Group Blog
 
<<
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
25 เมษายน 2550
 
All Blogs
 
วิพากษ์นโยบายสุรยุทธ์:เศรษฐกิจพอเพียงกับกระแสโลกาภิวัตน์และระบบทุนนิยม


ภาพประกอบจากwww.ftawatch.org


เทวฤทธิ์ มณีฉาย และคณะ

บทนำ
จากนี้ไปจะเป็นการวิเคราะห์ วิจารร์และวินิจฉัยถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนโยบายรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่แถลงเมื่อวันที่ 3 พฤสจิกายน 2549 ภายใต้บริบทของสังคมโลกแบบมีชั้นถูมิ(the world’s stratified society) ที่กำลังทวีความมีวุฒิภาวะอย่างเข้มข้นอย่างยิ่งและสังคมไทยที่ยังถูกครอบงำโดยระบอบวงศาคณาญาติกาธนาเอกะอิทธิพลธิปไตย ผนึกเข้ากับการครอบงำของจักรวรรติทุนนิยมอเมริกาและพันธมิตร ถายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ผกผัน โดยอาศัยหลักวิชาการด้านเศราฐศาสตรืการเมือง เป็นกรอบแนวคิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ความคิดสองแพร่งที่กล่าวว่า ปรัชญาเสราฐกิจพอเพียงเป็นปฏิปักษืหรือไม่เป็นปฏิปักษ์กับกระแสโลกาภิวัฒน์หรือระบบเศราฐกิจแบบทุนนิยม ดังนั้นผู้เขียนจึงขอเริ่มต้นด้วยการนำเสนอกรอบแนวคิดว่าด้วยสังคมโลกแบบมีชั้นภูมิดังนี้

สังคมโลกแบบมีชั้นภูมิ (The World Stratified Society)ของ Karl Marx มองทุนนิยมเสรีเหมือนเหรียญสองด้าน มีทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ และความไม่ยุติธรรม การกระจายผลประโยชน์ของสังคมขึ้นอยู่กับโครงสร้างสัมพัธภาพทางอำนาจของสังคมโลกแบบมีชั้นภูมิ ดังนั้นตัวแบบดังกล่าวจึงเป็นตัวแบบอธิบายความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้ จากการที่ในกระบวนการสะสมทุนในบริบทเศรษฐกิจการเมืองโลก และเมื่อจำแนกกลุ่มชนชั้นในบริบทของสังคมโลก หรือระบบเศรษฐกิจการเมืองของไทยกับระบบทุนนิยมโลก จะประกอบด้วย
X1. บริษัทข้ามชาติ (International Capitalism)
X2. นายทุนในชาติ (Bourgeois Professional)
X3. กลุ่มชนชั้นกลาง
X4. ผู้ขายแรงงานกาย
X5. เกษตรกร (Peasants)
Y = ability to appropriate surplus value ความสามารถในการช่วงชิงหรือได้มาซึ่งส่วนเกินของกระบวนการสะสมทุน

X = effective distance from center of power ระยะทางเชิงประสิทธิผลจากศูนย์กลางของอำนาจ

ระดับความใกล้ชิดศูนย์กลางอำนาจ มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการช่วงชิงผลประโยชน์ไปในเชิงบวก

Y = f (X) a Distribution = f (World’s Stratified Society)

จากตัวแบบที่ว่าด้วยสังคมโลกแบบมีชั้นภูมิดังกล่าวเมื่อนำมาวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลสุรยุทธ์ที่ประกอบไปด้วย 5 ด้านด้วยกันคือ
1. นโยบายการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร

การเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยราบรื่น สะท้อนความต้องการของประชาชน แต่สถานการณ์ทางการเมือง และการบริหารในช่วงเวลาที่ผ่านมา เกิดวิกฤติในศรัทธาของประชาชน ดังนั้น เพื่อแก้ไขวิกฤติทางการเมืองและการบริหาร รัฐบาลจึงกำหนดนโยบาย ดังนี้

1. นโยบายการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร

2. รัฐบาลจะดำเนินการนโยบายเศรษฐกิจภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. นโยบายสังคม

4. นโยบายการต่างประเทศ

5. นโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐ

ซึ่งทั้ง 5 ด้านเป็นนโยบายการบริหารราชการแผนดินที่เสนอต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับทราบถึงเจตนารมณ์และนโยบายของรัฐบาล เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2549 เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงก็ยังมีนโยบายที่ออกมาเรื่อยๆทั้งที่อิงต่อกรอบนโยบาย 5 ด้านบ้างและไม่อิงต่อกรอบนั้นบ้าง ทั้งนี้โดยรวมแล้วก็จะอิงอยู่ในเจตนารมณ์ที่อธิบายอยู่ในสาเหตุแห่งการยึดอำนาจการปกครองแผนดิน เมื่อวันที่ 19 ก.ย.49 ซึ่งระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2549 ที่ว่าปราถณาที่จะแก้ไขความเสือมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทำให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยไม่อาจหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ อันเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงทางการเมืองการปกครอง และปัญหาความขัดแย้งในมวลหมู่ประชาชนที่ถูกปลุกปั่นให้แบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายจนเสื่อมสลายความ “รู้ รัก สามัคคี” ของชนในชาติ อันเป็นวิกฤติการณ์รุนแรงทางสังคม วิกฤติการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งนับเป็นภยันตรายใหญ่หลวงต่อระบอบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของประเทศ จึงมีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องฟื้นฟูความ “รู้ รัก สามัคคี” ระบบเศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การเสริมสร้างระบบการตรวจสอบการทุจริตที่เข้มแข็ง และระบบคุณธรรมที่ดีงาม การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติพันธกรณีตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ การส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกันก็เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชน

จากเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและนำเอามาเป็นเป้าหมายทางเศราฐกิจ เข้ามาควบคุมเศรษฐกิจให้มีทิศทางที่ค่อนข้างแน่นอน เมื่อดูถึงตัวนโยบายในฐานะการแปลงจากเจตนารมณืไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะนโยบายเศราฐกิจก็ยังแฝงไปด้วยความไม่เท่าเทียมความเหลือมล้ำ ที่ยึดกรอบแนวคิดเดิมในการจัดการทางเศราฐกิจของรัฐบาลไทยคือมุ้งเน้นแต่การเจริญหรือความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ถึงแม้ตัวหนังสือที่เขียนไว้จะดีมีความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย รวมทั้งมีการแสดงถึงเจตนารมณืหรือเป้าหมายทางเสราฐกิจค่อนข้างแน่นอน แต่นโยบายของรัฐบาลชุดนี้ที่ตามมาหลังจากนั้นก็แสดงถึงความขัดแย้งในตัวเอง
โดยเฉพาะการเดินหน้าเซ็นต์สัญญา FTA ไทยกับญี่ปุ่นหรือ JTEPAโดยไม่ฟังเสียงประชาชน แต่ฟังเสียงกลุ่มทุนเพียงไม่กี่กลุ่มทีได้รับประโยชน์ได้ไปเซ็นสัญญาข้อตกลงดังกล่าวในวันที่ ๓ เมษายนนี้ ทำให้ปฏิกริยาของภาคประชาชนหลายองค์กรแสดงออกถึงขีดสุดในระดับตรรกะที่พัฒนามาตามลำดับ ดังจะเห็นได้จากการเสนอข้อมูลแย้งการเสนอข้อกังวลและความห่วงใยในรายละเอียด มีการนำเรื่องขึ้นสู่ศาลปกครองทุกระดับและไปสิ้นสุดกระบวนการที่ศาลหลักเมือง และอาศัยพื้นที่บนท้องถนนหน้าสถานทูตญี่ปุ่นเพื่อเผาบัญชีหนังหมา ของกลุ่ม FTA Watchอันบรรจุรายชื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่โปร่งใส ไม่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมและจะไม่มีการรับผิดชอบ (accountability) ตามมาในอนาคต หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น จากการรีบร้อนทำทั้งๆที่เรื่ออื่นทำตัวเหมือนผู้เฒ่าเลื้ยงเต่า

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาดูที่นโยบายทางเศรษฐกิจรวมทั้งนโยบายด้านอื่นๆที่รัฐบาลได้ประกาศไป ก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องปัญหาการจัดการดูแลทรัพยากรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น ป่า ที่ดิน น้ำ ทรัพยากรชายฝั่ง ฯลฯ ที่ถือได้ว่าเป็นทุนทางเศราฐกิจที่สำคัยอย่างยิ่งในสังคมฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างประเทศไทย เพราะในอดีตกลไกในการจัดการดูแลอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ ทำให้ส่วนใหญ่จะเบียดบังไปให้กับคนในเขตเมืองหรือภาคธุรกิจเอกชนส่วนกลาง ข้าราชการ กลุ่มอำมาตยาธิปไตยและที่สำคัญกลุ่มนายทุนข้ามชาติด้วย ที่เป็นพวกชั้นภูมิที่อยู่ใกล้ชิดอำนาจรัฐ ทำให้คนชนบทเกษตรกรเสียเปรียบ เช่นหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบก็ให้สัมปทานที่ดินแก่คนภายนอกคนที่ใกล้ชิดอำนาจ แต่ไม่ทำให้เกิดประโยชน์แก่คนในพื้นที่จริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ชายขอบของอำนาจ ทำให้เมื่อภาครัฐหรือภาคธุรกิจเอกชนที่ใกล้ชิดศูนย์กลางอำนาจเมื่อกล่าวถึงเศราฐกิจของชนบทก็มักพูดถึงแต่การเกษตรหรือไม่ก็ผลิตภัณฑ์ชุมชน แต่ไม่เคยพูดถึงสิทธิของพวกเขาในการดูแลทรัพยากร เช่น พรบ.ป่าชุมชน

ยิ่งไปกว่านั้นนโยบายชุดนี้เมื่อมองไปที่นโยบายเศราฐกิจด้านภาคส่วนรวม จะเห็นว่านอกจากสนับสนุนการออมในทุกระดับและก้พูดแค่การดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างพอเพียงและมีการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ(สิ่งที่ปรากฏคือโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินที่ กทม. แทนที่จะเป็นรถไฟรางคู่เพื่อกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาค)และเสริมภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ในขณะที่จะเสริมสร้างวินัยทางการเงินการคลังของภาครัฐ โดยการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและประหยัดเท่านั้น มิได้กล่าวถึงกลไกภาษีเลยแม้แต่น้อย

เนื่องจากกลไกภาษีเป็นสิ่งสำคัญในทางเศรษฐกิจที่จะก่อให้เกิดการกระจายรายได้และสร้างความเป็นธรรม เพราะรัฐบาลชุดที่แล้วภาษีบางอย่างที่ไม่เก็บมันเอื้อต่อคนรวยอย่างมาก เป็นการแสดงให้เห็นว่าระบบภาษีของเราไม่เป็นธรรมสุงมาก จากการโอนเอียงเข้าข้างชั้นภูมิที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางอำนาจ แต่รัฐบาลชุดนี้ก็พูดแต่เพียงความเป็นธรรมในผลประโยชนืทับซ้อนแต่เฉพาะรายบุคคล ให้ความสำคัญในระดับปัจเจคบุคคลเท่านั้น

หากมองโดยรวมแล้วก็ต้องพูดถึงผู้ได้ผู้เสียเป็นกลุ่มๆไป ซึ่งสำคัญมากเพราะแต่ละนโยบายย่อมส่งผลต่อกลุ่มเศรษฐกิจต่างกัน เช่นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในการสร้างรถไฟฟ้าที่ กทม. ทำให้ผลประโยชน์กระจุกตัวอยู่แต่ที่ กทม. กทม.ก็ได้รับผลประโยชน์มากขึ้น ทำให้กลุ่มนายทุนเหล่านี้ที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางอำนาจอยู่แล้วยิ่งได้รับผลประโยชน์มากขึ้น ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างรายได้มากยิ่งขึ้น ก็จะควบคุมทางเศรษฐกิจได้ยากยิ่งจากความผันผวนทางเศราฐกิจที่ผูกติดอยู่กับกลุ่มนายทุนไม่กี่กลุ่มทำให้ระบบเศรษฐกิจขาดความมั่นคงเพราะขาดการกระจายความเสี่ยง ส่งผลให้ผันผวนไปตามวัฎจักรทางเศรษฐกิจได้ง่ายและรุนแรง อีกทั้งเมื่อกลุ่มเหล่านี้มีอำนาจมากขึ้นก็จะมามีอิทธิพลทางการเมืองคอบชี้นิ้ว คอยบงการกลไกต่างๆของรัฐทั้งต่อหน้าก็ดีลับหลังก็ดีอันจะทำให้เกิดปัญหาต่อไปอีก

