เข้ารับการอบรม ณ ศูนย์เรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติเกษตรอินทรีย์ สำนักงานเขตหลักสี่มาค่ะ(Start to Plant)




เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ที่ผ่านมาดิฉันมีโอกาสได้เข้ารับการอบรมกับ "ศูนย์เรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติเกษตรอินทรีย์ สวนเกษตรดาดฟ้า" ซึ่งตั้งอยู่บนดาดฟ้าชั้น 8 ของสำนักงานเขตหลักสี่ ทางเขตหลักสี่ได้ใช้พื้นที่บนดาดฟ้าในการปลูกผัก ผลไม้ และสมุนไพรไว้ถึง 120 ชนิด โดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนตามฤดูกาล นอกจากนี้ยังได้มีการทำปุ๋ยชีวภาพและฮอร์โมนพืชหลายชนิด หลังจากสั่งสมประสบการณ์จากการทดลองทำจริงและปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง จนมีพืชผลที่สวยงามปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง และนำออกขายทำรายได้ จึงได้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ เพือให้การอบรมฟรีแก่ประชาชนทั่วไปในวันเสาร์ทุกสิ้นเดือน(หากท่านใดสนใจเข้ารับการอบรมสามารถโทรจองที่หมายเลข 02-576-1393 ค่ะ)






บรรยากาศโดยรอบค่ะ






สำหรับตัวดิฉันเองนั้นไม่มีความรู้ในการปลูกพืชผักสวนครัวที่แท้จริงค่ะ พาลูกปลูกพืชผักมักไม่ค่อยสวยงาม เพราะดินไม่ดีบ้าง มีโรค หรือแมลงรบกวนบ้าง ต่อแต่นี้คงต้องใส่ใจปรับปรุงและแก้ไขปัญหาพื้นฐานทั้งสามนี้ โดยจะเริ่มจากพืชผักตามฤดูกาลที่บ้านเรากินกันเป็นประจำ เพื่อที่จะสอดคล้องกับสโลแกนที่ว่า"ปลูกที่เรากิน กินที่เราปลูก" ค่ะ


การอบรมครั้งนี้มีการอบรมความรู้ทางการเกษตรเต็มเหยียด หากเป็นบริษัทเอกชนคงซอยย่อยได้หนึ่งอาทิตย์กันเลยค่ะ แต่เราเลือกที่จะปลูกพืชผักสวนครัว เพาะถั่วงอก และ ทำปุ๋ยหมักจากใบไม้แห้งและเศษอาหาร เพียงสามอย่างเท่านั้นในขณะนี้ค่ะ เพราะคิดว่าเหมาะสมและได้ประโยชน์สูงสุดกับวิถีชีวิตคนเมืองอย่างเราค่ะ และมีแผนที่จะแปลงระเบียงบ้านเป็นสวนผักผลไม้ดาดฟ้าในอนาคตค่ะ อย่างไรก็ตามดิฉันจะนำความรู้และการสาธิตในวันนั้นมาเล่าให้ฟังโดยละเอียด เผื่อเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ ท่านนะคะ

(คัดลอกจากเอกสารอบรมที่ได้รับในวันนั้น ประกอบกับรูปภาพที่ไปเก็บมาค่ะ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ ส่วนสิ่งที่ทำเองคือเพาะถั่งงอกไร้สารได้ลงต่อท้ายในบล็อกนี้แล้วค่ะ ทำปุ๋ยหมักจากใบไม้แห้งและเศษอาหาร เหลือการปลูกผักสวนครัวตั้งแต่การเพาะเมล็ด การแยกกล้า การลงแปลง จะลงแยกอีกบล็อกหลังจากรวบรวมข้อมูลครบแล้วค่ะ)






วิทยากรทั้งสามค่ะ
คุณเพ็ญศรี โตสะอาด(พี่แหม่ม)
คุณนารี ไชยชนะ(พี่ตุ้ม)
คุณจินตนา ทองผุด(คุณเจ)

ขอขอบคุณวิทยากร ผู้ช่วย และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตหลักสี่ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน มา ณ ที่นี้ค่ะ




