นานาทรรศนะ เพื่อการแบ่งปัน

 
มกราคม 2559
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
7 มกราคม 2559
 

ทำความรู้จักเมมโมรี่การ์ด เลือกใช้งานที่เหมาะสม

ทำความรู้จักกับเมมโมรี่การ์ด

การจะเลือกซื้อเมมโมรี่การ์ดสักใบ ดูท่าจะไม่ง่ายซะแล้วเพราะมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย รวมถึงสัญลักษณ์ที่เห็นบนสินค้ามีเยอะแยะ ศัพท์เทคนิคทั้งนั้นแล้วจะเลือกอย่างไรดี ให้เหมาะกับการใช้งาน เหมาะกับกล้อง และได้ผลลัพธ์ที่ต้องการข้อมูลหลัก ๆ ที่ใช้พิจารณาเลือกซื้อ ก็คือ ความเร็วอ่าน/เขียน ของการ์ดและสปีดคลาส (speed class) และมีข้อมูลอื่น ๆ ประกอบการตัดสินใจให้ผู้ซื้อ ได้รับรู้


เมื่อต้องซื้อเมมโมรี่การ์ด จะซื้ออะไรดี SD card Class4, SDcard Class6, SD card Class10 และจะมี speed class ที่มากกว่านี้อีกมั๊ยน๊า แล้วสปีดไหนดีล่ะที่จะเหมาะกับผู้ซื้อ ข้อมูลแค่นี้ก้อยังทำให้ลังเลใจในการเลือกยังมีสัญลักษณ์เพิ่มเติมอีก เช่น Full HD, U1, U3, UHS-1, UHS-2, 4K ฯลฯ ... โอ๊ยเอาอย่างไรดีเนี่ย

ยี่ห้อนี้ถูกดีนะ เห็นราคาในร้านสะดวกซื้อ ร้านขายอุปกรณ์ไอที ทั่วไปยี่ห้อการ์ด คุ้นตาบ้าง ไม่คุ้นหูบ้าง แล้วจะเชื่อได้หรือป่าวเดี๋ยวนี้ของจีนผลิตเยอะแยะ ราคาแสนถูก ซื้อใช้งานแล้วภาพจะอยู่ หรือจะหายไปเฉยๆเก็บไฟล์ภาพได้ครบถ้วนมั๊ย หากมีภาพหายไป กู้ภาพคืนมาได้มั๊ย ซื้อไปแล้วจะได้หน่วยความจำเต็มตามที่ระบุไว้บนกล่องมั๊ย ลังเลใจมาก

ชนิดของเมมโมรี่การ์ด

SD (Secure Digital) Memory Cards:

SD card นี้ เป็นเมมโมรี่การ์ดรุ่นพื้นฐานซึ่งสามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์ที่มีช่องสนับสนุน SD ทั่วไปใช้งานได้เป็นส่วนใหญ่ ไม่มีข้อจำกัด เท่าที่เห็นมีขายในตลาดบ้านเรา จะเป็น SDClass2, SD Class4


SDHC (Secure Digital High Capacity) Memory Cards:

SD card ชนิดนี้ ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อให้สามารถเพิ่มหน่วยความจำได้สูงขึ้นซึ่งเมมโมรี่การ์ดรุ่นพื้นฐานนั้น สามารถทำหน่วยความจำได้สูงสุดเพียง 2GB เท่านั้นแต่ถ้าเป็น SDHC จะสามารถมีหน่วยความจำได้สูงถึง 32GBด้วยโครงสร้างของการ์ดชนิดเดียวกัน ขนาดเท่าเดิม ข้อควรระวังคือการ์ดชนิดนี้อาจไม่สามารถใช้ได้กับกล้องรุ่นเก่าที่ผลิตก่อนจะมี SDHC(ซึ่งต้องศึกษาจากคู่มือกล้องอีกครั้ง)


SDXC (Secure Digital ‘Xtra Capacity’) Memory Cards:

SD card ชนิดนี้ จะสามารถเพิ่มหน่วยความจำได้สูงขึ้นอีกซึ่งผลิตการ์ดได้สูงสุดถึง 2TB(terabytes) และยังมีมีความสามารถอ่าน/เขียนข้อมูลได้เร็วกว่า การ์ดชนิดอื่น ในด้านของขนาดและลักษณะของการ์ด ยังคงเป็น SDcardเช่นเดียวกัน สามารถใช้กับ SD card slot ทั่วไปได้ เช่นเดียวกันต้องศึกษาคู่มือกล้องอีกครั้ง ว่ารองรับการใช้การ์ด SDXC หรือไม่เนื่องจากเป็นการ์ดที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีล่าสุดเพื่อรองรับความเร็วสูงสุดที่ต้องการ ดังนั้นคงใช้ไม่ได้กับกล้องทุกรุ่นหากนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ คงต้องเป็น Window7 ขึ้นไป Linux รุ่นปัจจุบันMac OSX (Snow Leopard) ที่รองรับการอ่านระบบไฟล์ exFAT filesystem


CompactFlash (CF) Memory Cards:

CF card เป็นการ์ดรุ่นเดียวที่สามารถผลิตให้มีหน่วยความจำสูงที่สุดและมีความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลได้เร็วกว่า ซึ่ง Sandisk ได้คิดค้นการ์ดชนิดนี้ออกสู่ตลาดในปี 1994 และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่ในปัจจุบันนี้จะพบว่ามีใช้ CFcard กับกล้อง DSLRs รุ่นสูง ๆ เท่านั้น ข้อมูลล่าสุดในปีที่ผ่านมาทาง Canon ได้เลือกใช้ CF card เป็นหน่วยบันทึกข้อมูลของกล้องวิดีโอ ที่รองรับ FullHD สำหรับผู้ใช้งานมืออาชีพ


MicroSD Memory Cards:

microSD card เริ่มมีการใช้ครั้งแรกในโทรศัพท์มือถือเพื่อการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของโทรศัพท์ โดยเฉพาะรูปถ่าย ในยุคที่มีการผลิต CameraPhone ออกสู่ตลาด และถือว่าเป็นเมมโมรี่การ์ด ที่เล็กที่สุดในโลกด้วยขนาดเพียง 15x11x1 mm แถมยังมีความจุสูงถึง 2GB เวลาต่อมา ได้มีการผลิต microSDHC ขึ้นมาทำให้มีความจุเพิ่มขึ้นเป็น 4GB-32GB ในปัจจุบันได้ผลิต microSDXC ขึ้นมาด้วยทำให้รองรับความจุได้ถึง 2TB ตามมาตรฐาน แต่เทคโนโลยี ยังไปไม่ถึงจึงเห็นความจุสูงสุดเพียง 128GB เท่านั้น ที่ออกสู่ตลาด

xD Picture Memory Cards:

xD card (ย่อมาจาก ‘eXtreme Digital’) เป็นรูปแบบการ์ดที่มีใช้ในกล้อง Fuji รุ่นเก่าและกล้อง Olympus รุ่นเก่า เท่านั้น ปัจจุบันไม่มีกล้องตัวไหนในตลาดใช้การ์ดชนิดนี้แล้ว


Memory Stick Duo Memory Cards:

MemoryStick ถูกคิดค้นขึ้น และใช้สำหรับกล้องยี่ห้อ Sonyเท่านั้นแรกเริ่มเป็นเมมโมรี่การ์ดแผ่นยาว ต่อมาผลิตกล้องเล็กลง จึงตัดเหลือครึ่งหนึ่งเป็น MemoryStick Duo แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ได้มีการใช้งานแล้ว กล้อง Sony ใช้ SDcard


Multi Media Cards (MMC):

MMC card มีลักษณะการ์ดเหมือน SD card ทุกอย่าง แตกต่างกันเพียงไม่มีปุ่มล๊อคการเขียนข้อมูลลงการ์ดเท่านั้น และเนื่องจากไม่มีการพัฒนาต่อเนื่องทำให้การ์ดมีความเร็วในการอ่าน/เขียน ช้าที่สุด เมื่อเทียบกับ SD card

