Group Blog
 
 
สิงหาคม 2548
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
3 สิงหาคม 2548
 
All Blogs
 
Incoterm 2000

การขนส่งสินค้า

การขนส่งสินค้าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ โดยทั่วเป็นการขนส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปยังอีกปะเทศหนึ่ง การขนส่งสินค้านี้สามารถกระทำได้ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ หัวข้อที่สำคัญ เกี่ยวกับการขนส่งสินค้า มีดังนี้

1 ข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้า (INCOTERM 1990 & 2000)
Incoterm (International Commercial Terms) เป็นข้อกำหนดการส่งมอบสินค้า (International Chamber of
Commerce) Inco Term 1990 เป็นฉบับที่ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1990 ส่วน Inco Term 2000 เป็นฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมในบางส่วนที่เป็นปัญหาอยู่ของ Inco Term 1990 และประกาศใช้ในปี ค.ศ. 2000 เพื่อให้คู่ค้าแต่ละฝ่ายทราบถึงขอบเขตความรับผิดชอบ ภาระหน้าที่ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า และความเสี่ยงต่ออุบัติภัยการขนส่งสินค้าจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ข้อกำหนดอันเป็นสากลนี้ช่วยให้ ผู้ซื้อและผู้ขายที่อยู่ในประเทศที่ต่างกัน มีภาษาและวัฒนธรรมทางการค้าที่ต่างกัน สามารถเข้าใจตรงกันในเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าได้

ข้อกำหนด INCO TERM 1990 ที่สภาหอการค้านานาชาติกำหนดขึ้นมี 13รูปแบบ ส่วนข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงใหม่ตาม Inco Term 2000 ได้ระบุไว้ในหมายเหตุเฉพาะส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง รายละเอียดโดยย่อของข้อกำหนดต่างๆ มี ดังนี้

1.1 EXW (……..name Point within the Place of Seller) ย่อจากคำว่า “Ex Works” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้จัดให้สินค้าพร้อมสำหรับการส่งมอบ ณ สถานที่ขอบผู้ขายเอง โดยผู้ขายมิต้องรับผิดชอบในการขนสินค้าขึ้นยานพาหนะ ไม่ต้องทำพิธีการส่งออก ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขนสินค้าจากสถานที่ของผู้ขายไปยังจุดหมายปลายทาง และเสี่ยงภัยต่าง ๆเป็นของผู้ซื้อ

1.2 FCA(……..name Point within the Place of Shipment) ย่อมาจากคำว่า “Free Carrier” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้กับผู้รับขนส่งที่ระบุโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้รับขนส่งที่เมืองท่าต้นทาง ผู้ขายจะต้องทำพิธีการส่งออก รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและความเสี่ยงภัยระหว่างการขนส่งจากสถานที่ของผู้ขายจนกระทั่งถึงสถานที่ของผู้รับขนส่งฯ ส่วนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขนสินค้าและความเสี่ยงภัยต่าง ๆ จากสถานที่ขนส่งสินค้าที่ประเทศต้นทางไปยังจุดหมายปลายเป็นของผู้ซื้อ

1.3 FAS (……..name Port of Shipment) ย่อจากคำว่า “Free Alongside Ship” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้นำสินค้าไปยังกาบเรือ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ส่วนค่าใช้จ่ายในการนำของขึ้นเรือ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ความเสี่ยงภัยในการนำของขึ้นเรือและระหว่างการขนส่ง เป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่สินค้าถูกส่งมอบไปยังกาบเรือ และผู้ซื้อต้องรับผิดชอบการทำพิธีการส่งออกด้วย

หมายเหตุ: Incoterm 2000 กำหนดให้ผู้ขายเป็นผู้ทำพิธีการส่งออก และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำพิธีการส่งออก รวมทั้งการขอใบอนุญาตส่งออกตลอดจนค่าภาษีอากรส่งออก (ถ้ามี)


1.4 F.O.B. (………name Port of Shipment) ย่อมาจากคำว่า “Free On Board” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบการทำพิธีการส่งออกด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า และค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่ของผ่านกาบระวางเรือไปแล้ว

1.5 CFR (……..name Port of destination) ย่อมาจาก “Cost and Freight” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก และจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่ของผ่านกาบระวางเรือไปแล้ว

1.6 CIF (………name Port of Destination) ย่อมาจากคำว่า “Cost,Insurance and Freight “ เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางเรือและค่าประกันภัยของส่งสินค้า เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อให้แก่ผู้ซื้อด้วย

