space
space
space
 
สิงหาคม 2566
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
18 สิงหาคม 2566
space
space
space

เข่าบวม ปวด ตึง รีบหาสาเหตุก่อนสายเกินแก้

เข่าบวม ปวด ตึง รีบหาสาเหตุก่อนสายเกินแก้

 

หัวเข่าบวม เป็นโรคอะไร การรักษาเบื้องต้น

อาการบาดเจ็บจากการทำกิจวัตรประจำวันไม่ว่าจะเป็นการเร่งรีบไปทำงาน การออกกำลังกายด้วยความไม่ระมัดระวัง หรือประสบอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง ล้วนแล้วแต่ทำให้ร่างกายมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะบริเวณข้อเข่าที่มีโอกาสบาดเจ็บได้บ่อย เมื่อมีอาการเข่าบวม ปวด เจ็บ ตึงข้อเข่า ไม่สามารถงอหรือใช้งานเข่าได้อย่างอิสระ อาจอนุมานได้ว่ามาจากโรคข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม เข่าบวมน้ำ หรือข้อเข่าบวม  ด้วยความผิดปกติของน้ำหล่อเลี้ยงภายในข้อเข่าที่ถ้าหากปล่อยไว้ไม่รักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เป็นอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ปวดอักเสบ จนอาจลุกลามไปถึงการไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ


เข่าบวมน้ำเกิดจาก 

สาเหตุของการเกิดภาวะเข่าบวมน้ำเกิดจากการอักเสบของโครงสร้างภายในข้อเข่า ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอุบัติเหตุ รถล้ม หกล้มจนมีการฉีกขาดภายในจนอักเสบ หรือเป็นผลกระทบจากโรคเกาท์ โรคซูโดเกาท์ โรครูมาตอยด์ โรคพุ่มพวง ทำให้โครงสร้างในข้อเข่าอักเสบ หรือในวัยชราภาพการเสื่อมของร่างกายก็สามารถทำให้เยื่อหุ้มข้อที่ปกติจะสร้างน้ำในข้อเข่าเพื่อลดแรงกระแทกในการใช้ชีวิตประจำวัน เกิดถูกกระตุ้นจนสร้างน้ำข้อเข่ามากเกินความจำเป็นสะสมภายในข้อเข่า นำไปสู่ภาวะเข่าบวมได้ 


อาการข้อเข่าบวมน้ำ 

เมื่อประสบภาวะเข่าบวมน้ำจะมีอาการปวดเข่า เดินไม่สะดวก มีเสียงดังภายในเข่า หากปล่อยไว้นานขึ้นอาการหัวเข่าบวมจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากภายในข้อเข่าจะมีการดันน้ำออกมาทำให้ดูบวม มีอาการตึง ไม่สามารถงอ ยืดเหยียดที่หัวเข่าได้  ในบางกรณีอาจมีอาการบวม และขึ้นสีแดงบริเวณที่เป็นเข่าบวม  ผู้ป่วยที่มีภาวะเข่าบวมเป็นระยะหนัก อาจมีอาการปวดข้อเข่าจนนอนไม่ได้ เป็นไข้ ไม่สามารถลุกได้เอง ต้องใช้อุปกรณ์ หรือให้คนช่วยพยุงลุกขึ้น 


อาการข้อเข่าบวมน้ำในผู้สูงวัย 

ภาวะเข่าบวมน้ําในผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกาย อวัยวะ โครงสร้างกระดูกต่าง ๆ ก็มีการเสื่อมสภาพลงไป ดังนั้นผู้สูงอายุจึงสามารถพบภาวะเข่าบวม เข่าอักเสบ และโรคข้อเข่าเสื่อมได้บ่อยกว่าคนในวัยอื่น ถ้าหากมีอาการปวดเข่าทั่วไป หัวเข่าบวม ประคบร้อน - เย็น หรือทายานวดก็สามารถบรรเทาได้ แต่ถ้าหากผู้สูงวัยมีอาการเข่าบวมน้ำ จนไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง รวมถึงมีไข้ร่วมด้วยควรรีบทำการปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของเพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ให้เกิดอาการติดเชื้อ และลุกลามไปมากกว่าเดิม