UHS-I Standard:

UHS-I เป็นมาตรฐานของ SDHC card ซึ่ง Sandiskผลิตออกสู่ตลาด เพื่อนำเสนอการโอนถ่ายข้อมูลที่เร็วขึ้นสามารถเพิ่มความเร็วในการเขียนข้อมูลได้ถึง 45MB/s และเร็วกว่าในปัจจุบันการ์ดรุ่น Sandisk Extreme Pro / Extreme รองรับเทคโนโลยีนี้เกือบทั้งหมดซึ่งเหมาะกับการนำไปใช้งานประเภท Raw file และ/หรือ ถ่ายวิดีโอ Full HD ที่พูดถึงการใช้งานลักษณะนี้เพราะไฟล์ภาพ หรือไฟล์งานจะใหญ่มาก Raw File - 1 ภาพอาจมีจำนวนข้อมูลสูงถึง 50MB ได้ และหากพูดถึงการถ่ายวิดีโอ Full HD - 1ไฟล์อาจสูงถึง 4G ขึ้นไป ขึ้นกับระยะเวลาในการถ่ายวิดีโอแต่ละช่วง

UHS-II Standard:

UHS-II เป็นอีกหนึ่งมาตรฐานของ SD Association version 4.0 ซึ่งกำหนดมาตรฐานการโอนถ่ายข้อมูล ระหว่าง 156MB/s– 312MB/s และมีอัตรากินไฟต่ำมากทำให้ประหยัดการใช้แบตเตอรี่ของกล้องได้มากทีเดียว รูปแบบการใช้งานยังคงเหมือนกับ UHS-Iแต่เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่าตอบสนองการทำงานได้ดีกว่ามาก

CFast 2.0 Standard:

ในปี 2012 ทาง CompactFlash Association ได้ออกมาตรฐานCFast 2.0 สู่ตลาด และรับรองการอ่าน/เขียน ข้อมูลลงการ์ดได้มากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีเดิมที่มี และในปี 2013 ทาง Sandisk ได้ออกการ์ด CFast2.0และเคลมว่าเป็นเมมโมรี่การ์ดที่เร็วที่สุดในโลก รับรองการอ่านข้อมูลได้ถึง 450MB/sและเขียนข้อมูลได้เร็วถึง350MB/s ทีเดียว สำหรับการใช้งาน ยังคงเป็นกล้องวิดีโอคุณภาพสูงที่ระบุการใช้การ์ดเป็น CFast 2.0 เช่น BlackMagic Cinema Camera เป็นต้น กล้องDSLRs รุ่นอื่น ๆ ทั่วไปคงจะเกินจำเป็นและใช้ไม่ได้เต็มประสิทธิภาพของการ์ดนัก

Memory Card Readers:

ขาดไม่ได้ทีเดีย สำหรับ MemroyCard reader หรือตัวอ่านข้อมูลสำหรับผู้ใช้การ์ดทุกคน ที่ต้องการโอนถ่ายข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ ลักษณะการเชื่อมต่อผ่านยูเอบีพอร์ตซึ่งทำงานในลักษณะเดียวกับ USB Flashdrive ในการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์รุ่นที่มีการ์ดในท้องตลาดจะรองรับการ์ดชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 12 in 1และบางยี่ห้อบอกขายเป็น 35 in 1 ทีเดียว ทำให้นึกไม่ออกว่ามีชนิดของการ์ดมากมายเพียงนี้หรือ


จะเลือกซื้อการ์ด ต้องสังเกตอะไรบ้าง

มือใหม่ มือสมัครเล่น หรือผู้ที่ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก

ชนิดของการ์ด และความจุ จะเป็นหลักสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อการ์ดโดยต้องรู้ก่อนว่ากล้องที่มีอยู่นั้น ใช้การ์ดชนิดใดและรองรับความจุได้สูงสุดเท่าไหร่ จะรู้ไปทำไม ก็เพื่อไม่ให้เสียเงินฟรีนะครับเช่น ถ้าหากกล้องระบุว่า รองรับหน่วยบันทึกข้อมูลได้สูงสุด 32GB เราดันซื้อการ์ด64GB มาใช้ กล้องจะเห็นเพียง 32GB เท่านั้น บันทึกภาพไม่ได้มากกว่านี้ เป็นต้นส่วนของ speed class คงไม่ต้องกังวล ในปัจจุบันราคาการ์ด ถูกมากแล้ว ซื้อการ์ด class10มาใช้ได้เลย ยกเว้นผู้ใช้ที่มีกล้องรุ่นเก่ามาก ต้องใช้ class4 หรือต่ำกว่าและนั่นก็อาจเป็นส่วนน้อยมาในตลาด

เรามาดูกันว่า สัญลักษณ์ที่ปรากฏในการ์ด ที่วางขายนั้น ต้องสังเกตตรงไหนกันบ้าง


นักถ่ายภาพกึ่งโปร มือโปร มืออาชีพ

การจะให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้กลุ่มนี้ ดูเป็นเป็นเรื่องน่าอายอยู่เหมือนกันอาจจะสอนจระเข้ว่ายน้ำ เข้าให้ โดนสอนกลับคงสนุกทีเดียว แต่จะไม่เขียนถึงคงไม่ดี ถือเป็นแนวทางสำหรับผู้เริ่มต้นที่กำลังเดินมาสู่เส้นทางนี้แล้วกันนะครับ

ผู้ใช้กลุ่มนี้จะให้ความสำคัญที่สุด คือ Write Speed ความเร็วในการเขียนข้อมูลลงการ์ดต้องตอบสนองการใช้งานได้ทุกสภาวะ ส่วนใหญ่แล้วจะถ่ายภาพ และเก็บเป็น Rawfileซึ่งรู้กันว่า 1 ไฟล์อาจใหญ่ถึง 50MB นั่นหมายความว่าการ์ดที่ใช้ควรจะต้องมีความเร็วในการเขียน อย่างน้อย 45MB/s ขึ้นไปซึ่งจะทำให้การถ่ายภาพ 1 ภาพ ใช้เวลาที่ 1 วินาที และหากรวมเข้ากับกล้องคุณภาพสูงที่มีความจำสำรองเป็น buffer อีกแล้วละก็ ในการถ่ายภาพ 1 วินาทีอาจได้ 2-3 ภาพ เลยทีเดียว ความเร็วในการอ่านการ์ด ไม่ต้องพูดถึง ยี่ห้อไหน ๆก็ทำได้เร็วเช่นกัน ที่กล่าวมาข้างต้น ยังใช้ได้กับการถ่ายภาพต่อเนื่องหรือที่เรียกว่า burst mode หากผู้ใช้มีการถ่ายภาพลักษณะนี้การเลือกการ์ดที่มีความเร็วในการเขียน จะรองรับการใช้งาน และไม่ทำให้หงุดหงิดเวลาถ่ายภาพ

การถ่ายวิดีโอ ด้วยกล้อง DSLR หรือมืออาชีพนำไปใช้ถ่ายทำหนังก็ยังคงต้องยึดถือ Write Speed ความเร็วในการเขียนข้อมูล เป็นสำคัญโดยมาตรฐานการถ่ายวิดีโอ หน่วยบันทึกข้อมูลจะต้องมีความเร็วในการเขียน ขั้นต่ำ 45MB/sถึงจะเหมาะสมกับการใช้งานถ่ายวิดีโอ

