ที่ใดมีธรรมะ...ที่นั่นจะพบกับทางออกของชีวิต ^_^
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2560
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
1 กุมภาพันธ์ 2560
 
All Blogs
 
สุขทุกข์อยู่ที่ใจ (ตอนเดียวจบ)



นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

จิตตังทันตัง สุขาวะหันติ


บัดนี้จะได้แสดงพระธรรมคำสั่งสอนของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาบารมี

ของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายซึ่งได้นำตนของตน

ออกมาตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมอันจะนำให้จิตใจของตนนั้น

ผ่องใสสะอาด ปราศจากความชั่วร้ายทั้งหลาย ในการที่

ท่านทั้งหลายได้เสียสละกิจการงานทางบ้าน มาบวชเป็น

เนกขัมมะเป็นเวลาหลายวันบางท่านก็ต้องหยุดไปเพราะ

เกี่ยวกับการงานที่จะต้องทำมีประจำอยู่ ส่วนผู้ที่ยังมี

ศรัทธาแก่กล้าที่สามารถจะประพฤติปฏิบัติไปจนครบวันที่

กำหนดไว้ก็ยังมีอยู่มากเพราะฉะนั้นในการที่เราฟังเทศน์

หลายๆท่านซึ่งมาแสดง ณ สถานที่นี้ย่อมมีนโยบาย

ขยายข้อความธรรมะนั้นไปต่างๆกัน เมื่อรวมลงมาแล้ว

ก็คือให้รักษาจิตนั้นเองเพราะธรรมชาติของจิตเป็น

นามธรรมทุกๆคน มองไม่เห็นจิตของตน ทำอย่างไรเราถึง

จะเห็นจิตได้สิ่งเหล่านี้ท่านอาจารย์มหาถาวรหรือ

พระภาวนาพิศาลเถระก็ได้อธิบายขยายความแนะนำ ทั้งเช้า

ทั้งเย็นเข้าใจว่าทุกๆ ท่านคงเข้าใจในทางปฏิบัติ เพราะ

การปฏิบัตินั้นเนื่องมาจากเรากระทำกันบ่อยๆอย่างที่ท่าน

ทั้งหลายได้กระทำมานี้บางคนก็(ปฏิบัติ)จะเป็นเวลา

หลายปีหลายเดือนมาบางคนก็จะเข้ามาใหม่ก็ได้ ทีนี้การ

ปฏิบัติธรรมนั้นไม่ได้ไปปฏิบัติที่ไหนปฏิบัติที่กาย วาจา ใจ

เท่านี้เองคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งแปดหมื่นสี่พัน

พระธรรมขันธ์เมื่อย่อให้สั้นก็ลงมาอยู่ที่กายวาจาของเรา

นี่เองพระพุทธเจ้าสอนพุทธบริษัททั้งหลายนั้น ก็สอนที่

จิตใจนี่เองหากการทำจิตใจของเราให้พ้นจากกิเลสอาสวะ

ซึ่งเป็นเครื่องดองอยู่ในจิตสันดานของเรามาตั้ง

หลายภพหลายชาติเราไม่สามารถที่จะระลึกชาติได้

