เริ่มปลูกต้นไม้ในใจเรา(Start planting in our hearts)



"เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับการเกษตรกรแต่ไหนแต่ไรแล้ว รายได้ของประเทศที่ได้มาจากการสร้างความเจริญด้านต่าง ๆ เป็นรายได้จากการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่า ความเจริญของประเทศต้องอาศัยความเจริญของการเกษตรเป็นสำคัญ และงานทุก ๆ ฝ่ายจะดำเนินก้าวหน้าไปได้ก็เพราะการเกษตรของเราเจริญ"
(พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร และอนุปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ๓ กรกฎาคม ๒๕๐๗ คัดลอกจากเวปของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ)


ความตั้งใจในการเปิดกรุ๊ปบล็อกใหม่(ปลูกความดี ถักทอความดี)นี้ ก็เพื่อรวบรวมสิ่งที่ครอบครัวบ้านเรียน(homeschool) ของเราเริ่มต้นเรียนรู้ในการทำการเกษตรในวิถีที่เป็นคนเมืองแต่กำเนิดจะพึงกระทำได้ค่ะ





เมื่อไหร่จะปลูกได้แบบนี้ ต้องมีสักวันค่ะ




จำได้ว่าเมื่อปปีพ.ศ. 2539 ได้ทำรายงานส่งอาจารย์วิชา ธุรกิจระหว่างประเทศ ดิฉันเลือกที่จะทำเรื่องธุรกิจส่งออกข้าวอินทรีย์ของไทย เราก็ว่าไปเรื่อย ๆ ตามหลักการตลาดทั่วไป อาจารย์ประจำวิชาก็ได้ชี้ให้เห็นว่ารายงานของเรา ขาดในเรื่องของแฟชั่นของการมีวิถีชีวิตแบบคนทันสมัย รักสุขภาพ กล่าวคือผู้บริโภคส่วนหนึ่งนั้นเดินตามแฟชั่น โดยไม่ได้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ของข้าวอินทรีย์โดยตัวของมันเอง

จนถึงวันนี้กระแสนั้นยิ่งแรง ผันให้เกิดทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้ง ๆ ที่สินค้าและบริการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ทำกันได้เองในครัวเรือนและในชุมชน หรือเรียกว่ารวมอยู่ในวิถีชีวิตนั่นเอง

แม้แต่ในการทำโฮมสคูล ก็ดูเหมือนว่าจะถูกจำกัดความว่าเด็กโฮมสคูลนั้นจะต้องลุย ชอบเดินป่า ทำนา สร้างบ้านดิน หรือนอนเต้นท์อยู่กับธรรมชาติ แต่ทว่าสิ่งเหล่านี้นั้นเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสนใจอย่างจริงจัง ควรลงมือปฎิบัติให้รู้ถึงขบวนการของมันอย่างลุ่มลึก มิได้เป็นเพียงรายการที่อยู่ในเช็คลิสต์ว่าเป็นสถานที่ที่ได้ไปแล้ว หรือกิจกรรมที่ได้ทำแล้ว(been there, done that) แต่ก็คงไม่ต้องถึงกับตะเกียกตะกายที่จะแสวงหา แม้นว่าครอบครัวเราจะยังไม่มีความรู้ความเข้าใจ และยังมืดบอด เดินวนไปเวียนมาอยู่เช่นกัน เราเชื่อและพยายามที่จะเดินตามแสงสว่างที่นายหลวงท่านทรงมอบให้ เพื่อที่จะก้าวเดินไปอยู่ในวิถีที่พอเพียง ที่ใช่ ที่เหมาะกับเรา ซึ่งเป็นที่มาของการเริ่มต้นศึกษาการเกษตรกันให้จริงจังขึ้น








“คอยรุตตั๊กวา” (ชุมชนอิสลามลำไทร)
โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ กรุงเทพมหานคร แห่งแรก