ข้อเข่าบวมที่ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที 

ข้อเข่าบวมเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยถ้าหากไม่รุนแรงมาก เข่าบวมนิดหน่อย สามารถเดินเองได้สามารถทำการประคบเย็น ยกขาสูง พันผ้าเอาไว้จนกว่าอาการจะดีขึ้นได้ แต่สำหรับอาการข้อเข่าบวมที่มีความรุนแรง จำต้องพบแพทย์ทันที มีดังนี้ 

  • เกิดการหกล้มรุนแรงจากอุบัติเหตุ เช่น ตกที่สูง รถล้ม หรือการเล่นกีฬาหนัก ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยตรวจสอบกระดูกว่ามีการหัก เอ็นมีการฉีกขาด หรือเอ็นอักเสบหรือไม่

  • เข่าบวมใหญ่ผิดปกติ เข่าบวมเป็นสีแดง มีอาการปวดเรื้อรัง

  • ปวดข้อเข่าจนไม่สามารถงอ ยืด เหยียด หรือนั่งยอง ๆ ได้

  • ปวดเข่าและมีไข้ร่วมด้วย

  • รกกษาด้วยตัวเองเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น 


เข่าบวมน้ำ รักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง 

เมื่อมีอาการหัวเข่าบวม ปวดเข่า แพทย์จะทำการตรวจร่างกายให้ทราบต้นตอของการปวด อาจมีการทำ MRI เพื่อให้ระบุปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น การรักษาของแพทย์จะเป็นไปตามสาเหตุของอาการ เช่น เกิดอุบัติเหตุ ก็จะต้องดูโครงสร้างอย่างละเอียดเพื่อรักษาให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติ หากเกิดจากการเสื่อมของกระดูกข้อเข่า ก็จะต้องมีการทำกายภาพร่วมกับการรักษา มีการปรับพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวันร่วมด้วย และในกรณีที่เข่าบวมน้ำอันเป็นผลกระทบมาจากโรคบางชนิด จะมีการส่งผู้ป่วยไปรักษาโรคนั้น ๆ รวมถึงมีการรักษากับแผนกที่ดูแลโรคข้อเข่าโดยเฉพาะเพื่อทำการรักษาอย่างตรงจุด เพื่อเกิดผลดีที่สุดกับคนไข้ 

1. การรักษาด้วยเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และกายภาพบำบัด

เข่าบวมน้ำที่เป็นความผิดปกติภายในข้อเข่าจนสร้างน้ำมากผิดปกติจนเกิดหัวเข่าบวม นอกจากการรักษาโรคข้อเข่าโดยเฉพาะแล้ว ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างสมดุลภายในอวัยวะร่างกาย รวมถึงมีการรักษาด้วยกายภาพบำบัดที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกายให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ปวดข้อเข่ามากขึ้น 

2. การรักษาด้วยการใช้ยาทา และยาสำหรับรับประทาน

ในปัจจุบันมียาสำหรับทา และยาสำหรับรับประทานเพื่อช่วยลดอาการปวดเข่าจากภาวะเข่าบวมน้ำ บรรเทาอาการปวด ตึง อักเสบของข้อเข่าให้ดีขึ้นได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่าขั้นต้น หรือต้องการลดปวดชั่วคราว แต่ทั้งนี้ทั้งยาทา ยากิน ไม่สามารถรักษาเข่าบวมน้ำได้อย่างตรงจุด ได้เพียงบรรเทาปวดเท่านั้น และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมกับแพทย์เท่านั้น 

3. การรักษาด้วยการใช้ยาฉีด

ผู้ป่วยที่มีอาการเข่าบวมน้ำ ปวดเรื้อรัง ในการรักษาด้วยการฉีดยากรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic acid) และ คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่า และหัวเข่าบวม แพทย์จะมีการนัดหมายรักษาด้วยการฉีดยาเป็นประจำต่อเนื่อง เพราะฤทธิ์ของยาฉีดจะอยู่ได้ชั่วคราว เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเข่าบวมน้ำรุนแรง ปวดตัวหัวเข่ามากจนไม่สามารถขยับร่างกายได้เลย 