เรามาเริ่มที่เทคนิการทำเกษตรพื้นปูนค่ะ





ปลูกทั้งในแปลง บนค้าง ในถุงปุ๋ย ในตะกร้า บนชั้นวางและในในยางเก่าค่ะ




บนดาดฟ้าของสำนักงานเขตหลักสี่จะทำแปลงกว้างประมาณ 1.20 เมตร ยาว 4-5 เมตร และสูง 15-20 เซนติเมตร โดยให้มีช่องทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อสะดวกกับการทำงาน แปลงปลูกทำจากวัสดุเหลือใช้ หรือไม้รวกมาก่อแบบ มัดแปลงติดกัน นำแผ่นโฟม หรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดตีติดกับขอบแปลงใช้กระสอบเย็บเป็นผืนใหญ่ เพื่อปูรองพื้นถึงขอบแปลงกันดินไม่ให้ไหลออกเนื่องจากพื้นที่บนดาดฟ้าจะเป็นพื้นปูน เวลาโดนแดดจะเก็บความร้อนสูงจึงได้แก้ไขด้วย การนำกาบมะพร้าวรองพื้นให้ทั่วแปลงประมาณ 2 ส่วน จากนั้นจึงใส่ดินผสม 1 ส่วน เกลี่ยให้เสมอ และโรยด้วยปุ๋ยจุลินทรีย์จากขยะสด อัตราส่วน 1 กำมือต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วรดน้ำให้ชุ่ม นำต้นกล้าที่เตรียมไว้มาปลูก หรือนำเมล็ดพันธุ์มาหว่าน

ควรใช้ภาชนะในการปลูกพืชที่เบาอาจจะเป็นกล่องโฟมก็ได้ แต่จะไม่สะดวกในการขนย้ายเพราะแตกหักง่าย และควรดูให้น้ำหนักกระจายกันอย่างพอเหมาะ โดยให้ภาชนะหรือพืชที่มีน้ำหนักมากเช่นไม้พุ่มอยู่บนคาน(บนคานจะรับน้ำหนักได้ถึง 400-600 กก. ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรค่ะ ส่วนที่ไม่ใช่คานจะรับน้ำหนักได้เฉลี่ย 200 กก. ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรค่ะ)




ต่อด้วยการทำจุลินทรีย์ท้องถิ่นค่ะ วันนั้นได้มีการสาธิตให้ดูด้วยกัน 5 ตัวค่ะ(เข้าใจว่าอาจแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละครั้งค่ะ)


จุลินทรีย์การเกษตรแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่คือ รา แบคทีเรีย ยีส และไวรัส


1. หัวเชื้อแอ๊คติโนมัยซิท(เหง้ากล้วย)

อุปกรณ์

1. เหง้ากล้วย 3 กิโลกรัม
2. มะพร้าวอ่อน 2 ลูก
3. กากน้ำตาล 1 ลิตร





วิธีทำ

1. นำต้นกล้วยที่ตัดเครือไปแล้ว ขุดเหง้ากล้วยให้รากติดเยอะ ๆ นำมาล้างน้ำสับให้ละเอียด 3 กิโลกรัม
2. ใส่กากน้ำตาล 1 ลิตร





3. ใส่น้ำมะพร้าวอ่อน 2 ลูก
4. ปิดเทปให้สนิทเพราะสามารถสร้างออกซิเจนได้เอง แล้วเขียนวันที่ที่ลงมือทำ หมักไว้ 10 วัน(เมื่อได้ที่แล้วกรองเอาแต่น้ำใส่ขวด เก็บไว้เป็นหัวเชื้อเข้มข้น เพื่อไว้ขยายให้มีจุลินทรีย์เพิ่มมากขึ้น หรือจะนำไปใช้โดยตรงก็ได้(โดยครั้งที่สองจะต้องหมัก 1 เดือน) เก็บได้ 6 เดือน กากที่เหลือสามารถนำไปเป็นปุ๋ยได้ด้วย


