Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
17 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน การเมืองไทยจะซึมยาว

จาตุรนต์ ฉายแสง : หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน การเมืองไทยจะซึมยาว





14 ส.ค. 50 ในงานเสวนาเรื่อง “แลไปข้างหน้า สังคม–การเมืองไทยหลังลงประชามติ 19 สิงหาคม” ซึ่งเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร และกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ ร่วมกันจัดขึ้น ณ ห้อง LT1 คณะนิติศาสตร์ มธ. เมื่อวันที่ 13 ส.ค. ที่ผ่านมานั้น



ในวงเสวนา ประกอบไปด้วย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เข้าร่วมวงเสวนา



‘ประชาไท’ เก็บความทัศนะของแต่ละท่าน ที่มีต่อมุมมองของการ “แลไปข้างหน้า” ภายหลังการลงประชามติรัฐธรรมนูญในวันที่ 19 สิงหาคมที่จะถึงนี้









000



จาตุรนต์ ฉายแสง

อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย






จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงบรรยากาศก่อนการลงประชามติว่า ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ไม่มีพื้นที่แสดงความเห็น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การทำประชามติครั้งนี้ ไม่ชอบธรรมอย่างมาก ทั้งนี้ เขาอ้างถึงครั้งที่พรรคไทยรักไทยยังเป็นรัฐบาล และมีการเคลื่อนไหวเพื่อล้มรัฐบาลว่า ในช่วงเวลานั้นเขาเคยพูดว่าสถานการณ์ของประเทศไทยกำลังเจอทางสองแพร่ง ระหว่างการแก้ปัญหากันในระบบ หรือจะก้าวเข้าสู่การแก้ไขปัญหาการปกครองโดยคณะบุคคลบางคณะ คือ การไปสู่การรัฐประหาร แล้วในที่สุด เราก็ก้าวเข้าสู่สังคมการรัฐประหารยึดอำนาจจริงๆ เมื่อวันที่ 19 กันยา โดยไม่ได้มาจากความยินยอมจากประชาชน แต่มาจากกองกำลังอาวุธของกองทัพ



จาตุรนต์กล่าวว่า ถึงวันนี้ ก่อนที่จะมีการลงประชามติ สังคมไทยก็เหมือนอยู่บนทางสองแพร่งอีกครั้ง คือ ถ้ายอมรับ ก็หมายถึง รับรองการรัฐประหาร และไม่ใช่เพียงแค่นั้น แต่จะเป็นการรับรองการสืบทอดระบบเผด็จการทหาร สร้างความมั่นคงให้รัฐทหารข้าราชการ โดยจะเกิดการกล่าวอ้างได้ว่ามาจากการยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่



อีกทางหนึ่งคือ ปฏิเสธการรัฐประหาร ปฏิเสธการยึดอำนาจ ปฏิเสธการสร้างระบอบอำมาตยาธิปไตย หรือเผด็จการรัฐทหาร รัฐข้าราชการ แล้วเริ่มต้นกระบวนการสร้างประชาธิปไตยกันใหม่ สร้างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยกันใหม่ ภายใต้กระแสเรียกร้องให้มีการสร้างประชาธิปไตย ด้วยการที่ประชาชนไปลงประชามติไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นเผด็จการ



“เรากำลังอยู่ในทางสองแพร่ง ซึ่งการแลไปข้างหน้านั้น ถ้ารับหรือไม่รับ รัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร” จาตุรนต์ตั้งประเด็น โดยกล่าวต่อไปว่า



ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนจะไม่มีสิทธิ์มีเสียง และเป็นรัฐธรรมนูญที่ดูถูกประชาชนอย่างมาก เห็นว่าประชาชนไม่ฉลาดพอ ไม่มีความคิดพอที่จะเลือกคนมาเป็นผู้แทน เลือกคนมาบริหารประเทศ จึงต้องมีคณะบุคคลมาจากการสรรหาแต่งตั้ง แล้วทำหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ ถอดถอน บุคคลสำคัญที่ดำรงตำแหน่งต่างๆ รวมทั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส.ส. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน



การบัญญัติเช่นนี้ สะท้อนได้ชัดเจนว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญถือว่า ผู้ที่ประชาชนเลือกตั้งมาไม่มีความหมาย เหมือนกับที่ท่องคาถาอยู่ทุกวันนี้ว่า ประชาชนถูกซื้อเสียงไปหมดแล้ว มีการเตรียมจะซื้อเสียงในการลงประชามติ เหมือนกับที่มีการโพนทะนาทุกครั้งที่ใมีการเลือกตั้งว่ามีแต่การซื้อเสียงเต็มไปหมด แล้วประชาชนก็ซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันทั่วบ้านทั่วเมือง