4. การผ่าตัดข้อเข่า

ทางเลือกสุดท้ายที่แพทย์ใช้เมื่อการรักษาเข่าบวมด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นคือการผ่าตัดข้อเข่าด้วย 2 แบบดังนี้

  1. การผ่าตัดผ่านกล้อง (Arthroscopic Surgery) เป็นการผ่าตัดผ่าตัดด้วยอุปกรณ์กล้องขนาดเล็กที่จะช่วยฉายอวัยวะภายในข้อเข่า ทำให้แพทย์สามารถเห็นโครงสร้างข้อเข่าได้ชัดเจน ลดโอกาสติดเชื้อ และการเลือดคั่งในข้อเข่าได้ 

  2. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee Replacement) เป็นการนำวัสดุที่ปลอดภัยต่อร่างกาย มีอายุการใช้งานยาวนานมาผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนทดแทนข้อเข่าเดิมที่มีการเสื่อมสภาพลงไป สามารถทำได้ทั้งการเปลี่ยนข้อเทียมเฉพาะฝั่ง และการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมดได้ พิจารณาจากความรุนแรงของภาวะเข่าบวมของผู้ป่วยว่าควรทำแบบใด 


แนวทางการป้องกันอาการเข่าบวมน้ำที่ได้ผลดี 

ป้องกันการเข่าบวม

แนวทางการป้องกันเข่าบวม ลดการเกิดของภาวะเข่าบวมน้ำ บำรุงรักษาให้ข้อเข่ามีสภาพดีสามารถใช้งานได้นานขึ้น ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการยกของหนักที่จะทำให้หัวเข่าต้องรับแรงกดทับเยอะ

  • เมื่อต้องยืนเป็นเวลานาน ควรหาที่นั่งพักเพื่อลดภาระของข้อเข่า

  • เลี่ยงกีฬาที่ใช้ร่างกายปะทะ เช่น รักบี้ บาสเกตบอล เป็นต้น ควรออกกำลังกายด้วยความระมัดระวัง และมีอุปกรณ์ป้องกัน

  • ทานอาหารบำรุงข้อเข่า ทานอาหารครบ 5 หมู่

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ ลดการรับน้ำหนักของข้อเข่า ช่วยลดภาวะเข่าอักเสบ เข่าบวมได้


เข่าบวมน้ำกี่วันถึงจะหาย ?

การรักษาเข่าบวมน้ำมีระยะเวลาการหายกลับมาเป็นปกติขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา การใช้ยาสำหรับรับประทาน ยาทา ยาฉีด หรือการทำกายภาพบำบัด สามารถบรรเทาอาการได้ จนกว่าจะดีขึ้น แต่สำหรับการผ่าตัดข้อเข่าแล้ว หลังจากผ่าข้อเข่า 6 สัปดาห์ จะเริ่มเดินได้โดยไม่ใช้ไม้เท้า สามารถงอ เหยียดข้อเข่าได้ และภายในเวลา 2 - 6 เดือนก็จะสามารถใช้เข่าได้อย่างปกติ ทั้งนี้ความเร็วของการรักษาขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยเข่าบวมเองด้วย การหมั่นทำกายภาพบำบัด การทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงการปรับปรุงพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้แข็งแรง จะช่วยยืดอายุโครงสร้าง อวัยวะในร่างกายได้เป็นอย่างดี 


สรุป

อุบัติเหตุ และการเสื่อมของร่างกายเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตร่างกายตัวเอง เมื่อเกิดอาการเข่าบวม นอกจากการรักษาเบื้องต้นเช่นพักผ่อน ทานยา ทายา ประคบหัวเข่าที่สามารถทำได้เองแล้ว การปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาก็เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อให้ข้อเข่าแข็งแรง ใช้งานได้นาน 




 

Create Date : 18 สิงหาคม 2566
0 comments
Last Update : 10 พฤษภาคม 2567 23:29:44 น.
Counter : 353 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

BlogGang Popular Award#20


 
สมาชิกหมายเลข 7660567
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7660567's blog to your web]
space
space
space
space
space