Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
12 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
ฟื้น ‘เขื่อนแม่วง’ ทางเลือกของรัฐ ทาง (ไม่) เลือกของประชาชน

ฟื้น ‘เขื่อนแม่วง’ ทางเลือกของรัฐ ทาง (ไม่) เลือกของประชาชน



เมื่อปลายเดือนกันยายน มูลนิธิสืบนาคะเสถียรนำคณะสื่อมวลชนเดินทางสำรวจพื้นที่ที่จะมีการสร้างเขื่อนแม่วง เนื่องมาจากทางกรมชลประทานได้เตรียมเสนอรัฐบาลเร่งก่อสร้างเขื่อนแม่วง ภายในปี 2550 นี้

พื้นที่ก่อสร้างเขื่อนแม่วง อยู่ที่ ตำบลแม่เล่ย์ กิ่งอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งตามแผนจะมีระยะเวลาในการก่อสร้าง 6 ปี งบประมาณทั้งโครงการประมาณ 7,216.570 ล้านบาท โดยได้มีการศึกษาพื้นที่สองบริเวณเพื่อเปรียบเทียบพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างเขื่อน ซึ่งแบ่งเป็นสองขนาดคือ





บริเวณสร้างเขื่อนแม่วงตอนบน ใช้พื้นที่เขาสบกก กั้นลำน้ำแม่วง ในบริเวณนี้เมื่อมีการสร้างเขื่อนน้ำจะท่วมพื้นที่ป่าสักที่มีความอุดมสมบูรณ์



Site A (เขื่อนแม่วงตอนบน) บริเวณเขาสบกก กั้นลำน้ำแม่วง ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ต. แม่เล่ย์ อ. แม่วงก์ จ. นครสวรรค์ และ Site B (เขื่อนแม่วงตอนล่าง) บริเวณเขาชนกัน กั้นลำน้ำแม่วงในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่วงก์-แม่เปิน



ก่อนหน้านี้ นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า โครงการเขื่อนแม่วง จะสามารถแก้ไขบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในเขตอำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอเมืองจังหวัดอุทัยธานี รวมทั้งที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างได้ ซึ่งในปีนี้ประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล และเป้าหมายหลักที่ทางกรมชลประทานใช้อ้างก็คือ เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำของลำน้ำแม่วงเพื่อประโยชน์ด้านการเกษตรและการอุปโภค-บริโภคในเขตพื้นที่ชลประทาน



อันที่จริงเขื่อนแม่วงถูกนำเสนอมาตั้งแต่ปี 2528 เป็นเขื่อนขนาดใหญ่มีความสูง 57 เมตร ยาว 730 เมตร มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 11,000 ไร่ ที่ระดับเก็บกักน้ำปกติ และ 12,375 ไร่ที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด จะกักเก็บน้ำใช้งานได้ 230 ล้านลบ.ม เพื่อพื้นที่ชลประทานเดิม 230,000 ไร่ และพื้นที่ชลประทานใหม่ 61,000 ไร่ และประเมินราคาก่อสร้างเมื่อปี 2539 จะใช้งบประมาณถึง 4,043 ล้านบาท ไม่รวมค่าใช้จ่าย ด้านสิ่งแวดล้อม





อดิศักดิ์ จันทวิชานุวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมภาคเหนือตอนล่าง




อดิศักดิ์ จันทวิชานุวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่กล่าวว่า “ปัจจุบันมีการใช้น้ำเพื่อการเกษตรจากลำน้ำแม่วงในปริมาณที่มากเพียงพออยู่แล้ว แต่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำสะแกกรังยังมีไม่เพียงพอ เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียเนื่องจากไม่เกิดการไหลเวียน จนในอดีตต้องมีการขุดคลองเชื่อมระหว่างสะแกกรังกับเจ้าพระยา เพื่อให้น้ำจากเจ้าพระยาเข้ามาทำหน้าที่ไหลเวียนน้ำในสะแกกรัง ถ้ามีเขื่อน น้ำจากแม่วงที่จะไหลเข้าสะแกกรังก็จะยิ่งน้อยลงอีก ส่งผลต่อระบบนิเวศในแม่น้ำสะแกกรังและอาจเกิดความขัดแย้งระหว่างคนต้นน้ำกับท้ายน้ำได้”



เมื่อเดินทางถึงที่พักในบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่เรวา ชื่นชมกับธรรมชาติของป่าที่ชาวเมืองไม่เคยได้เห็นแล้วก็ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริเวณที่ยืนอยู่หากมีการสร้างเขื่อน Site A ก็จะกลายเป็นตีนเขื่อน และพื้นที่ป่าข้างหน้าที่มองเห็นก็จะกลายเป็นบริเวณที่มีน้ำท่วม



