HR Management and Self Leadership
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
26 ตุลาคม 2553

แนวโน้มการขึ้นเงินเดือนประจำปี 2554

และแล้วผลการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทยก็ใกล้คลอดแล้วครับ ผมก็เลยนำเอาตัวเลขที่ได้จากผลการสำรวจมาศึกษา และนำมาเขียนเป็นบทความให้อ่านกันครับ เผื่อว่าท่านผู้อ่านจะได้นำเอาตัวเลขที่ได้นี้ไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณานำเสนอการขึ้นเงินเดือนประจำปี 2554 กันครับ

จะว่าไปในปีนี้นั้น สภาพเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้นมาก ตัวเลข GDP จากหลายๆ ค่าย โดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทย และศูนย์วิจัยกสิกรไทยนั้น ก็ได้ออกมาบอกว่า สภาพเศรษฐกิจไทยปีนี้นั้นดูสดใสมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ก็จะมีช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ที่เขามองว่าตัวเลขจะไม่ได้โตเร็วเท่ากับช่วงต้นปีที่ผ่านมา ก็เลยประมาณการกันไว้ว่าตัวเลข GDP น่าจะเกิน 5% แน่นอนในปีนี้ ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็พยากรณ์ไว้ในอัตรา 6%

ส่วนอัตราค่าครองชีพ หรืออัตราเงินเฟ้อนั้น ปีที่ผ่านมาติดลบ (ธันวาคม 2552) เมื่อเทียบกับปี 2551 แต่ในปีนี้ 2553 ตัวเลขอัตราดัชนีราคาผู้บริโภคนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหลายๆ สำนักก็พยากรณ์กันว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 3 – 3.5% เมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งก็แปลว่าราคาสินค้าในตลาดมีการปรับสูงขึ้น ซึ่งก็หมายถึงว่าค่าครองชีพสูงขึ้นนั่นเอง

ตัวเลขอีกตัวหนึ่งที่จะต้องนำมาร่วมในการพิจารณาก็คือ อัตราการขึ้นเงินเดือนในปีที่ผ่านมา ซึ่งผลการสำรวจของทาง PMAT ได้ออกมาเป็นตัวเลข 5.07% (ของต้นปีนี้ที่ขึ้นเงินเดือนกันไปแล้ว)

แล้วต้นปีหน้าเราจะขึ้นเงินเดือนกันเท่าไรดีจากตัวเลขเศรษฐกิจ และอัตราค่าครองชีพ รวมทั้งพิจารณาจากแนวโน้มของการขึ้นเงินเดือนในอดีต ผมเองคิดว่าต้นปีหน้าอัตราการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 5.5 -6% อัตรานี้คืออัตราสำหรับบริษัทขนาดกลางนะครับ ส่วนบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการจ่าย ก็อาจจะมีตัวเลขที่สูงกว่านี้เล็กน้อย ก็คงจะอยู่ที่ประมาณ 8%

เมื่อทราบตัวเลขการพยากรณ์(เดาอย่างมีหลักการ) แล้ว สิ่งที่นักบริหารค่าจ้างเงินเดือนจะต้องพิจารณาอีกอย่างก็คือ ความสามารถในการจ่ายของบริษัทตนเองว่ามีอยู่สักเท่าไร บริษัทเราจะรับภาระต้นทุนทางด้านเงินเดือนที่สูงขึ้นอีกประมาณ 5.- 6% ในปีหน้าไหวหรือไม่ ก็คงต้องช่วยนายจ้างคำนวณและพิจารณาด้วยอีกแรงนะครับ

ในระยะหลังๆ ประมาณ 5-6 ปีที่ผ่านมานี้ ตัวเลขการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยในบ้านเราจะอยู่ในอัตราคงที่มาก ไม่ค่อยจะเหวี่ยงมากนัก ซึ่งผมเองคิดว่า นายจ้างหลายๆ รายต่างก็คิดเหมือนกันว่า เงินเดือนนั้นเป็นต้นทุนคงที่ ผูกติดเป็นภาระของบริษัทในระยะยาวมากๆ จนกว่าพนักงานคนนั้นจะเกษียณอายุไปจากบริษัท ดังนั้นนายจ้างเองก็ไม่อยากให้มีต้นทุนคงที่ที่สูงขึ้นมากมายในช่วงสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยอยู่กะร่องกะรอยเท่าไร ดังนั้นเปอร์เซ็นต์การขึ้นเงินเดือนที่ผ่านมา ก็เลยไม่ค่อยสูงนัก และมักจะอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกันมากในแต่ละปี แม้แต่ปีที่เศรษฐกิจตกต่ำสุดขีด บริษัทที่ขึ้นเงินเดือนให้พนักงานก็ยังขึ้นในอัตราเฉลี่ย 3.5- 4%

นโยบายในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนที่นายจ้างส่วนใหญ่เริ่มเปลี่ยน ก็คือ เปลี่ยนจากการให้รางวัลในรูปของการขึ้นเงินเดือนมาเป็นให้รางวัลตอบแทนผลงานในแต่ละปี โดยใช้รูปแบบโบนัส หรือเงินรางวัลจูงใจผลงานที่ตรงไปตรงมากับผลงานของพนักงาน รูปแบบนี้จะทำให้ต้นทุนระยะยาวที่เป็นต้นทุนคงที่ของบริษัทเพิ่มขึ้นไม่มากเลย และทำให้ความเสี่ยงของธุรกิจก็ลดลงไปด้วย

พูดง่ายๆ ว่า ปีไหนกำไรมาก ผลประกอบการดี ก็จ่ายโบนัส หรือเงินรางวัลจูงใจให้เยอะหน่อย ปีไหนที่กำไรน้อย ก็ให้น้อยหน่อย โดยที่ไม่จับไปเกี่ยวข้องกับการขึ้นเงินเดือนให้มากนัก

ส่วนการขึ้นเงินเดือนก็จะขึ้นมากกว่าอัตราค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ที่ประมาณ 2.5 –3% ทั้งนี้ก็เพื่อให้พนักงานมีรายได้ที่สามารถใช้จ่ายได้ในการดำรงชีวิต เช่น ถ้าค่าครองชีพปีนี้ขึ้นมา 3.5% อัตราเงินเดือนก็บวกเข้าไปอีกประมาณ 2.5% ก็ประมาณ 6% ประมาณนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะต้องมาพิจารณาเรื่องของความสามารถในการจ่ายของบริษัทอีกครั้งหนึ่งครับ ว่าจะใช้ตัวเลขนี้หรือไม่

หวังว่าพอจะได้แนวทางในการกำหนดตัวเลขขึ้นเงินเดือนประจำปีหน้าไปบ้างนะครับ




 

Create Date : 26 ตุลาคม 2553
0 comments
Last Update : 26 ตุลาคม 2553 5:54:31 น.
Counter : 1130 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]