จากความคิดนี้ จึงร่างรัฐธรรมนูญออกมา แล้วให้ผู้ที่มาจากการเลือกตั้งไม่ต้องทำอะไร ผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีทำอะไรมากไม่ได้ ครม.ก็ไม่สามารถมีนโยบายอะไรได้มากนัก ส่วนบทบัญญัติเรื่องแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐก็บัญญัติไว้อย่างละเอียดยิบ



ทั้งนี้ เขากล่าวว่า สิ่งที่สำคัญก็คือ ความเห็นที่ต่างกันในรัฐธรรมนูญ ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ตัดสิน ทั้งในระบบการเลือกตั้ง แล้วก็ไม่รอให้ทำประชามติในประเด็นต่างๆ เสียก่อน แต่ไปกำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ



“ปัญหาคือ ถ้าคนไม่เห็นด้วยขึ้นมาจะทำอย่างไร ก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งปัญหาคือแก้ไม่ได้ด้วย ลำพังแค่ให้ส.ส.เลือกตั้งเข้ามาแล้วมาเสนอนโยบาย ไม่มีทางได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขแนวนโยบายที่กำหนดเอาไว้แล้วในรัฐธรรมนูญ



“แนวนโยบายที่กำหนดอยู่ในนั้น กำหนดไว้เป็นเจตจำนงค์ว่าทุกรัฐบาลต้องทำตามนั้น แล้วใครคือผู้กำหนด ก็คือส.ส.ร. ซึ่งมาจากคมช. นั่นคือ คมช.เป็นผู้กำหนดนโยบายบริหารประเทศนับจากนี้เป้นต้นไป โดยที่ใครแก้ไขไม่ได้



“ต่อไปนี้ รัฐมนตรีและส.ส. ทำอะไรไม่ได้ เมื่อก่อนมีการห้ามส.ส.ก้าวก่ายการแต่งตั้งโยกย้าย แต่คราวนี้บอกว่าห้ามก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำในเรื่องต่างๆ (ม.268) ซึ่งท่านสมคิดพูดว่า ที่ห้ามรัฐมนตรีและส.ส.เข้าไปแทรกแซงการทำงานของข้าราชการประจำนั้น เพราะในมาตรา 266 เขียนว่า “เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือพรรคการเมือง” คนในห้องประชุมก็ปรบมือ ดีแล้วนี่ ที่ห้ามการแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตคนเองและพรรคการเมือง “



นายจาตุรนต์กล่าวต่อว่า ในมาตราดังกล่าวนั้น ระบุความเต็มๆ มีอยู่ว่า “เพื่อประโยชนของตนเอง ผู้อื่น และพรรคการเมือง” ซึ่งคำว่า “ผู้อื่น” ของรัฐมนตรีและส.ส. ย่อมรวมถึงประชาชนทั่วไปด้วย การที่รัฐมนตรีหรือส.ส.ไปสอบถามว่าทำไมทำอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อหาข้อมูลไปตั้งกระทู้ ก็จะกลายเป็นการแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้ แต่อ.สมคิดตั้งใจพูดโดยตัดคำว่าผู้อื่นออกไป แล้วให้คนทั้งประเทศเข้าใจผิดไปว่า เป็นเรื่องห้ามเพื่อตนเองหรือเพื่อพรรคการเมือง



สำหรับ รัฐมนตรีนั้น นายจาตุรนต์เห็นว่าตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รัฐมนตรีไม่มีอำนาจอะไรเลย แล้วไปตรวจสอบผู้ใช้อำนาจที่กลายเป็นองค์กรอิสระ ซึ่งองค์กรอิสระนี้เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจมาก ทั้งการเลือกตั้ง การตรวจสอบการทุจริต การตรวจเงินแผ่นดิน เดิมองค์กรแบบนี้ต้องมีที่มาเชื่อมโยงกับประชาชน แต่ก็ปรากฏว่าตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ องค์กรอิสระไม่เชื่อมกับประชาชนแล้ว เพราะไปเชื่อมกับองค์กรที่มาจากการสรรหา แล้วองค์กรที่มาจากการสรรหา ก็มาจากตัวองค์กรอิสระและศาลเอง ส.ส.ไม่สามารถเชิญองค์กรอิสระหรือผู้ที่ดูแลงานบริหารของศาลยุติธรรมมาซักถามได้เลยในรัฐธรรมนูญนี้ ไปตรวจสอบไม่ได้ ก็ให้เขาตรวจสอบกันเอง แต่เขาจะตรวจสอบกันเองไม่ได้ เพราะมันถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และองค์กรอิสระที่ว่านี้มาจากการแต่งตั้งของคมช.และจะมีอายุต่อไปจนครบวาระ