เมื่อปีที่แล้ว(พ.ศ. 2553) เรามีโอกาสไปเยี่ยมเยือน“คอยรุตตั๊กวา” (ชุมชนอิสลามลำไทร) ซึ่งอยู่หนองจอก กทม. ค่ะ ที่นั่นเป็นชุมชนเกษตรและเป็นชาวมุสลิม จึงมีการนำศาสนามาเป็นตัวร้อยเชื่อมผู้คนในชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง ปัจจุบันได้มีการจัดทำให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์ มีการใช้แต่ละบ้านซึ่งเป็นญาติพี่น้องกัน(ขอขอบคุณอาจารย์และชาวชุมชนทุกท่านที่เกี่ยวข้องค่ะ โดยเฉพาะ อ. วิวัฒน์ สมานตระกูล ประจำบ้านฐานที่ 4 บ้านสวนพอเพียง มา ณ ที่นี้อีกครั้งค่ะ ท่านกรุณาดูแลกลุ่มเล็ก ๆ ของเราอย่างดี และแนะนำให้เราไปพ่วงกับกลุ่มใหญ่อื่นที่มาเยี่ยมชม เพราะจะมีมัคคุเทศน์นำชม เราจึงมีโอกาสไปเยี่ยมเยือนอีกครั้งค่ะ)
(มีเวปที่รวบรวมภาพบรรยากาศของชุมชนได้สวยงาม และรวมลิงค์จากรายการรวมทั้งบทความเกี่ยวกับชุมชนไว้ค่ะ หากท่านใดต้องการตามไปชมเชิญที่เวป Tawan Guide ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ)








เป็นชุมชนเกษตรเก่าแก่ คนในชุมชนจะเป็นญาติพี่น้องกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน





ที่นั่นจะแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ถึง 9 ฐานด้วยกันค่ะ(รายละเอียดของแต่ละฐานเชิญที่เวป ลำไทรฟาร์ม นะคะ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ) หลังจากการเยี่ยมชมเราก็ยังไม่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับตนเองได้ค่ะ ได้แต่ความซาบซึ้งใจในความมีน้ำใจที่อาจารย์หลายท่าน ได้เสียสละเวลาและสถานที่ในการให้ความรู้ ได้พืชพันธุ์สดสะอาด และผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรแสนอร่อย ราคาถูก รวมทั้งความรู้สึกชื่นชมของการมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาตนเองได้ และร่วมมือกันในชุมชน

ส่วนเด็ก ๆ ก็คงจะได้เพียงภาพจริงของการเกษตรที่ไม่ต้องไปไกลถึงชนบท รวมทั้งได้มีโอกาสเห็นสัตว์เศรษฐกิจสวยงาม มิได้เห็นแต่ในรูปภาพเท่านั้น










สะพานสูง โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ กรุงเทพมหานคร แห่งที่สี่





และในกลางปีนี้(พ.ศ. 2554) ไราได้มีโอกาสไปเยือนคุณณรงค์ บัวศรี เกษตรกรเขตสะพานสูง ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ กรุงเทพมหานคร แห่งที่สี่ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านเราที่สุด เรียกว่าอยู่หลังบ้านเรานี่เองค่ะ โดยเชื่อมโยงเข้ากับงานวันเกิดของลูกสาว ค่ะ นอกจากนาข้าวแล้วมีการปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างให้เห็นชัดเจนค่ะ

การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง พระองค์มีพระราชดำรัส ดังนี้ “การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาได้ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่อยห้วยโดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 คือสามารถช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ” แปลความสรุปอย่างเข้าใจง่าย ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และระบบนิเวศน์

พออยู่ หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย
พอกิน หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุนไพร
พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ไม้ฟืน, และไม้ไผ่ เป็นต้น
ประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ สร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า

(คัดลอกจากเวปธนาคารต้นไม้ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ)


คราวนี้เราได้เห็นภาพของเกษตรกรชัดขึ้นและเป็นจริงขึ้น คุณณรงค์นั้นมีการจัดการที่ดินได้อย่างเหมาะสม ได้น้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ขององค์นายหลวงท่านมาใช้ให้เห็นจริง ดูง่ายและเป็นไปได้จริง ใช้ประโยชน์ได้จริง พึ่งตนเองได้จริงค่ะ และสิ่งหนึ่งที่ท่านสอนเราแบบไม่สอน คือความขยันและประหยัดค่ะเพราะทุกครั้งที่เราไปเยี่ยมเยือน ก็จะเห็นแกสวมเสื้อผ้าสบาย ๆ ทำอะไรเองอยู่ตลอดเวลา เช่นทำลอบดักปลา ทำไม้กวาดทางมะพร้าว เป็นต้นค่ะ