หลังจากนั้นได้พบกับคุณประกอบ อินชูพงษ์ ประธานคณะกรรมการอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งกล่าวว่า “เราได้เสนอทางเลือกว่าให้ใช้วิธีการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม เอาองค์กรอนุรักษ์ ภาคประชาสังคม หน่วยงานของราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาคุยร่วมกันเรื่องการจัดการน้ำโดยไม่ต้องสร้างเขื่อน คุยกันทั้งระบบเลย อย่างฝายบางจุดปรับปรุงแล้วสามารถแก้ปัญหาได้เลย เช่น ฝายห้วยน้ำหอมที่ลาดยาว มีพวกเราบางคนไปช่วยแนะนำแล้วมันก็สามารถแก้ปัญหาได้ ลดปัญหาน้ำท่วมได้”



“อย่างตรงบริเวณเขาชนกัน ถ้าเราทำฝายสักตัว ตัวละประมาณ 20-30 ล้านบาท แล้วทดลองดูว่าลดปัญหาน้ำท่วมได้ไหม ค่อยๆ ทำไป แต่ต้องทำทั้งระบบ ถนนที่กีดขวางทางไหลของน้ำก็ทำทางลอดให้มันดี ส่วนไหนเป็นพื้นที่แห้งแล้งที่เปิดหน้าดินกันหมดเพื่อปลูกมันสำปะหลัง ลองปลูกต้นไม้เพื่อช่วยซับน้ำ ป้องกันหน้าดินไม่ให้เกิดการชะล้างสูง เพิ่มความชุ่มชื้นกับดิน เราลองทำกันดู” ข้อเสนอจากนักอนุรักษ์



เราได้พูดคุยเพิ่มเติมกับผู้ที่ใช้ประโยชน์จากผืนป่าและลำน้ำแม่วงอย่างแท้จริงอย่างณรงค์ แรงกสิกร ประธานเครือข่ายแม่วง ชุมชนคนรักป่า ซึ่งชี้แจงว่า ชาวบ้านคิดว่าถ้ามีเขื่อนจะมีการจัดระบบการใช้น้ำอย่างถูกต้อง เพราะถูกนักการเมืองมาปั่นกระแสไว้ แต่ทางกลุ่มอนุรักษ์พยายามให้ข้อมูลอีกด้านว่ามีเขื่อนแล้วอาจไม่ได้ใช้น้ำตามปกติ เวลาน้ำน้อยเขาก็ปิดน้ำ ถ้าน้ำมากเขาก็เปิดน้ำ



ณรงค์ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำโดยไม่ต้องสร้างเขื่อนว่า “ตอนนี้ก็มีกลุ่มขององค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่คิดจะสร้างฝายเล็กๆ ของเขาเอง จะทดลองให้เห็นว่าการมีเขื่อนใหญ่ๆ กับฝายแบบนี้มันได้ผลประโยชน์พอๆ กันไหม”



“เรามีฝายเล็กๆ หลายๆ ตัว ทดน้ำเก็บไว้ในลำคลอง เราก็มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ที่ผ่านมามันได้ผล พอฝ่ายราชการมาเห็นก็บอกว่าน่าจะทำเป็นฝายขนาดใหญ่ 10-20 ล้าน แต่เราบอกว่าเราไม่ต้องการใหญ่โตขนาดนั้นเพราะเกินความจำเป็นที่จะใช้มัน ดังนั้นในความคิดของชาวบ้านบริเวณรอบพื้นที่สร้างเขื่อนก็ไม่ได้เรียกร้องให้มีการสร้างแต่อย่างใด ในทางกลับกันพวกเขาต้องการที่จะเก็บรักษาผืนป่าไว้มากกว่า แล้วใครกันที่เป็นผู้ต้องการเขื่อนอย่างแท้จริง”



เช้าวันรุ่งขึ้น ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคเสถียร พาคณะนักข่าวขึ้นไปบริเวณจุดชมวิวมออีหืด ซึ่งจากจุดนั้นทำให้มองเห็นพื้นที่บริเวณที่จะทำการสร้างเขื่อนทั้งสองขนาด



“ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องสร้างเขื่อน จากที่กรมชลประทานสำรวจพื้นที่เพื่อเปรียบเทียบถึงผลที่จะได้รับและงบประมาณที่จะเสียไปกับการชดใช้ในการสร้างเขื่อนนั้น เราควรจะมีทางเลือกมากกว่านี้ ไม่ใช่แค่จะสร้างเขื่อนที่ไหนดี ระหว่างการชดใช้ให้กับป่าเพียง 500 ล้าน ในการสร้างเขื่อนบริเวณเขาสบกก กับการชดใช้ให้กับประชาชนหมื่นล้าน ในการสร้างเขื่อนบริเวณเขาชนกัน ถ้ามีการจัดการน้ำแบบบูรณาการโดยชุมชนมีส่วนร่วมจะดีกว่า” ศศินกล่าว





พื้นที่ป่าสักบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่เรวา ป่าเป็นป่าที่มีกว่าอายุ 20-30 ปี ต้นไม้บางต้นก็อายุร่วมร้อยปี




