Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
11 กันยายน 2550
 
All Blogs
 

จากแผนพีดีพีถึงโรงไฟฟ้าระยอง ละครเดิมๆ เรื่อง “พลังงาน”



9 กันยายน 2550
เรื่องโดย : ธีรมล บัวงาม สำนักข่าวประชาธรรม





“แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2550-2564 (พีดีพี 2007) คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเกินความเป็นจริง และจะเกินจริงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี โดยเมื่อสิ้นสุดแผนพีดีพีนี้ จะพบค่าการพยากรณ์ที่เกินจริงไม่น้อยกว่า 6,000 เมกะวัตต์ ส่งผลให้ต้องเสียเงินลงทุนไปฟรีๆ ไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท และภาระนี้จะตกอยู่ที่ประชาชนผู้บริโภคที่ต้องจ่ายค่าไฟเกินจริงนั่นเอง”

เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการที่ติดตามยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง หยิบยกข้อเสียบางประการของแผนพีดีพี 2007 มาบอกเล่า ซึ่งนี่ก็เป็นอีกเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมชาวบ้านระยองและสมุทรสงครามจึงออกมาคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าของบริษัทในช่วงที่ผ่านมา

ตามแผนพีดีพี 2007 กำหนดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระหรือผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ Independent Power Producer (IPP: ไอพีพี) รอบใหม่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตั้งแต่ปี 2555 - 2557 จำนวน 3,200 เมกะวัตต์ ด้วยวิธีประมูลแข่งขัน ซึ่งการประมูลไอพีพีครั้งนี้มีผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเก่าและรายใหม่ร่วมซื้อซองประมูล กว่า 60 ซอง

เอกชนคึกงาบซองประมูล-คาด “รายเก่า”กินเรียบ

สำหรับเอกชนที่ซื้อซองประมูลไอพีพี ครั้งนี้คาดการณ์กันว่าบริษัทเอกชนที่จะชนะการประมูลคงมีเพียงไม่กี่ราย เนื่องจากปริมาณกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เปิดประมูลเพียง 3,200 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทที่มีความพร้อมจริงๆ คงมีเพียง 3-4 ราย อาทิ บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด(มหาชน)หรือ เอ็กโก ที่ได้ซื้อซองในจำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เดิมของโรงไฟฟ้าขนอม จ.นครศรีธรรมราช ขนาด 800 เมกะวัตต์ พื้นที่ปลวกแดง จ.ระยอง ขนาด 800 เมกะวัตต์ และพื้นที่จอมบึง จ.ราชบุรี ขนาด 800 เมกะวัตต์ โดยได้ทำการจัดซื้อที่ดินและทำรายงานศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ อีไอเอ เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่นำมาปรับปรุงเพิ่มเติมใหม่ เนื่องจากมีของเดิมแต่ละพื้นที่ทำไว้ที่ 700 เมกะวัตต์ เท่านั้น

นอกจากนี้บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของโรงไฟฟ้าราชบุรี สามารถขยายอีก 700 เมกะวัตต์ โดยอีไอเอได้ผ่านการอนุมติเรียบร้อยแล้ว รวมถึงพื้นที่ของโรงไฟฟ้าไตรเอ็นเนอยี่ ในจังหวัดราชบุรี ที่โรงไฟฟ้าราชบุรีเข้าไปถือหุ้นอยู่ร้อยละ 50 สามารถขยายโรงไฟฟ้าได้อีก 700 เมกะวัตต์ และต้องนำอีไอเอที่ผ่านการอนุมัติแล้วมาปรับปรุงใหม่ หรือบริษัทผลิตไฟฟ้าอิสระ(ประเทศไทย) จำกัด ที่มีบริษัทไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) ถือหุ้นโดยตรงและโดยอ้อมอยู่ประมาณร้อยละ 58 ได้เตรียมพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1,400 เมกะวัตต์ ไว้ในพื้นที่เดิมของไอพีที ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับโรงกลั่นไทยออยล์ และอยู่ไม่ห่างจากสถานีไฟฟ้าอ่าวไผ่ตามที่กฟผ. ระบุ ซึ่งได้รับการอนุมัติอีไอเอไปเรียบร้อยแล้ว

ขณะที่ทางบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) วางแผนจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,600 เมกะวัตต์ ใน จ.ระยอง หรือบริษัทล็อกเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใน จ.สมุทรสงคราม ก็ต้องเผชิญกับการคัดค้านของประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชี้ได้อย่างเด่นชัดว่า การประมูล “ไอพีพี” ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ หรือห่างไกลการรับรู้ของคนไทยอีกต่อไป

