Group Blog
 
<<
มกราคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 มกราคม 2551
 
All Blogs
 

การปรับตัวของราชการ-ชุมชน จากนโยบาย ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ สู่การปฏิบัติ







ดร.พีรธร บุณยรัต

อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรพันธ์



-------------------------------------------------------

บทวิเคราะห์การปรับตัวของหน่วยงานภาครัฐ และชุมชน ในการนำนโยบายการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ







“สิ่งที่เห็นในเรื่องการพัฒนาประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2504 จนถึงปัจจุบัน

เป็นภาพทับซ้อนของอดีตที่วนเวียนไปมาตามหลอกหลอนเราอยู่

สิ่งเหล่านั้นจะเป็นภาพเดียวกันกับการพัฒนาโดยใช้เศรษฐกิจพอเพียง

หรือไม่ นี่คือคำถามสำคัญสำหรับบทความชิ้นนี้”







ผมขอพูดในเชิงนโยบายหรือภาพกว้างให้เห็นถึงบทบาทของหน่วยงานภาครัฐในการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ และในอีกมิติความสัมพันธ์ของรัฐบาลและชุมชนซึ่งเป็นฐานสำคัญในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง



บทเพลง ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม เมื่อ พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วันนั้นและวันนี้แทบไม่มีอะไรต่างกันเลย มีหลายอย่างที่ผู้ใหญ่ลีในฐานะตัวแทนของรัฐยังทำเหมือนเดิม เมื่อผู้ใหญ่ลีไปบอกประชาชนให้ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต และมีชาวบ้านย้อนถามว่าเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร คำตอบก็คงไม่ต่างจากหมาน้อยธรรมดาเท่าไร



บทความนี้จะไม่ก้าวล่วงว่า เศรษฐกิจพอเพียงดีหรือไม่ดี (แต่ผมคิดว่าดี) แต่มองว่าคนเอาไปทำทำไม่ดี



ในส่วนแรก จะขอทบทวนบทบาทของรัฐและชุมชน ในเกือบครึ่งศตวรรษของการพัฒนา คือ ตั้งแต่แผนฯ 1 ถึงแผนฯ 10 ต้นๆ ก่อนที่จะใช้เศรษฐกิจพอเพียง จากการวิเคราะห์แผนพัฒนา และการนำนโยบายตามแผนไปปฏิบัติ จะพบข้อสังเกตที่น่าสนใจหลายประการ



ประการแรก สิ่งที่ไม่ต่างกันเลยคือ ภาครัฐเป็นผู้มีบทบาทในการเลือกแนวคิดหรือทฤษฎีพื้นฐาน ในแผนต้นๆ จะเป็นเรื่องภาวะทันสมัย ภาวะพึ่งพา จปฐ ในระยะหลังๆ จะเป็นเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนามนุษย์ คนเป็นศูนย์กลาง ทั้งหมดถูกเลือกโดยรัฐ



ประการต่อมา ในแผนฯ 1-4 กระบวนการพัฒนาประเทศ ถูกกำหนดและดำเนินการโดยคนๆ เดียวกัน คือ รัฐ แต่ตั้งแต่แผนฯ 5 เริ่มมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของในการพัฒนามากขึ้น มีการใช้ศัพท์หรูๆ เช่น ประชาชนเป็นหุ้นส่วนของการพัฒนา แต่ไม่รู้เป็นหุ้นส่วนกี่เปอร์เซ็นต์



ประการสุดท้าย พื้นที่ในการพัฒนาเริ่มแคบและเฉพาะเจาะจง แผนฯ แรกๆ เน้นที่ประเทศ ต่อมาก็เป็นภาค เมือง และชุมชน คือ มีการเคลื่อนตัวของพื้นที่ในการพัฒนา ให้ความสำคัญกับชุมชนมากขึ้นในระยะหลังๆ