จากที่กล่าวมาข้างต้นสิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ควรใสเข้าไปในนโยบายกลับไม่ใส่เพี่ยงแต่มานั่งพรั่มบอกว่าเราจะดำเนินนโยบายโดยยึดหลักเศราฐกิจพอเพียงอย่างเดียวแต่เป็นความพอเพียงในเชิงปัจเจคบุคคล รัฐบาลชุดนี้มิได้จัดการในเชิงโครงสร้างเลย ไม่ว่าจะเป็นระบบภาษีโดยเฉพาะภาษีที่ดิน เช่นการผลักดันให้เก็บในอัตตราก้าวหน้า และประเด็นนี้ก็ยังถูกทำให้ตกไปในคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญอีกเช่นกัน ซึ่งไม่ต้องหวังเลยว่า สสร. คมช. สนช.หรือคมช จะมาช่วยผลักดันเพราะเมื่อแจ้งบัญชีทรัพย์สินของเหล่าผู้ยึดอำนาจรัฐชุดนี้ก็แสดงให้เห็นว่าอยู่ในชั้นภูมิใด จึงอาจมิแต่งจากรัฐบาลชุดที่แล้วสักเท่าไหร่ อาจกล่าวได้ว่าการรัฐประหารที่ผ่านมามิใช่เป็นการต่อสู้ระหว่างชนชั้นแต่เป็นเพียงการต่อสู้ทางชนชั้นคือเป็นการต่อสู้ระหว่างชนชั้นนำด้วยกันเอง แล้วก็อ้างประชาธิปไตยที่เป้นตัวแทนของชนชั้นล่างเพื่อสร้างความชอบธรรม อ้างเศรษฐกิจพอเพียงก็เพื่อสร้างความชอบธรรมตามลัทธิกษัตริย์ราชาชาตินิยมเช่นกัน
เพราะการจัดการที่โครงสร้างภาษี โดยเฉพาะภาษีที่ดินแบบก้าวหน้าเพื่อทำให้แรงจูงใจในการซื้อที่ดินน้อยลงเพราะต้องจ่ายภาษีมากขึ้นสำหรับคนรวย ประชาชนก็จะหันมาสนใจพัฒนาที่ดินของตนเองมากขึ้นเพราะขายได้ราคาไม่ดีเนื่องจากไม่มีการซื้อขายกันมาก ทำให้เกิดเกษตรกรรมแบบใหม่ๆการพัฒนาภาคเกษตรกรรมมากขึ้นรายได้ก็เพิ่มขึ้นตาม ไม่ต้องให้คนไปพึ่งการจ้างงานเพียงอย่างเดียว เป็นการลดต้นทุนที่ดินให้เกษตรกรรายย่อย แต่เพิ่มต้นทุนให้กับพวกที่กว้านซื้อที่ โดยเฉพาะตัวแทน(นอมินี)ของต่างชาติ

นอกจากนี้ก็คือภาษีมรดกและภาษีรายได้ในอัตราก้าวหน้าเพื่อที่จะลดความสามารถในการช่วงชิงกำไรหรือการสะสมความมั่งคั่ง มูลค่าส่วนเกินของชั้นภูมิที่อยู่ใกล้ศูนยืกลางอำนาจ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจ่ายผลประโยชน์ รายได้และทรัพยากร รวมทั้งคุณค่าทางสังคมต่างๆ อีกทั้งยังลดปัญหาคอร์รัปชันเนื่องจากรายได้หรือทรัพย์สินยิ่งมากยิ่งเสียมากและการสะสมก้ไม่ก่อให้เกิดผลประโยชนืแก่ทายาทหรือตนเองมากนักในอนาคต จากการที่ไม่มาสามรถสั่งสมความมั่งคั่งได้มากทำให้เงินหรือทุนที่จะสะสมไว้เฉยๆ ก็จะเกิดกระกระจายของทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาแก่คนจำนวนมากขึ้น และยังเป็นการฟื้นฟูความเป็นชุมชนเกิดต้นทุนทางสังคม
ดังนั้นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลสุรยุทธ์ตามแนวคิดสังคมโลกแบบมีชั้นภูมิแล้วก็จะเห็นว่าเนื่องจากรัฐบาลชุดนี้มิได้มาจากชั้นภูมิที่อยู่ชายขอบของอำนาจและรัฐบาลชุดนี้มีภาพของทหารซึ่งเป็นกลไกของอำนาจรัฐอยู่แล้ว ยิ่งความสัมพันธ์กับกลุมทุนที่ผลักดันให้เกิดการรับประหารและผลประโยชน์ต่างตอบแทน อย่างการเร่งเซนต์สัญญาเปิด FTA กับ ญี่ปุ่นแล้วก็จะเห็นได้ชัด แนวคิดสังคมโลกแบบมีชั้นภูมิ ที่จุดสูงสุดหรือผู้ที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางของอำนาจมากที่สุดคือบรรษัทข้ามชาติที่มีอิทธิพลส่งผลต่อกิจกรรมต่างๆภายในระบบหรือรัฐหนึ่งๆ โดยเฉพาะรัฐไทยที่พึ่งพากลุ่มทุนเหล่านั้นมากกว่าครึ่งจึงอาจกล่าวได้ว่าแม้รัฐบาลจะมาจากกลุ่มทหาร แต่เบื้องหลังทหารก็ไมต่างจากเบื้องหลังนักการเมืองนักเลือกตั้ง จะเห็นได้จากการใช้มาตรการสำรองเงิน 30 %นั้นก็ก่อให้เกิดการคัดค้านจนต้องผ่อนคลายไป เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเสียอำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจ

ถ้ามองจากนโยบายที่ไม่ได้จัดการที่ตัวโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลไกทางภาษีและอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรแล้ว เครษฐกิจพอเพียงของรัฐบาลชุดนี้เมือมองในแง่ของนโยบายแล้วก็เป็นแค่วาทกรรมที่ยังคงโครงสร้างชั้นภูมิทางอำนาจและความสามารถในการแสวงหากำไรหรือการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินแบบเดิมๆอยู่ ก็อาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็เป็นการต่อสู้ของชนชั้นนำระหว่าง 2 กลุ่มคือทุนนิยมสามานต์กับศักดินาล้าหลังที่อาศัยประชาชนมาเป้นข้ออ้างก็เท่านั้น

จนกล่าวไว้ในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่กล่าวอ้างว่ายึดปรัชญาพอเพียงที่เป็นการใช้หลักคุณธรรมมากำกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเปรียบเสมือนรากแก้วของประเทศ เศรษฐกิจระบบตลาด และเศรษฐกิจส่วนรวมให้มีส่วนร่วมในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบความยั่งยืนและความพอดี โดยเน้นให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำและผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพิ่มความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจทั้งสามภาคดังกล่าว

คำถามคือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปฏิปักษ์หรือไม่เป็นกับกระแสโลกาภิวัฒน์หรือระบบเครษฐกิจแบบทุนนิยม คำตอบก็อาจกล่าวได้ว่าถ้าหากมองเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแค่แนวคิดที่มีไว้ให้คนเลือกปฏิบัติ ดั่งที่บรรดานักวิชาการส่วนหนึ่ง รวมทั้งนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ(มีความสามารถในการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินสูง)ออมมาบรรยายตามกระแสกษัตริย์ราชาชาตินิยมตามที่ต่างๆ ที่อาจกล่าวสรุปได้ว่าเป็นเพียงแค่ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน รวมทั้งมีคุณธรรมและความรู้ ซึ่งก็ไม่ต่างกันกับการที่รัฐบาลได้ประกาศในนโยบายด้านเศรษฐกิจดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ว่าเป็นแนวทางที่ทุกคนทุกวิถีชีวิตสามารถนำไปใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร กรรมกร ไปจนถึงเจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ เจ้าสัวต่างๆ ดังนั้นหากมองเศรษฐกิจพอเพียงในส่วนที่เป็นแนวทางที่มีไว้ให้บุคคลเลือกปฏิบัติหรือปรัชญาชีวิตที่มองในฐานะปัจเจคบุคคล ก็อาจกล่าวได้ว่าไม่เป็นปฏิปัก์ต่อกระแสโลกาภิวัฒน์หรือระบบทุนนิยม เพราะเพียงแค่คุณมีเหตุผล พอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน รวมทั้งมีความรู้คู้คุณธรรมคุณก็สามารถอยู่ในกระแสดังกล่าวได้ เป็นแค่การเปลี่ยนแปลงคติในการดำเนินชีวิตหรือปรัชญาชีวิตของตน แต่โครงสร้างความสัมพันธ์ในระบบเศรษบกิจยังคงมีลักษณะเดิมอยู่นั่นเอง

การให้นิยามเศราฐกิจพอเพียงในแง่ปรัชญาชีวิตหนึ่งเพื่อให้คนเลือกเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ซึ่งก็ไม่ต่างจากหลักความรู้ที่เปิดสอนในสาขาวิชา MBA เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระบบทุนนิยมท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒนืได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง จึงอาจกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงในนิยามดังกล่าวกลายเป็นผลผลิตทางความรู้ที่เกิดมาจากชนชั้นนำและนักวิชาที่รับใช้ชนชั้นนำเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นศักดินาหรือทุนนิยมที่ทรงอิทธิพลในปัจจุบัน ดังที่ปรมจารย์เปงกิชข่านกล่าวไว้ว่า ทฤษฏีความรู้ต่างๆก็ผลิตออกมาเพื่อรับใช้ชนชั้นเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เศราบกิจพอเพียงดังกล่าวจึงมิเป็นปฏิปักษืต่อระบบทุนนิยมและกระแสโลกาภิวัฒน์

ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงในนิยามดังกล่าวก็อาจแก้ปัยหาความยากจนได้ ถ้าปัญหาความยากจนเกิดจากสาเหตุที่ตัวปัจเจคบุคคลอย่างเดียวมองความยากจนว่าเกิดมาจากตัวของแต่ละบุคคลเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างความสัมพันธ์ในเศรษฐกิจการเมืองและสังคมที่เหลื่อมล้ำกันเลย แต่ในความจริงมันเป็นเช่นนั้นหรือ?

ซึ่งถ้าหากมองเศรษบกิจพอเพียงมิใช่เฉพาะแค่ระดับปัจเจคบุคคลหรือแค่ปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่มีไว้ให้แต่ละบุคคลเลือกปฏิบัติเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่เป็นการมองในเชิงโครงสร้างทางสังคมแล้ว เศรษฐกิจพอเพี่ยงก็อาจต่างจากระบบทุนนิยมและกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่มิได้จำกัดอยู่แคบๆแค่ในกิจกรรมทางการค้าการลงทุนหรือธุรกรรมที่ข้ามพรมแดนเท่านั้น แต่มันครอบคลุมหลายมิติเป็นกระบวนการที่เกี่ยวพันทั้ง เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ภูมิปัญญาเทคโนโลยีและอื่นๆ ที่เป็นการแพร่ถึงกันทั่วทั้งโลก ส่งผลให้เกิดสังคมแบบใหม่ๆ พร้อมทั้งปัญหาการเมืองโลก บรรษัทข้ามชาติมีอำนาจและอิทธิพลต่อกระบวนการผลิต การถ่ายทอดและการแพร่กระจายวัฒนธรรมทุนนิยมโลก ความสัมพันธ์ทางสังคมจึงมิใช่จำกัดผิวเผินง่ายๆแค่ท้องถิ่น หากแต่ขยายไร้พรมแดนข้ามเวลาและพื้นที่โลก ดังนั้นวัฒนธรรใหม่ๆรวมทั้งตัวละครใหม่ๆในสังคมที่เป็นผลมาจากระบบและกระบวนการโลกาภิวัฒน์ จึงไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับรัฐชาติหรือระดับท้องถิ่นอีกต่อไป แต่จะเชื่อมต่อกฏเกณฑ์ กติกา และการเมืองในระดับสากลของกลุ่มมหาอำนาจโลก(วิวัฒน์ชัย อัตถากร, 2546:9) และยังทำให้กลุ่มเหล่านี้อยู่ในชั้นภูมิที่สูงสุดของโครงสร้างอำนาจและการแสวงหากำไร เมือผนวกกับระบบทุนนิยมที่บูชาตลาดเสรีโดยเอาทุกคนมาแข่งขันกันอย่างเสรี จริงๆแล้วมันเป็นเสรีหรืออำนาจนิยมทำให้ผลกระทบระดับหลักนโยบายรัฐตามหลักสูตรปฏิบัติสำหรับประเทสที่ตลาดทุนนิยมโลกเข้าไปถึงรวม 3 ประการ อันได้แก่
1. การยกเลิกการควบคุมของรัฐ(Deregulation)
2. ปล่อยเสรีทางการค้า การลงทุนและการเงิน(Liberalization)
3. แปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของเอกชน(Privatization)

โดยเป้าหมายคือรัฐไม่ควรมายุ่งเพราะจะไปฝืนกลไกการแข่งขัน เพื่อถ่ายโอนอำนาจรัฐให้แก่ภาคธุรกิจเอกชน ซี่งโดยแท้จริงก็หมายถึงกลุ่มทุนข้ามชาติหรือตัวแทนนายหน้าทั้งไทยและเทศทั้งหลายที่อยู่ในชั้นภูมิที่ใกล้อำนาจและมีความสามารถในการแสวงหากำไรหรือขูดรีดมูลค่าส่วนเกนสุงสุดนั่นเอง ไปตามทางของทฤษฏีประสิทธิภาพและการแข่งขันเสรี เพราะมือที่มองไม่เห็นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบง่ายขึ้น คนที่อ่อนแอก็ยิ่งอ่อนแอส่วคนที่แข็งแร้งก็ยิ่งแข้งแรงขึ้น แต่จะว่าไปแล้วคนที่แข็งแรงนั้นมิอาจแข็งแรงมาตั้งแต่เกิดเพี่ยงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับระบบและทุนที่มารองรับในการพัฒนาศักยภาพของตน สิ่งนี้ก็ขึ้นต่อตัวโครงสร้าง และเมื่อเปรียบเที่ยบแล้วทารกที่เกิดในครอบครัวชั้นภูมิที่ใกล้อำนาจก็มีโอการที่แข็งแรงกว่าคนที่อยู่ชายขอบอำนาจอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้โครงสร้างทางเศรษฐกิจกรเมืองและสังคมในระบบทุนนิยมและกระแสโลกาภิวัฒน์จึงเอื้อต่อการแสวงหากำไรหรือการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินมากขึ้นสำหรับผู้ที่อยู่สูงนั่นเอง

