Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2550
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
12 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 
พ.ร.บ.ป่าชุมชนอีกกี่ครั้ง? ที่ถอยหลัง


ภาพประกอบจาก //www.thaingo.org


30 เมษายน 2550
เรื่องโดย : ทิพย์อักษร มันปาติ สำนักข่าวประชาธรรม

23 ปีที่ผ่านของการต่อสู้ภาคประชาชนให้รัฐบาลออกกฎหมายป่าชุมชน โดยมี ชาวบ้าน นักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชน แสดงเจตนารมณ์ร่วมลงชื่อกว่า 50,000 รายชื่อ เพื่อเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ป่าชุมชน จนถือได้ว่า ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน เป็นกฎหมายฉบับประวัติศาสตร์ ที่มาจากความต้องการประชาชนอย่างแท้จริงวันนี้การต่อสู้เพื่อให้ออกกฎหมายป่าชุมชน ยังส่อเค้าถึงความขัดแย้งเหมือนเดิมภาย

หลังจากการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2550 ที่รัฐสภา สนช. ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ 114 เสียง รับหลักการในวาระแรกของการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 25 คน ประกอบด้วยบุคคลที่ทำงานกับภาคประชาชน อาทิ นายประยงค์ รณรงค์ สนช. เจ้าของรางวัลแม็กไซไซ และนายพนัส ทัศนียานนท์ อดีต สว.จ.ตาก เป็นต้น และมีกำหนดการแปรญัตติ 7 วัน ซึ่งในการพิจารณาในวาระที่สองจะใช้ ร่าง พ.ร.บ. ที่ ครม.เสนอเข้ามาเป็นหลัก ทั้งนี้ ในวันที่ 24 เม.ย. 2550 ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เลือกประธาน รองประธาน และเลขาธิการ เพื่อพิจารณารายละเอียดในร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาให้แล้วเสร็จอย่างช้าที่สุดไม่เกิน 2 เดือน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นคำถามคลางแคลงใจประชาชนในขณะนี้คือ การยึดเอา ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ที่ ครม.เป็นผู้เสนอมาใช้พิจารณาแปรญัตติ จะเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชนที่ต้องการให้มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีส่วนร่วม ทั้งนี้เพราะ ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ฉบับประชาชน ซึ่งปรับปรุงโดย สนช. มีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับ ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ฉบับ ครม. โดยกรมป่าไม้ ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ปรับแก้

ความขัดแย้งใน ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน

ในปี พ.ศ.2545 ประเด็นหลักที่เป็นเหตุขัดข้องและทำให้ พ.ร.บ.ป่าชุมชน ไม่ผ่านความเห็นชอบของสมาชิกวุฒิสภา คือ การจัดตั้งพื้นที่ป่าชุมชนในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของรัฐ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงนั้นพื้นที่ป่าชุมชนส่วนใหญ่ซ้อนทับอยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของรัฐบาล มีพื้นที่ กว่า 68.9 ล้านไร่ มีประชาชนอาศัยอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์กว่า 4.6 แสนครอบครัว หรือจำนวนมากกว่า 2 ล้านคน

ในครั้งนี้ก็เช่นกัน ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ที่ ครม. เสนอ ยังคงย้ำเจตนารมณ์เดิมคือ ไม่ยอมให้มีการจัดตั้งป่าชุมชนในเขตอนุรักษ์ โดยระบุเอาไว้ชัดเจนใน หมวดที่ 4 การจัดตั้งป่าชุมชนนอกเขตอนุรักษ์ ตามมาตรา 18 มีเนื้อหาว่า ชุมชนในท้องที่ใดที่มีพื้นที่ป่าซึ่งไม่ใช่เขตอนุรักษ์อยู่ใกล้และอยู่ในสภาพที่จะดูแลรักษาป่านั้นได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นพื้นที่ป่าที่มีส่วนราชการหรือผู้หนึ่งผู้ใดได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์หรือพื้นที่ที่กรมป่าไม้ใช้หรือจัดการหรือประกาศเป็นพื้นที่วิจัยหรือจัดการใดๆ

