142 ปี Maria Montessori เจ้าของคำพูดที่ว่า “เล่นคืองานของเด็ก”

หลายๆ คนในวัยเด็กคงเคยเล่นของเล่นในห้องเรียนสมัยอนุบาลกันมาแล้ว จนมีคำกล่าวที่ว่าเด็กถูกออกแบบให้เล่นได้ในทุกสถานการณ์ แม้กระทั้ง มีแค่ก้อนหินก็ยังหยิบมาเล่นหมากเก็บ แม้กระทั่งมือเปล่าๆ เด็กก็ยังเอามาเล่นตบแปะกันได้

แต่พฤติกรรมเหล่านี้มิอาจรอดพ้นสายตาของ  คุณหมอ มาเรีย มอนเตสซอรี่ (Maria Montessori)  ชาวอิตาลีคนนี้ไปได้

แล้วยังไง?

ย้อนไปถึงปี คศ. 1861 Karl Groos นักสัตววิทยาชาวเยอร์มัน ผู้เชื่อในทฤษฎี ของดาร์วิน พบว่า การเล่นในสัตว์ รวมถึงในมนุษย์ เป็นการเตรียมตัวที่จะอยู่รอดในโลกการเป็นผู้ใหญ่

มาเรีย มอนเตสซอรี่ ซึ่งเกิดในปี 1870  ได้ศึกษาในทฤษฎีนี้ แล้วพบว่า จะดีกว่าไหมถ้าเด็กได้มีเวลาในการเล่น หรือจินตนาการในสิ่งที่มีประโยชน์ จนเกิดคำพูดที่ว่า “เล่น คืองานของเด็ก”

"หนุกจัง อยากมาเรียนทุกวัน"

จากการเฝ้าสังเกต ใน สถานเลี้ยงเด็กบกพร่องทางสติปัญญา ณ กรุงโรม มอนเชื่อว่าเด็กมีความปราถนาภายในที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัวเขา ซึ่งหลังจากสังเกตุมานานเธอสรุปว่า เด็กสามารถรับรู้ได้จากการ เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้สัมผ้สของจริงที่ตรงข้ามกับที่จินตนาการ ซึ่งตรงข้ามกับเด็กที่สิ่งแวดล้อมไม่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้

"สบายดีป่าวน้าผี ผอมไปเยอะเลยนะนี่"

ในยุคของเธอการศึกษาของเด็ก จะมีแต่การเล่านิทาน ซึ่งเธอบอกว่ามันคือ “แฟนตาซี” ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถแยกได้ออกว่า อันไหนจริง อันไหนไม่จริง ซึ่งเธอเปรียบเมือนกับคำว่า “ฝันกลางวัน” ซึ่งผิดกับ ห้องเรียนของมอน ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งของที่เด็กสามารถหยิบจับ และจัดการกับมันได้  ซึ่งมอนเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมที่อุดมไปด้วยอุปกรณ์การเล่น จะสร้างให้เด็กมีความต้องการที่จะเรียนรู้

หมายเหตุ การศึกษาทั่วไปของเด็กในยุคนั้นของยุโรป ที่จะเน้นไปทางอ่านจากตำราที่มีแต่ตัวอักษร  ซึ่งต่างจากสถานเลี้ยงเด็ก Froebel ที่นำแนวคิดของมอนไปใช้ เลือกที่จะไม่ให้ความสำคัญกับตำราที่มีแต่ตัวอักษรน่าเบื่อ แต่จะเน้นไปที่ “ครู” ที่จะต้องไปเล่นกับเด็กโดยตรง

"ขึ้น ป.1 หนูจะได้เล่นแท็บเล็ตไหมค่ะ"

จากทางทดลองวิจัยของมอนได้รับการยอมรับจาก โรงเรียนที่ใช้แนวคิดการสอนแบบเดิมมาก มอนได้ยกตัวอย่างว่า เด็กที่เรียนในโรงเรียนแบบเดิม สามารถบอกส่วนต่างๆ ของพืชบนกระดานได้ และสามารถอ่านวิธีการทำฟาร์มได้อย่างดี แต่สำหรับเด็กที่สถานเลี้ยงเด็ก Froebel ได้ให้เด็กได้เล่นเกม ที่สามารถ แยกส่วนต่างๆ ของพืช จนถึง วงจรชีวิตของพืชที่อยู่ในฟาร์ม ตั้งแต่เป็น เมล็ต หว่านเมล็ด จนถึง ขั้นตอนเป็นผลที่พร้อมจะเก็บเกี่ยว จากนั้น มอน ก็ให้เด็กหัดทำสวน สังเกตุการเจริญเติบโตของพืช และต้องดูและพืชในสวน

"เชอะไม่สนใจหรอก เรามีไอแพด"

คนทั่วไป ที่ได้มาเห็นการเรียนรู้ของเด็กในโรงเรียนของมอน ต้องทึ่งเมื่อพบว่า เด็กๆ ต้องมาลุมล้อมคุณครูที่กำลังจัดการกับอุปกรณ์ที่เป็นของเล่นเด็ก แล้วเล่นกับเด็กเหมือนเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างและควบคุมจินตนการของเด็ก มอนยังกล่าวทิ้งท้ายว่า การเล่นของเด็ก คือ การสังเกต ดูดซับความรู้จากสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะเผชิญโลกแห่งความจริงรอบๆ ตัวเขา

น่าเศร้าที่มีหลายๆ คน เห็นว่าการเล่นของเด็กไม่มีประโยชน์ และจำกัดเสรีภาพในการเล่นของเด็กที่จะเรียนรู้ในห้องเรียน 




Create Date : 31 สิงหาคม 2555
Last Update : 31 สิงหาคม 2555 12:06:56 น.
Counter : 5271 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jo guevara
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2555

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31