กำเนิด “ไอพีพี” ลงทุนสบาย-ลงท้ายได้อภิสิทธิ์

ย้อนไปปี 2535 ขณะที่นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ครม.มีมติ ลงวันที่ 17 มี.ค.35 เห็นชอบการออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก หรือ SSP ที่ผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานนอกรูปแบบกากหรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง และการผลิตไฟฟ้า และไอน้ำร่วมกัน (Cogeneration) เนื่องจากภาระหนี้สินของ กฟผ. ผนวกกับความต้องการไฟฟ้าที่สูงขึ้น หรือแรงกดดันจากธนาคารโลกและนโยบายส่งเสริมระบบตลาดของรัฐบาลเอง รัฐบาลจึงเดินหน้าปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าของประเทศไทย โดยส่งเสริมให้มีผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเข้ามาผลิตไฟฟ้าได้เพื่อลดภาระการลงทุนของภาครัฐและเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า

อย่างไรก็ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยได้เติบโตสูงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล ซึ่งหากดำเนินการโดยการไฟฟ้า ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยลำพังจะทำให้ภาระหนี้สิน ของภาครัฐเพิ่มขึ้นอีก มติคณะรัฐมนตรี 12 ก.ย.35 จึงเปิดฉากให้เอกชนร่วมลงทุนผลิตไฟฟ้าในรูปของโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระหรือโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ Independent Power Producer (IPP: ไอพีพี) รวมทั้งให้มีการแปรสภาพ บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด เป็นบริษัทเอกชนโดยการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์

สำหรับเงื่อนไขในการเปิดประมูลการรับซื้อไฟฟ้าจากไอพีพี ของประเทศไทย กำหนดให้ ให้ผู้ผลิตเอกชนเป็นผู้เสนอพลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า สามารถเสนอสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า และเสนออัตราค่าไฟฟ้า ทั้งนี้การลงทุนของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนไม่มีการรับประกันอัตราผลตอบแทนการลงทุน โดยในการ คัดเลือกโครงการได้กำหนดเป็นแนวทางไว้ว่า ราคาที่โครงการไอพีพีเสนอจะต้องไม่สูงกว่าราคาที่ กฟผ. ผลิตได้เอง ในโครงการใหม่ และเนื่องจากไฟฟ้าที่ไอพีพีผลิตได้จะต้องจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. ทั้งหมดและ กฟผ. เป็นผู้สั่งให้เดินเครื่องโรงไฟฟ้าแต่ละโรงเพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าและเพื่อให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าของระบบโดยรวมอยู่ในระดับต่ำสุด สัญญาซื้อขายไฟฟ้าจึงต้องจัดทำเป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวและกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า จึงกำหนดเป็นสองส่วน ดังนี้

• ค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment : AP) ผู้สนใจลงทุน จะเสนออัตราโดยคำนึงถึง ต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของตนเอง และค่าใช้จ่ายคงที่อื่นๆ (Fixed Cost) เนื่องจากไอพีพีจะต้องเตรียม ความพร้อมของโรงไฟฟ้าให้พร้อมที่จะจ่ายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาเมื่อ กฟผ. สั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้า

• ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment : EP) ผู้ลงทุนจะเสนออัตราและสูตรปรับโดยคำนึงถึง ค่าเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายผันแปรอื่นๆ ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายเข้าระบบของ กฟผ.

ทั้งนี้ผู้ผลิตเอกชนในลักษณะไอพีพีจะต้องขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยที่ กฟผ. ยังคงความรับผิดชอบในด้านการวางแผนขยายแห่งผลิตและระบบส่ง รวมทั้งการควบคุมการผลิตและระบบส่งไฟฟ้าของประเทศ ดังนั้นตามเงื่อนไขนี้ และแนวทางการสร้างหลักประกันผลกำไรและความเสี่ยงที่ต่ำของนักลงทุนเอกชน สัญญาซื้อขายไฟส่วนใหญ่จึงมักเป็นสัญญาแบบ (Take-or-Pay) ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย ยิ่งไปกว่านั้นยังกำหนดให้ กฟผ.และผู้บริโภคต้องซื้อไฟฟ้าจากไอพีพีร้อยละ 39 แม้จะอยู่ในช่วงที่ความต้องการไฟฟ้าต่ำก็ตาม

ปัจจุบัน กฟผ.ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากไอพีพีจำนวน 7 ราย ปริมาณรวม 6,677.5 เมกะวัตต์ โดยขณะนี้มีโครงการไอพีพี 5 รายที่จ่ายไฟเข้าระบบในเชิงพาณิชย์แล้ว ได้แก่ บริษัท ไตรเอ็นเนอยี่ จำกัด (1ก.ค.43) บริษัทผลิตไฟฟ้าอิสระ ( 15 ส.ค.43) บริษัทโกลว์ไอพีพี จำกัด (31 ม.ค.46) บริษัทอีสเทอร์นอีเลคทริค จำกัด (25 มี.ค.46) และบริษัท BLCP เพาเวอร์ จำกัด (เครื่องที่ 1-2 จ่ายไฟเข้าระบบ 31 ต.ค.49 และ 1 ก.พ.50) ส่วนโครงการที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างยังไม่ได้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบอีก 2 โครงการ คือ บริษัทกัลฟ์เพาเวอร์เจนเนอเรชั่น ชุดที่1 และชุดที่2 กำหนดจ่ายไฟเข้าระบบใน เดือนพ.ค.50 และ มี.ค.51 และโครงการของบริษัทราชบุรีพาวเวอร์ จำกัด ชุดที่ 1และชุดที่2 กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเดือนมี.ค.51 และมิ.ย. 51