นอกจากความรู้ที่ท่านมอบให้ ท่านก็ยังได้แนะนำให้เราเข้าอบรมกับโครงการของโรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ สะพานสูง ซึ่งมีสำนักงานฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม เขตสะพานสูงเป็นผู้รับผิดชอบดูแล เราจึงได้เข้ารับการอบรมการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน เมื่อวันที่ 20 กค. ที่ผ่านมานี้ และมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมงานที่โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นโรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่แห่งแรกของเมืองไทย เมื่อวันที่ 22 กค. ที่ผ่านมานี้ค่ะ
(ขอขอบคุณคุณณรงค์ บัวศรี มา ณ ที่นี้อีกครั้งค่ะ และขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ของฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมทุกท่านค่ะ โดยเฉพาะคุณบุญทิวา สารวรณ์ ที่เป็นคนประสานงานให้เราได้ไปครั้งนี้ค่ะ นับเป็นการได้ใช้บริการเพื่อประชาชนจากทางรัฐเป็นครั้งแรก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เลยค่ะ นอกจากมีรถพาไปแล้วยังบริการดียิ่งกว่าทัวร์อีกค่ะ มีทั้งอาหารเช้า อาหารกลางวัน เบรคเช้า เบรคบ่าย แต่ไม่อยากได้หนังที่เปิดฉายบนรถบัสเลยค่ะ ลงจากรถหูอื้อเลยเพราะนั่งด้านหลังสุดมีลำโพง 3 ตัว จ่ออยู่บนหัว แต่ก็เข้าใจดีว่าเป็นบริการที่ติดมากับรถบัส)









ทฤษฎีใหม่ โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ




ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีต จนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขต ที่มีฝนค่อนข้างน้อยและส่วนมากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหาย อันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศและฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็มีขนาดเพียงพอ หรือมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียวด้วย เหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึง ได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากดังกล่าว ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำ ได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก พระราชดำรินี้ ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(คัดลอกจากเวปมูลนิธิชัยพัฒนา ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ)








ภาพในห้องบรรยาย และบริเวณโดยรอบของโครงการฯ ค่ะ




ท่านวิทยากรประจำศูนย์อธิบายถึงที่มาของทฤษฎีใหม่ และการนำทฤษฏีใหม่มาใช้ หลักการและแนวทางสำคัญ และประโยชน์ของทฤษฎีใหม่(รายละเอียดของทฤษฎีใหม่ เชิญที่เวป มูลนิธิชัยพัฒนา นะคะ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ) โดยใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ และปนอารมณ์ขันค่ะ ในภาคบ่ายก็พาเดินชมภายในโครงการค่ะ(ขออภัยไม่ทราบชื่อวิทยากร เป็นนักเรียนที่แย่จัง อย่างไรก็ตามขอขอบคุณท่านวิทยากร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมา ณ ที่นี้ค่ะ)







พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ขุดเป็นสระน้ำ








ระบบทฤษฎีใหม่ที่สมบูรณ์ อ่างใหญ่ เติมอ่างเล็ก อ่างเล็ก เติมสระน้ำ

ภาพจากเวปมูลนิธิชัยพัฒนา ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ









พื้นที่ส่วนที่สอง หลังจากปลูกข้าวแล้วให้ปลูกพืชอื่น(ตระกูลถั่ว)








พื้นที่ส่วนที่สาม ปลูกไม้ผลในที่ดอนแบบฉลาด คือปลูกกล้วยเป็นพืชพี่เลี้ยง



ปลูกกล้วยเป็นพี่เลี้ยง เพราะไม้ผลหลักเฉลี่ยให้ผลที่สามปีขึ้นไป แต่กล้วยจะเก็บผลได้เร็ว เป็นรายได้โดยไม่ต้องรอไม้ผลหลัก ส่วนจะปลูกกล้วยอะไรนั้นให้ดูความต้องการของตลาด