1.7 CPT (………..name Point within the Place of Destination) ย่อจากคำว่า “Carriage Paid to”

เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้รับขนส่งที่ระบุโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้รับขนส่งสินค้าที่เมืองท่าต้นทาง ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออกและจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆรวมทั้งความเสี่ยงในการขนส่งเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่สินค้าถูกส่งมอบให้แก่ผู้รับขนส่งสินค้าที่เมืองท่าต้นทาง


1.8 CIP (………name Point within the Place of Destination) ย่อมาจาก “Carriage And Insurance Paid To”

เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้รับขนส่งที่ระบุโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้รับขนส่งสินค้าที่เมืองท่าต้นทาง ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า และค่าประกันภัยขนส่งสินค้า เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้า จนถึงมือผู้ซื้อให้แก่ผู้ซื้อด้วย
1.9 DAF (………name Point within the Place of Frontier) ย่อมาจากคำว่า “Delivered At Frontier” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้จัดให้สินค้าพร้อมสำหรับการส่งมอบ และได้ทำพิธีการส่งออก ณ พรมแดนที่ระบุโดยผู้ซื้อ

1.10 DES (..........name Port of Destination) ย่อมาจากคำว่า “ Delivered Ex Ship” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้จัดให้สินค้าพร้อมส่งมอบบนเรือ ณ ท่าเรือปลายทาง ดังนั้นผู้ขายจึงเป็นผู้รับผิดชอบการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ค่าประกันภัยขนส่งสินค้า และเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จนกระทั่งสินค้าพร้อมส่งมอบบนเรือที่เมืองท่าปลายทาง โดยผู้ซื้อจะต้องดำเนินพิธีการนำเข้าสินค้าเอง

1.11 DEQ (………..name Port of Destination) ย่อมาจากคำว่า “Delivered Ex Quay” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายพร้อมส่งมอบสินค้า ณ ท่าเรือปลายทาง ดังนั้นผู้ขายจึงเป็นผู้รับผิดชอบการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ค่าประกันภัยขนส่งสินค้า และเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จนกระทั่งสินค้าพร้อมส่งมอบ ณ ท่าเรือปลายทาง ผู้ขายจะต้องเป็นผู้ดำเนินพิธีการนำเข้าสินค้าให้แก่ผู้ซื้อด้วย เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ซื้อจะระบุให้ผู้ขายเป็นผู้จ่ายภาษีนำเข้าแทนผู้ซื้อด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยการระบุต่อท้ายว่า Duty Paid หรือ Duty Unpaid ส่วนค่าใช้จ่ายในการขนสินค้าจากท่าเรือไปยังสถานที่ของผู้ซื้อเป็นภาระของผู้ซื้อ

หมายเหตุ : Inco Term 2000 กำหนดให้ผู้ซื้อเป็นผู้ทำพิธีการนำเข้าและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำพิธีการนำเข้า รวมทั้งการขอใบอนุญาตนำเข้าตลอดจนค่าภาษีอากรนำเข้า

1.12 DDU (……….name Point within the Place of Destination) ย่อมาจากคำว่า “Delivered Duty Unpaid” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้จัดให้สินค้าพร้อมส่งมอบ ณ สถานที่ปลายทางของผู้ซื้อ ผู้ขายจึงเป็นผู้รับผิดชอบการทำพิธีการส่งออกจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ค่าประกันภัยขนส่งสินค้า และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการนำของลงจากเรือและค่าขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ผู้ซื้อระบุไว้ จนกระทั่งสินค้าพร้อมส่งมอบ ณ สถานที่ปลายทางของผู้ซื้อ ผู้ขายต้องเป็นผู้ดำเนินพิธีการนำเข้าสินค้าให้แก่ผู้ซื้อด้วย แต่ผู้ซื้อต้องจ่ายค่าภาษีนำเข้าเอง

หมายเหตุ หากซื้อขายเทอมนี้ต้องระบุเพิ่มเติมในสัญญาซื้อขายว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดำเนินพิธีการเคลียร์สินค้า (customs clearance) นอกเหนือจากผู้ขายรับผิดชอบการขนส่งจากต้นทางถึงสถานที่ปลายทางของผู้ซื้อ

1.13 DDP (……….name Point within the Place of Destination) ย่อมาจากคำว่า “ Delivered Duty Paid” เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อ ผู้ขายได้จัดให้สินค้าพร้อมส่งมอบ ณ สถานที่ปลายทางของผู้ซื้อ ซึ่งผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ค่าประกันภัยขนส่งสินค้า และเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการนำของลงจากเรือและค่าขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ผู้ซื้อระบุไว้ จนกระทั่งสินค้าพร้อมส่งมอบ ณ สถานที่ปลายทาง ผู้ขายต้องเป็นผู้ดำเนินพิธีการนำเข้าสินค้าให้แก่ผู้ซื้อและเป็นผู้จ่ายค่าภาษีนำเข้าแทนผู้ซื้อด้วย