ประโยชน์

ช่วยกำจัดเชื้อราในดิน ทำให้ดินโปร่งร่วนซุย ถ้ารดถูกตัวหนอน หนอนจะไม่ลอกคราบ ถ้ารดถูกไข่หนอน ไข่หนอนจะฝ่อไม่สามารถฟักออกมาเป็นตัวหนอนได้ และยับยั้งโรคใบแห้ง ใยจุดสีน้ำตาลในพืชผักต่าง ๆ


วิธีใช้


อัตราส่วน 1-2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีด พ่น ราด หรือรด วันเว้นวัน





2. หัวเชื้อบาซิลลัส(เปลือกสับปะรด)


อุปกรณ์

1. เปลือกสับปะรดสับละเอียด 3 กิโลกรัม
2. โยเกิร์ต(รสธรรมชาติ) 2 กระป๋อง
3. กากน้ำตาล 1 ลิตร หรือ น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม


วิธีทำ




1. ใส่กากน้ำตาล 1 ลิตร หรือ น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัมในเปลือกสับปะรดสับละเอียด 3 กิโลกรัม
2. ใส่โยเกิร์ต(รสธรรมชาติ) 2 กระป๋อง
3. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน




4. ปิดเทปให้สนิทเพราะสามารถสร้างออกซิเจนได้เอง แล้วเขียนวันที่ที่ลงมือทำ หมักไว้ 15 วัน เติมน้ำ 5 ลิตร หมักต่ออีก 1 เดือน(เมื่อได้ที่แล้วกรองเอาแต่น้ำใส่ขวด เก็บไว้เป็นหัวเชื้อเข้มข้น เพื่อไว้ขยายให้มีจุลินทรีย์เพิ่มมากขึ้น หรือจะนำไปใช้โดยตรงก็ได้(ถ้าไม่ทำหัวเชื้อให้เติมน้ำ 10 ลิตรก่อนหมัก) เก็บได้ 6 เดือน กากที่เหลือสามารถนำไปเป็นปุ๋ยได้ด้วย


ประโยชน์

จุลินทรีย์ในกลุ่มบาซิลลัสมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูง ย่อยซากอินทรียวัตถุ และแร่ธาตุในดินให้กลับมาเป็นธาตุอาหารในพืช


วิธีใช้

อัตราส่วน 1-2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีด พ่น ราด หรือรด วันเว้นวัน





3. ฮอร์โมนถั่วเหลือง(เร่งต้นและใบ)


อุปกรณ์

1. ถั่วเหลืองผ่าซีก 1 กิโลกรัมแช่น้ำไว้ 1 คืน นำมาปั่นให้ละเอียดโดยผสมน้ำ 8 ลิตร(กรองเอาเฉพาะน้ำแยกกากออก)
2. กลูโคลินผง 4 ขีด
3. น้ำมะพร้าวอ่อน 4 ลูก
4. น้ำตาลทรายขาว 1 กก.
5. น้ำสมสายชู(เทียม) 0.5 ขวด
6. ยาคูลท์ 2 ขวด หรือโยเกิร์ต(รสธรรมชาติ) 2 กระป๋อง


วิธีทำ




1. ใส่กลูโคลินผงในน้ำถั่วเหลืองที่เตรียมไว้
2. ใส่น้ำมะพร้าวอ่อน 4 ลูก





3. ใส่ยาคูลท์หรือโยเกิร์ต
4. ใส่น้ำส้มสายชู
5. ใส่น้ำตาลทรายขาว แล้วคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
6. ปิดเทปให้สนิทเพราะสามารถสร้างออกซิเจนได้เอง แล้วเขียนวันที่ที่ลงมือทำ หมักไว้ 1 เดือน แล้วนำไปปั่นอีกครั้ง บรรจุขวดนำไปใช้ได้ (หัวเชื้อจุลินทรีย์ถั่วเหลืองเป็นทั้งฮอร์โมน และหัวเชื้อจุลินทรีย์ในตัวเดียวกัน) เก็บได้ 6 เดือน กากที่เหลือสามารถนำไปเป็นปุ๋ยได้ด้วย


