ให้กำลังใจ ข้อคิดจากมอเตอร์ไฟฟ้า

        เครื่องจักรกลไฟฟ้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ มอเตอร์(Motor) เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือ ไดนาโม(Generator or Dynamo) และหม้อแปลงไฟฟ้า(Transformers)  แต่เราจะไม่พูดถึงหม้อแปลงเพราะหม้อแปลงเป็น Static Machine หรือเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่อยู่นิ่ง


หลายๆคนคงจะรู้จักกับมอเตอร์กันนะครับ  ตัวเล็กบ้างตัวใหญ่บ้าง  ที่หมุนๆ  ถ้าเป็นเด็กก็ใส่ในรถบังคับ  ทำให้ล้อหมุนได้  ในเครื่องบินบังคับก็ใช้เป็นตัวขับใบพัด  ถ้าเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็ใช้เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น  ไดนาโมในรถยนต์ ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าให้เราสามารถใช้ไฟฟ้าในรถได้ซึ่ง 


เครื่องจักรกลไฟฟ้ามีหลักการง่ายๆแต่สำคัญคือ


1.เมื่อตัวนำเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กทำให้เกิดแรงดันเหนนี่ยวนำ


2.เมื่อผ่านกระแสเข้าไปยังตัวนำที่วางอยู่ในสนามแม่เหล็กทำให้เกิดแรงทางกลขึ้นบนตัวนำ


จากหลักการทั้งสอง


กรณีผ่านกระแสเข้าไปยังตัวนำซึ่งวางในสนามแม่เหล็ก เครื่องจักรกลไฟฟ้าจะทำงานในกริยาเป็นมอเตอร์


กรณีของการเกิดแรงคลื่อนเหนี่ยวนำจากการเคลื่อนที่ของตัวนำในสนามแม่เหล็ก เครื่องจักรกลไฟฟ้าจะทำงานในกริยาเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า


 


สรุปให้เข้าใจง่ายๆอีกทีคือ


ถ้าให้กระแสแก่มอเตอร์ ก็จะเกิดแรงทางกลออกมา  และถ้าให้แรงทางกลแก่มอเตอร์มอเตอร์ก็จะเห็นพลังงานไฟฟ้าออกมา


 

 















 

 พลังงานไฟฟ้า


(แรงดันและกระแส)



 เครื่องกำเนิดไฟฟ้า



  เครื่องจักรกลไฟฟ้า



Smiley 


กำลังการไหล


Smiley


 

 พลังงานกล


(แรงบิดและความเร็ว)


 

 มอเตอร์



 
















 ระบบไฟฟ้า



Smiley 


การเชื่อมโยงทางสนามแม่เหล็ก


Smiley



 ระบบทางกล




มอเตอร์เป็นที่แพร่หลายมากทั้งในชีวิตประจำวันและทางอุตสาหกรรม


แต่ใครเลยจะรู้ว่ากว่ามันจะหมุนได้มันต้องเจอกับอะไรบ้าง


การสูญเสียในเครื่องจักรกลไฟฟ้า


1.การสูญเสียเนื่องจากขดลวดทองแดง(Copper losses) 


1.1 การสูญเสียที่ขดลวดอาร์เมเจอร์ Pa=Ia2Ra


1.2 การสูญเสียที่ขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก PF=I2FRF


2.การสูญเสียที่แกนเหล็ก(Core losses)


   การสูญเสียที่แกนเหล็กเนื่องจากฮีสเตอรีซีส  และกระแสไหลวน  Pcore=Pe+Ph


3.การสูญเสียที่แปลงถ่าน(Brush losses)


เกิดจากแรงดันตกคร่อมแปลงถ่าน  Pbd=VbdIa


4.การสูญเสียทางกล (Machanical losses)


4.1การสูญเสียเนื่องจากแรงเสียดทาน 


4.2การสูญเสียที่เกิดจากลูกปืน(Bearing)ในเครื่องจักรกล


4.3การสูญเสียเนื่องจากลมต้าน  จากแรงเสียดทานระหว่างส่วนเคลื่อนที่(moving part)ของเครื่องจักรกล กับอากาศด้านในของโครงมอเตอร์


4.4การสูญเสียเนื่องจากความไม่สม่ำเสมอของสนามแม่เหล็กและความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้า(Stray load losses)


ผลจากกระแสในตัวอาร์เมเจอร์ จะทำให้ค่าความหนาแน่นของสนามแม่เหล็ก  เพิ่มขึ้นที่ปลายด้านหนึ่งของของขั้วแม่เหล็กและลดลงที่ปลายอีกด้านหนึ่ง  ทำให้ความหนาแน่นในตัวโรเตอร์ไม่สม่ำเสมอ


จากกำลังในอุดมคติที่ Pin=Pout  การสูญเสียที่มานี้จะเป็นตัวที่ทำให้กำลังลดลง


ไม่น่าเชื่อเลยว่าปัญหาเยอะขนาดนี้มอเตอร์ยังหมุนได้อยู่


  มอเตอร์มีปัญหามากมาย ยังไม่นับรวมถึงปัญหาของ สนามแม่เหล็กสะท้อนจากอาร์เมเจอร์ ปัญหาเนื่องจาก L di/dt และปัญหาอื่นๆแต่มันก็ยังทำงานได้  หมุนต่อไป  ทำหน้าที่ของมันไป  ไม่เหมือนกับคนเราบางคนเจอปัญหาแค่อย่างเดียวก็คิดสั้น  ทางออกที่ดีคือการที่ลืมปัญหาไป หรืออย่าคิดว่ามันคือปัญหา  จะทำให้เรามีสมาธิแล้วปัญญาก็จะเกิด  แล้วก็ค่อยๆแก้ปัญหาไป






Free TextEditor



Create Date : 08 ตุลาคม 2552
Last Update : 8 ตุลาคม 2552 12:09:52 น.
Counter : 689 Pageviews.

1 comments
  
อยากให้มีข้อมูลมากกว่านี้.... พอที่จะหารายละเอียดได้มากว่านี้ได้ไหม ครับ
โดย: วา IP: 58.137.187.235, 58.137.187.50 วันที่: 9 ธันวาคม 2552 เวลา:9:33:39 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

I'm Power
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2552

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31