2. การจัดกลุ่มของ Incoterm จำแนกตามเงื่อนไขการส่งมอบ
Incooterm สามารถจัดกลุ่มจำแนกตามเงื่อนไขการส่งออกออกได้เป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้
Group E Departure ---- EXW (EXWORK)
Group F Main Carriage unpaid ---- FCA (Free Carrier), FAS (Free Along Side), FOB (Free On Board)
Group C Main Carriage paid ---- CFR(Cost&Freight), CIF (Cost Insurance & Freight), CPT(Carriage Paid to), CIP (Carriage & Insurrance Paid to)
Group D Delivery ---- DEF (Delivered at Frontier), DES (Delivered Ex Ship), DEQ (Delivered Ex Quay), DDU (Delivered Duty Unpaid), DDP (Delivered Duty Paid)








Create Date : 03 สิงหาคม 2548
Last Update : 9 มกราคม 2551 16:23:40 น. 8 comments
Counter : 7969 Pageviews.

 
oh...!


โดย: misterdonut IP: 202.5.89.166 วันที่: 22 มิถุนายน 2549 เวลา:8:17:09 น.  

 
CIF และ CFR ให้ความหมายภาษาไทยผิดนะ


โดย: _ใหญ่ IP: 202.183.220.14 วันที่: 4 กันยายน 2549 เวลา:12:39:51 น.  

 
การขนส่งสินค้าภายในประเทศ มีปัญหาในเรื่องของอะไรบ้าง


โดย: '''--''' IP: 61.19.199.147 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2549 เวลา:19:31:33 น.  

 
ถูกต้องไหมเนี่ยความหมายอ่ะช่วยบอกด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ


โดย: มี่ IP: 203.155.229.155 วันที่: 13 กันยายน 2550 เวลา:21:55:14 น.  

 
สุดยอดมากๆครับ


โดย: sun IP: 58.8.251.7 วันที่: 8 มิถุนายน 2551 เวลา:8:38:11 น.  

 
CFR คือ ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตั้งแต่หน้าโรงงานจนถึงท่าเรือไปปลายทาง
CIF คือ ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตั้งแต่หน้าโรงงานจนถึงท่าเรือไปปลายทาง และมีการประกันภัยสินค้าให้ด้วย


โดย: ชาโมมาย IP: 58.97.32.126 วันที่: 11 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:45:36 น.  

 
กำลังจะสั่งนำเข้าเป็นครั้งแรกค่ะ คงต้องขอคำแนะนำมากๆ หน่อย ไม่ว่ากันนะคะ เริ่มเลยนะคะ คือ
- นี่เป็นครั้งแรกที่จะสั่งสินค้านำเข้าน่ะคะ แต่นี้ผู้ขายจะให้โอนเงินแบบ t/t หรือ โอนผ่าน Western Union ไม่ทราบว่า 2 อย่างนี้ อันตรายมากไหมคะ คือ โอกาสที่เราจะโดนโกงมีมากไหมคะ
- ถ้าข้อ 1 ไม่ ok ควรทำวิธีไหนดีที่สุดคะ ของประมาณ 1 ตันค่ะ แนะนำด้วยค่ะ
ควร


โดย: จิรญา IP: 192.168.50.172, 58.11.75.158 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:14:03:07 น.  

 
กำลังนำเข้าเรือที่ใช้สำหรับการฝึกอบรมค่ะ ขอคำแนะนำนะคะ คือ
1. เรือนี้ใช้สำหรับการฝึกอบรม มีข้อยกเว้นบ้างหรือเปล่าค่ะ บริษัทฯ จดทะเบียนเป็น Training Provider
2. ถ้าไม่มีข้อยกเว้นภาษีนำเข้า ต้องเสียภาษีอากรเท่าไร พิกัดอะไร
3. เสียภาษีสรรพาสามิตหรือไม่ค่ อัตราเท่าไร
4. ค่าระวางเรือ + ค่าประกัน นั้น นำมารวามเป็นค่าภาษีได้หรือไม่


โดย: Siriporn IP: 124.120.148.29 วันที่: 14 ธันวาคม 2554 เวลา:9:33:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Lilac
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนค่ะ ทำงานด้านต่างประเทศ

รับเป็นที่ปรึกษาการนำเข้า เพื่อต้องการให้ผุ้นำเข้ามือใหม่มีความรู้และความเข้าใจการค้าระว่างประเทศ โดยไม่เสียเปรียบผู้ขาย
Free Counter
Friends' blogs
[Add Lilac's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.