ก็เพราะจิตใจของเรานั้นยังเป็นปุถุชนยังมีอวิชชาคือความไม่รู้

หุ้มห่ออยู่ในดวงใจของเรานั้นถ้าเมื่อใดเราชำระอวิชชา

คือความไม่รู้ได้แก่ ความหลง หลงในลาภ ในยศ

ในสรรเสริญในสุข ซึ่งบุคคลปรารถนากันทุก ๆ ถ้าเรามา

พิจารณาด้วยปัญญาอันแยบคายแล้วเราจะเห็นได้ชัดว่า

ใจของเรานั้นเป็นธรรมชาติหวั่นไหวเป็นธรรมชาติไม่อยู่กับที่

ทำอย่างไรจิตใจของเราจึงจะอยู่กับที่ได้เพราะต้องอาศัย

การปฏิบัติอย่างที่กระทำอยู่ในขณะนี้เพราะขณะนี้ทุกๆ คน

ก็มุ่งที่จะมาดูใจของตนว่าใจของเรานั้นในขณะนี้

มันคิดไปติดอยู่ในอารมณ์ส่วนไหนตามปกติทางเดินของใจนั้น

มีอยู่2 ทาง คือทางที่เป็นกุศล คือทางดี ทางที่เป็นอกุศล

คือทางไม่ดีนี้เป็น ทางเดินของจิต มันคิดไปในทางที่ดี

เช่นคิดว่าวันนี้เราได้รักษาศีล ได้เจริญ ได้รักษาศีล ได้ให้ทาน

ได้เจริญเมตตาภาวนานี่เรียกว่าจิตมันคิดไปในทางที่ดี

เรียกว่ามีปัญญาประกอบไปด้วยความคิด บางครั้งมันก็คิด

ไปในทางที่เป็นอกุศลคือคิดไปในทางที่ความชั่ว เช่น

อย่างว่ามันอยากได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ถ้าไม่ได้ตามความ

ปรารถนาใจนั้นมันก็..มันก็ย่อท้อไม่อยากกระทำความเพียร

เพราะฉะนั้นในการปฏิบัตินี้ถ้าผู้ที่มีศรัทธา คือความเชื่อมั่น

ในตัวของตัวเองแล้วบุคคลผู้นั้นก็จะตั้งใจปฏิบัติไป

จนกระทั่งว่าได้เห็นของจริงที่มันเกิดขึ้นในใจของเราได้แก่

สัจธรรมทั้งสี่มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


ทุกข์ คือเรานั่งอยู่เดี๋ยวนี้ก็เห็นแล้ว นั่นนานๆ

ทุกขเวทนามันก็เกิดขึ้นที่สังขารคือร่างกายของเรานี่เอง

ทีนี้เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นทำอย่างไรเราถึงจะแก้ทุกข์อันนี้ได้

เช่นอย่างเรานั่งพับเพียบข้างซ้ายหรือข้างขวาถ้ามัน

เกิดเวทนาขึ้นก็เปลี่ยนซะอีกข้างหนึ่ง นี่เรียกว่า เป็นการ

แก้ชั่วคราวเพื่อให้หายเวทนานั้นไปชั่วคราวหนึ่ง ทีนี้เมื่อ

แก้เช่นนี้แล้วสุขเวทนาก็เกิดขึ้น เมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้น

ใจนั้นมันก็ไปยึดที่สุขที่ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั่นเองล่ะ ทีนี้เมื่อมีสติ

