HR Management and Self Leadership
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
29 มีนาคม 2554

Compa-Ratio คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร (ตอนที่ 2)


เมื่อวานนี้เราได้ทราบถึงนิยาม และลักษณะของ Compa-Ratio กันไปแล้วนะครับ รวมถึงสูตรในการคิดคำนวณด้วย พร้อมกับประโยชน์คร่าวๆ ว่าเอาไปใช้ทำอะไร วันนี้จะมาลงในรายละเอียดเพิ่มเติมสักเล็กน้อยให้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเมื่อวานนี้ครับ


ตัวอย่างแรกของการใช้ Compa-ratio ก็คือใช้เทียบอัตราการจ่ายเงินเดือนในภาพรวมของบริษัทในแต่ละระดับงานกับอัตรา mid-point ของโครงสร้างเงินเดือน ซึ่งเป็นอัตราตลาด หรืออัตราเป้าหมายในการจ่ายของบริษัท ในตัวอย่างข้างล่างนี้ ผมจะแสดงตัวอย่างของโครงสร้างเงินเดือนในแต่ละระดับงาน และอัตราเงินเดือนเฉลี่ยของพนักงานที่อยู่ในระดับงานนั้นๆ



















































ระดับงาน



Min



Mid-point



Max



เงินเดือนพนักงานเฉลี่ย



Compa-Ratio


4

15,200



22,770



30,400



21,250



0.93



3



11,500



17,250



23,000



18,350



1.06



2



8,750



13,100



17,500


12,100

0.92



1



6,600



9,900



13,200



8,250



0.83






เฉลี่ย compa-ratio =



0.94




จากตัวอย่างตารางข้างบน ในการคำนวณ Compa-Ratio ก็คือ การเอาเงินเดือนพนักงานเฉลี่ยในแต่ละระดับงานตั้ง แล้วหารด้วยอัตราค่ากลาง (Mid-point) ของโครงสร้างเงินเดือน ผลที่ได้ก็จะปรากฎในชอง Compa-Ratio ซึ่งจะเห็นว่ามีทั้งค่าที่มากกว่า 1 และน้อยกว่า 1 อยู่ จากนั้นเราเอาค่า Compa-Ratio ที่ได้มาทั้งหมดในแต่ละระดับงานนั้น มาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้งหนึ่ง ก็จะได้ผลลัพท์เป็น 0.94 ซึ่งแปลว่า บริษัทเราจ่ายเงินเดือนโดยเฉลี่ยต่ำกว่าอัตราเป้าหมายที่กำหนด


โดยหลักการแล้วตัวเลข 0.94 ที่ได้มานั้น เราถือว่าบริษัทจ่ายเงินเดือนอยู่ในเกณฑ์ที่ทัดเทียมกับตลาดแล้ว เพราะอยู่ใกล้ 1 โดยปกติอัตรามาตรฐานที่เขาใช้เป็นตัวเปรียบเทียบว่าอัตราการจ่ายเงินเดือนของบริษัทเรานั้นแข่งขันได้หรือไม่ ไม่น้อยไป ไม่มากไป ก็อยู่ในช่วง 0.9 – 1.1 โดยประมาณ ก็คือ บวกลบจากค่ากลางอยู่ประมาณ 10% แต่ก็มีบางองค์กรที่กำหนดกว้างกว่านี้ก็มีนะครับ เช่น ถ้าเงินเดือนเฉลี่ยของพนักงานอยู่ในช่วง 0.85 – 1.15 (บวกลบ 15%)  ก็ยังถือว่าสามารถแข่งขันกับตลาดได้อยู่ แต่ก็จะไม่มากไปกว่านี้แล้วครับ


ค่า Compa-Ratio นี้ จะเป็นตัวบอกอัตราการจ่ายเงินเดือนในภาพรวมของบริษัทเมื่อเทียบการตลาดได้อย่างชัดเจนครับ ดังนั้นถ้าบริษัของเราตัวเลขออกมาต่ำกว่า 0.85 ก็แปลว่าอัตราการจ่ายเงินเดือนในภาพรวมของบริษัทอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าตลาด ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาในการดึงดูดและรักษาพนักงานได้ พอเราทราบตัวเลขนี้แล้วสิ่งที่นักบริหารค่าจ้างจะต้องดำเนินการต่อก็คือ การนำตัวเลขนี้ไปใช้ในการพิจารณาเสนออัตราขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงานของพนักงานได้ครับ ซึ่งก็คือ ถ้าเราต่ำกว่าตลาดอยู่ เราก็อาจจะพิจารณาตัวเลขการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยให้สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า เช่น ถ้าเราพอทราบว่าตลาดปีนี้อาจจะขึ้นเงินเดือนที่ 5% และเรารู้ว่า ค่า Compa-ratio ของเรานั้นต่ำกว่าตลาดอยู่ เราก็อาจจะเสนอผู้บริหารว่าการขึ้นเงินเดือนปีหน้าจะต้องใช้งบประมาณมากขึ้นกว่าที่ตลาดทั่วไปขึ้นให้ ซึ่งก็อาจจะอยู่ที่ 7-8% เป็นต้นครับ


ซึ่งถ้าเราขึ้นเงินเดือนตามตัวเลขนี้ ปีหน้าบริษัทเราก็จะมีอัตราการจ่ายเงินเดือนที่ใกล้เคียงกับอัตราตลาดมากขึ้นครับ ซึ่งก็จะส่งผลต่อแรงจูงใจ และการสร้างผลงานของพนักงานในปีถัดไปด้วย อีกทั้งยังทำให้อัตราเงินเดือนโดยทั่วไปของพนักงานอยู่ในระดับที่แข่งขันได้มากขึ้น


นี่คือตัวอย่างอีกอันหนึ่งของการใช้งาน compa-ratio เพื่อเปรียบเทียบอัตราเงินเดือนโดยภาพรวมของบริษัทกับตลาดครับ พรุ่งนี้จะเอา Compa-Ratio ไปประยุกต์ใช้กับการขึ้นเงินเดือนดูบ้างนะครับ ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร






Free TextEditor




 

Create Date : 29 มีนาคม 2554
1 comments
Last Update : 29 มีนาคม 2554 6:46:57 น.
Counter : 1450 Pageviews.

 

xxxรูปโป๊ ภาพโป๊ภาพโป้ รูปโป้ สวัสดีตอนเช้าๆ อากาศเย็นๆครับ หนังxคลิปxxx

 

โดย: MaFiaVza 29 มีนาคม 2554 8:22:52 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]