Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
30 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
นักวิทย์อังกฤษเสนอ “สสารมืด-พลังงานมืด” อาจไม่มากอย่างที่เชื่อ

นักวิทย์อังกฤษเสนออีกแนวคิด "สสารมืด-พลังงานมืด" อาจไม่มากอย่างที่เคยเข้าใจ วิเคราะห์ผลจากกล้องโทรทรรศน์ที่น่าจะให้ข้อมูลที่บิดเบือนพร่ามัวไปจากความ เป็นจริง
      
       สสารมืด (Dark matter) และ พลังงานมืด (Dark energy) เป็นองค์ประกอบของเอกภพที่สร้างความงุนงงให้แก่นักวิทยาศาสตร์มากที่สุด ซึ่งสเปซด็อทคอมระบุว่า นับแต่แนวคิดเกี่ยวกับสองสิ่งได้รับการเสนอขึ้นมา นักดาราศาสตร์บางคนทำงานอย่างรนรานเพื่อหาว่าสองสิ่งดังกล่าวคืออะไร ขณะที่นักดาราศาสตร์อีกจำนวนหนึ่งพยายามที่จะพิสูจน์ว่า “ด้านมืด” ของเอกภพนี้ไม่มีอยู่จริง ด้วยความหวังที่จะทำให้เอกภพกลับมาเป็นที่สามารถเข้าใจได้มากขึ้น
      
       จากการพิจารณาข้อมูลโฉมใหม่ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศดับเบิลยูแมพ (WMAP: Wilkinson Microwave Anisotropy Probe) ซึ่งเป็นหนึ่งในกล้องที่ใช้เพื่อพิสูจน์การมีอยู่ของสสารแปลกประหลาดนี้ เป็นสาเหตุให้นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตั้งคำถามว่า สสารและพลังงานประหลาดนี้มีอยู่จริงหรือไม่ แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งยังยึดมั่นในแนวคิดที่ว่าด้านมืดของเอกภพยังมีอยู่
      
       สสารมืดคือรูปแบบของสสารที่เสนอว่าเป็นส่วนประกอบของมวล-พลังงานใน เอกภพ 22% และมีน้ำหนักมากกว่าสสารทั่วไปที่รวมเป็นดวงดาวและกาแลกซีมากมหาศาล แม้นักดาราศาสตร์ไม่อาจสังเกตสสารมืดได้โดยตรง แต่พวกเขาเชื่อว่ามีอยู่เพราะดูเหมือนว่ามีแรงดึงเนื่องจากแรงโน้มถ่วง กระจายไปทุกหนทุกแห่ง หากไม่มีสสารมืดแล้วพวกเขาคิดว่ากาแลกซีคงจะลอยห่างออกจากกัน
      
       สเปซด็อทคอมบอกอีกว่า ดูคล้ายแนวคิดดังกล่าวยังแปลกไม่พอ นักวิทยาศาสตร์คิดอีกว่า 74% ของมวล-พลังงานน่าจะสร้างขึ้นจากพลังงานมืดที่แปลกประหลาด ซึ่งเชื่อว่าพลังงานนี้มีส่วนต่ออัตราเร่งในการขยายตัวของเอกภพ และเหลือพื้นที่สำหรับสสารปกติเพียง 4% เท่านั้น
      
       หนึ่งในวิธีหลักๆ ที่นักวิจัยใช้เพื่อวัดว่ามีสสารมืดและพลังงานกระจายทั่วเอกภพอยู่เท่าไรคือ การวัดแสงเรืองจางๆ ที่แผ่กระจายไปทั่วอวกาศ ซึ่งเชื่อว่าเป็นแสงที่หลงเหลือหลังจากเกิดระเบิดบิกแบง (Big Bang) ซึ่งการวัดที่ให้รายละเอียดมากที่สุดคือการวัดรังสีพื้นหลังซีเอ็มบี (cosmic microwave background: CMB) ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศดับเบิลยูแม็พ
      
       ทอม แชงส์ (Tom Shanks) นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเดอแรม (Durham University ) ในอังกฤษ กล่าวว่า รังสีพื้นหลังซีเอ็มบีซึ่งเป็นคลื่นไมโครเวฟนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ผลกระทบจากพลังงานมืดและสสารมืดในจักรวาลล้วนขึ้นอยู่กับรังสีพื้นหลังนี้ และเป็นสิ่งที่ทำให้เขาสนใจและตรวจสอบรังสีชนิดนี้
      
       เร็วๆ นี้ แชงส์และ อุเทน สว่างวิทย์ (Utane Sawangwit) นักศึกษาปริญญาตรีในที่ปรึกษาของเขา ได้กลับไปตรวจสอบข้อมูลจากกล้องดับเบิลยูแม็บ และใช้วิธีการที่ต่างออกไปการศึกษาก่อนหน้านี้ เพื่อสอบเทียบว่ากล้องโทรทรรศน์ทำให้ภาพถูกอำพรางหรือไม่ชัดไปมากเท่าไร ซึ่งการที่ภาพถูกบิดเบือนนี้เหมือนกับปรากฏการณ์ที่ชั้นบรรยากาศโลกทำให้แสง ของดาวไม่คมชัด ดังนั้นเราจึงเห็นดาวกระพริบ
      