ระลึกนึกอยู่เสมอว่าเวทนานี้ก็เป็นแต่เพียงว่า สรรพเวทนา

คือความสุขและความทุกข์ สองอย่างนี้ ถ้าในขณะใด

จิตใจของเรามันรวมลงเป็นหนึ่งได้มันก็วางจากความสุข

กับความทุกข์แล้วมาตั้งอยู่เป็นกลางๆ คือเป็น อุเบกขา

เรียกว่าวางเฉยอยู่ ไม่ยึดไม่ถือ อันนี้ท่านให้ชื่อว่า จิตเป็น

สมาธิขั้นหนึ่งแล้วทีนี้ต่อจากนั้นเมื่อจิตมันไม่ยึดถือได้นานๆ

ท่านก็ให้ชื่อว่าเป็นอุปจารสมาธิคือเบื้องต้นเป็นขนิกสมาธิ

คือสมาธิเป็นขณะหรือชั่วครู่ชั่วคราว เมื่อจิตของเราสงบ

ระงับได้นานประมาณชั่วโมงหนึ่งหรือ สามสิบนาทีอย่างนี้

เขาเรียกว่าสมาธิที่ใกล้เข้าไปคือเรียกว่า อุปจารสมาธิ ทีนี้

ถ้าจิตมันสงบระงับนานนิ่งอยู่เป็นชั่วโมง สองชั่วโมง สาม

ชั่วโมงนั้นเรียกว่า อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่ แม้

อารมณ์ส่วนไหนจะผ่านเข้ามาทางตาทางหู ทางจมูก ทาง

ลิ้นและทางกายจนกระทั่วมาถึงใจ ใจก็วางเฉยอยู่อย่างนั้น

ไม่ได้ยึดไม่ได้ถือนี่ท่านเรียกว่าเป็นแก่นของการนั่งภาวนา

คือการนั่งสมาธิอย่างที่ท่านทั้งหลายนั่งอยู่เดี๋ยวนี้ ความ

สงบระงับที่จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสติ และสัมปชัญญะ

คือความระลึกได้และความรู้ตัวอยู่เสมอว่าขณะนี้เราทำ

อะไรต้องถามใจของเราอยู่เสมอ ว่าขณะนี้ หนึ่ง เรากำลัง

ตั้งใจฟังพระท่านบรรยายหรืออธิบายถึงการรักษาจิต สอง

การรักษาจิตนั้นจะรักษาไปทำไม คือรักษาไม่ให้มันยุ่ง

มันไปยุ่งเกี่ยวกับอารมณ์ส่วนไหนก็ใช้สติและสัมปชัญญะ

คอยแก้ไขให้มันละมันวางอารมณ์สิ่งเหล่านั้นเสียได้ นั่นเรียก

ว่าเป็นผู้มีปัญญาปัญญาที่จะเกิดขึ้นมาได้ก็ต้องอาศัยการฟัง

เมื่อฟังแล้วก็ต้องจำจำแล้วก็นำไปคิด คิดแล้วก็วินิจฉัย

พิจารณาให้ละเอียดเอาง่ายๆ นับตั้งแต่เราได้เข้ามา

ปฏิบัติธรรมอยู่ในสถานที่นี้ ผู้ที่มานานหรือมาใหม่ก็ตาม

เรานึกระลึกหวนทวนกระแสจิตของเราอยู่ตั้งแต่วันเข้ามา

ปฏิบัตินั้นธรรมเกิดขึ้นกับใจเราหรือไม่ เรานึกดูอย่างนี้

ทีนี้ถ้าหากเรานึกได้นึกทวนกระแสไปว่าเราปฏิบัติมา

นมนานปานนี้ความโกรธมันเบาบางลงหรือไม่ ความหลง

เบาบางหรือไม่อันนี้จะต้องนึกได้เฉพาะตน พระพุทธเจ้า

สอนว่าปัจจัตตัง เวทิตัพโพวิญญูหิ อันวิญญูชนที่จะพึงรู้

ได้โดยเฉพาะตนเองส่วนบุคคลอื่นนั้น ถ้าไม่ใช่พระอริยะเจ้า

ผู้ตัดกิเลสตายคลายกิเลสออก สำรอกกิเลสหลุด เช่น

พระอริยะบุคคลทั้งหลายก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ จิตใจ

