HR Management and Self Leadership
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
31 พฤษภาคม 2553

การทำ Exit Interview นั้นได้ผลหรือไม่



ผมเชื่อว่าฝ่ายทรัพยากรบุคคลของเกือบ ทุกบริษัทนั้น จะต้องมีการทำ Exit Interview พนักงานที่ลาออกจากบริษัท เพื่อที่จะสอบถามถึงสาเหตุของการลาออก และขอความเห็นในสิ่งที่บริษัทควรปรับปรุงเพื่อให้มีการบริหารงานบุคคลที่ดี ขึ้น

แต่ความเห็นดังกล่าวนั้นเป็นความเห็นที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ฝ่ายบุคคลต้องให้ความสนใจเป็นอย่างมากทีเดียว เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ ถ้าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ จะทำให้เราสามารถที่จะนำข้อมูลนี้มาพัฒนาวิธีการบริหารงานบุคคล หรือแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นได้จริงๆ

แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าข้อมูลหรือความเห็นของพนักงานที่ให้เรามานั้น ใส่ไข่ แต่งแต้ม เติมสีสรรค์มากมาย ทำให้ข้อมูลเบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริง ผลก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ถ้าฝ่ายบุคคลไปเชื่อข้อมูลที่ไม่เป็นความ จริง

ในทางจิตวิทยาแล้ว พนักงานที่ต้องการจะลาออกจากบริษัทย่อมไม่มีอะไรจะเสียอยู่แล้ว ถ้าไปถามความเห็น เราก็คงอาจจะได้ความเห็นที่ไม่รุนแรงไปเลย ก็คงมีการพูดให้เกินความเป็นจริงไปบ้างว่า สาเหตุของการลาออกนั้นเกิดจากอะไรบ้าง

ผมเคยได้ยินบางคนกล่าวโทษหัวหน้างานของเขาเองว่าไม่ดีอย่างนั้นไม่ดี อย่างนี้ พร้อมทั้งยังตำหนิผู้บริหารของบริษัทด้วยซ้ำว่าไม่มีประสบการณ์ในการบริหาร ถ้าบริหารบริษัทไปแบบนี้บริษัทก็อยู่ไม่ได้แน่นอน

ถามว่า ถ้าเราได้ยินความคิดเห็นแบบนั้นแล้ว เราจะดำเนินการอย่างไรครับ เราจะเชื่อ หรือเราจะไม่เชื่อ

ผมคิดว่าเรื่องความเห็นของพนักงานที่จะลาออกนั้น เมื่อได้รับมาแล้วจะต้องพิจารณาให้ดี ฝ่ายบุคคลที่รู้จักพนักงานคนนั้นอยู่แล้วจะต้องพิจารณาความเห็นอย่างเป็น กลางมากที่สุด แต่ก็ยังเชื่อยากอยู่ดีครับ

แล้วเราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร บางบริษัทเขาก็เลิก Exit Interview ไปแล้ว เพราะสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น แต่บางบริษัทก็ยังไม่เลิก ยังคงให้มีการสอบถามสาเหตุกัน แต่ก็ไม่ได้นำเอาผลการสอบถามมาใช้ใดๆ ทั้งสิ้น

ในความเห็นของผมนั้น การที่เราอยากจะรู้ความเห็นของพนักงานว่าคิดอย่างไรกับเรื่องต่างๆ ในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบายบริษัท วิธีการบริหารงาน การบริหารงานบุคคล การบริหารค่าจ้างเงินเดือน และสวัสดิการ ฯลฯ ผมคิดว่าไปสอบถามเอากับพนักงานที่เขาทำงานอยู่ในปัจจุบันจะดีกว่านะครับ แม้ว่าในระยะแรกๆ ที่ทำนั้นอาจจะมีพนักงานที่ไม่กล้าแสดงความเห็นเท่าไร แต่ถ้าเราทำบ่อยๆ และพยายามนำเอาความเห็นที่ได้ไปปรับปรุงการบริหารงานของบริษัทแล้ว ผมเชื่อว่าพนักงานก็อยากจะให้ความเห็นที่ตรง และชัดเจนขึ้นในปีถัดๆ ไป

การสอบถามความคิดเห็นดังกล่าวนั้นในปัจจุบันก็มีเรียกกันอยู่หลายวิธี ก็มี Employee satisfaction ก็คือการสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน ซึ่งหลังๆ ก็ไม่ค่อยมีใครทำกันแล้ว แต่จะไปทำในสิ่งที่ลึกกว่าก็คือ Employee engagement survey ก็คือการสำรวจเรื่องของความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร

ซึ่งผลการสำรวจจะสามารถให้ข้อมูลแก่ผู้บริหารได้อย่างชัดเจนว่า อะไรที่จะทำให้พนักงานรู้สึกผูกพันและอยากทำงานให้กับองค์กร และอะไรที่ยังขาดอยู่บ้าง ซึ่งจะทำให้ฝ่ายบุคคล และฝ่ายบริหารสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เพื่อที่จะพัฒนาความผูกพันของ พนักงานต่อบริษัทให้มากขึ้น และคนที่ได้ประโยชน์ก็คือพนักงานที่ยังอยู่ทำงานในบริษัท ไม่ใช่พนักงานที่กำลังจะลาออก หรือลาออกไปแล้ว มาบอกว่าบริษัทต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งผมว่าวิธีการนี้อาจจะดูสายไปหน่อย

ในปัจจุบันมีที่ปรึกษาหลายบริษัทที่ให้บริการทางด้านการสำรวจความผูกพัน ของพนักงานต่อองค์กร (Engagement Survey) และแนวทางในการสำรวจก็มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ดังนั้นการหาข้อมูลเพื่อพัฒนาวิธีการบริหารงานให้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อะไรที่มีผลกระทบต่อพนักงานแล้ว ผมว่าใช้วิธีนี้จะได้ข้อมูลเชิงลึก และชัดเจนกว่าการไปสอบถามความรู้สึกจากพนักงานที่กำลังจะลาออกเพียงอย่าง เดียวครับ




 

Create Date : 31 พฤษภาคม 2553
0 comments
Last Update : 31 พฤษภาคม 2553 7:45:06 น.
Counter : 2341 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]