HR Management and Self Leadership
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
28 มีนาคม 2554

Compa Ratio คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ตอนที่ 1


ในแวดวงการบริหารค่าจ้างเงินเดือนนั้น จะมีคำศัพท์เฉพาะทางต่างๆ มากมาย อีกทั้งเรื่องของค่าจ้างเงินเดือนนั้นจะมีการใช้ค่าสถิติ และมีการคำนวณตัวเลข เพื่อวิเคราะห์ดูผลในแง่มุมต่างๆ หลายตัวมาก มีอยู่ตัวหนึ่งซึ่งผมมักจะได้รับคำถามเสมอว่ามันคืออะไร และใช้อย่างไรกันแน่ เราเรียกมันว่า “Compa Ratio”ครับ


Compa Ratio นั้นเป็นการคำนวณอัตราเงินเดือนของพนักงานเทียบกับอัตราเป้าหมาย หรืออัตราตลาด (โดยทั่วไปจะเทียบกับค่ากลางของโครงสร้างเงินเดือน) เพื่อดูว่าเงินเดือนของพนักงานนั้นอยู่ในระดับที่สูงกว่า หรือต่ำกว่าอัตราเป้าหมายสักเท่าไร จะได้วางแผนในการบริหารเงินเดือนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


การที่เราจะคำนวณ Compa Ratio ได้ตามหลักการนั้น สิ่งที่บริษัทจะต้องมีก่อนเลยก็คือ โครงสร้างเงินเดือนที่มาจากการเปรียบเทียบการจ่ายกับตลาดที่เราแข่งขันด้วย ซึ่งโดยทั่วไปโครงสร้างเงินเดือนก็จะประกอบไปด้วยอัตรา ต่ำสุด ค่ากลาง และอัตราสูงสุด (Minimum, Mid-point, Maximum) สิ่งที่เรามักจะเทียบก็คือใช้ค่ากลางของโครงสร้างเงินเดือน ซึ่งถือว่าเป็นอัตราเป้าหมายของการจ่ายเงินเดือนในแต่ละระดับงานมาเป็นฐานในการเทียบ


สูตรปกติของ Compa Ratio ก็คือ เงินเดือนพนักงานตั้ง หารด้วย อัตราเป้าหมาย(ค่ากลาง) ผลที่ออกมาก็จะบอกถึงความห่าง หรือความใกล้ของเงินเดือนพนักงานเมื่อเทียบกับอัตราเป้าหมาย


ผลการคำนวณออกมาถ้าเท่ากับ 1 ก็แปลว่าเงินเดือนพนักงานกับอัตราเป้าหมายนั้นเท่ากันเป๊ะครับ ซึ่งก็หมายความว่าเงินเดือนพนักงานที่เขาได้รับนั้นเป็นอัตราที่เท่ากับตลาดที่เราแข่งขันด้วย


ถ้าผลการคำนวณออกมามากกว่า 1 ก็แปลง่ายๆว่า เงินเดือนพนักงานสูงกว่าอัตราเป้าหมายที่เราต้องการ ถ้ายิ่งห่างจาก 1 มากเท่าไร ก็แปลว่าเราจ่ายสูงกว่าอัตราตลาดมากเท่านั้นครับ


ในทางตรงกันข้ามถ้าผลการคำนวณออกมาน้อยกว่า 1 ก็แสดงว่าอัตราเงินเดือนพนักงานน้อยกว่าอัตราเป้าหมายที่เราต้องการจ่ายอยู่นั่นเองครับ


คำถามก็คือ แล้วเราจะเอาตัวเลขเหล่านี้ไปใช้อะไรต่อได้บ้าง คำตอบก็คือใช้ได้มากเลยครับ เอาเรื่องง่ายๆ ก่อนเลยก็ได้ครับ เราสามารถคำนวณ Compa Ratio ของแต่ละระดับงานแล้วเทียบกับอัตราเป้าหมายเพื่อดูว่า ในภาพรวมของทั้งองค์กรนั้น เราจ่ายเงินเดือนเมื่อเทียบกับอัตราตลาดแล้วเราอยู่ตรงไหนของตลาด วิธีการก็คือ ให้หาค่าเฉลี่ยอัตราเงินเดือนจริงของพนักงานในแต่ละระดับงาน แล้วเอามาเปรียบเทียบกับอัตราการจ่ายของตลาด เพื่อดูว่าเราจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานโดยภาพรวมนั้น สูงกว่าหรือต่ำกว่าตลาดที่เราแข่งขันด้วย ผลที่ออกมาจะสามารถช่วยให้นักบริหารค่าจ้างเงินเดือนนำข้อมูลมาตัดสินใจในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนของบริษัทได้ครับ


เช่นถ้าผลการคำนวณของเราออกมาต่ำกว่า 1 แปลว่า เราจ่ายเงินเดือนให้พนักงานในอัตราที่ต่ำกว่าตลาด สิ่งที่เราสามารถบอกผู้บริหารได้ก็คือ อัตรานี้ ถ้าต่ำมากๆ เราจะไม่สามารถแข่งขันในการว่าจ้างพนักงานได้เลย และเราอาจจะเสียพนักงานของเราให้กับบริษัทคู่แข่งได้ เพราะเขาจ่ายสูงกว่าเรานั่นเองครับ เมื่อเราทราบแบบนี้แล้ว ก็จะทำให้เราสามารถตัดสินในการบริหารการขึ้นเงินเดือนพนักงานได้ในการขึ้นเงินเดือนครั้งถัดไป โดยการขออนุมัติตัวเลขการขึ้นเดือนของพนักงานให้สูงขึ้นกว่าอัตราเฉลี่ยของตลาด เพื่อให้อัตราเงินเดือนในภาพรวมของเราสามารถแข่งขันได้กับตลาดในภาพรวมได้ครับ


ในทางตรงกันข้ามถ้าผลการคำนวณเฉลี่ยออกมาสูงกว่า 1 มากๆ ก็แปลว่าเรากำลังจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานสูงกว่าตลาดที่เราแข่งขันด้วย ซึ่งแปลง่ายๆ อีกว่า เรากำลังมีต้นทุนในการบริหารเงินเดือนที่สูงกว่าคู่แข่งของเรา สิ่งที่บริษัทจะต้องพิจารณาก็คือ อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการบริหารค่าจ้างเงินเดือน เพื่อให้เงินเดือนของเราไม่สูงเกินไปกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งอาจจะทำให้บริษัทเรามีปัญหาทางด้านการแข่งขันได้ ถ้าผลผลิตของเราออกมาไม่ต่างจากคู่แข่งขันของเรา


เรื่องของ Compa Ratio นั้นยังมีการใช้งานอย่างอื่นอีกนะครับ ซึ่งจะเริ่มใช้งานในลักษณะที่เปรียบเทียบเงินเดือนของพนักงานทีละคนเลยครับ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้บริหารเงินเดือนของพนักงานให้สอดคล้องกับงานที่มอบหมาย และสอดคล้องกับอัตราการแข่งขันของตลาดได้อีกด้วย ซึ่งผมจะเขียนให้อ่านกันในตอนถัดๆ ไปนะครับ






Free TextEditor




 

Create Date : 28 มีนาคม 2554
0 comments
Last Update : 28 มีนาคม 2554 6:35:38 น.
Counter : 1319 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]