ข้อสำคัญอีกข้อหนึ่ง ที่ผู้ใช้กลุ่มนี้มองหา คือ การ์ดที่เชื่อถือได้ไม่เสียง่าย ถ่ายรูปแล้วภาพไม่หาย หรือเสียระหว่างการใช้งานซึ่งนั่นหมายถึงการ์ดจะต้องมีเสถียรภาพในการใช้งานได้อย่างดี และเชื่อถือได้ โดยมาตรฐาน สามารถวัดค่าได้จาก MeanTime Before Failure (MTBF) หรือค่าเฉลี่ยการใช้งานก่อนเสีย ซึ่งยี่ห้อส่วนใหญ่ที่วางขายอยู่นั้น มักไม่ให้ข้อมูลด้านนี้ มีเพียง Sandiskที่ออกมาประกาศ และรับรองการ์ดตัวเองว่า ผลการทดสอบ MTBF สูงกว่า 1,000,000ชั่วโมงการใช้งานของเมมโมรี่การ์ด พูดอีกนัยหนึ่งคือใช้งานการ์ดแซนดิสก์ได้ยาวนานถึง 115 ปี ก่อนที่การ์ดใบนั้นจะลาโลกไปคงต้องพิจารณากันเอาเองล่ะครับ

Speed : ความเร็วของการ์ด

ความเร็วของเมมโมรี่การ์ด มีความสำคัญ 2 ข้อ คือความเร็วในการอ่าน และความเร็วในการเขียนข้อมูล

ความเร็วในการอ่านข้อมูล นั้นหมายถึงอัตราความเร็วในการดึงข้อมูลจากการ์ด มาแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ การโอนถ่ายข้อมูลลงบนคอมพิวเตอร์หรือการสั่งพิมพ์ภาพโดยตรงจากการ์ด สู่พริ้นเตอร์ ซึ่งความเร็วนี้จะมีผลเป็นบวก หรือลบจากปัจจัยของอุปกรณ์เชื่อมต่อ เช่น card reader, USB2.0, USB3.0, FireWire400,FireWire800 เป็นต้น

ความเร็วในการเขียนข้อมูล นั้นหมายถึงอัตราความเร็วในการเขียนข้อมูลภาพถ่ายลงบนการ์ด ซึ่งสำคัญมากเมื่อต้องการถ่ายภาพต่อเนื่องอย่างเร็วเช่น burst mode การถ่ายวิดีโอ ด้วยอัตราความละเอียดสูงสุด เช่น Full HD,4K ดังนั้น หากคุณคือช่างภาพมืออาชีพ ช่างภาพกีฬาและมีลักษณะงานที่ต้องถ่ายภาพต่อเนื่อง ในอัตราสูงสุด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เมมโมรี่การ์ดที่มีความเร็วในการเขียนข้อมูลที่เร็วมากทีเดียว หรือแม้แต่ช่างภาพ Wedding Studio ที่จะต้องถ่ายภาพและเก็บข้อมูลเป็นRaw Files ก็ยังคุ้มค่าการลงทุนกับการ์ดที่มีความเร็วในการเขียนข้อมูลซึ่งจะทำให้งานของคุณเร็วขึ้น ทั้งช่วงเวลาทำงานถ่ายภาพและช่วงเวลาโอนถ่ายข้อมูลขึ้นคอมพิวเตอร์


Speed Class : ขั้นของความเร็วมาตรฐานในเขียนข้อมูลบนการ์ด

หากสังเกตบนเมมโมรี่การ์ด จะพบว่ามีการระบุความเร็วในการอ่านหรือความเร็วในการเขียนข้อมูล ของการ์ดใบนั้น ๆ อยู่ ซึ่งจะต้องมีการแปลงค่าตัวเลขก่อนที่จะรู้ว่า การ์ดใบไหน เร็วกว่ากัน แต่สิ่งที่ต้องรู้และจดจำ คือความเร็วในการอ่านของการ์ดนั้น จะเร็วกว่าอัตราความเร็วในการเขียน เสมอ

