HR Management and Self Leadership
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
26 ตุลาคม 2552

ฤดูแห่งการรายงานผลการสำรวจค่าจ้าง

ในช่วงนี้ชาว HR คงจะได้รับเอกสาร หรือแผ่นพับที่แจ้งเรื่องของการสรุปผลการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการ จากทั้งบริษัทที่ปรึกษา และจากหน่วยงานที่รับทำเรื่องนี้อยู่บ้างนะครับ หลายบริษัทก็เข้าร่วมในการสำรวจค่าจ้างอยู่แล้วทุกปี หลายบริษัทไม่ได้เข้าร่วม แต่อาศัยการซื้อหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจเรื่องของการบริหารค่า จ้างของบริษัทเราเอง ประเด็นก็คือ ข้อมูลตั้งมากมาย แตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง แล้วเราจะเชื่อข้อมูลไหนดีกว่าล่ะครับ


ผมเห็นบางบริษัทเข้าร่วมการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนของทุกแห่งที่จัดทำขึ้น จากนั้นก็มาเลือกหาเอาข้อมูลที่เห็นว่าเป็นข้อมูลที่น่าจะนำมาใช้ในรายงาน แต่ละฉบับ โดยไม่ได้พิจารณาถึงที่มาที่ไปของข้อมูลและความน่าเชื่อถือของข้อมูลมากนัก ในความเห็นผม ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นการเลือกใช้ข้อมูลที่ถูกต้องเท่าไรนะครับ


สิ่งที่จะต้องจำให้ขึ้นใจในการใช้ข้อมูลการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนก็คือ ข้อมูลทั้งหมดที่ได้มานั้นเป็นข้อมูลแนวโน้มของตลาดเท่านั้น ไม่ใช่ข้อมูลจริงที่เราจะหยิบมาใช้ตรงๆ ได้เลยนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ในข้อมูลสำรวจค่าจ้างเขาระบุไว้ว่า อัตราการขึ้นเงินเดือนในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 5.5% เมื่อเรารู้ดังนี้แล้ว เราจะนำตัวเลขนี้มาใช้เลยหรือเปล่า คำตอบก็คือ ไม่ควรนำมาใช้ตรงๆ นะครับ


เราคงจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ อีกด้วย เช่น อัตราการจ่ายเงินเงินเดือนของบริษัทเราเทียบกับตลาดแล้วเรานำหน้าเขา หรือล้าหลังเขา พิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจซึ่งส่วนใหญ่ก็จะดูจากดัชนีราคาผู้บริโภค และอีกตัวหนึ่งที่จะต้องพิจารณาอย่างมากก็คือ “ความสามารถในการจ่ายของบริษัทเราเอง” ว่าเราจะแบกภาระต้นทุนทางด้านเงินเดือนของพนักงานที่เพิ่มขึ้นในปีถัดไปได้มากสักเท่าไร


ตัวเลขอื่นๆ ที่ปรากฎในรายงานผลการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนก็เช่นกันนะครับ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขอัตราแรกจ้างพนักงานใหม่ในตลาด ตัวเลขอัตราเงินเดือนของตำแหน่งงานต่างๆ ตัวเลขการปรับเงินเดือน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นค่าแนวโน้มของตลาดเท่านั้น เนื่องจากการสำรวจค่าจ้างโดยทั่วไปจะเปิดอิสระให้ใครที่สนใจเข้าร่วมก็ได้ ดังนั้นในแต่ละปีจะมีบริษัทที่เข้าร่วมแตกต่างกันออกไป ทำให้ตัวเลขที่ได้ในแต่ละปีนั้นไม่คงที่ และมีการขยับขึ้นลงได้ ดังนั้นการนำเอาตัวเลขที่ได้มาไปใช้ตรงๆ จึงไม่เป็นสิ่งที่ถูกต้องเท่าไร


อีกอย่างที่อยากฝากไว้ก็คือ รายงานการสำรวจค่าจ้างที่เราได้มานั้น ล้วนแต่เป็นข้อมูลในอดีตทั้งสิ้น เช่น รายงานที่เราได้รับในเดือนตุลาคม จะเป็นข้อมูลที่เก็บมาในช่วงเวลาประมาณเดือน มิถุนายน หรือไม่ก็กรกฎาคม ดังนั้นการนำข้อมูลไปใช้ก็ต้องคำนึงถึงอนาคตด้วย ว่าอัตราในตลาดนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร



การจะนำตัวเลขในอดีตไปกำหนดอนาคตการจ่ายของบริษัทนั้น พวกเราชาว HR จะต้องพิจารณาให้ดีนะครับ เพราะเรื่องเงินเดือนนั้นให้ไปแล้ว มันไปลดไม่ได้ซะด้วยครับ




 

Create Date : 26 ตุลาคม 2552
0 comments
Last Update : 26 ตุลาคม 2552 7:15:30 น.
Counter : 1256 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]