ของเราละเอียดหรือหยาบก็ทราบได้เฉพาะตนเองบุคคล

อื่นนั้นจะทราบได้ก็แต่เพียงภายนอกมองดูกิริยากายวาจา

ที่แสดงออกมาเท่านั้นถ้าท่านผู้ใดได้ตั้งใจปฏิบัติเพื่อ

ต้องการที่จะพ้นจากกองทุกข์นั้นก็อย่าละให้พยายามทำ

ต่อเนื่องกันไปวันละเล็กละน้อยถ้าทำได้อย่างนี้ผลสุดท้าย

เราก็ต้องจะได้รับความสุขคือความสงบที่มันเกิดขึ้นกับ

ดวงใจของเรานั้นเองต้องได้รับความสว่างไสวเกิดขึ้นกับ

ใจนั้นทีนี้ในสัจธรรมทั้งสี่ ที่เรียกว่าอริยสัจสี่ในข้อที่ 1 นั้น

เรียกว่าทุกข์ก็ได้อธิบายย่อๆว่า คือเวทนาที่มันเกิดขึ้นกับ

กายกับจิตนั่นเอง


สมุทัยได้แก่ความสมมุตินิยมท่านแยกออกไป

เรียกว่าตัณหา3 คือ กามตัณหา จิตใคร่ในกาม ภวตัณหา

จิตมันคิดจะเกิดในภพนั้นภพนี้วิภวตัณหา ความไม่อยากเกิด

ไม่อยากเป็น


ทีนี้ความอยากอันนี้เป็นอุปสรรคเครื่องขัดข้อง ที่

จะทำให้จิตของเรานั้นไม่เข้าสู่สมาธิได้เราต้องแก้ไข เช่น

อย่างความใคร่มันอยากจะได้อย่างโน้นอย่างนี้ขึ้นมาเราก็

ถามจิตของเราว่าจิตคิดอยู่เดี๋ยวนี้ เช่น สมมุติว่าอยากจะ

ได้เงินหมื่นเงินแสน เงินล้าน มันได้หรือไม่ จิตมันจะต้อง

ตอบว่าไม่ได้ เพราะอะไร เพราะเราไม่ได้ไปค้าขาย เวลานี้

เรามาหาความสุขทางใจนั่งอยู่ในขณะนี้ได้รับความสุข

หรือไม่ต้องถามใจของเราอีก อย่างน้อยๆ ก็ต้องได้รับบ้าง

สำหรับความสุขใจในขณะใดใจของเรามีความเบิกบานแล้ว

ก็ไม่เป็นห่วงบ้านห่วงช่องไม่ห่วงกิจการงานทั้งปวง

ในขณะนั้นเรียกว่าใจเรามันว่างหรือมันวางจากอารมณ์ต่างๆ

ที่จะผ่านเข้ามาถึงใจของเรานี่ท่านเรียกว่า การปฏิบัติ

ทีนี้การปฏิบัตินั้นไม่เฉพาะแต่เราจะมานั่งอยู่แต่ใน

วัดนี้แม้เราจะเดิน จะนั่ง จะนอน หรือจะทำอะไรอยู่ ใน

สถานที่ใดที่หนึ่งถ้าเรามีสติ คือความระลึกได้อยู่ว่า เวลานี้

เราเดินเวลานี้เรานั่ง นั่งอะไร นั่งฟังพระท่านบรรยาย

ธรรมะนี่ให้รู้อยู่อย่างนี้ ทีนี้ความรู้ที่มันเกิดขึ้นจากภาค

ปฏิบัตินั้นท่านเรียกว่า วิญญู คือผู้รู้ รู้จักแก้ไขดวงใจของตน

ที่มันกังวลไปอยู่ในอารมณ์ภายนอกเมื่อเราแก้ไขได้แล้ว

จิตนั้นจะมารวมอยู่ในจุดดวงเดียวไม่เกี่ยวข้องด้วย

อารมณ์ภายนอกนี่เรียกว่าท่านให้ละสมุทัยคือความสมมุติ

นิยมแต่เดี๋ยวนี้คนโดยส่วนมากมาติดอยู่ในสมมุติ สมมุติ

ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้อันนี้ล่ะมันเป็นเหตุให้จิตของเราไม่

