Group Blog
 
 
มิถุนายน 2550
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
27 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 

ประวัติความเป็นมาของการแพทย์แผนโบราณ (สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
- ทรงพระปฏิสังขรวัดโพธิ์ ขึ้นเป็นอารามหลวง ให้ชื่อว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” และทรงรวบรวม จารึกตำรายา หล่อรูปปั้นดินเผาฤๅษีดัดตน ตำราการนวด ไว้ตามศาลารายรอบอุโบสถ
- มีการจัดตั้งกรมหมอ โรงพระโอสถคล้ายในสมัยอยุธยา มีแพทย์ที่มารับราชการเรียก “หมอหลวง” และหมอทั่วไปเรียก “หมอราษฎร์ (หมอเชลยศักดิ์)” หมอหลวงได้รับสิทธิพิเศษคือสามารถเก็บสมุนไพรตามที่ต่างๆ ได้โดยมีกระบองแดงเป็นสัญญาลักษณ์

รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
- ปี พ.ศ. ๒๓๕๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่า “กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย”

รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ จัดตั้งวิทยาลัยแพทย์แผนโบราณครั้งแรก คือ “วิทยาลัยแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์”
- รวบรวมจารึกตำราไว้บนหินอ่อนตามผนังพระอุโบสถ ศาลาราย เสา กำแพง วิหารคด รอบพระเจดีย์และตามศาลาต่าง ๆ
- ปลูกสมุนไพรหายากไว้ และทรงให้ปั้นรูปฤๅษีดัดตน เพิ่มต่อจาก ร.๑ จนครบ ๘๐ ท่า (ฤๅษีเนื้อชิน = ดีบุก + สังกะสี)
- การแพทย์แผนตะวันตกโดย นพ. แดน บีช บรัดเลย์ หรือ หมอบรัดเลย์ (ชาวอเมริกัน) (การปลูกฝี-ใช้ยาควินินรักษามาลาเรีย)


รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- มีการสร้างรูปกำหนดจุดนวด ไว้ที่ วัดกลาง จ.สงขลา
- สมัยนี้การแพทย์แบบตะวันตก ไม่เป็นที่นิยม

รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ปี พ.ศ.๒๔๓๑ ทรงจัดตั้ง “ศิริราชพยาบาล” มีการสอนแผนโบราณ+แผนตะวันตกรวมกัน หลักสูตร 3 ปี การสอนขัดแย้งกันมาก (ถูกยกเลิกในสมัย ร.๖ ปี พ.ศ.๒๔๕๖ รวม ๒๕ ปี)
- ปี พ.. ๒๔๓๘ พิมพ์ตำราแพทย์ครั้งแรก “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ๑-๒-๓-๔” เป็น ตำราแห่งชาติฉบับแรก (แต่ยากแก่ผู้ศึกษา)
- พระยาพิษณุประสาทเวช จัดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ (และยังใช้อยู่ถึงปัจจุบัน)
• ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง ( ๒ เล่ม)
• ตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป (เวชศึกษา) ( ๓ เล่ม)
- กรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ หรือ หมอพร ทรงเป็น “บิดาแห่งการแพทย์แผนไทย”
- จัดตั้งกรมหมอนวด ศักดิ์เท่า กรมหมอยา และจัดทำ “ตำราแผนการนวดฉบับหลวง”

รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ปี พ.ศ.๒๔๕๖ มีการยกเลิกวิชาการแพทย์แผนโบราณ (ถือว่าแพทย์แผนไทย ตกต่ำมากที่สุด)
- ปี พ.ศ.๒๔๖๖ ประกาศใช้ พ.ร.บ.การแพทย์ ใช้ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เพื่อป้องกันอันตรายจากผู้รักษาที่ไม่มีความรู้
- หมอพื้นบ้านกลัวถูกจับ เลิกอาชีพ และเผาตำราทิ้ง

รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ตรากฎหมายเสนาบดี การประกอบโรคศิลปะแบ่งออกเป็น แผนปัจจุบัน แผนโบราณ
• แผนปัจจุบัน ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยความรู้จากตำราอันเป็นหลักวิชาโดยสากลนิยม ซึ่งดำเนิน/จำเริญขึ้นโดยอาศัยการศึกษา ตรวจค้น ทดลอง ของผู้รู้ทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
• แผนโบราณ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความสังเกต ความชำนาญ อันได้สืบต่อกันมาเป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตำราอันมีมาแต่โบราณมิได้ดำเนินไปในทางวิทยาศาสตร์

รัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
- ปี พ.ศ.๒๔๗๙ ประกาศใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ

รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- ปี พ.ศ.๒๕๐๐ จัดตั้งสมาคมของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณที่วัดโพธิ์
- ปี พ.ศ.๒๕๒๕ ตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์)
- ปี พ.ศ.๒๕๓๐ แก้กฎหมายให้มี การแพทย์แผนโบราณทั่วไป และ การแพทย์แผนโบราณประยุกต์
- ปี พ.ศ.๒๕๔๒ ประกาศใช้ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ 2542




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2550
0 comments
Last Update : 27 มิถุนายน 2550 0:32:13 น.
Counter : 2782 Pageviews.


I am Keng
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




I am Keng
Http://IamKeng.BlogGang.com
Friends' blogs
[Add I am Keng's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.