ดังนั้นเศราฐกิจพอเพียงจึงต้องผนวกเข้ากับแนวคิดชุมชนท้องถิ่นนิยม เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ และเศรษฐศาสตร์สีเขียว เป็นต้น หรือดังที่ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์(2549) กล่าวว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวัฒนธรรมมากกว่าปรัชญา กล่าวคือไม่ใช่แค่แนวคิดที่ตนเลือกปฏิบัติตาม แต่เป็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่ต้องมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเอื้อให้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ด้วย ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นเพียงปรัชญาที่ผู้คนเอาไปเขียนไว้บนเสื้อยืด โดยไร้ความหมายในชีวิตจริงตลอดไป

แน่นอนที่ มีบางคนที่อาจยึดถือ "ปรัชญา" แบบนี้ แล้วดำเนินชีวิตในเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแข็งขัน ท่ามกลางสังคมทุนนิยม-บริโภคนิยมที่เข้มข้นได้ อย่างเดียวกับที่มีฤษีชีไพร, ฮิปปี้ส์ และเดวิด โธโร ในสังคมอะไรก็ได้เสมอ แต่การที่เศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นวิถีชีวิตของผู้คนจำนวนมาก (แม้เพียง 25%) ได้ก็ต้องมีสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและสังคมเอื้ออำนวยให้เป็นไปได้ โดยที่มีโครงสร้างอย่างน้อยสี่อย่างที่เอื้อหรือค่อนข้างจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของเศรษฐกิจพอเพียง คือโครงสร้างทางนิเวศน์ โครงสร้างทางสังคม โครงสร้างทางเศรษฐกิจ และโครงสร้างทางการเมืองของความพอเพียง

ทั้งหมดนี้ต้องการงานศึกษาอย่างจริงจังและลุ่มลึกทั้งนั้น ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของโครงสร้างเหล่านี้กับเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้น ระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์ลดต้นทุนการผลิตและให้ผลผลิตบางอย่างที่ไม่ต้องลงทุนเลย เช่น ป่าให้ความชุ่มชื้น และอาหาร ตราบเท่าที่มีป่าอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรไม่จำเป็นต้องลงทุนกับเรื่องน้ำมากนัก และยังมีหลักประกันด้านอาหารและยาที่มั่นคงด้วย จึงง่ายที่จะมองเห็นว่ามีข้าวเกินยุ้ง ก็กินได้แค่อิ่มเดียวเหมือนกัน เช่นเดียวกับป่า น้ำดื่มที่สะอาด, ที่อยู่อาศัยซึ่งอากาศถ่ายเทได้ดี, สภาพการทำงานที่ปลอดภัย, เมืองที่ไร้มลภาวะ ฯลฯ ย่อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตที่พอเพียงของกรรมกรอย่างแน่นอน
ในด้านโครงสร้างทางสังคมของความพอเพียง เรามักให้ความสำคัญเพียงอย่างเดียวกับสันตุฏฐิธรรม หรือรู้จักพอใจกับสิ่งที่ตัวมี ซึ่งเป็นเรื่องปัจเจก ถ้าจะขยายไปถึงสังคมก็จะเน้นการต่อต้านวัฒนธรรมบริโภคนิยม สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญแน่ครับ แต่ยังไม่พอ เพราะถ้ามองจากปัจเจกด้านเดียว ย่อมยากหรือเป็นไปไม่ได้เลยที่จะอยู่อย่างพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงนั้นตั้งอยู่บนฐานของชีวิตทางสังคม ไม่ใช่ปัจเจก ยกเว้นแต่เราทุกคนจะพากันไปบวชในนิกายสยามวงศ์หมด ซึ่งทำให้ไม่เหลือใครไว้ตักบาตรอีกเลย

ทั้งนี้ เพราะว่าในฐานะปุถุชน คนเราคงต้องการความมั่นคงในชีวิตอย่างน้อย 4 ด้านด้วยกัน คือความมั่นคงด้านอาหาร, สุขภาพ, ที่อยู่อาศัย, และความก้าวหน้า (ซึ่งต้องมีความหมายทั้งด้านที่เป็นวัตถุและด้านที่เป็นจิตวิญญาณด้วย ไม่อย่างนั้นก็ต้องตีกันตายเพื่อให้ได้มาซึ่งความก้าวหน้าทางวัตถุอย่างเดียว) แต่ทั้งสี่ด้านนี้อาจบรรลุได้ ไม่ใช่จากการกระทำของตัวคนเดียว แต่รวมถึงการกระทำของสังคมควบคู่ไปด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายให้ดูเพียงบางด้าน ในอีสานสมัยโบราณ หากบ้านไหนประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติในบางปี ก็จะออกไปขอทานข้าวจากบ้านอื่นมาประทังชีวิต การกระทำเช่นนี้เป็นไปตามประเพณี กล่าวคือ ผู้ให้ก็ถือเป็นหน้าที่ต้องทาน ผู้รับก็ถือเป็นหน้าที่ว่าต้องทำอย่างเดียวกันเมื่อบ้านอื่นประสบภัยพิบัติเหมือนกัน ฉะนั้น มองในแง่นี้ ความมั่นคงทางอาหารจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับความหมั่นเพียรทำกินของครอบครัวเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กัเครือข่ายทางสังคมที่ช่วยรองรับวิกฤตได้ในบางปีด้วย หรือในสังคมที่ไม่มีกฎหมายรองรับความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยเลย ชาวสลัมไม่มีวันนอนเป็นสุข เพราะไม่รู้ว่าจะถูกไล่รื้อเมื่อไร จำเป็นต้องหาช่องทางค้ายาม้าเพื่อเก็บเงินไว้สำหรับหาที่อยู่ใหม่ในคราวจำเป็น. เช่นเดียวกับชาวเขาซึ่งรู้เต็มอกว่าเขตอุทยานซึ่งประกาศทับที่ทำกินของตัว ทำให้ชีวิตหาความมั่นคงอะไรไม่ได้สักอย่าง จะมานั่งพอเพียงอยู่ไม่ได้ มีทางจะดิ้นให้หลุดจากความไม่มั่นคงนี้ด้วยวิธีใด ก็ต้องคว้าเอาไว้ ไม่ว่าจะขายตัว, ขนยาเสพติด, รับตัดไม้เถื่อน ฯลฯ ก็ต้องรับ