สงบระงับซึ่งท่านเรียกว่า สมุทัย ทีนี้เมื่อสมุทัยมันเกิดขึ้น

ท่านก็สอนนิโรธ คือความดับทุกข์ ทีนี้เราจะดับได้อย่างไร

เอาอย่างหยาบๆอย่างเบื้องต้น เช่นอย่างเรานั่งอยู่ ณ

บัดนี้ถ้าความทุกข์มันเกิดขึ้นทางกาย เราก็เปลี่ยนอิริยาบถ

ซะบ้างนี่ก็เรียกว่าดับอย่างหยาบ ทีนี้ถ้าหยาบอย่างกลาง

ใจของเราก็วางจากสิ่งเหล่านี้ไปได้อย่างละเอียดนั้น เรา

ปฏิบัติไปปฏิบัติไปจะรู้ได้ด้วยใจของตนเอง ท่านจึงให้ชื่อว่า

นิโรธะคือ ความดับทุกข์ ทีนี้การปฏิบัติจะให้ถึง ความดับทุกข์

ได้นั้นเพราะต้องอาศัย มัฌชิมาปฏิปทา นับตั้งแต่

สัมมาทิฐฐิมีความเห็นชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่น จน

กระทั่งถึงสัมมาปัญญา ทำปัญญาให้รู้แจ้งแทงตลอดใน

สัจธรรมทั้ง4 อันนี้เป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้า สอนพระ

อริยสาวกในเบื้องต้น คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ วัปปะ

ภัททิยะมหานามะ อัสชิ ที่เราทั้งหลายได้ทราบว่าพระ

ปัญจวัคคีย์มีพวก 5 คือ 5 รูป ซึ่งเป็นผู้ได้ตั้งใจประพฤติ

ปฏิบัติตามปฏิปทาของพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะได้ตรัสรู้

เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ก็ได้ท่านทั้ง 5 นี้เป็นผู้ที่คอย

ปฏิบัติ ในกิจวัตรทั้งปวง ครั้นต่อมาภายหลัง ท่านเหล่านั้น

ก็ได้แยกตัวออกจากพระพุทธเจ้า คือในตอนแรกท่านยังไม่

ได้สำเร็จพระอรหันต์ ก็ได้ตั้งใจพากันปฏิบัติคือในสมัยครั้ง

โบราณกาล นั้น เรียกว่าพวกฤๅษี พวกรักษาศีล 5 ศีล 8

พวกทรมานกายต่างๆ เพื่อต้องการที่จะให้ได้บรรลุธรรม

วิเศษ อันเป็นเหตุให้ไม่ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย

แต่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นก็ทำได้เพียง ได้ฌานโลกีย์ คือ

ปฐมฌาน ทุติยฌาน ไปจนกระทั่งถึง รูปฌาน อรูปฌาน

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนนั้น ยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้

ศึกษาจากอาจารย์ทั้งสองแล้ว และก็ได้หลีกจากพระปัญจวัคคีย์

ไปอยู่องค์เดียวได้ตั้งสัจจาธิษฐานลงในใจว่า คือ

พระองค์ได้ประทับนั่ง ณ ต้นศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำ

เนรัญชรา หันหน้าไปทางทิศตะวันออกหันหลังใส่ต้นโพธิ์

ได้ตั้งสัจจาลงว่าเมื่อข้าพเจ้ายังไม่ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ

จะไม่ลุกจากที่นั่งแห่งนี้ ครั้นถึงปฐมยาม จิตของพระองค์

นั้นก็สงบระงับ ดับความทุกข์ทั้งปวงไปได้ ถึงมัชฌิมยาม

ก็เกิดญาณขึ้นว่ารู้ (รู้) ว่าการเกิดแก่เจ็บตายนี้มันมีอยู่ประจำ

ไม่ว่าจะเป็นคนเป็นสัตว์ ครั้นแสงสว่างที่จะเกิดขึ้นในทาง

ทิศตะวันออก พระองค์ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

คือสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ได้ละทั้งหมด จิตใจของพระองค์

