หลักพุทธจริยศาสตร์เถรวาท


โดยทั่วไป จริยศาสตร์ตะวันตก (WesternEthics) จะมีเนื้อหาที่อธิบายถึงหลัก หรือ แนวทาง หรือ ข้อเสนอแนะในการตัดสินการกระทำ หรือ พฤติกรรม ว่า ถูก/ผิด ดี/ชั่ว ขาว/ดำ ยอมรับได้หรือไม่เป็นภัยหรือไม่ มีทุกข์มีโทษหรือไม่ มีสุขมีสันติ่สงบหรือไม่ ทั้งต่อส่วนบุคคลหรือส่วนรวมและมักจะเป็นข้อพิพาทถกเถียงที่มีผลประโยชน์ทางใดทางหนึ่งมาเกี่ยวข้องต่อบุคคลหรือองค์กรอย่างน้อย๒ ฝ่ายขึ้นไป ที่ไม่สามารถที่จะยุติได้โดยง่าย

เป้าประสงค์หรือความคาดหวังหรือจุดสิ้นสุดของจริยศาสตร์ตะวันตกก็อยู่ที่ เจรจาไกร่เกรีย ปรานึปรานอม รอมชอม ประสานประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุดและอีกด้านหนึ่งก็ต้องการหลีกเลี่ยงการประทะ ทำลายร้างเบียดเบียน กันและกันให้ได้มากที่สุด เพราะในกรณีหลังนี้ จะนำมาแต่ความสูญเสียมากน้อย ทั้งในชีวิตทรัพย์สิน และ/หรือ ทรัพยากรอื่น ๆ

หลายครั้งในการเจรจาต่อลองมักจำเป็นต้องมีคนกลางและแต่งตั้งผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ขึ้นมาประกอบด้วย จนกว่ากระบวนการชำระความจะยุติลงเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายให้ได้มากที่สุด และสามารถยุติความขัดแย้งลง

โดยสรุป จริยศาสตร์ ([Western]Ethics) ก็คือ จรรยะปรัชญา (Moral Philosophy)หรือ หากจะจำแนกให้กว้างกว่านั้น จริยศาสตร์ ในความหมายทั่วไป ก็คือ จรรยะปรัชญา

พระพุทธศาสนาเถรวาทมีคำสั่งสอนว่าด้วย "จริยศาสตร์" หรือไม่

ในฝ่ายพระวินัย ก็มีหลักตัดสินพระธรรมวินัยที่เรียกว่า“มหาปเทส ๔ ฝ่ายพระวินัย” และในฝ่ายพระสูตรก็มี “มหาปเทส ๔ ฝ่ายพระสูตร”สำหรับที่เป็นบาลีพุทธพจน์ ส่วนที่เป็นบาลีพระอภิธรรมปิฎก จะขอยกมาดังนี้

a.พระธัมมะสังคณี: ธรรมที่เป็นกุศล ๑ ธรรมที่เป็นอกุศล ๑ ธรรมที่พยากรณ์ว่า กุศลหรือ อกุศลไม่ได้ ๑ ฯลฯ

b. พระมหาปัฏฐาน: เหตุปัจจะโย ๑ .. อัตถิปัจจะโย ๑ นัตถิปัจจะโย ๑ ฯลฯ

หากพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่กันเป็นหมู่เป็นคณะจะพร้อมเพรียงกันตัดสินความประพฤติของสมาชิกรูปใดรูปหนึ่งว่า ต้องหรือไม่ตามสิกขาบทในพระวินัยสงฆ์นอกจากจะใช้หลักการจากอธิกรณ์สมถะเป็นพื้นฐานแล้วพระสงฆ์ยังสามารถยึดถือหลักการใหญ่ที่ครอบคลุมสิกขาบท ที่มาในพระวินัยบัญญัติอย่างกว้างๆ ได้จาก “มหาปเทส ๔ ฝ่ายพระวินัย”