อำนาจทางการเมืองก็เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าเรามีโครงสร้างทางการเมืองที่กระจุกอำนาจไว้ในคนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น การเมืองก็กลายเป็นเรื่องได้-ได้หมด เสีย-เสียหมด เศรษฐกิจพอเพียงกลายเป็นสิ่งที่คนเล็กๆ ต้องใช้เพราะไม่มีทางเลือกอื่น ในขณะที่ถูกปล้นสะดมทรัพยากรที่ตัวมีอยู่หรือเข้าถึงไปทุกวัน ในที่สุดก็ไม่อาจ "พอเพียง" ต่อไปได้ ต้องไปตายดาบหน้าด้วยการแทงหวย, กู้หนี้ยืมสิน, หรือเมาเพราะจน-เครียด และก่ออาชญากรรม

โครงสร้างทางการเมืองที่จะเอื้อต่อเศรษฐกิจพอเพียงจึงต้องทำให้การเมืองเป็นการต่อรอง ยืดหยุ่น มีได้มีเสียกับคนทุกกลุ่ม ไม่ใช่กลุ่มหนึ่งมีแต่ได้ กลุ่มหนึ่งมีแต่เสียตลอดไป ทำให้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางเลือก (ไม่ใช่บังคับเลือก) ที่เป็นไปได้แก่คนที่อยากเลือก ถ้าเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้แก่สังคมไทย ต้องกินความกว้างขวางกว่าปัจเจกหรือครอบครัว กล่าวคือ ต้องมีปัจจัยทางสังคมที่เอื้อให้เป็นได้ด้วย และตรงปัจจัยทางสังคมนี่ได้รับความใส่ใจจากบุคคลและหน่วยงานที่ส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไม่พอเพียง จนบางครั้งก็พูดกันง่ายๆ ว่าจะใช้เศรษฐกิจพอเพียงคู่ขนานกันไปกับเศรษฐกิจทุนนิยม-เสรีนิยม ดังเช่นจึงมีคนในรัฐบาลบอกว่า การส่งออกจะยังเป็นหัวจักรดึงการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป เพียงแต่ว่าธุรกิจเอกชน (เหมือนครอบครัวและรัฐบาล) คือไม่ใช้จ่ายเกินตัวด้วยการขยายกำลังการผลิตเกินขีดความสามารถของตัว

แต่การวิเคราะห์ขีดความสามารถของบริษัทในเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ไม่ใช่มาดูตัวเองเพียงคนเดียว แต่ต้องดูสังคมโดยรวม และว่าที่จริง ดูไปถึงดาวเคราะห์โลกทั้งใบเลย เพราะการผลิตอะไรก็ล้วนต้องอาศัยฐานทรัพยากรทั้งนั้น ขีดความสามารถในการผลิตจึงต้องเกี่ยวกับว่า การใช้ทรัพยากรนั้นๆ แล้วจะไปกระทบต่อคนอื่น ชีวิตอื่นอย่างไร ถ้าเพิ่มการใช้เข้าไปอีกจะกระทบอย่างไร ไม่ว่าทรัพยากรนั้นจะเป็นธรรมชาติหรือเป็นคนก็ตาม เช่นอยู่ๆ คิดจะขุดแร่โพแทสใต้ดินมาใช้ก็เห็นมันนอนอยู่เฉยๆ ไม่มีใครใช้ ฉันจึงขอใช้โดยไม่ต้องคำนึงว่า แล้วกระบวนการนั้นจะไปกระทบต่อคนอื่นและชีวิตอื่นอย่างไร จะเรียกว่าวัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร แม้ว่าบริษัทอาจไม่ได้ overexpand หรือขยายการผลิตเกินขีดความสามารถเลยก็ตาม

ฐานทรัพยากรคือฐานชีวิตของคนและสิ่งมีชีวิตทั้งหมดนะ เมื่อทำลายมันแล้วดูแต่ว่าบริษัทไม่เจ๊งแน่ จึงไม่ใช่วัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพียงแน่ เพราะว่าหัวใจสำคัญของวัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพียงคือการคิดถึงคนอื่น, สัตว์อื่น, และอะไรอื่นๆ ทั้งหลายนอกตัวเราออกไป รวมทั้งการคิดถึงพระเจ้าหรือพระนิพพานก็เป็นฐานสำคัญของวัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน หากมีบริษัทใดที่คิดถึงฐานทรัพยากรในการวิเคราะห์ขีดความสามารถของตัว ปัญหาแรกที่ต้องเผชิญก็คือ จะไปหานักวิเคราะห์ดังกล่าวที่ไหน ด๊อกเตอร์จากเมืองอเมริกาทำไม่ได้ เพราะไม่มีใครเขาสอนให้คิดแบบนี้ มหาวิทยาลัยไทยก็ไม่ได้ผลิตบัณฑิตถึงดุษฎีบัณฑิตแบบนี้เหมือนกัน ฉะนั้น เราจึงไม่มีข้อมูลอะไรในมือพอที่จะเอาไปวิเคราะห์ได้ นั่งเก็บข้อมูลเดี๋ยวนี้ บริษัทก็เจ๊งเสียก่อนที่จะตัดสินใจได้ วัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพียงจึงไปเกี่ยวกับอะไรที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวเลย คือการศึกษา ไม่ใช่สอนให้รู้จักความสันโดษอย่างเดียว ยังต้องสอนทักษะในการสร้างความรู้ที่จะเอื้อต่อเศรษฐกิจพอเพียงด้วย

ดังนั้นอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าถ้าเศราบกิจพอเพียงเป็นวาทกรรมทางการเมืองหนึ่งที่สร้างโดยเหล่าชั้นภูมิที่ใกล้อำนาจต่างๆแล้ว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงในมิติของปัจเจคบุคคลเท่านั้นก็มิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อระบบทุนนิยมและกระแสโลกาภิวัฒน์เพราะยังคงโครงสร้างสังคมชั้นภูมิที่ก่อให้เกิดการขูดรีดมู,ค่าส่วนเกินแบบเดิมๆ เพียงแค่นำเอาคุณธรรมใสเข้าไปในระบบทุนนิยมอย่างเดิม ดังที่นโยบายรัฐบาลชุดนี้วางไว้ ทั้งๆที่คุณธรรมก็ส่วนใหญ่ถูกผลิตโดยผู้ที่อยู่ในชั้นภูมิสูงๆอีกนั่นเอง คุณธรรมจึงมีลักษณะสัมพัทธ์ก็ว่าได้ แล้วคุณธรรมที่เอามาใส่ก็ถูกกำหนดโดยชั้นภูมิที่อยู่ใกล้อำนาจรวมทั้งนักวิชาการที่รับใช้ชั้นภูมิหรืออำนาจเหล่านั้นจึงมิอาจเป็นปรปักษ์ต่อโครงสร้างชั้นภูมิเดิมเลย เพราะปัญหาความด้อยพัฒนาของเศรษฐกิจไทย จริงๆมิได้อยู่แค่ปัญหาระดับปัจเจกหรือปัญหาทางเทคนิคเท่านั้น แต่ยังมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ สังคมแบบทุนนิยมผูกขาดที่มีชั้นภูมิเหลื่อมล้ำกันเป็นบริวารของประเทศทุนนิยมศูนย์กลางและนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการหากำไรในระยะสั้นของเอกชนหรือมองปัญหาแค่ระดับบุคคลหรือแค่เทคนิคเท่านั้น