นอกจากนี้ ในหมวดที่ 5 การจัดตั้งป่าชุมชนในเขตอนุรักษ์ ตามมาตรา 25 ยังมีเนื้อหาสำคัญระบุเอาไว้ถึงการขอจัดตั้งป่าชุมชนในเขตอนุรักษ์ในท้องที่ใดๆ ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่ชุมชนนั้นตั้งถิ่นฐานมาก่อนการประกาศให้พื้นที่ที่ชุมชนนั้นตั้งอยู่เป็นเขตอนุรักษ์ โดยที่เขตอนุรักษ์จะต้องไม่เป็นบริเวณพื้นที่ที่ทางราชการกำหนดให้สงวนรักษาไว้เป็นการเฉพาะเพื่อการคุ้มครอง หรือการศึกษา หรือการวิจัยทางวิชาการ หรือประโยชน์อย่างอื่นของรัฐ และสัดส่วนพื้นที่ที่จะขอจัดตั้งป่าชุมชนในเขตอนุรักษ์แห่งใดได้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ทั้ง 2 มาตรา เป็นเพียงตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดของรัฐที่ปราศจากความเชื่อมั่นในศักยภาพของชุมชนในการดูแล รักษา หรือ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นความคิดที่ล้าหลัง และเป็นข้ออ้างที่รัฐต้องการรวบอำนาจการจัดการทรัพยากรมาไว้ในอุ้งมือของตนแต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมจัดการเท่านั้น

นายจอนิ โอ่โดเชา ปราชญ์ปกากะญอ บ้านหนองเต่า ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า หากยึดเอาหลักการของ ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ของรัฐเป็นที่ตั้งในการแปรญัตติแล้ว ก็แสดงว่าเราไม่ได้มีส่วนร่วม คนจัดการป่าไม่ได้มีส่วนร่วม ซึ่งตรงนี้ตนไม่เห็นด้วย ต้องมีจุดที่คัดค้าน พ.ร.บ.ป่าชุมชน ที่จะออกมาโดยไม่ให้ประโยชน์กับชุมชน

ทั้งนี้ ต้องเอาความเป็นจริงมาพูดกัน โดยให้หลายฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมคิด เช่น นักวิชาการ ประชาชน ชาวบ้าน เอ็นจีโอ กรมป่าไม้ จะทำให้ พรบ.ป่าชุมชน โดยประชาชนมีความเป็นไปได้ นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนด้วย ให้มีการจัดการ และได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน นี่คือเจตนารมณ์ของประชาชน

“การห้ามไม่ให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากป่า พูดคำเดียวว่าไม่มีความเป็นธรรม เพราะชาวบ้านอยู่กับป่ามาเป็นร้อยๆ ปี แต่พื้นที่ป่าจำนวนมากที่หายไปไม่ได้เกิดจากชาวบ้านแต่เป็นเพราะนโยบายต่างหาก การห้ามไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปหากินในป่าไม่มีความยุติธรรม ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหน ก็ต้องมีความเข้าใจบนพื้นฐานการเรียนรู้การอยู่ร่วมกับป่า และส่งเสริมจิตสำนึกการจัดการป่าอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทั้งประเทศ ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาหนักกว่าเดิม เช่น ไฟป่า แทนที่ชาวบ้านจะมีส่วนร่วมในการดูแล เฝ้าระวัง รัฐอาจจะต้องเสียงบประมาณมากกว่าเดิม และไม่รู้ว่าจะจัดการได้ดีเท่าชาวบ้านหรือไม่” นายจอนิ กล่าวทิ้งท้าย

พ.ร.บ. ป่าฉบับประชาชน เลิกหวังพึ่งรัฐบาลชั่วคราว

ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี นักวิชาการศูนย์ภูมิภาคเพื่อสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จริงๆ แล้ว ครม.ควรจะยึดร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ฉบับที่สภาผู้แทนผ่านออกมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนเป็นคนเสนอเข้าไป ทั้งนี้โดยหลักๆ แล้ว พ.ร.บ.ป่าชุมชน เป็นกฎหมายฉบับแรกที่ประชาชนเสนอโดยการร่วมลงรายชื่อ 50,000 รายชื่อ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายฉบับที่ก้าวหน้ามากที่สุดในประศาสตร์การบัญญัติกฎหมายออกมาของประเทศไทย

ดังนั้น การที่พิจารณา พ.ร.บ.ป่าชุมชน โดยใช้ร่างที่หน่วยราชการเป็นคนร่างขึ้นมาก็เท่ากับเป็นการบิดเบือนเจตนารมย์ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ กฎหมายที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่าง ดังนั้นรัฐบาลชั่วคราวก็ควรจะหยิบเอาร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ที่ประชาชนเป็นผู้ร่างขึ้นมา ไม่ใช่ฉบับของหน่วยราชการ เพราะรู้อยู่ที่ผ่านมา กฎหมายป่าไม้ที่ร่างโดยกรมป่าไม้เป็นกฎหมายที่มีปัญหากับประชาชน สร้างปัญหาความขัดแย้งในสังคมมาโดยตลอด ดังนั้น การหยิบเอาร่างของกรมป่ามาใช้ในการแปรญัตติ พ.ร.บ.ป่าชุมชน เป็นหลัก มันก็เท่ากับเป็นการสนับสนุนให้ปัญหาความขัดแย้งสืบเนื่องต่อไป จึงไม่น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง และครม.ก็ควรพิจารณาใหม่