ฉะนั้น โดยรวม คมช.คือผู้มีอำนาจแท้จริง คือผู้วางรากฐานอำนาจ ในการมาตรวจสอบอำนาจ ควบคุมการทำงานสำคัญๆ ของรัฐ และรวมถึงการถอดถอนนายกฯ ส.ส. ส.ว.



นี่จึงเห็นได้ชัดว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นรัฐธรรมนูญที่ส่งเสริมระบอบอำมาตยาธิปไตย นี่คือปัญหาดั้งเดิมของระบอบการเมืองไทยที่ผ่านมาตลอด 75 ปี รัฐปกครองโดยข้าราชการ ทหาร



ทั้งหมดนี้ เป็นเหตุผลง่ายๆ ว่า ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ แม้มีการทำประชามติ แต่ก็เป็นประชามติที่ไม่ชอบธรรมอย่างร้ายแรง



หลักการทำประชามติ ซึ่งก็บอกอยูในรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวว่าให้ประชาชนคนไปลงประชามติว่า เห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ แต่กฎหมายจะเขียนเอาไว้อ่อนแอมาก ตั้งใจให้อ่อนแอ เปิดช่องให้ข้าราชการไปก้าวก่าย แทรกแซง ชี้นำ ทำอะไรได้สารพัด และไม่คุ้มครองฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ในรัฐธรรมนูญปี 40 พูดถึงการทำประชามติว่า รัฐต้องเปิดโอกาสหรือจัดการให้มีการให้ข้อมูลแก่ประชาชน ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย



สิ่งที่เห็นปัจจุบันนี้คือ นายกฯไปงานที่ไหน ก็มีการเดินรณรงค์ให้คนมาลงประชามติ แต่หลังจากนั้นก็ให้สัมภาษณ์ว่า การซื้อเสียงเพื่อไม่ให้รับรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องไม่ดีอย่างไร ก็หมายความว่า ท่านพูดในทางที่เป็นลบกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ประธานคมช.ไปไหน ก็พูดว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นี้ดีกว่าปี 40 แน่ๆ



“คุณเป็นคนจัดการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ และจะถามความเห็นประชาชน แต่คุณพูดทุกวัน ว่าต้องเห็นด้วย เห็นด้วย เห็นด้วย แล้วถามทำไม...แล้วออกข่าวแต่ละครั้ง ก็เป็นไปในทางที่ทำให้คนเข้าใจว่า พวกที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญเป็นพวกเลวร้าย ทำลายชาติ เป็นพวกที่ไม่ดี ถามจริงๆ ว่าระหว่างคมช. รัฐบาล นายกรัฐมนตรี กับประชาชนไทยทั่วไปทั้งประเทศ ใครนิยมรัฐธรรมนูญ ใครไม่นิยมการมีรัฐธรรมนูญ ก็คมช.ที่มาจากคปค. นี้ พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาไม่ได้เห็นดีเห็นงามกับรัฐธรรมนูญ เขาฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญ 2540 ก็ได้ มาวันนี้พูดเหมือนกับว่าใครไม่เห็นดีเห็นงามกับร่างฉบับนี้เป็นพวกไม่ชอบรัฐธรรมนูญ ต้องการปกครองไปโดยไม่มีรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการบิดเบือนประเด็นเป็นอย่างมาก”