ประโยชน์

ใช้รดพืชผักเพื่อเร่งต้นและใบ ทำให้ผักใบอ่อนกรอบ รสชาติอร่อย ชำต้นไม่แคระแกน สมบูรณ์แข็งแรง และช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินดี มีธาตุอาหารมากขึ้น

วิธีใช้

ผสมฮอร์โมน 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีด พ่น ราด หรือรด วันเว้นวัน




4. ปุ๋ยอินทรีย์จากกากถั่วเหลือง


อุปกรณ์

1. กากถั่วเหลือ 1 ส่วน
2. รำละเอียด 1 ส่วน
3. มูลสัตว์ 1 ส่วน



วิธีทำ




1. นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. ให้มีความชื้นประมาณ 40 % ทดสอบโดยการใช้มือกำแล้วบีบแรง ๆ เมื่อคลายมือออกปุ๋ยจะจับตัวเป็นก้อน
3. นำปุ๋ยใส่กระสอบหรือถุงปุ๋ย พับปากกระสอบออกด้านนอก นำไปตั้งไว้ในร่มไม่ให้โดนแดดหรือฝน 10 วัน เพื่อให้ความชื้นหมดไป จีงนำไปใช้ได้ ก่อนนำไปใช้ให้ทุบหรือตำให้ละเอียดก่อนนำไปใช้



วิธีใช้

กระถางเล็กใช้อัตราส่วน 1-2 ช้อนโต๊ะ โรยบาง ๆ รอบ ๆ กระถาง แต่ถ้าเป็นกระถางใหญ่ เช่นโอ่งมังกร ใช้ 2-3 กำมือ โรยบาง ๆ รอบ ๆ กระถาง โดยใส่ อาทิตย์ละ 1 ครั้ง




5. ฮอร์โมนไข่(เร่งดอกและผล)


อุปกรณ์


1. ไข่ไก่ 1 กิโลกรัม(เบอร์ 0 ใช้ 16 ฟอง เบอร์เล็กสุดใช้ 20 ฟอง)
2. กากน้ำตาล 1 ลิตร
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซิส(เหง้ากล้วย) 1 ลิตร
4. แป้งข้าวหมาก 1 ลูก(ถ้าไม่มีใช้ยีสต์ทำขนมปังแทน 0.5 ขวด)
5. น้ำมะพร้าวอ่อน 2 ลูก


วิธีทำ



1. ตอกไข่ใส่ถัง
2. ใส่กากน้ำตาล
3. ใส่น้ำมะพร้าวอ่อน





4. ใส่แป้งข้าวหมาก(บี้ให้เป็นผงแบบที่สาธิตนะคะ)
5. แล้วคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
6. ปิดเทปให้สนิทเพราะสามารถสร้างออกซิเจนได้เอง แล้วเขียนวันที่ที่ลงมือทำ หมักไว้ 1 เดือน แล้วนำไปปั่นอีกครั้ง บรรจุขวดนำไปใช้ได้


ประโยชน์

ใช้รดพืชผักเพื่อเร่งดอกและผล


วิธีใช้

ผสมฮอร์โมน 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร อาทิตย์ละ 3 ครั้ง พอเริ่มออกดอกให้ลดปริาณเหลือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 ลิตร


นอกจากการสาธิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ทั้งห้าตัวข้างบนแล้ว วิทยากรยังได้กล่าวถึงฮอร์โมนเปลือกกุ้ง ไคโตซานจากเปลือกกุ้งค่ะ




ต่อไปก็เป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพตัวขยาย(หรือตัวต่อ)ค่ะ







ต้องเป็นฝ้าขาว ลอยอยู่ด้านบนของน้ำปุ๋ยชีวภาพแบบนี้เรียกว่าการหมักสมบูรณ์ดีค่ะ



วิธีทำ

1. นำถังพลาสติกที่มีฝาปิดใส่น้ำสะอาด 8 ลิตร(ถ้าเป็นน้ำประปาให้ทิ้งไว้สัก 3-4 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยไปก่อนค่ะ)
2. ใส่กากน้ำตาล 300 ซีซี คนให้น้ำตาลละลาย
3. ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ 300 ซีซี คนให้เข้ากัน ปิดฝาให้แน่น 3-4 วัน