ดร.ปิ่นแก้ว กล่าวว่า พ.ร.บ.ป่าชุมชน ที่มาจากประชาชนจริงๆ คงไม่สามารถหวังได้ในรัฐบาลนี้ เพราะบรรดาผู้ที่เข้าไปนั่งเป็นผู้นำ และคณะรัฐบาลก็ไม่ใช่กลุ่มคนที่ประชาชนเป็นคนเลือก แต่เป็นการแต่งตั้งเข้ามา ดังนั้น การที่พวกเขาจะพิจารณากฎหมายฉบับใดว่าจะผ่านร่างหรือไม่ผ่านร่างนั้น คนเหล่านี้ก็มีพื้นฐานในแง่ที่ว่าอยู่ในรัฐบาลชั่วคราว จึงไม่ได้จำเป็นที่จะต้องตอบสนองกับใคร เพราะประชาชนก็ไม่ได้เลือกเขามา เราจึงไม่มีหลักประกันว่าคนเหล่านี้จะฟังเสียงประชาชนมากน้อยแค่ไหน

“ในความเป็นจริงรัฐบาลไม่ควรที่จะตัดสินใจในฐานะที่อยู่ชุดบริหารชั่วคราว ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น เพราะกฎหมายที่สำคัญ ไม่ควรผลีผลามทำ เนื่องจากจะมีผลในการผูกมัดระยะยาว และตัว พ.ร.บ.นี้ ก็รู้อยู่ว่า เป็น พ.ร.บ.ที่มีความเห็นที่แตกต่าง มีความขัดแย้งสูง ที่ผ่านมาประชาชนก็ต่อสู้กันมานาน ดังนั้นในการพิจารณากฎหมายนี้ ก็ควรจะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง จากทุกฝ่าย ใช่ไปทำกันเองในกลุ่มคนไม่กี่คนที่คิดว่ามีคุณสมบัติ โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนในการรับรู้ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยตรรกกะแล้ว ในรัฐบาลชุดนี้ดูแล้วไม่น่าจะมีความหวังในการออกร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะรัฐบาลไม่ได้มาจากประชาชน” ดร. ปิ่นแก้ว กล่าว

รัฐไม่คายอำนาจการจัดการทรัพยากร

ความพยายามเพื่อให้รัฐบาลชั่วคราวชุดนี้มีอำนาจควบคุมจัดการเบ็ดเสร็จเรื่องการจัดการทรัพยากร เป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง หากฐานทรัพยากรของประเทศถูกผูกขาดไว้ในมือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ผู้รับเคราะห์กรรมก็คงหนีไม่พ้นต้องเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และเมื่อนั้นความยั่งยืน และความพอเพียง ที่รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์เอาไว้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน

ดร.ปิ่นแก้ว กล่าวเพิ่มเติมว่า ต้องบอกว่าประเทศไทยล้าหลังกับเรื่องนี้มาก คนที่ออกนโยบายเรื่องป่า ก็ไม่ใช่คนที่อยู่ในชนบท จึงเป็นธรรมดาที่จะไม่เข้าใจวิถีชีวิตของคนที่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกับป่าได้ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านกลับมีกฎหมายป่าชุมชนออกมาบังคับใช้ตั้งนานแล้ว เช่น ฟิลิปปินส์ ซึ่งก็ไม่เห็นว่าป่าในประเทศของเขาจะวายวอด ดังนั้น การให้สิทธิกับชาวบ้านก็เหมือนทำให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ซึ่งสิทธิชุมชนเป็นหลักการพื้นฐานในระดับสากล ที่สหประชาชาติก็ให้การรับรอง ดังนั้นการพยายามหวงสิทธิ์ตรงนี้เอาไว้ ก็สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่ล้าหลังของรัฐ รวมทั้งกรมป่าไม้ก็มีความคิดในระบอบเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งเป็นอำนาจสุดท้ายที่เขาพยายามจะกอดเอาไว้ โดยที่ไม่คำนึงถึงความเป็นจริงว่าจะสร้างผลเสียหายตามมาอย่างไรบ้าง

