space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
space
space
13 กุมภาพันธ์ 2559
space
space
space

คนไทยเกษียณแล้วจน ปฏิรูประบบบำนาญ

คนไทยเกษียณแล้วจน ปฏิรูประบบบำนาญ

สังคมผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังตระหนัก ปฏิรูประบบบำนาญอย่างจริงจัง ส่งเสริมการออมอย่างเป็นรูปธรรม


สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) กลายเป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังตระหนัก ด้วยจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่คนวัยหนุ่มสาวมีจำนวนน้อยลง จากอัตราการเกิดที่ลดลง เพราะคนโสดเพิ่มขึ้น โดยโครงสร้างประชากรที่ไม่สมดุลเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมตัวรับมือวัยเกษียณ ด้วยการออมเพื่อให้มีเงินเพียงพอต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณ

คนไทยออมไม่พอ หลังเกษียณเป็นคนแก่ยากจน

“อีก 35 ปีข้างหน้า สัดส่วนของคนวัยชราที่จะต้องพึ่งพิงคนวัยหนุ่มสาว ของประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 53% จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 15% และจำนวนผู้สูงอายุจะมากกว่าประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุเยอะๆ ในตอนนี้เสียอีก ดังนั้นต้องปฏิรูประบบบำนาญ เพื่อไม่ให้คนแก่ไม่ยากจน”

จากการวิจัยพบว่ามี 34 ประเทศในกลุ่มประเทศใน OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ที่ปฏิรูประบบบำนาญของตัวเอง เพื่อรองรับสังคมสูงอายุที่เกิดขึ้น และในจำนวนนี้ 16 ประเทศทำอย่างจริงจัง ซึ่งการปฏิรูปโมเดลของธนาคารโลก (เวิลด์แบงค์) จะประกอบไปด้วย 3 เสาหลักคือ

1. การออมจากการทำงาน เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินชดเชยจากการทำงานหลังเกษียณ และ

2. การออมส่วนบุคคล เช่น การฝากเงิน การซื้อ LTF RMF และ การประกันชีวิต จะช่วยเพิ่มรายได้หลังเกษียณให้มากขึ้น

3. ประกันสังคม ที่จะช่วยในเรื่องของการเจ็บป่วยหลังเกษียณ

“ตามโมเดล สัดส่วนการออมจาก 3 เสาหลักนี้ ประมาณ 70% ของรายได้เดือนสุดท้ายหลังเกษียณ จึงจะอยู่ได้อย่างดี แต่ของไทยยังอยู่ในเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำ โดยอยู่ในกลุ่ม 50 ประเทศที่ดัชนีความพอเพียงของรายได้หลังเกษียณต่ำ โดยเฉลี่ยอายุเกษียณแค่ 55 ปี ขณะที่ความยืนยาวของอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปี นั่นหมายถึงภาครัฐของไทย จะต้องหาเงินมาดูแลในช่วง 20 ปีหลังเกษียณ”

แนะปฏิรูประบบบำนาญ เพิ่มออมส่วนบุคคล / กอช. แค่จิ๊บจ๊อย

ทั้งนี้จากสถิติพบว่า ในปี 2554 คนที่รับเงินบำนาญจริงมีอยู่แค่ประมาณ 7.5% ของประชากรทั้งหมด ขณะที่ 81.4% รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และแค่ 11.4% มีบำนาญจากการออมของตัวเอง สะท้อนให้เห็นว่าบำนาญไม่เพียงพอต่อผู้เกษียณ

ทางแก้ไข คือ ปฏิรูประบบบำนาญอย่างจริงจัง เพิ่มอายุเกษียณให้ยาวขึ้น ซึ่งของไทยอายุเกษียณที่ 60 ปีควรให้ยาวขึ้น เพื่อลดช่องว่างอีก 15 ปีที่จะถึงเกณฑ์เฉลี่ยอายุยืนยาวของคนไทยที่ 75 ปี ซึ่งรัฐต้องหารายได้มาดูแลในช่วงนั้น ขณะเดียวกันก็ลดเงินอุดหนุนผู้สูงอายุ และมีมาตรการส่งเสริมการออมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การสะสมเงินในกองทุนต่างๆ รวมถึงการ ประกันชีวิต และสุขภาพ บางคนอาจจะมีประกัน อื่นๆ เสริมด้วยเช่น ประกันภัยรถยนต์

นอกจากนี้ ควรเปลี่ยนระบบเงินบำนาญ จากที่คิดว่าบำนาญที่จะได้รับหลังเกษียณ (DB) มาเป็นเงินบำนาญ ที่ควรสะสมเพื่อความเพียงพอต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณ (DC) ซึ่งจะเห็นว่าหลายประเทศในแถบยุโรปได้เปลี่ยนระบบบำนาญมาเป็นแบบ DC บางประเทศสูงถึง 50% ของจีดีพี ขณะที่ไทยยังนำระบบบำนาญแบบ DC มาใช้ไม่ถึง 10% ของจีดีพี

“สำหรับประชากรรุ่นต่อๆ ไป เราควรจะเพิ่มแรงจูงใจทางการเงิน และให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะทางการเงิน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไป มีการออมเงินในระบบกองทุนเพื่อการเกษียณให้เป็นนิสัย การทำเช่นนี้จะเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มเสี่ยง ที่มีความอ่อนไหวทางการเงิน เช่น ผู้หญิง แรงงานนอกระบบ และผู้ที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง โดยสรุป ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณ ควรจะหารายได้จากหลายๆ ทาง เพื่อที่จะได้รองรับค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายยามชรา นอกจากนั้น การมีผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดรายได้อย่างชาญฉลาด ก็เป็นอีกตัวช่วยในการสร้างรายได้หลังเกษียณ ที่ครอบคลุมและเพียงพอ รวมทั้งการวางแผนการรับเงินเลี้ยงชีพรายปี และการถอนเงิน จะช่วยลดความเสี่ยงของการใช้เงินเกินตัว”




Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2559 11:41:59 น. 0 comments
Counter : 693 Pageviews.

สมาชิกหมายเลข 2753312
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2753312's blog to your web]
space
space
space
space
space