ประโยชน์

หากนำไปใช้ในการรักษาสิ่งแวดล้อม(ใส่ในท่อเพื่อขจัดไขมันที่อุดตัน ใส่ในแหล่งน้ำเพื่อขจัดน้ำเสีย ใส่ในห้องห้องน้ำเพื่อดับกลิ่นเหม็น หรือใช้ฉีดพ่นกองขยะเพื่อดับกลิ่นเหม็น) การประมง(บำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลา) หรือการปศุสัตว์(ใช้รดดับกลิ่นมูลสัตว์ ขจัดกลิ่นสัตว์เลี้ยง ฉีดพ่นคอกสัตว์ให้สะอาด) ใช้เวลาประมาณ 7 วันก็สามารถนำไปใช้ได้แล้ว เพราะว่าใช้แค่จุลินทรีย์ไม่ได้ใช้ธาตุอาหาร แต่ถ้าใช้กับต้นไม้ให้หาธาตุอาหารมาใส่ และหมักไปถึง 3 เดือน
(สำหรับพืชที่เราต้องการดอกและผล ให้ใส่ฟอสฟอรัส(P) และโพแทสเซียม(K) ซึ่งมีอยู่ในผลไม้สุกต่าง ๆ เช่นในกล้วยหอมที่สุกงอม ทุเรียนที่เละ ๆ เป็นปลาร้า ฟักทอง บล็อกโคลี่ เปลือกไข่ มูลค้างคาว หรือหินฟอสเฟต ส่วนชนิดที่เราต้องการต้นและใบก็ให้ใส่ธาตุไนโตรเจน(N) โดยใส่ผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น ผักกระถิน ผักกระเฉด ผักคะน้า พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ และใบเผือก ส่วนในสัตว์ให้ใช้เลือดปลาค่ะ)


วิธีใช้

1. ใช้กับพืช อัตราส่วน 1-2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีด พ่น ราด หรือรด วันเว้นวัน
2. ใช้ในการปศุสัตว์ อัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 50 ลิตร ให้สัตว์กิน หรือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตรในการฉีดพ่นคอกสัตว์
3. ใช้กับการประมง อัตราส่วน 500 ซีซี ต่อบ่อกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 1 เมตร



การบ้านของเราเริ่มด้วยการเพาะถั่วงอกไร้สารค่ะ







1. นำถังที่สูงไม่เกิน 60 ซม.(เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมความร้อนมากไป) มาเจาะรูเล็ก ๆ ให้น้ำระบาย(อย่าเจาะรูใหญ่เกินไปแมลงสาบจะเข้าไปได้ค่ะ) ทั้งด้านล่างและด้านข้าง
2. ล้างถั่วเขียวให้สะอาด(เมล็ดเสียจะลอยน้ำ)








3. แช่ด้วยน้ำร้อน 1 ส่วน น้ำธรรมดา 3 ส่วน แล้วแช่ไว้ 1 คืน เมล็ดถั่วเขียวจะพองขึ้นมาเท่าตัวล้างน้ำอีก 1 ครั้ง








4. นำฟิวเจอร์บอร์ด(เราใช้ถาดพลาสติกมาคว่ำแทนค่ะ) กระสอบป่าน และ ตะแกรงพลาสติก มาตัดเป็นวงกลมไซส์เท่าก้นถัง โดยวางฟิวเจอร์บอร์ดไว้ชั้นล่าง ตามด้วยกระสอบป่าน และตะแกรงพลาสติก(ทางเขตหลักสี่มีขายแผ่นละ 15 บาทค่ะ)
5. นำเมล็ดถั่วเขียวแผ่ลงไปบนตะแกรงให้หนาประมาณ 1 ซม.(แต่เราทำไม่ถึงนะคะ เอาแค่พอกินและแบ่งคุณปู่กับคุณย่าค่ะ)







6. ปูทับด้วยกระสอบป่านสองชั้น(เราเพาะถั่วแค่ชั้นเดียวค่ะ หากต้องการเพาะถั่วหลายชั้นให้ปูกระสอบชั้นเดียวก่อนค่ะ ตามด้วยตะแกรงถั่วเขียวแบบชั้นแรก ชั้นสุดท้ายจึงจะใส่กระสอบสองชั้นค่ะ)
7. รดน้ำ แล้วปิดฝากันแสงไว้ตลอดเวลาค่ะ(ถั่วเขียว 1 กก. ได้ถั่วงอก 5 กก.)