โดยภาพรวม จากแผนฯ 1 ถึงแผนฯ ปัจจุบัน การพัฒนาประเทศดูเหมือนก้าวหน้าต่อเนื่อง แต่ถ้าเราวิเคราะห์ในเชิงวิพากษ์ สิ่งที่เราพบที่น่าสนใจคือ



1) การไล่ตามกระแส ตลอดเวลาที่เราคิดเรื่องการพัฒนา เราล้าหลังกระแสอย่างน้อย 10 ปี ไม่ว่าจะเป็น ภาวะทันสมัยที่เริ่มในยุโรป จปฐ การพัฒนาที่ยั่งยืน ก็มาจากที่อื่น หรือแม้แต่เศรษฐกิจพอเพียง ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสเมื่อปี 2517 แต่มาตื่นตัวปี 2549-2550



2) เรียนรู้ไม่ทัน ทุก 5 ปี เปลี่ยนวิธีคิดทีนึง เดินหน้า ถอยหลัง วนไปวนมา เปรียบเทียบกับลาว ซึ่งมีแผนพัฒนา 50 ปี มาเลย์มีวิสัยทัศน์ 2020 แต่ของเราเปลี่ยนทุก 5 ปี เพราะฉะนั้น การเรียนรู้ย่อมไม่ทัน กระบวนการส่งผ่านนโยบายจากรัฐไปสู่ประชาชนมีเวลาในการหน่วงอย่างน้อย 1-2 ปี กว่านโยบายจะเป็นการปฏิบัติอย่างเต็มรูป พอ 5 ปี นโยบายเปลี่ยนแล้ว ประชาชนยังไม่ทันเรียนรู้ ไม่ทันปรับตัว



3) บทบาทผู้นำ/ผู้ตาม รัฐเป็นผู้นำ ประชาชนเป็นผู้ตาม การพัฒนาไม่ได้ทำให้เกิดความเข้มแข็งแก่ประชาชนจริงๆ เป็นการที่รัฐจัดให้/กระทำลงไป



4) การพัฒนาตั้งแต่แผนฯ 8 ที่เราสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ก็ไม่ได้นำไปสู่ความพอเพียงจริงๆ เรายังพูดถึง GDP การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้วันนี้



กล่าวโดยสรุปในส่วนที่ 1 กระบวนการพัฒนาตลอด 50 ปี มีลักษณะการกดทับจากรัฐ และถูกบีบด้วยเงื่อนไขของปัจจัยอื่นๆ อีก



คำถามก็คือ ถ้าเราจะเริ่มหันเหมาใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมุ่งไปสู่การให้ชุมชนเป็นรากฐานที่สำคัญตามแผนฯ 10 มันจะต่างไปจากเดิมไหม เราจะก้าวพ้นสภาพที่วกวนซ้ำซากได้ไหม



ในส่วนที่ 2 ผมจะใช้งานวิจัยชี้ให้เห็นบทบาทของภาครัฐและชุมชนว่ามีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรในปีที่ผ่านมาในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เป็นงานวิจัยเรื่อง “การปรับบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง” โดยพยายามฉายภาพของ 4 ภาคๆ ละ 1 หมู่บ้าน สรุปผลการวิจัย เราพบว่า



ประเด็นที่ 1 หน่วยงานรัฐยังมีแนวทางในการปฏิบัติ และหลักในการดำเนินงานไม่ต่างจากเดิม มีวิธีคิดการส่งผ่านนโยบาย การสั่งให้ทำ ไปสู่การจัดกิจกรรมโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละชุมชน กิจกรรมมีรูปแบบเดียวกันทั้งหมด ที่สำคัญ เป็นการระดมทุน/ทรัพยากรจากหน่วยงานภายนอก