“ถ้ากฎหมายออกมาแล้วไม่เป็นผลดีเราก็ไม่ควรให้การรับรอง และคงต้องสู้กันต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาเรื่องนี้ไม่ได้ต่อสู้กันแค่เพียง ปี-สองปี แต่ต่อสู้กันมาเป็นทศวรรษ จะมีกฎหมายหรือไม่ ชาวบ้านก็จัดการป่าอยู่แล้ว แต่ถ้ากฎหมายออกมาแล้วไปผูกมัดสิทธิของชาวบ้าน ทำให้ไม่สามารถมีสิทธิ มีอำนาจได้เต็มที่ โดยเฉพาะในเขตป่าอนุรักษ์ที่ชาวบ้านจัดการป่ามานานแล้ว อยู่ๆ จะมาหวงห้ามไว้ก็คงจะต้องมีการรวมตัวกันอีกครั้ง เป็นการต่อสู้ระยะยาว” ดร. ปิ่นแก้ว กล่าวย้ำ

นายบุญ แซ่จุ่ง ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด กล่าวว่า ไม่ว่ารัฐไหนก็แล้วแต่น่าจะต้องยืนยันตามเจตนารมณ์เดิมของประชาชน ใน พ.ร.บ.ป่าชุมชน เพราะประชาชนอุตส่าห์เสนอร่างขึ้นมาแล้ว การไม่ยึดตามเจตนารมณ์เดิมของประชาชน ส่อให้เห็นถึงความล้มเหลว และการไม่เคารพความคิดเห็นของประชาชน

“อยู่ๆ รัฐก็เขียนร่างขึ้นมาเป็นของรัฐเอง แล้วไม่เอาของภาคประชาชนเลยก็แปลว่าไม่มีการปฏิรูปการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรงเลย รัฐพยายามที่จะยึดการจัดการป่าแบบดั้งเดิมโดยไม่ยอมปฏิรูป เป็นการยึดอำนาจตัวแทนในระบบ ส่อให้เห็นถึงการสร้างปัญหาให้บ้านเมือง การกระทำแบบนี้ไม่มีการปฏิรูปที่แท้จริง ถ้าเป็นการปฏิรูปที่แท้จริง จะต้องให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีสิทธิในการเสนอกฎหมาย” นายบุญ กล่าว

นอกจากนี้ นายบุญ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมารัฐพยายามกีดกันประชาชนมาโดยตลอด โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อจัดการป่าสนองภาคอุตสาหกรรม รัฐยังคงยึดฐานเดิมที่จะจัดการป่าเพียงผู้เดียว ไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการ ซึ่งเป็นความคิดจากข้างบนลงมาข้างล่าง จึงเปรียบเป็นการถอยหลังเข้าคลอง ทั้งที่ป่าเป็นของคนไทยทุกคน เราเป็นเจ้าของทรัพยากรเหล่านั้นร่วมกัน รัฐกลับพยายามแยกคนออกจากป่า

“รัฐกลัวที่จะเสียผลประโยชน์มากกว่า ประชาชนอุตส่าห์ร่าง พ.ร.บ.ขึ้นมาเพื่อที่จะปฎิรูปการรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม แต่การกระทำของรัฐกลับกระทำในทางกลับกันคือกีดกันประชาชนโดยตลอด ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่รู้จะร่างไปทำไม อีกทั้งรัฐบาลชุดนี้ก็เป็นรัฐบาลเผด็จการทหารด้วย” นายบุญ กล่าวทิ้งท้าย

พ.ร.บ.ป่าชุมชน บนความเหมือนที่แตกต่างทางความคิดของรัฐ และประชาชนนี้ เป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าติดตามว่าสุดท้ายแล้วผลการพิจารณาจะออกมาเป็นอย่างไร เมื่อป่าไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง กฎหมายที่ผ่านออกมาโดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและเจตนารมณ์ของประชาชนต้องถือเป็นโมฆะ.

ข้อมูลอ้างอิง

- สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน, ข่าวสด, 20 เม.ย.2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 5986//www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03pol06200450&day=2007/04/20§ionid=0304

- พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนส่อเหลว สนช.เผย ทส.เปลี่ยนหลักการเละเทะ, มติชน, 24 เม.ย. 2550 //www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01lif03240450&day=2007/04/24§ionid=0132



Create Date : 12 พฤษภาคม 2550
Last Update : 15 มิถุนายน 2550 14:25:57 น. 0 comments
Counter : 1067 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.