(หากต้องการให้เป็นถั่วงอกสมุนไพรก็เพียงแต่เอาถาดใส่น้ำสมุนไพรด้านล่างให้น้ำสมุนไพรระเหยขึ้นมาระหว่างการเพาะค่ะ หรือต้องการให้ถั่งอกเป็นสีชมพูก็เพียงแต่หยดน้ำยาอุทัยในถาดน้ำด้านล่างค่ะ แต่จะได้แค่ชั้นล่างสุดเท่านั้น เพราะไม่สามารถระเหยผ่านขึ้นมาหลายชั้นได้ค่ะ)


รดน้ำ


รดน้ำวันละ 5 ครั้งทุก 2 ชั่วโมง






วันที่ 1 รดน้ำธรรมดา
วันที่ 2 รดน้ำผสมกลูโคส 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร(เราใช้น้ำ 2.5 ลิตร สัดส่วนเหลือแค่ 0.25 ช้อนโต๊ะ)
วันที่ 3 รดน้ำผสมกลูโคส 3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร(เราใช้น้ำ 2.5 ลิตร สัดส่วนเหลือแค่ 0.38 ช้อนโต๊ะ)








วันที่ 4 ตัดรากได้โดยง่ายเพราะรากจะอยู่อีกด้านของกระสอบป่าน





การดูแลรักษาอุปกรณ์






ควรขัดล้างทำความสะอาด ตะแกรงพลาสติกและกระสอบให้สะอาดแล้วให้นำไปตากแดด เมื่อใช้ไปได้ 2 ครั้ง แล้วควรนำมาต้มเพื่อฆ่าเชื้อ



จากการสังเกตของดิฉัน ทางศูนย์เรียนรู้ฯ สำนักงานเขตหลักสี่ต้องการเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมนำวิชาความรู้ไปประกอบอาชีพหรือเป็นรายได้เสริม จึงมีการใส่เนื้อหาการอบรมครอบคลุมตั้งแต่การปรับปรุงดิน การเพาะเมล็ดพันธุ์ผัก การแยกกล้า การปลูกลงดิน การใส่ธาตุอาหารในดิน การทำสมุนไพรไล่แมลง การแปลงเศษอาหารและเศษใบไม้แห้งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือแม้แต่การเพาะถั่วงอกไร้สาร และการทำน้ำยาอเนกประสงค์ค่ะ เรียกว่าพึ่งตนเองได้แทบจะไม่ต้องพึ่งพาการซื้อหาทุกอย่างดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันค่ะ


ขอบคุณ BG สวย ๆ จากคุณญามี่ ค่ะ


Create Date : 15 กันยายน 2554
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:53:37 น. 13 comments
Counter : 11144 Pageviews.

 
ปลายเดือนนี้จขบ. ขอลากิจพาเด็ก ๆ ไปเยี่ยมคุณยายประมาณสามอาทิตย์ค่ะ กลับมาจึงจะมาทำการบ้านเพาะเมล็ดผักสวนครัว และทำปุ๋ยจากเศษอาหารต่อค่ะ


โดย: chinging วันที่: 16 กันยายน 2554 เวลา:9:55:58 น.  

 
image by free.in.th
---------------------------
เมื่อวานฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาวิกฤตมาก น้ำท่วมเร็วจนวุ่นวายไปหมด บ้านครูเกศอยู่ฝั่งแม่น้ำน้อยค่ะ ยังไม่ท่วม แต่เมื่อวานประตูกักน้ำตำบลพระงาม สิงห์บุรีพังแล้ว แม่น้ำน้อยน่าจะไม่รอด เพื่อนโทรมาบอกว่าน้ำอยู่ที่ค่ายบางระจันอยู่ค่ะ ไม่น่าจะเกินสองวัน ก็จะมาถึงวิเศษชัยชาญแล้ว ช่วงนี้แวะมาบ้างหายไปบ้างอย่าโกรธนะคะ ชีวิตรอบกายดูวุ่นวายไปหมด ขอบคุณที่คอยเป็นกำลังใจให้ค่ะคุณเค็น


โดย: เกศสุริยง วันที่: 16 กันยายน 2554 เวลา:15:00:26 น.  