“ที่รัฐมนตรีมหาดไทยกล่าวทำนองว่า หากมีการชี้นำ ก็คงต้องดำเนินการตามกฎหมายนั้น คำว่าชี้นำแปลว่าอะไร ห้ามใครชี้นำ ตามหลักแล้ว ประชาชนด้วยกันมีสิทธิแสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โดยจรรยาบรรณ โดยจริยธรรม ผมไม่เชื่อในความเป็นกลางของกกต. เพราะสองในห้าของกกต.เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วกกต.จังหวัดส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นข้าราชการประจำ หัวหน้าส่วนราชการถูกสั่งไปทั่วประเทศแล้วให้สนับสนุนรัฐธรรมนูญ แล้วเมื่อเขาสั่งผ่านผบ.ตร.ไปแล้ว รองผู้ว่า ก็สั่งผ่านผู้ว่าไปแล้ว พอพูดแบบนี้คุณสนธิก็จะบอกว่า อย่าเอาการเมืองมาพูด อย่ามาบิดเบือน ให้ประชามติผ่านไปเถอะเพื่อจะได้มีการเลือกตั้งเร็วๆ กกต. มาบอกว่าให้ผ่านประชามติไปเถอะ จะได้มีการเลือกตั้งเร็วๆ กกตก็ชี้นำเสียเองว่าให้ผ่านเร็วๆ เพื่อจะได้เกิดการเลือกตั้ง”



นายจาตุรนต์กล่าวถึงการข่มขู่คุกคามใน 35 จังหวัดที่ยังคงมีกฎอัยการศึก จังหวัดเหล่านั้น เพียงมีเอกสารก็จะถูกจับถูกค้น แสดงว่า เราทำประขามติกันในบรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เวลานี้โพลล์ออกมา 70% บ้าง 50% บ้าง “อย่าเพิ่งไปคิดว่า โพลล์เหล่านั้นจะเป็นเรื่องจริง บางทีก็ลงคะแนนกันเอง อ้างเพื่อชี้นำให้คนส่วนใหญ่คล้อยตามว่า คนเขาก็เห็นชอบกันหมดแล้ว ก็เดินตามๆ เขาไป นี่คือเทคนิคของเขา



“ผมคิดว่าเวลานี้เราไม่ควรยอมรับว่าประชามติจะเป็นเรื่องชอบธรรม แต่ก็ต้องไปลงคะแนน เพราะไม่ลงคะแนนก็กลายเป็นว่าเขาเกณฑ์คนไปลงฝ่ายเดียว



“ผมยังมีความเชื่อว่า ประชาชนจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ อาจจะถูกโกงไปในการทำประชามติบ้าง แต่ถ้าพร้อมใจกันไปลงคะแนน อย่านอนหลับทับสิทธิ์ บางคนเข้าใจผิดว่าไปลงถึงจะมีการเลือกตั้ง อีกพวกบอกว่าไม่ชอบคมช. ไม่ชอบรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นก็นอนอยู่บ้านดีกว่า นั่นก็เข้าใจผิด เพราะจะทำให้เขาได้เสียงข้างมากไป”



นายจาตุรนต์ กล่าวว่าการลงประชามติครั้งนี้เป็นการชี้วัดเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อยอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ไม่สามารถชี้วัดได้หลังจากก่ารรับประหาร 19 กันยา เป็นต้นมา



โดยที่ก่อนวันที่ 19 กันยา มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีผู้แทนราษฎร มีพันธมิตรซึ่งต่อมาจะเรียกชื่อว่าพันธมิตรของคมช. เคลื่อนไหว โดยบอกว่าตนเองเป็นเสียงข้างน้อย ก็ขอให้รัฐบาลเคารพเสียงข้างน้อย รัฐบาลเป็นเสียงส่วนมาก เพราะประชาชนส่วนมากเลือกรัฐบาลมา พอเกิดรัฐประหาร 19 กันยาขึ้น คำถามคือ ใครคือเสียงข้างน้อย เสียงข้างมาก จะวัดอย่างไร



“เมื่อคุณมาเป็นรัฐบาลจะบอกว่าคุณคือเสียงข้างมากก็ไม่ได้ เพราะคุณมาโดยกองทัพ โดยอาวุธ มันไม่ใช่เสียงข้างมาก และเสียงข้างมากจะเอายังไง มันก็วัดไม่ได้ ไม่มีทางวัด จะวัดจากคนที่เอาดอกไม้ไปให้มันก็มีไม่สักกี่ดอก พอมาคราวนี้ การลงประชามติคราวนี้จะสำคัญ เพราะเป็นการวัดเสียงข้างมากข้างน้อย



