HR Management and Self Leadership
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
29 ตุลาคม 2553

แนวโน้มในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนพนักงาน

จากผลการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการที่ออกมาในปีนี้ และจากแนวโน้มสภาพเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นคืนชีพหลังจากที่มีปัญหามาเป็นระยะเวลานานพอสมควร ทำให้ผู้ประกอบการต่างๆ เริ่มที่จะคิดถึงอนาคตของบริษัทว่าจะเป็นอย่างไร และถ้าเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้นมาอีก เราจะมีวิธีการป้องกันและรับมือกับปัญหาในอนาคตอย่างไรดี

เรื่องของการบริหารค่าจ้างเงินเดือนก็เป็นเรื่องหนึ่งที่นายจ้างต่างก็พยายามหาทางออกที่ดีที่สุดว่า จะบริหารกันอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กล่าวคือ ระบบค่าจ้างสามารถที่จะดึงดูด และรักษาพนักงานให้ทำงานกับบริษัทได้

โดยปกตินั้นเงินเดือนจะถือว่าเป็นพระเอกของระบบค่าจ้างเงินเดือน พนักงานกินเงินเดือนทุกคนต่างก็มองเงินเดือนของตนเองเป็นตัวหลักว่า นี่คือสิ่งที่ตอบแทนการทำงานของตน ดังนั้นการให้เงินเดือนจึงต้องให้แบบเป็นธรรมตามลักษณะของงาน แต่ข้อจำกัดของเงินเดือนก็คือ เมื่อพนักงานได้เงินเดือนก้อนนั้นไปแล้วแรงจูงใจในการอยากทำงานให้ดีขึ้นมันก็จะค่อยๆ หายไปด้วย ถ้าบริษัทไม่มีระบบการกระตุ้นแรงจูงใจของพนักงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งระบบนี้ก็คือ ระบบการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงาน กล่าวคือ ผลงานใครดี ก็ขึ้นเงินเดือนเยอะกว่าคนที่ผลงานไม่ดี

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ นายจ้างจะต้องรับภาระที่หนักมากในเรื่องของเงินเดือน และหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี เพราะเงินเดือนนั้นเป็นต้นทุนคงที่ที่ติดตัวพนักงานคนนั้นไปเรื่อยจนกว่าเขาจะเกษียณอายุไป ดังนั้นถ้าปีใดที่บริษัทมีผลกำไรดี และตอบแทนพนักงานโดยการขึ้นเงินเดือนให้เยอะๆ ผลที่ตามมาก็คือ ภาระของบริษัทในปีที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ

ดังนั้นแนวโน้มในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนในยุคใหม่ก็เริ่มหันไปมองที่เรื่องของผลงาน โดยเปลี่ยนการตอบแทนผลงานจากการขึ้นเงินเดือน ไปเป็นการให้เงินรางวัลผลงาน ซึ่งไม่ผูกติดกับเงินเดือนพนักงาน ปีใดที่ผลประกอบการดี พนักงานมีผลงานดี ปีนั้นก็จะให้เงินรางวัลตอบแทนผลงานที่สูงหน่อย เกิดบังเอิญปีใดที่ผลกำไรน้อยลง เราก็สามารถจ่ายให้น้อยลงได้ โดยที่ไม่มีผลกระทบต่อต้นทุนในระยะยาวของบริษัทเลย

จากผลการสำรวจการให้โบนัสพนักงานในปีที่ผ่านมานี้ เห็นได้ชัดว่า การให้โบนัสนั้นไปผูกกับเรื่องของผลงานมากขึ้น โดยผูกผลงานขององค์กรด้วย และค่อยมาจ่ายให้แตกต่างกันตามผลงานของพนักงานแต่ละคน วิธีนี้เป็นการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจของพนักงานในการสร้างผลงานมาก และบริษัทเองก็ไม่ต้องแบกรับภาระต้นทุนทางด้านเงินเดือนพนักงานที่สูงขึ้นตลอดเวลา

ถ้าอย่างนั้นแปลว่าเงินเดือนจะไม่มีการขึ้นอีกเลยใช่หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ใช่ครับ ยังคงขึ้นอยู่ครับ แต่ขึ้นแบบไม่ค่อยแตกต่างกันในแต่ละปี และอัตราที่ขึ้นก็ไม่ค่อยต่างกับอัตราค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้นสักเท่าไร ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับรายได้ของพนักงานให้อยู่ในระดับที่อยู่ได้

ถามว่าจะมีพนักงานที่ได้รับเงินเดือนขึ้นสูงๆ บ้างหรือไม่ คำตอบก็คือ มีครับ แต่เงื่อนไขก็คือ พนักงานคนนั้นจะต้องเป็นคนที่มีศักยภาพสูงมาก ซึ่งแปลว่า สามารถฝากชีวิตของบริษัทไว้ในกำมือของพนักงานคนนี้ได้ พนักงานแบบนี้แหละครับ ที่องค์กรอยากเลี้ยงไว้นานๆ และยินดีที่จะแบกรับภาระเงินเดือนที่สูงมากๆ เพราะคุ้มครับ เนื่องจากพนักงานคนนี้สามารถสร้างผลงานที่ดี และสามารถนำพาองค์กรให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดนิ่งได้ ซึ่งเอาเข้าจริงๆ ในแต่ละองค์กรจะมีพนักงานแบบนี้อยู่ไม่มากหรอกครับ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นภาระแก่บริษัทแต่อย่างใดเลย

โดยสรุปก็คือ แนวโน้มการบริหารค่าจ้างเงินเดือนในอนาคตนั้น จะมุ่งเน้นไปที่การให้รางวัลผลงาน เน้นไปที่ระบบการสร้างแรงจูงใจให้สร้างผลงาน เน้นไปที่ระบบ Incentive มากขึ้น เพราะไม่เกิดภาระทางการเงินในระยะยาวสำหรับบริษัท

ในอนาคตการขึ้นเงินเดือนเยอะๆ จะไม่ค่อยเกิดขึ้นแล้วครับ แต่การให้โบนัสตามผลงาน(เยอะๆ) จะกลับมาแทนที่




 

Create Date : 29 ตุลาคม 2553
0 comments
Last Update : 29 ตุลาคม 2553 6:52:51 น.
Counter : 1655 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]