 
คุณเค็น

ขั้นตอนการทำ+ภาพ ชัดเจนเข้าใจได้เลยค่ะ


โดย: 3K-guy วันที่: 16 กันยายน 2554 เวลา:22:36:14 น.  

 
คุณเค็นกับเด็กๆเพาะถั่วงอกน่าสนุก
ถั่วเขียวทางนี้เขาอบมาแล้ว
เพาะไม่ขึ้น เลยต้องซื้อเขานานต่อไป

ปลูกผักกินเองดีนะคะ
เวลาเก็บชื่นใจ
แถมยังอร่อยกรอบกว่าที่ซื้อมาเสียอีก

อ่านเรื่องสนุกดี
คุณเค็นกิจกรรมเยอะและน่าสนใจทั้งนั้นเลยค่ะ


โดย: SevenDaffodils วันที่: 17 กันยายน 2554 เวลา:9:04:04 น.  

 
สวัสดีค่ะครูเกศ พักนี้ฝนไม่ค่อยตกแล้ว(หรือเป็นเฉพาะแถวนี้) น้ำอาจจะไม่มาแล้ว(ขอให้เป็นเช่นนั้นนะคะ)


ขอบคุณค่ะคุณเก๋ ต้องยกความดีให้เอกสารการอบรมค่ะ ลอกมาเป็นส่วนใหญ่ค่ะ เสียดายแบตหมด ก็เลยไม่มีรูปตอนเหล่านักเรียนหัดย้ายต้นอ่อน และต้นกล้าลงแปลงกัน


กรี๊ดหนึ่งที คุณแป๋วไม่ได้มาเสียนานเลย ขอบคุณมากนะคะ เข้าไปในบล็อกคุณแป๋วทีไรก็เหมือนได้พักผ่อนทั้งภาพ ทั้งกลอน ทั้งเสียงเพลงเลยค่ะ

คราวหน้าจะลองเพาะจากถุงที่เขาแพคขายในห้าง ได้ผลอย่างไรจะไปแจ้งนะคะ



โดย: chinging วันที่: 17 กันยายน 2554 เวลา:9:57:56 น.  

 
บล็อกนี้มีประโยชน์กับคนชอบปลูกต้นไม้จริง ๆ ค่ะ ขอบคุณที่หาข้อมูลที่มีประโยชน์มาฝากกันนะคะ

ขอให้คุณเค็นและลูก ๆ เดินทางโดยสวัสดิภาพค่ะ


โดย: haiku วันที่: 17 กันยายน 2554 เวลา:14:45:38 น.  

 
image by free.in.th
-----------------------------------
ขอบคุณสำหรับความห่วงใยที่มีให้ บ้านครูเกศยังไม่ท่วมค่ะเพราะถมที่สูงนิดนึง แต่ท้องทุ่งนาใกล้บ้านกลายเป็นทะเลสาปแล้วค่ะ วันนี้งานกินขนมชมแม่น้ำก็แสดงเป็นวันสุดท้ายเพราะน้ำแม่น้ำน้อยเอ่อล้นมามาก จนท่วมพื้นที่จัดงาน งานcancleไปสามงานแล้วค่ะ แย่จริงๆน้ำท่วมมีผลกระทบทุกๆคนเลย ขอบคุณอีกครั้งสำหรับกำลังใจที่มีให้นะคะคุณเค็น


โดย: เกศสุริยง วันที่: 17 กันยายน 2554 เวลา:21:43:22 น.  