แต่ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างด้วยไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ทางนิเวศ สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของความพอเพียง คือความสัมพันธ์ของคนต่อคน และคนต่อธรรมชาติแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงก็เป็นปฏิปักษ์ต่อระบบทุนนิยมและกระแสโลกาภิวัฒน์ที่พวกอนุรักษ์นิยมผลิตซ้ำอยู่นั่นเอง เพราะว่าเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งหลักการอื่นที่นำเข้ามาผนวกจะเข้าไปสลายโครงสร้างของชั้นภูมิที่มีไว้เพียงขูดรีดมูลค่าส่วนเกินทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองต่างๆนั่นเอง เพราะจะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการจัดการความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เอื้อต่อการเอารัดเอาเปรียบระหว่างชั้นภูมิ จากความสามารถในการแสวงหากำไรหรือมูลค่าส่วนเกินนี้มาเป็นความสัมพันธ์ที่ให้มนุษย์สามารถแสดงศักยภาพของตนเองและมีต้นทุนที่เป็นธรรมในการพัฒนาศักยภาพนั้นได้ดีที่สุด อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นธรรม

เอกสารอ้างอิง

แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติวันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2549สืบค้นจาก//www.phrae.go.th/file_buranakan/nayobuy.doc.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2549. วัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพี้ยงสืบค้นจากwww.midnightuniv.org (ออนไลน์) เมือวันที่ 1 มี.ค.50
วิวัฒน์ชัย อัตถากร. 2546. ยุทธศาสตร์ใหม่ของชาติกับเศรษฐกิจการเมืองภาคประชาชนในยุคทุนนิยมโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิ 14 ตุลา
สังคมโลกแบบมีชั้นภูมิ : ระบบเศรษฐกิจไทย สืบค้นจาก //www.mpa8chonburi.com/krit%5B1%5D.doc(ออนไลน์)เมือวันที่ 3 มี.ค.50
ศ.ดร.อานันท์ ชำแหละนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์
จากสำนักข่าวประชาธรรม : ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙



Create Date : 25 เมษายน 2550
Last Update : 18 กันยายน 2550 14:44:59 น. 5 comments
Counter : 3842 Pageviews.

 
เห็นบรรดานักวิชาการทั้งหลาย ออกมาพล่ามเรื่อง อันตรายหายนะแห่งโลกาภิวัฒน์ สร้างภาพให้น่าหวาดกลัว สร้างความสยองขวัญให้เกิดกับประชาชน และยังได้ยกเอา ความแนวคิด Back To Basic มาเป็นลัทธิแก้เสียอีกด้วย เพื่อหวังกระทบคราดไปยัง นโยบายของรัฐบาลทักษิณ ในอดีต ที่เดินตามกระแสโลกาภิวัฒน์อย่างแนบเนียน

แท้ที่จริงแล้ว เราเผชิญกับกระแสโลกาภิวัฒน์มานมนานกาเลแล้ว เพียงแต่มาในหลากหลายรูปแบบ ถ้าเราเชื่อใน องคาพยพของโลกว่ามันมีจริง ชื่ออาจแตกต่างกันไปตามแต่นักวิชาการบ้านเราจะเรียก เหมือนกับเวลาเจอดาวหาง หรือพายุ ใครเจอก่อนก็ได้รับเกียรติให้ตั้งชื่อก่อน เช่น ลัทธิจักรวรรดินิยม ลัทธิล่าอาณานิคม ฯ

เราเคยเผชิญกับ ยุคสงครามเย็น ที่คนไทยรบราฆ่าฟันกันเองยาวนานหลายปี ย้อนกลับไปก็มี นโยบายสร้างวงไพบูลย์แห่งเอเซีย ของญี่ปุ่น ที่เราต้องถูกลากเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 เราเจอกับทฤษฏีล่าเมืองขึ้น ตะวันตก ที่เราต้องเสียดินแดนไปเยอะแยะ ยังมี สิทธิสภาพนอกอาณาเขต เซอร์จอห์น เบาริ่ง และแหม่มแอนนา ย้อนขึ้นไปสมัยอยุธยา เราก็ยังมีปฏิสัมพันธ์ทางธุรกิจกับชาติในเอเซีย และตะวันตก อย่างต่อเนื่อง

เราเสียเปรียบมาโดยตลอด สมัยอดีตกาลนั้น ชาวไทย หรือว่า สยาม ก็ไม่ได้มีความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ต่างก็ยึดมั่นในจารีต ประเพณีการดำรงชีวิตโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านสืบทอดกันมาแต่โบราณ เป็นหลัก ก็แล้วทำไมเราถึงต้องเสียเปรียบและพ่ายแพ้ ทำไมเราถึงต้องเป็นลูกไล่ชาติตะวันตก อยู่ตลอดเวลา

นี่แสดงให้เห็นได้ชัดว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ Life style ในการดำรงชีวิตของชาวบ้าน แต่อยู่ที่ นโยบาย กุศโลบายของผู้ปกครองบ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยต่างหากที่ เป็นเหตุทำให้คุณภาพประชากรของเราด้อยกว่าต่างชาติ เรารู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยี วิทยาการของต่างชาติ ทำให้เราต้องตกเป็นเบี้ยล่างของเขาใช่หรือไม่ ? ถ้าประชาชนของเรามีความเท่าเทียมกันทางสติปัญญา ความสามารถ มีศักยภาพ เราจึงจะสามารถต่อสู้กับกระแสโลกาภิวัฒน์ได้ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใด มาในชื่ออะไรก็ตาม

* ดังนั้นต่อให้เราถอยจนสุดกู่ หรือหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว ก็ไม่สามารถรอดพ้นกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกได้ มีทางเดียวคือต้องเรียนรู้ และเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ เร่งพัฒนาศักยภาพของคนไทยให้ทัดเทียมกับต่างชาติ เราจึงจะอยู่รอดได้ แทนที่จะโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนคนไทย เจียมเนื้อเจียมตัว หรือแม้แต่สร้างจิตสำนึกย้อนยุค นุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกระเช้า สร้างกระแสรักชาติ ที่สูญเปล่าแบบผิดๆ เพียงเพื่อหวังสร้างกระแสเกลียดชัง ทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองมากกว่า ถ้าคนเหล่านี้ รักและคิดถึงประเทศชาติประชาชน จริงอย่างปากว่า ควรปรับทัศนคติเสียใหม่ ถ้าปรับไม่ได้ ก็จงไปเกิดใหม่ซะ

//thaicrisis.blogspot.com/


โดย: Killer IP: 124.121.127.100 วันที่: 26 เมษายน 2550 เวลา:23:19:17 น.  