ประเด็นที่ 2 การแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติยังมีลักษณะของการส่งเป็นลำดับขั้น คือ จากส่วนกลางไปสู่ภูมิภาค จากภูมิภาคไปสู่พื้นที่ ปัญหาที่ตามมาคือ ความเข้าใจในเศรษฐกิจพอเพียงก็ลดหลั่นมาเป็นลำดับขั้น พอลงสู่พื้นที่ปฏิบัติก็นึกอะไรไม่ออก เอาของเดิมมา recycle ดังนั้น กิจกรรมที่ทำในพื้นที่ศึกษาจึงมีลักษณะเลียนแบบและผลิตซ้ำ คือ เลียนแบบของเดิม เลียนแบบชุมชนข้างๆ แล้วทำซ้ำแล้วซ้ำอีก



ประเด็นที่ 3 ชุมชนมีการปรับตัวได้ดีกว่าหน่วยงานภาครัฐ ในขณะที่รัฐยังงงๆ ยังไม่รู้จะเอายังไงดีแน่ ชุมชนรู้แล้วว่าเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาเป็นกระแสการพัฒนาใหม่ มีการตื่นตัวที่จะเรียนรู้ หมายความว่า การพัฒนาที่ผ่านมาเกือบครึ่งศตวรรษทำให้ชุมชนได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง ที่จะต้องปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ทุก 5 ปี



ประเด็นสุดท้าย การแสดงบทบาทของผู้กำหนดนโยบายยังไม่ชัดเจน รัฐเองพยายามพูดทุกเรื่องเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหมด แต่มีภาพที่ขัดแย้งกันอยู่ในเรื่องของกระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ



สรุปข้อค้นพบจากการวิจัยที่น่าสนใจคือ การนำนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติมีปัญหาเรื่องบทบาทคล้ายคลึงกับครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา คือ รัฐเป็นตัวนำคล้ายๆ เดิมอยู่ แต่มีแนวโน้มที่ดูเหมือนจะมีทางสว่างรออยู่ข้างหน้า ดูแล้วการพัฒนาก็มีการก้าวหน้าไปบ้าง



การวิเคราะห์จากส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 สรุปได้เป็นข้อสังเกตบางอย่างที่น่าคิด



ประการที่ 1 ในการนำนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติมีลักษณะเป็นเหล้าเก่าในขวดใหม่ เปลี่ยนฉลากใหม่ แต่เนื้อหาเหมือนเดิม แปลงเงิน SML เป็นเงินกองทุนเพื่อพัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ถามว่า การใช้ทุนเป็นตัวตั้งในการพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นหลักการหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงได้ไหม ในเมื่อเงินมาจากข้างนอก แล้วข้างในจะเกิดภูมิคุ้มกันได้อย่างไร



นอกจากนี้ นโยบายการพัฒนาที่เน้นทุนเป็นตัวตั้ง เราทำมานานแล้ว เราก็ยังทำซ้ำแล้วซ้ำอีก สมัยคึกฤทธิ์เรามีนโยบายเงินผัน สมัยวิกฤติเศรษฐกิจเรามีโครงการมิยาซาวา สมัยทักษิณเรามี SML กองทุนหมู่บ้าน สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดผลอย่างหนึ่ง ผมเรียกว่าเกิดการเสพติดในเชิงนโยบาย ทุนเข้ามาถึงชุมชนคนก็ชอบ เหมือนของหวาน ยิ่งให้ก็ยิ่งกิน ยิ่งกิน ก็ยิ่งอร่อย



ประการที่ 2 การจัดทำนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงโดยรัฐบาล มีลักษณะของการใช้คำว่า “พอเพียง” มากกว่าให้ความสำคัญกับความหมาย/ปรัชญา รัฐบาลพยายามยัดเยียดคำว่า “พอเพียง”กับทุกเรื่อง เช่น นโยบายการศึกษาอย่างพอเพียง นโยบายสุขภาพพอเพียง แต่ลืมถึงสาระสำคัญของคำว่าพอเพียงคืออะไร เพราะฉะนั้น เรากำลังใช้คำว่าพอเพียงในนโยบายอย่างฟุ่มเฟือย เป็นการกำหนดนโยบายอย่างไม่พอเพียง