นโยบายฉ้อฉล กับค่าโง่ที่ไม่เคยเป็นบทเรียน

อย่างไรก็ตามการดำเนินโครงการและการรับซื้อไฟฟ้าจากไอพีพีจากอดีตจนถึงปัจจุบันก็ถูกตั้งข้อสังเกตและมีข้อครหามากมาย เนื่องด้วยปัญหาเรื่องการจัดการพลังงานไฟฟ้า อาทิ การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าไม่เคยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จากนั้นการวางแผนกำลังการผลิตมันอยู่ในมือของรัฐบาล นอกจากนี้การเลือกที่ตั้งโครงการหรือเทคโนโลยีที่ใช้ มันถูกกำหนดมาจากฝั่งเจ้าของโครงการ เป็นการนำการตัดสินใจของเจ้าของโครงการ หรือของเอกชนมาเป็นตัวกำหนดทางเลือกของสังคม ไม่ได้วางแผนจากทางเลือกทั้งหมดที่มีอยู่

นอกจากนี้ระบบการคิดค่าไฟฟ้า เท่าที่เป็นอยู่มันเป็นระบบที่เอื้อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พยากรณ์ยังไงก็ได้ วางแผนยังไงก็ได้ จะเลือกอย่างไรก็ได้ เพราะสุดท้ายแล้วผู้บริโภครองรับอยู่ สุดท้ายหลังจากตัดสินใจจะทำแล้ว พอมาถึงการทำอีไอเอ ประชาชนก็ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม และถ้ามันเกิดความผิดพลาดขึ้นมา ก็ไม่มีกลไกที่จะตรวจสอบ และไม่รู้ว่าความรับผิดชอบจะอยู่ที่ใคร เฉกเช่น กรณีโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก-หินกรูด เมื่อไม่สามารถก่อนสร้างด้วยความไม่ชอบด้วยนโยบาย ท้ายสุดประชาชนก็ต้องแบกรับค่าโง่ผ่านค่าเอฟทีกว่า 605,716 ล้านบาท (แยกเป็นค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า 323,315 ล้านบาทแม้ยังไม่มีผลิตไฟฟ้าและจ่ายเข้าระบบก็ตาม)

ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เข้ามาคุมบังเหียนกระทรวงพลังงาน ของรัฐบาลผู้เฒ่า ก็ขับเคลื่อนนโยบายเปิดเสรีพลังงาน โดยเฉพาะในกิจการไฟฟ้า และน้ำมัน ปรับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอการรับซื้อไฟฟ้า รวมทั้งการดำเนินการคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหม่หลัง ปี 2553 เปิดทางให้บริษัทลูก กฟผ. อันได้แก่ บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก และบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH สามารถเข้าร่วมประมูลไอพีพีแข่งกับเอกชนรายอื่นๆ ขณะที่คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า เห็นแย้งว่า จะทำให้ กฟผ.และบริษัทลูกจะเข้าไปเบียดบังแย่งสัดส่วนจากเดิมที่กำหนด กฟผ.และเอกชนผลิตไฟฟ้าเข้าระบบในสัดส่วน 50 : 50 ของกำลังการผลิตทั้งประเทศ

หรือหลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อ 9 เม.ย. 2550 ก็มีแหล่งข่าวเปิดเผยว่า กฟผ.ได้เสนอแผนการลงทุนขยายระบบสายส่ง จะเน้นรองรับสำหรับโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ.และไอพีพี ซึ่งคาดการณ์ว่า กฟผ.จะเน้นขยายในพื้นที่ที่คาดว่าบริษัทลูกทั้ง 2 บริษัท มีโครงการที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าไอพีพีแห่งใหม่

ทั้งหมดนี้ยิ่งตอกย้ำโครงสร้างที่ผูกขาด ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาและส่งเชื้อเพลิง การผลิตไฟฟ้า การส่งและจำหน่ายไฟฟ้า เมื่อธุรกิจของ กฟผ.และบริษัทลูกมีความเกี่ยวพันสูง โอกาสที่จะเกิดการแข่งขันอย่างแท้จริงจึงยากลำบาก เช่น ราคารับซื้อไฟฟ้า จากบริษัทลูกของ กฟผ. จะสูงกว่าราคารับซื้อไฟฟ้าของไอพีพีถึงร้อยละ 20 เป็นต้น เมื่อเชื่อมโยงประเด็นนี้เข้ากับนโยบายพลังงานที่ผิดพลาด (ซ้ำซาก) ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างสิ้นเชิง ฉะนั้นกำหนดยื่นซองประมูลไอพีพี ในวันที่ 19 ต.ค. 2550 จึงเป็นการโหมโรงเปิดฉากมหกรรมขูดรีดประชาชนบน “ความมั่นคงทางพลังงาน”.

จากสำนักข่าวประชาธรรม //www.newspnn.com




 

Create Date : 11 กันยายน 2550
0 comments
Last Update : 11 กันยายน 2550 14:20:34 น.
Counter : 3433 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.