“ความจริงตามหลักการต้องคือว่า รัฐบาลคมช.คือเสียงข้างน้อย ทีได้อำนาจมาจากกระบอกปืน แล้วมาปกครองคนส่วนใหย่อยู่ หลักเสียงข้างน้อยข้างมากจึงใช้ไม่ได้ เราคือคนส่วนใหญ่ที่ถูกคนหยิบมือเดียวเอาปืนมายึดอำนาจไป แต่พอลงประชามติครั้งนี้ ถ้าเขาชนะ เขาจะคือเสียงข้างมากจริงๆ ทั้งๆที่เป้นประชามติหลอกลวงโลก คือทำให้คนเข้าใจผิดว่าถ้าไม่ไปลงจะไม่มีเลือกตั้ง ไปลงก็ต้องไปรับอย่างเดียว



นายจาตุรนต์คาดการณ์ว่า หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการลงประชามติการเมืองไทยจะอยู่ในสภาพเซื่องซึมยาวนาน เป็นเผด็จการที่แน่นแฟ้น ใครที่หวังว่าให้ผ่านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อนแล้วค่อยมาแก้ไขนั้น เขาเชื่อว่เป็นไปได้ยาก และยากมาก องค์กรต่างๆ จากรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะดำรงอยู่ยาวนาน ผู้ที่ได้อำนาจจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้ง จะไม่มีทางยินยอมให้มีการแก้ไขและยุบเลิกองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ที่สำคัญก็คือผู่ที่อยู่ในอำนาจจะสามารถอ้างประชามติครั้งนี้ ว่าประชาชนเห็นชอบด้วยแล้ว จะมาแก้ไขอีกทำไม



“คราวนี้เราจะกลายเป็นเสียงข้างน้อยไป สู้ยาก แต่ต้องสู้ต่อ”



นายจาตุรนต์คาดการณ์ต่อไปว่า การเมืองต่อจานี้ไปจะอยู่ในสภาพอ่อนแอ รัฐบาลจะอ่อนแอ พรรคการเมืองจะอ่อนแอ บริหารประเทศไม่ได้ผล และเศรษฐกิจจะแย่ลงอย่างแน่นอน



“นักลงทุนก็ไม่กล้ามาลงทุน รอจนแย่ไปมากๆ คนก็จะบอกว่า ไม่ไหวแล้ว แบบนี้ต้องแก้รัฐธรรมนูญ นั่นคือทางหนึ่งที่จะเกิดขึ้น ใช้เวลา ประเทศบอบช้ำไปมากกว่าจะแก้รัฐธรรมนูญ”



อีกแบบหนึ่งคือ ทหารยึดอำนาจอีก ทำรัฐประหารอีก ฉีกรัฐธรรมนูญอีก เพื่อจะปกครองให้เบ็ดเสร็จยิ่งกว่านั้น ซึ่งประการหลังนี้ก็มีความเป็นไปได้ แล้วกลับมาเป็นรัฐทหารข้าราชการที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น



“ถ้าไม่รับ ไม่ผ่าน ที่ผมบอกว่ามันจะเกิดกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะมันกลายเป็นว่า ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ไม่รับรัฐธรรมนูญของเผด็จการ คือ ไม่รับการรัฐประหาร เขาได้ใช้โอกาสในการลงประชามตินี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ในการที่จะบอกว่า เราไม่เห็นด้วยกับพวกคุณที่มายึดอำนาจ เมื่อเป็นแบบนั้นไม่ต้องห่วงว่ารัฐบาลหรือคมช.จะเอารัฐธรรมนูญตัวที่แย่กว่านั้นมาใช้ ตอนนั้นตัวสั่นแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย …ให้เขาแก้แค่บางมาตรา 90 วันล็อค ก็แก้เสีย ในนั้นจำเป็นต้องเขียนอะไรก็เขียน อย่าหวังว่าเขาจะเขียนรัฐธรรมนูญออกมาสมบูรณ์ เราไม่ต้องการให้เขาเขียนรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ เผด็จการไม่มีวันจะเขียนรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยได้ แต่เขาจะต้องบังคับให้เขียนรัฐธรรมนูญที่ทำให้มีการเลือกตั้ง แล้วตอนนั้น เราให้เขาเขียนในรัฐธรรมนูญ 2540 ที่จะมีการแก้ไขนี้ ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เขียนลงไปให้ชัดว่าหลังเลือกตั้งแล้วต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เขียนแค่นี้พอ”




ที่มา : ประชาไท วันที่ : 14/8/2550




Create Date : 17 สิงหาคม 2550
Last Update : 17 สิงหาคม 2550 18:44:34 น. 0 comments
Counter : 434 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.