more than buying them through legal channels — or accepting them for free. Clearly, this decision was about enriching cronies in the GPO, not helping Thai AIDS patients.

As justification for its theft, the Thai government pointed to a World Trade Organization arrangement called TRIPS — the Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights. TRIPS allows some governments to apply for “compulsory patents” in the case of health emergencies.

Of course, there was no emergency here because Thailand already had free access to the drugs it needed. The government’s actions are particularly egregious because its official manufacturer, GPO, has repeatedly failed to comply with the quality and safety standards of the World Health Organization. In July 2005, it emerged that inferior GPO products have actually caused drug-resistant cases of AIDS to increase.

But setting aside these safety concerns, Thailand’s actions threaten to upset the economic incentives that allow western firms to produce novel cures — like AIDS drugs — in the first place.

It takes about $800 million and more than a decade of research to bring a drug from its initial discovery through the FDA approval process and finally to patients. Without the period of sales exclusivity guaranteed by a patent, it would be impossible to recoup this investment — or even to attract the venture capital needed to fund the initial research.
Without patent protections, the drug industry as we know it would collapse, and development of new drugs would be significantly curtailed.

By urging our government to let other nations seize licenses to manufacture American drugs, Brown and Allen would slaughter the goose that lays the golden eggs of medical innovation. Already, other nations like Brazil are following suit and have begun stealing cures. If this trend grows, we can say goodbye to the next AIDS cure. That’s not something our Congress should commend.

Pipes is president and CEO of the Pacific Research Institute, which is partially funded by the pharmaceutical industry, and an adviser on healthcare to GOP presidential candidate Rudy Giuliani.





0000000





I have submitted this letter to the editor responding the attack on Thai CLs and on Senators Brown and Allen for sponsoring the Doha Declaration Resolution.

Sally C. Pipes Op-Ed, Don't commend theft of AIDS drug patents, Oct. 18, is rife with misstatements of fact and law.

First, Thailand is not "stealing" from U.S. drug companies - it is using a lawful flexibility permitting a generic producer to make medicines for public non-commercial use in Thailand's public health care system. This flexibility is lawful under international law, under Thai law in effect when each of the aggrieved drug companies first filed their patent applications in Thailand, and under comparable U.S. law that allows any government official or contractor in the U.S. to take a patented product or process for government use.

Second, Thailand never rejected an offer of free efavirenz from the Global Fund. The Global Fund and the new drug procurement fund, UNITAID, have agreed that UNITAID resources can be used within Global Fund proposals to purchase certain second-line AIDS medicines. However, Global Fund rules require countries to try to access the cheapest drugs available - in this case generic drugs.

Third, Pipes claims that Thailand is trying to develop its own drug business by having the Government Pharmaceutical Organization manufacture the licensed drugs. However, at this point in time, each and every
licensed medicine is actually be sourced from generic manufacturers in India. Although Thailand hopes to build a world-class pharmaceutical plant, it has not done so yet, nor would it be inappropriate for it to try to establish a degree of self-sufficiency in manufacturing generic alternatives to overpriced medicines.

Fourth, Pipes claims that the TRIPS Agreement allows compulsory licenses only for some countries and only in the case of health emergencies. Both of these claims are legally inaccurate - every Member of the WTO, including the U.S., has the right to issue compulsory licenses on any grounds it deem appropriate. Moreover, such flexibilities are not limited to emergencies, though the presence of an emergency does permit expedited procedures.

Fifth, Pipes claims that drug innovation will come to a crashing halt if Thailand issues compulsory licenses. To the contrary, not only has Thailand left its private sector, 20% of its health system, open to patent holder's higher priced goods, but Thailand comprises a minuscule portion of the global pharmaceutical market. None of these drug companies will have their high-markup, monopoly-priced sales in rich-country market affected, and it is in these markets that drug companies earn 87% of their income.

Like Pipes says, patents are the goose that lays golden eggs for drug companies. However, poorer countries like Thailand cannot afford to pay gold-standard prices for medicines needed to treat hundreds of thousands of sick Thais. Instead of condemning Members of Congress, Senators Brown and Allen, who stand up for developing countries’ right to exercise exceptions to patent rules that the United States has agreed to on multiple occasions, we should congratulate those rare politicians who are willing to stand up the pharmaceutical industryโ€ s political machine, which apparently includes members of GOP candidate Giuliani's campaign advisors.




Professor Brook K. Baker, Health GAP
Northeastern U. School of Law
Program on Human Rights and the Global Economy
400 Huntington Ave.
Boston, MA 02115





Create Date : 27 ตุลาคม 2550
Last Update : 27 ตุลาคม 2550 13:10:50 น. 2 comments
Counter : 1248 Pageviews.

 

ขยันนำสาระสิ่งดีดีมาฝากเสมอเน๊าะ



โดย: อุ้มสี วันที่: 27 ตุลาคม 2550 เวลา:20:26:41 น.  

 
ด้วยความยินดีครับคุณ อุ้มสี


โดย: Darksingha วันที่: 29 ตุลาคม 2550 เวลา:17:01:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.