มาดูกันเลยว่า มีตัวเลขอะไรปรากฏบนการ์ดบ้าง เช่น 133x, 200x,300x,…, 1066x เป็นต้น ตัวเลขเหล่านี้ เราจะเรียกว่า Commercial X ratingซึ่งหมายถึงอัตราความเร็ว เพื่อการค้า ส่วนใหญ่จะระบุความเร็วในการอ่านข้อมูลมากกว่าที่จะระบุความเร็วในการเขียนข้อมูล ผู้ซื้อคงจะต้องถามผู้ขายอย่างเจาะจงไปเลยว่า อัตราความเร็วในการเขียนข้อมูลลงการ์ด คือเท่าไหร่ เรามาทำความเข้าใจกันว่า 1xจะเทียบเท่ากับความเร็วของ CD-ROM ที่ 150 KB/sec. ในการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงการ์ดและถ้าอยากรู้ว่า 200x นั้นเร็วเท่าไหร่ ก็คูณตามนี้เลยครับ 200x150KB/s =30,000KB/sec (เป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ เท่านั้น) ผลลัพธ์นี้แปลงเป็นตัวเลขที่เข้าใจง่ายๆ คือ 200x เทียบเท่ากับ การอ่านข้อมูลจากการ์ดที่ขนาดไฟล์ 30MB ต่อ 1 วินาทีที่อธิบายว่าเป็นความเร็วในการอ่าน เพราะทุกยี่ห้อในตลาด ระบุ X speed บนการ์ดเป็นความเร็วในการอ่านข้อมูล แทบทั้งสิ้น

แล้วผู้ซื้อจะรู้ได้อย่างไร ว่ามาตรฐานของการ์ด อยู่ที่ไหน อย่างไรก็คงต้องพึ่ง SD Association ซึ่งเป็นองค์กรกลางกำหนดมาตรฐานของความเร็วที่ขั้นต่ำไว้ ซึ่งก็คือ class rating นั่นเองเป็นขั้นต่ำของความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล ที่ผู้ผลิตเมมโมรี่การ์ดทุกยี่ห้อต้องทำตาม ไม่ว่าจะเป็นการ์ดชนิดไหน SD/SDHC/SDXC ซึ่งจะต้องระบุclass rating ไว้


Class 2 : รับรองความเร็วขั้นต่ำในการเขียนข้อมูลที่ 2MB/s

Class 4: รับรองความเร็วขั้นต่ำในการเขียนข้อมูลที่ 4MB/s

Class 6 : รับรองความเร็วขั้นต่ำในการเขียนข้อมูลที่ 6MB/s

Class 10 : รับรองความเร็วขั้นต่ำในการเขียนข้อมูลที่ 10MB/s

Class rating นี้ มีการอ้างอิงจากผู้ผลิตอุปกรณ์ถ่ายภาพ วิดีโอซึ่งกำหนดขึ้นภายใต้การใช้งานพื้นฐานของอุปกรณ์เหล่านั้นรวมถึงการให้ได้ผลลัพธ์ของถ่ายภาพที่มีความละเอียดสูงสุด หรือถ่ายวิดีโอ ระดับ SD, HD, Full HD, 4K ฯลฯ ดังนั้นความเร็วในการเขียนข้อมูลที่ต่างกัน จึงมีผลโดยตรงต่อภาพหรือผลงานที่ต้องการที่แตกต่างกัน ตารางเปรียบเทียบข้างล่างนี้คงเป็นแนวทางอธิบายการใช้งาน และทำให้เลือกการ์ดที่เหมาะกับการใช้งานได้



ข้อมูลจากเว็บไซด์ SD Association

ผู้เขียนหวังว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการเลือกซื้อการ์ดที่ถูกใจ และเหมาะกับการใช้งานของทุกท่านและขอให้สนุกกับการถ่ายภาพ

Blog : 9irtim

www.ohmygadz.com, www.gadzshop.com

Page : www.facebook.com/ohmygadz

IG : MemoryStore

Tweeter : 9irtim




Create Date : 07 มกราคม 2559
Last Update : 7 มกราคม 2559 3:07:27 น. 0 comments
Counter : 5413 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

สมาชิกหมายเลข 717377
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 717377's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com