 
หมอยุ่นขอ.คิด ,

หมอยุ่นขอ..เขียน ,

หมอยุ่นขอ...พูด (บ้าง)

-----------------------------------------------------------
หมอยุ่นขอ..เขียน (6)
-----------------------------------------------------------


วิกฤติทางการบ้าน , การเมือง

ทางออกอย่างไร...ดี ?


ขณะนี้ คมช. + รัฐบาล ให้น้ำหนักในการ

กำจัดขั้วอำนาจเก่า อย่างไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ,

ให้อยู่เมืองไทยไม่ได้ ชนิดทำทุกขั้นทุกตอน

รวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 2550

ก็ล้วนแล้วเดินหน้าไปสู่ การกำจัดตัวบุคคล

คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นสำคัญ


ดังนั้น จึงขาดสัมมาทิฏฐิ

ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการมุ่ง.... สู่

การแก้ปัญหาของประเทศชาติ ซึ่งมีมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคง , ความปลอดภัยของชีวิต และ

ทรัพย์สิน , ปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ทรุดตัวอย่างมาก ,

ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรกลุ่มต่างๆ เป็นต้น


ความศรัทธาต่อ คมช. + รัฐบาล

จึงลดฮวบฮาบ , เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว

แนวโน้มที่กลุ่มมวลชนจัดตั้งออกมาแสดงพลัง

จึงปรากฏให้เห็นมากขึ้น , ถี่ขึ้นเรื่อยๆ



วิกฤติของบ้านเมือง จะหาทางออกอย่างไร ?


1. การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกกลุ่ม ,

ทุกวิชาชีพ , ทุกชนชั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ เมื่อรับฟังแล้ว

ให้รีบดำเนินการทันที เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของ

ประชาชน , ลดความวุ่นวายในบ้านเมือง , การแสดง

พลังของม็อบจะลดน้อยลง


2. หยุดการกล่าวหา แบบแผ่นเสียงตกร่อง ที่ว่า

เป็นคลื่นใต้น้ำ , เป็นขั้วอำนาจเก่า , ได้รับการหนุน

ทางการเงินจากกลุ่มนั้น , กลุ่มนี้ เป็นต้น

เพื่อลดวิวาทะ , ความขัดแย้ง

เมื่อหยุดการมุ่งทำลายล้าง , การต่อต้านจะลดลง


3. รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ร่างนี้ ถ้าไม่ผ่าน ประชามติ

ก็ต้องออกมายืนยันให้ชัดเจนว่า

จะกลับไปใช้ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540

เพื่อจัดการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด , อย่างช้าสิ้นปีนี้

อย่าให้เกิดกระแสต่อต้าน คมช. อย่างรุนแรง ต่อการ

นำรัฐธรรมนูญ ฉบับ คมช. อื่นๆ มาประกาศใช้ในช่วง

เดือนกันยายน 2550 จะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ,

ประเทศชาติเสียหายไปกว่านี้

เกินกว่าที่คมช.จะรับผิดชอบได้


4. หยุดการมุ่งทำลาย

ตัวบุคคลและครอบครัว ของ อดีตนายกรัฐมนตรี

พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร,

ข้อกล่าวหามากมาย , คดีความต่างๆ ให้เป็นไปตาม

กฎหมายบ้านเมืองอย่างเป็นธรรม


5. ทุ่มเทสรรพกำลังมุ่งในการ แก้ปัญหาต่างๆ

ของประเทศชาติ , ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน


6. ให้ตั้งมั่นใน สัมมาทิฏฐิ ซึ่งนำไปสู่ สัมมาข้ออื่นๆ

ดังใน อริยมรรค มีองค์ 8 ซึ่งจะก่อให้เกิดสมานฉันท์

โดยไม่ต้องไปกลัวภัยต่างๆหลังจากได้รัฐบาลใหม่หลัง

การเลือกตั้ง เนื่องจาก การกระทำต่างๆที่ถูกต้อง ,

สุจริต , ยุติธรรม จะช่วยปกป้อง คมช. + รัฐบาล


7. ให้รักษาวาจาที่ให้ไว้อย่าง ไม่บิดพลิ้ว ซึ่งจะเป็น

จุดชนวนต่อ การเกิดความวุ่นวาย ,

ความรุนแรงในบ้านเมือง


8. คมช. + รัฐบาล ต้องประคับประคองร่วมกัน

ป้องปรามไม่ให้เกิดรัฐประหารซ้ำ / รัฐประหารซ้อน

ก่อนการเลือกตั้ง เนื่องจากการก่อรัฐประหารอีกครั้งจะ

เป็นการทำลายประเทศชาติให้ย่อยยับ


9. นับถอยหลัง สู่ การเลือกตั้งให้ได้ในปีนี้

เพื่อ รักษาระบอบประชาธิปไตย ให้อำนาจอธิปไตย

เป็นของปวงชนชาวไทย เพื่อตัดสินทิศทางของประเทศ

โดยไม่ต้องไปหวั่นว่า เลือกตั้งแล้ว ใคร ? จะไป , จะมา

ให้เป็นไปตามครรลอง แล้วไปแก้ปัญหาต่างๆตาม

ระบอบประชาธิปไตย ในรัฐสภา อย่างสันติวิธี


" ผมยังเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย

มากกว่า การรัฐประหาร "




หมอยุ่น ษัษฐบุตร พฤทธิพันธุ์

นักสุขศึกษาดีเด่น ปี 2536 - 2537

โดย

สมาคมวิชาชีพสุขศึกษา

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข


//www.esnips.com/web/moryoonthink
//www.esnips.com/web/moryoonweb
//www.esnips.com/web/moryoonwebsite
//moryoon.blogspot.com
//moryoon.tapee.ac.th


โดย: หมอยุ่น ตามรอยพุทธทาส IP: 202.149.102.4 วันที่: 28 เมษายน 2550 เวลา:19:25:04 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: Darksingha วันที่: 10 พฤษภาคม 2550 เวลา:21:52:41 น.  

 


โดย: ฟิ IP: 124.120.175.47 วันที่: 9 มิถุนายน 2550 เวลา:10:04:30 น.  

 


เเบ้


โดย: palm IP: 58.10.170.116 วันที่: 9 กันยายน 2551 เวลา:15:00:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.