       แทนที่จะใช้ดาวพฤหัสบดีเป็นแหล่งกำเนิดแสงอ้างอิงในการสอบเทียบ ซึ่งเป็นวิธีที่ทีมนักดาราศาสตร์ของดับเบิลแม็พทั่วไปใช้ แต่แชงส์และอุเทนได้ใช้วัตถุในอกาศที่อยู่ไกลโพ้นที่ปลดปล่อยคลื่นวิทยุออก มา ซึ่งเป็นข้อมูลทีมีอยู่ในข้อมูลของกล้องเองทีเป็นแหล่งกำเนิดแสงอ้างอิง
      
       "เมื่อเราตรวจสอบแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุในรังสีพื้นหลังของกล้องดับ เบิลยูแม็พ เราพบว่ามีการบิดเบือนมากกว่าที่ทีมนักดาราศาสตร์ของกล้องดับเบิลยูแม็พคาด ถึง ซึ่งนั่นจะมีความหมายอย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยา หากเราพิสูจน์ได้ว่าเราถูกต้อง" แชงส์กล่าว
      
       หากการบิดเบือนนี้มากกว่าที่คาดไว้ มันจะชี้ให้เห็นว่า ความผันผวนที่วัดในความเข้มของการแผ่รังสีซีเอ็มบีนั้นจริงๆแล้วมีค่าน้อย กว่าทีรังสีเหล่านี้ปรากฏอยู่จริง ซึ่งขนาดของการบิดเบือนนี้เป็นตัวแปรหลักที่ใช้ยืนยันการมีอยู่ของสสารมืด และพลังงานมืด
      
       แชงส์กล่าวว่าด้วยการกระเพื่อมที่่น้อยกว่านั้น ไม่มีความจำเป็นต่อการนำแนวคิดเกี่ยวกับสสารมืดและพลังงานมืดมาอธิบายการ สังเกตการณ์รังสีพื้นหลังซีเอ็มบี และสิ่งที่พวกเขาพบในครั้งนี้จะรายงานลงวารสารรายเดือนมอนธ์ลีโนทิซส์ (Monthly Notices) ของสมาคมดาราศาสตร์หลวง (Royal Astronomical Society)
      
       หากแต่นักดาราศาสตร์รายอื่นๆ ที่มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ผลจากกล้องดับเบิลยูแม็พในช่วงแรกเริ่มเลยนั้น ยังไม่มั่นใจกับการศึกษาครั้งนี้ของแชงส์กับลูกศิษย์เท่าไรนัก โดยชาร์ลส เบนเบตต์ (Charles Bennett) จากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอพกินส์ (Johns Hopkins University in Baltimore) ในบัลติมอร์ สหรัฐฯ กล่าวว่าทีมนักดาราศาสตร์ดับเบิลยูแม็พนั้นได้ตรวจสอบอย่างกว้างขวาง และซื่อสัตย์กับผลที่ได้รับ
      
       อีกทั้งทีมนักดาราศาสตร์ดับเบิลยูแม็พยังได้ตั้งประเด็นกับวิธีการ ใช้แหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุอ่อนๆ ที่อยู่ไกลโพ้นเพื่อคำนวณความคลาดเคลื่อนในการบิดเบือนภาพของกล้องโทรทรรศน์ อวกาศดับเบิลยูแม็พนี้ด้วย โดย มาร์ก ฮาลเพิร์น (Mark Halpern) จากมหาวิทยาลัยบริติซโคลัมเบีย (University of British Columbia) กล่าวว่าเป็นแหล่งอ้างอิงที่อ่อนและไม่เกี่ยวข้องกับรังสีซีเอ็มบี อีกทั้งยังเป็นวิธีการที่ด้อยกว่าทีมของพวกเขา และกล่าวด้วยว่าเขาและลูกทีมได้จำแนกความคลาดเคลื่อนที่่ทีมอื่นผิดพลาดใน การคำนวณการกระจายตัวอันน่าสับสนของการกระเพื่อมของรังสีซีเอ็มบีเอง
      
       “เราสามารถหาผลการคำนวณของแชงส์ได้โดยข้ามขั้นตอนการคำนวณความสับสน พื้นหลัง หากแต่ขั้นตอนนี้เป็นสิ่งจำเป็น"เบนเนตต์อธิบาย
      
       ถึงอย่างนั้นแชงส์กล่าวว่าเขาตระหนักในการคัดค้านเหล่านั้น และยังยึดมั่นในการคำนวณของเขา ซึ่งเขาคิดว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญนัก และท้ายสุดเขาหวังว่า การวัดรังสีพื้นหลังที่ดีขึ้นในอนาคตจากกล้องโทรทรรศน์ตัวใหม่จะช่วยทำให้ ประเด็นนี้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศแพลงก์ (Planck) ซึ่งเขาสนใจผลที่จะได้จากกล้องตัวนี้ และหวังว่าจะใช้วิธีเดิมเพื่อตรวจสอบข้อมูลที่กล้องจะส่งมา
      
       สำหรับกล้องโทรทรรศน์อวกาศแพลงก์นั้นเป็นกล้องขององค์การอวกาศยุโรป ซึ่งได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อปี 2009 เพื่อติดตามข้อมูลใหม่ๆ และรายละเอียดที่มากขึ้นของรังสีพื้นหลังซีเอ็มบี
 
.....................................................................................................................................
 ....................................................................................................................................
.....................................................................................................................................
.........................................




Create Date : 30 มิถุนายน 2553
Last Update : 30 มิถุนายน 2553 14:27:01 น. 0 comments
Counter : 831 Pageviews.

kongrit1416
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kongrit1416's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.