 
ดีมาก ๆ ครับ

จริง ๆ การทำ Roof garden ใช้กระถางก็สะดวกดีเหมือนกัน
พอไม้เริ่มโตมากหน่อย ก็ย้ายไปปลูกดินชั้นล่างได้อีกด้วย ^^


โดย: ทุเรียนกวน ป่วนรัก วันที่: 18 กันยายน 2554 เวลา:0:09:43 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะคุณไฮกุ ดีใจมากค่ะถ้าบล็อกจะเป็นประโยชน์ค่ะ


สู้ ๆ นะคะคุณครูเกศ


ทางศูนย์ฯ สอนวิธีเพาะก่อนย้ายกล้ามาลงแปลงด้วยค่ะ แล้วจะนำเสนอนะคะคุณทุเรียนฯ


โดย: chinging วันที่: 18 กันยายน 2554 เวลา:10:56:01 น.  

 
ดีใจจังที่คุณเค็นอยากให้ลูกสาวฝึกเขียนไฮกุ เคยอัพบล็อก ความหมายของไฮกุ copy หลักการเขียนจากเวบมาใส่ไว้ในบล็อก รู้สึกว่าเป็นหลักเป็นฐานกว่าที่เราบอก ลูกสาวคุณเค็นอ่านแล้วคงจะเขียนได้ไม่ยากค่ะ

๑. ควรกล่าวถึงสิ่งใกล้ตัวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาขณะใดขณะหนึ่ง ไม่ควรกล่าวถึงช่วงเวลายาวนาน

๒. ต้องเอาใจใส่ในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วนำมาแต่งเป็นไฮกุ เลือกใช้คำที่กระชับได้ใจความ ไม่ใช้คำเยิ่นเย้อ หรือคำขยายความ

๓.ไฮกุไม่ใช่การพูดถึงเหตุผล หรือปรัชญาทางความคิด แต่เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่เห็นออกมาตามธรรมชาติ ดังนั้นต้องพยายามหลีกเลี่ยงถ้อยคำเปรียบเทียบหรือคำอุปมาอุปไมย

๔.บรรทัด สุดท้ายของกลอนไฮกุ มักใส่ความแปลกลงในบทกลอน โดยมักจะมีถ้อยคำที่แสดงความรู้สึกนึกคิดชั่วขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือจินตนาการของผู้ประพันธ์ก็ตาม


โดย: haiku วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:10:22:01 น.  

 
ขอบคุณมากเลยค่ะ คุณ haiku แกได้เขียนแปะบล็อกหน้าแล้วค่ะ เดี๋ยวไปตามคุณ haiku มาดูค่ะ


โดย: chinging วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:22:59:54 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะคุณครู ป้าเออร์ลี่ได้หนึ่งปี เป็นหนึ่งปีที่สับสน งุนงงกับชีวิต ต้องปรับตัวปรับใจอย่างมากมาย เพราะออกก่อนเกษียณอายุราชการแปดปี...ตอนนี้โอเคแล้วนะ ป้าพยายามหาความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษจากอินเทอร์เน็ท..ป้าทำจุรินทรีย์และกำลังทดลองใช้ ได้มาอ่านบล็อกของคุณครู ได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะ ป้าจะเอาไปลองทำตาม ขอบคุณมากนะคะ



โดย: ครูป้า IP: 171.4.251.116 วันที่: 11 ตุลาคม 2556 เวลา:19:06:58 น.  

 
ยินดีค่ะคุณครูป้า แต่เจ้าของบล็อกเพียงแต่จดบันทึกที่ไปเรียนมา ไม่ได้มีความรู้ใด ๆ หรอกค่ะ


โดย: chinging วันที่: 15 ตุลาคม 2556 เวลา:22:54:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chinging
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]








INVITING THE BELL TO SOUND


Body, speech, and mind in perfect oneness-
I send my heart along with the sound of the bell,
May the hearers awaken from forgetfulness
and transcend all anxiety and sorrow.


HEARING THE BELL


Listen, listen,
this wonderful sound
bring me back
to my true self.


THICH NHAT HANH






9 Latest Blogs
ขอขอบคุณ คุณSevenDaffodils
ในคำแนะนำวิธีการทำ Latest Blogs ค่ะ



New Comments
Group Blog
 
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
15 กันยายน 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add chinging's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.