จากการได้เดินผ่านพื้นที่ป่าบริเวณลำน้ำแม่เรวาเป็นระยะทางกว่า 8 กม. ทำให้ได้เห็นถึงสภาพป่าที่เพิ่งฟื้นตัวจากการที่ชาวบ้านบุกรุกเข้าไปทำไร่ ราวกว่า 20 ปีมาแล้ว ทำให้สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ มีพรรณไม้ต่างๆ มากมายอย่างเช่น สมุนไพร ว่านชนิดต่างๆ รวมไปถึงสัตว์ป่าซึ่งยังคงได้เห็นร่องรอยเท้า เช่น กวาง



นอกจากนี้แม่วง ยังเป็นผืนป่าส่วนหนึ่งของป่าตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลกแห่งเดียวในประเทศไทย ถือว่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศและชีวิตความเป็นอยู่ทั้งพืชและสัตว์ที่สามารถเคลื่อนย้ายหากินไปมา เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์ป่า เป็นแหล่งรักษาพันธุกรรมที่สามารถอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้อยู่ได้ รวมถึงเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งแหล่งธรรมชาติเหล่านี้สามารถให้ประโยชน์กับคนท้องถิ่นและประเทศได้อย่างมาก



ถ้าหากเกิดน้ำท่วมขึ้นจากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ตอนบน ก็จะทำให้พื้นที่ป่าลดน้อยลง ส่งผลต่อสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่บริเวณที่จะสร้างเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งเพิ่มเริ่มฟื้นตัวก็จะถูกทำลายลงอีกครั้ง



จากเสียงสะท้อนของทั้งกลุ่มอนุรักษ์และประชาชนในพื้นที่ต่างระบุว่า การทำเขื่อนเพื่อการชลประทานนั้นไม่มีความจำเป็น เพราะน้ำบริเวณพื้นที่ชลประทานนั้นมีมากอยู่แล้ว ส่วนการแก้ปัญหาน้ำท่วมนั้นยังมีวิธีการที่เหมาะสมมากกว่าซึ่งชาวบ้านจะมีส่วนร่วมวางแผนและกำหนดทิศทางได้กว้างขวาง



อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์โดย นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังการประชุมโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการเดียวที่ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่เห็นชอบเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งซ้ำซาก โดยเสนอคณะรัฐมนตรีรวมถึงกระทรวงที่เกี่ยวข้องแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ หรือเป็นการประเมินจากสภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันอย่างบูรณาการรอบด้าน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี การประเมินผลจะแล้วเสร็จ แต่เพื่อให้โครงการก้าวหน้า จึงมอบให้กรมชลประทานศึกษาว่าจะมีส่วนงานใดที่ดำเนินการไปได้ก่อน เพราะที่ผ่านมาได้วิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมไปบ้างแล้ว



คงต้องรอดูกันต่อไปว่า ทางเลือกเก่าแก่ของรัฐจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ แต่อย่างน้อยๆ คงต้องฝ่าด่านเสียงและข้อมูลอีกด้านหนึ่งซึ่งดูเหมือนจะเป็นด้านตรงข้ามกับรัฐเลยทีเดียว



ที่มา : ประชาไท วันที่ : 6/10/2550




Create Date : 12 ตุลาคม 2550
Last Update : 12 ตุลาคม 2550 11:50:49 น. 4 comments
Counter : 1885 Pageviews.

 
ดูผลประโยชน์ที่ได้รับกับผลเสียที่เห็นเอามาบวกลบกันแล้วคิดเอา


โดย: 1 IP: 222.123.207.33 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:40:31 น.  

 
เท่าที่รับทราบมา ถ้ามีการสร้างเขื่อน(บริเวณเขาสบกก) อำเภอแม่วงก์ และอำเภอลาดยาว ของจังหวัดนครสวรรค์ จะรับประโยชน์มากในด้านชลประทาน ประมง ท่องเที่ยว แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ในพื้นที่ได้ถาวร และที่สำคัญประชาชน อบต.หน่วยงานราชการ ในพื้นที่ก็สนับสนุนอย่างเต็มที่ และทางสส. และจังหวัดให้การสนับสนุน ปรากฎในแผนลุ่มน้ำแม่วงก ตอนนี้เรื่องอยู่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่พิจารณาต่อไป (เอกสารต่างๆเรียบร้อยแล้วคับ) แต่มีการคัดค้านจากคนในพื้นที่จังหวัดอุทัยเพราะทำให้น้ำในลำน้ำสะแกกรังน้อยลง และเป็นการทำลายป่าไม้(ทางพื้นที่มีการปลูกป่าชดเชย ให้ 2 เท่า) ปล.สู้เพื่อป่า


โดย: เด็กบ้านไร่ อุทัย IP: 61.19.65.158 วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:7:26:07 น.  

 
นาย วิมล สิงห์ทอง อยากให้มีเขื่อนแม่วงก์ ลูกหลานแม่วงก์


โดย: แมน IP: 180.183.165.234 วันที่: 6 มกราคม 2553 เวลา:21:11:38 น.  

 
ให้กำลังใจคนทำงานอย่างพี่กิ้น...
ขอให้เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง...
อย่าเพิ่งท้อนะคะ...


โดย: เคโระ IP: 202.183.171.14 วันที่: 24 พฤษภาคม 2553 เวลา:18:17:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.