ส่วนในฝ่ายพระสูตรที่พระโบราณาจารย์ต่างก็ได้ร่ำเรียนทรงจำพระสูตรต่างๆ มาร้อยเรียงกันเอาไว้ในพระสูตรเถรวาท ที่มีนิกายทั้ง ๕ ไว้อย่างมีแบบแผนเรียบร้อยที่เรียกว่า“มุขปาฐะ” นั้น เมื่อถึงคราวที่มีประเด็นถกเถียงกันในหมู่นักเลงพหูสูตว่า ไหนใช่ธรรม ไหนไม่ใช่ธรรม ก็สามารถอ้างอิงเอาหลักกว้าง ๆ นี้มาเป็นเครื่องมือในการระงับข้อถกเถียงนั้นลง ด้วย “มหาปเทส ๔ ฝ่ายพระสูตร”

สำหรับพระอภิธรรมอาจสามารถอนุโลมใช้หลัก “มหาปเทส๔ ฝ่ายพระสูตร” ได้ก็ตาม ซึ่งเป็นการในหลักการตัดสินพุทธพจน์ ด้วยหลักพุทธจน์ที่ทรงบัญญัติไว้ด้วยพระองค์เอง เพื่อตัดสินคำสอนของพระเอง ซึ่งทรงบัญญัติหลักการในลักษณะเดียวกันนี้ในพระวินัย เหตุเพราะมีประเด็นถกเถียงกันในหมู่ปราชญ์ด้านพระไตรปิฎกว่าจะเป็นพุทธดำรัสหรือสาวกบัญญัติในครั้งพุทธกาลได้หรือไม่ หรือแม้พระอภิธรรมจะเป็นสาวกบัญญัติในครั้งพุทธกาลหรือหลังจากนั้นก็ดี และเมื่อเทียบเคียงกันดูจะพบว่าเนื้อความในพระอภิธรรมปิฎก พระอภิธรรมจะว่าด้วยสภาวธรรมและไม่ว่า จะเป็นพุทธดำรัสหรือสาวกบัญญัติทั้งพุทธกาลหรือหลังจากนั้นก็ถูกรับรองจาก “มหาปเทส ๔ ฝ่ายพระสูตร” ว่า เป็นหลักคำสอนในพุทธศาสนาทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ยังมีวิธีการวิเคราะห์ว่าคำสั่งสอนใดเป็นคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา คือ ทั้งของพระพุทธเจ้า และ/หรือ พระสาวกหรือไม่ อีกสามแห่ง ได้แก่

๑. หลักตัดสินพระธรรมวินัย ๗ที่ทรงแสดงไว้กับพระอุบาลี

๒. หลักตัดสินพระธรรมวินัย ๘ที่ตรัสไว้กับพระนางปชาบดีเถรี

๓. สัปปุริสวิตก ๘ ที่ทรงรับรองและประทานในกับพระอนุรุทธะ

ซึ่งเมื่อศึกษาหลักวิเคราะห์ฯ ๓ ประการนี้ ดูแล้วนอกจากจะตอบคำถามว่า พระพุทธศาสนามีหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้เองถึง พุทธจริยศาสตร์แล้วพุทธจริยศาสตร์เถรวาทยังมีมาตรฐานหรือมาตรการที่อยู่เหนือโลกวิสัยทั้งหลายทางจริยธรรมอย่างสิ้นเชิงกล่าวได้ว่า หลักจริยธรรมแนวพุทธเถรวาท เป็นจริยธรรมโลกุตตรเพื่อการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด (วิวัฏฏคามี) นั่นเอง

โดยหลักฐานทั้ง ๓ ประการสุดท้ายข้างต้นยังอาจมีข้อโต้แย้งว่า ทรงแสดงเฉพาะกับพระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์เท่านั้น ในประเด็นนี้คำไขก็คือโดยนัยอย่างสูง “ภิกษุ” นี้ ทรงมุ่งหมายถึง “ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร” ซึ่งรวมทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต

จริยธรรม/ศีลสิกขาในฐานะองค์ประกอบหนึ่งแห่งอริยมรรค

หากจะกล่าวให้ตรงประเด็น แม้ว่าหลักคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนามีหลักแห่งพฤติกรรมดี (สัมมัตตะ) ชั่ว (มิจฉัตตะ)และพระพุทธศาสนา โดยพระพุทธเจ้าทรงวางระบบคำสั่งสอนไว้อย่างดีแล้ว (สะวากขาโตภะคะวะตา ธัมโม) เฉพาะในแบบแผนของพระศาสนานี้เอง ได้แก่การวิมุติหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด จากวัฏฏะสงสาร [วัฏฏะ ๓ ได้แก่ กิเลสวัฏฏ์ ๑ กรรมวัฏฏ์ ๑ วิปากวัฏฏ์ ๑] เมื่อจะเจาะให้ตรงลงไปลึกกว่านั้น ก็คือ พุทธจริยศาสตร์เถรวาท มุ่งเอา“อาสวักขะยะญาณ” เป็นที่สุด โดยผ่านทางการฟัง การไตร่ตรอง และการเจริญสมาธิภาวนาเฉพาะการบำเพ็ญเพียรทางจิตนี้ มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น และมีศีลสิกขาเป็นองค์ประกอบ (อาชีวัฏฐมกศีล)ก็ดี มีศีลลิกขาเป็นบาท (ธัมมะขันธ์ ๕ และไตรสิกขา) เพราะเหตุว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหนึ่ง ที่ไม่ย่อมรับการแยกส่วนของบุคคลจากสังคมหรือหมู่คณะ

ภาคผนวก

ก. มหาปเทส ๔ ฝ่ายพระวินัย

๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร

๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควรแต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร

๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควรแต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร

๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควรแต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร

ข. มหาปเทส ๔ฝ่ายพระสูตร

๑. พุทธาปเทส ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง

๒. สังฆาปเทสยกเอาคณะสงฆ์ขึ้นอ้าง

๓. สัมพหุลัตเถราปเทส ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง

๔. เอกัตเถราปเทสยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง

“เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะ (ทั้งข้อความและถ้อยคำ)เหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตรเทียบดูในวินัย

ก. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่านี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้นพระเถระรูปนั้น) ถือไว้ผิด พึงทิ้งเสีย

ข. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่านี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่แท้ ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้นพระเถระรูปนั้น) รับมาด้วยดี”

ค. หลักตัดสินพระธรรมวินัย ๗ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ

๑. เอกันตนิพพิทา ความหน่ายสิ้นเชิง, ไม่หลงใหลเคลิบเคลิ้ม

๒. วิราคะ ความคลายกำหนัด, ไม่ยึดติดรัดตัว เป็นอิสระ

๓. นิโรธ ความดับ, หมดกิเลสหมดทุกข์

๔. อุปสมะ ความสงบ

๕. อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้ชัด

๖. สัมโพธะ ความตรัสรู้

๗. นิพพาน นิพพาน

ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ คือคำสอนของพระศาสดา; หมวดนี้ตรัสแก่พระอุบาลี

 

ง. หลักตัดสินพระธรรมวินัย ๘ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ

๑. วิราคะ คือความคลายกำหนัด, ความไม่ติดพัน เป็นอิสระ มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจหรือเสริมความติดใคร่

๒. วิสังโยค คือความหมดเครื่องผูกรัด, ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์

๓. อปจยะ คือความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส

๔. อัปปิจฉตา คือความอยากอันน้อย, ความมัก มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่,ความมักใหญ่ หรือมักมากอยากใหญ่

๕. สันตุฏฐี คือความสันโดษ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ

๖. ปวิเวก คือความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่

๗. วิริยารัมภะ คือการประกอบความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน

๘. สุภรตา คือความเลี้ยงง่าย มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก

ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ คือคำสอนของพระศาสดา; หมวดนี้ตรัสแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี




Create Date : 13 กันยายน 2560
Last Update : 13 กันยายน 2560 11:44:42 น.
Counter : 2669 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
กันยายน 2560

 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
All Blog