ประการที่ 3 รัฐพยายามระดมกิจกรรมลงไปในชุมชนต่างๆ ซึ่งกิจกรรมมีลักษณะที่เยอะแต่ขาดความหลากหลาย เลียนแบบ ผลิตซ้ำ ซ้ำซาก อ.เสรี พงศ์พิชญ์ ใช้คำว่า การมีต้นไม้หลายต้นแต่ไม่มีป่า เช่น ทำบัญชีครัวเรือน ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่สิ่งที่ผมเรียกว่า อาการดื้อยาในกระบวนการพัฒนา คือ ใส่เงื่อนไข/ปัจจัยลงไปแต่ไม่เกิดผล



ประการสุดท้าย น่าสนใจที่สุด ถ้ารัฐตีความเศรษฐกิจพอเพียงในลักษณะวาทกรรมใหม่ของรัฐ คือ ตีความว่าเศรษฐกิจพอเพียงน่าสนใจ เพราะเป็นการส่งมอบการพัฒนาให้กับประชาชนจริงๆ โดยเริ่มจากประชาชน และจบด้วยประชาชน หมายความว่า ถ้ารัฐไม่จริงใจในกระบวนการพัฒนา อ้างว่าเศรษฐกิจพอเพียงคือการพัฒนาโดยประชาชน โดยรากฐานเกิดจากภายใน ต้องพึ่งตนเอง ต้องมีความรับผิดชอบ เพราะฉะนั้นถ้ารัฐส่งมอบนโยบายการพัฒนาโดยใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวตั้ง แล้วเกิดความล้มเหลว จะเกิดภาพว่ารัฐไม่ได้ล้มเหลว แต่ประชาชนล้มเหลว เพราะประชาชนไม่เข้มแข็ง นี่คือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้



ผมขอสรุปว่า สิ่งที่เห็นในเรื่องการพัฒนาประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2504 จนถึงปัจจุบัน เป็นภาพทับซ้อนของอดีตที่วนเวียนไปมาตามหลอกหลอนเราอยู่ สิ่งเหล่านั้น จะเป็นภาพเดียวกันกับการพัฒนาโดยใช้เศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ นี่คือคำถามสำคัญสำหรับบทความชิ้นนี้



ผมมองว่า ถ้ามีกระบวนการในการปรับเปลี่ยนวิธีคิด นโยบาย วิถีปฏิบัติ อาจทำให้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิถีทางหนึ่งในกระบวนการพัฒนาที่ดี และประสบความสำเร็จได้ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น อาจต้องมีการทบทวนวิธีคิด วิธีปฏิบัติ ของรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ว่ามีกรอบความคิดแบบไหน มีวิธีปฏิบัติแบบไหน







--------------------------------

หมายเหตุ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมเชิงวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 8 (พ.ศ.2550) วันที่ 13-14 ธันวาคม 2550 ณ ศูนย์การค้าและนิทรรศการนานาชาติ กรุงเทพฯ ในหัวข้อย่อย “เศรษฐกิจพอเพียง” สามารถดาวน์โหลดบทความเต็มได้ที่ //www.polsci.tu.ac.th/polsci2550/



ที่มา : ประชาไท วันที่ : 9/1/2551




 

Create Date : 10 มกราคม 2551
2 comments
Last Update : 10 มกราคม 2551 16:04:31 น.
Counter : 3835 Pageviews.

 

ดีเลย

 

โดย: ... IP: 117.47.2.197 13 พฤศจิกายน 2552 6:08:28 น.  

 

นโยบายเขียนใว้สวยครับแต่เอาไปปฎิบัติใช้ไม่ได้โดยเฉพาะที่ชุมชนบางญี่โร เขตเทศบาลเมืองหลังสวน ชุมพร
จะเอาเมืองไปทำไร่เป็นไปไม่ได้ครับ

 

โดย: nazimai IP: 112.142.241.212 21 มิถุนายน 2553 12:46:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.