ปีที่ 1 กล้วยจะสูงกว่าไม้ผลหลัก มีใบมากสามารถคลุมไม้ผลหลัก ด้านล่างเกิดความชื้น ประหยัดน้ำ
ปีที่ 2 ไม้ผลหลักเริ่มตั้งตัว สูงไล่เลี่ยกัน รดน้ำทีเดียวได้ทั้งคู่
ปีที่ 3 ไม้ผลหลักสูงแซง กล้วยยังช่วยเก็บความชื้นด้านล่าง
ปีที่ 4 ไม้ผลหลักให้ผล ให้รื้อกล้วยออก โดยตัดกล้วยให้เหลือ 70 % เพื่อให้ความชื้นต่อไป







พื้นที่ส่วนที่สี่ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ เช่น ทางเดิน กองฟาง ลานตาก ไม้ดอกไม้ประดับ พืชสวนครัว ทำถ่าน






เพลง แผ่นดินของหัวใจ ของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
(ขอขอบคุณ //www. youtube.com และ คุณ pramualk โพสท์เตอร์ มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ)


จนถึงวันนี้เราก็ยังเข้าใจการเกษตรอย่างผิวเผิน เพราะรู้เพียงทฤษฎีหลักใหญ่ และยังติดปัจจัยหลายอย่างในการลงมือทำเต็มรูปแบบ ณ ปัจจุบันเราจึงตั้งใจที่จะขอรวบรวมความรู้ ทำความเข้าใจเพิ่มเติม และทำเท่าที่เราทำได้อย่างมีความสุขทั้งครอบครัวค่ะ


ขอบคุณ BG สวย ๆ จากคุณดอกหญ้าเมืองเลย ค่ะ


Create Date : 25 กรกฎาคม 2554
Last Update : 10 สิงหาคม 2554 18:15:38 น. 6 comments
Counter : 1875 Pageviews.

 


โดย: solef63treadmill (guide2day ) วันที่: 25 กรกฎาคม 2554 เวลา:16:30:19 น.  

 
ขอบคุณค่ะ คุณ guide2day


โดย: chinging วันที่: 25 กรกฎาคม 2554 เวลา:21:00:44 น.  

 
เป็นกำลังใจให้ต่อไป เชียร์ ๆๆๆๆ


โดย: จิบ IP: 124.120.198.142 วันที่: 26 กรกฎาคม 2554 เวลา:10:18:07 น.  

 
สวัสดีค่ะ

-------เห็นด้วยกับประโยคนี้ค่ะ--------
สิ่งที่เราควรให้ความสนใจอย่างจริงจัง ควรลงมือปฎิบัติให้รู้ถึงขบวนการของมันอย่างลุ่มลึก มิได้เป็นเพียงรายการที่อยู่ในเช็คลิสต์ว่าเป็นสถานที่ที่ได้ไปแล้ว หรือกิจกรรมที่ได้ทำแล้ว
-----------------------------------------------

ทางที่นายหลวงท่านมอบให้

สำหรับครอบครัวเก๋...ต้องใช้ความพยายาม+ต่อเนื่อง+อดทน+ความจริงจัง

หากเหนื่อยและท้อ เราก็พักเติมพลังค่ะ
แล้วค่อยลุยกันต่อ เพราะนี้เป็นวิถีที่เราไม่คุ้นเคย

สู้ๆๆๆ ค่ะ


โดย: 3K-guy วันที่: 26 กรกฎาคม 2554 เวลา:10:58:34 น.  

 
ขอบคุณค่ะ คุณจิบ


สู้ด้วยกันค่ะ คุณเก๋ เหมือนจะออกรบยังไงไม่รู้นะคะ


โดย: chinging วันที่: 26 กรกฎาคม 2554 เวลา:21:36:05 น.  

 


โดย: izephyr888 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:9:28:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chinging
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]








INVITING THE BELL TO SOUND


Body, speech, and mind in perfect oneness-
I send my heart along with the sound of the bell,
May the hearers awaken from forgetfulness
and transcend all anxiety and sorrow.


HEARING THE BELL


Listen, listen,
this wonderful sound
bring me back
to my true self.


THICH NHAT HANH






9 Latest Blogs
ขอขอบคุณ คุณSevenDaffodils
ในคำแนะนำวิธีการทำ Latest Blogs ค่ะ



New Comments
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
25 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add chinging's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.