เกิดความสว่างไสวขึ้นได้ คำว่า สัมมาสัมโพธิญาณนั้น

เกิดขึ้นเองไม่มีใครแต่งตั้งให้ เมื่อพระองค์มาพิจารณาอย่างนี้ได้

พระองค์จึงได้นึกถึงว่า ก่อนอื่นที่เราจะแสดงพระธรรม

เทศนาหรือเราจะไม่แสดง จึงเกิด พรหมวิหารธรรมขึ้น

ซึ่งเราทั้งหลายก่อนที่จะฟังเทศน์ ก็ได้อาราธนาว่า “พรัหมมา

จะโลกาธิปะติ สะหัมปะติ” เป็นต้น ก็หมายความว่า พระองค์

มีพระพรหมวิหารธรรมที่จะแจกจ่าย จำแนกแจกจ่ายพระ

ธรรมคำสั่งสอนที่พระองค์ได้ทรงประพฤติปฏิบัติมา

แก่พุทธบริษัท ก็มานึกถึงอาจารย์ทั้งสองคืออาฬารดาบส

และอุทกดาบส ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความรู้ในเบื้องต้น แต่ท่านทั้งสองนั้น

ก็ได้ถึงแก่ตาย ไปเสียแล้ว ครั้นต่อมามานึกถึงปัญจ-

วัคคีย์ทั้ง 5 มีพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นต้น ซึ่งพากันปฏิบัติ

ทำความพากความเพียรอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

แขวงพาราณาสี พระพุทธองค์จึงได้เสด็จมา พอมาถึงสถานที่นั้น

ท่านทั้ง 5 นั้น เบื้องต้นก็ได้สัญญากันว่า จะไม่ต้อนรับ เพราะ

พระองค์นั้นเป็นคนมักมาก ยากที่จะได้สำเร็จเป็น

พระพุทธเจ้าได้ ต่อจากนั้นพระองค์จึงทรงตรัสออกมาว่า

“โกณฑัญญะ เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เธอทั้งหลาย

จงตั้งใจ ว่าเราจะแสดงธรรมให้ฟัง ธรรมนี้เราไม่

เคยพูด” พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็เกิดศรัทธา คือ ความเชื่อขึ้น

เมื่อมีความเชื่อขึ้นมาแล้ว พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงแสดง

พระธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร อย่างที่ท่านทั้งหลายได้ฟังบ่อยๆ

คือจะแสดงในวันที่จะเข้าพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8

ซึ่งเป็นวันแสดงปฐมเทศนา เราทั้งหลายจึงได้พากันบูชา

เรียกว่า อาสาฬหบูชา ได้ทำสืบๆ กันมา ใจความในธรรม

จักรกัปปวัตตนสูตรนั้น กล่าวโดยย่อ พระองค์แสดงความ

เป็นที่สุด 2 อย่างคือ กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตน

ไปในทางกาม อัตถกิลมถานุโยค การทรมานตนอย่างยอดเยี่ยม

อันนี้พระองค์ก็ได้ทรงกระทำมาแล้ว ก็ยังไม่ได้

สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทีนี้ต่อจากนั้น พระองค์

จึงได้แสดงมรรคทั้ง 8 ประการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

มีสัมมาทิฐฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น จนกระทั่งถึง สัมมาสมาธิ

ท่านทั้ง 5 นั้นได้ใช้ปัญญาพิจารณาตามกระแสของ

พระธรรมเทศนาของพระองค์นั้น ส่วนพระอัญญาโกณฑัญญะ

ผู้เป็นหัวหน้าของปัญจวัคคีนั้น ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า

ยังกิญจิ สมุถะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไป

เป็นธรรมดา เมื่อท่านมาพิจารณา น้อมเข้ามาหา

สังขารคือร่างกายของตน จะต้องดับไปในวันหนึ่งจนได้

ในขณะนั้นท่านก็ได้เป็นโสดาบัน คือละกิเลสที่ยึดในตัวของตนนั้น

ต่อจากนั้นพระองค์ก็ได้แสดงถึง อนัตลักขณสูตร ว่า

ขันธ์ทั้ง 5 มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

เป็นของไม่เที่ยง คือเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ซึ่งเรียกว่า

ไตรลักษณ์ เมื่อพระองค์แสดงจบไตรลักษณ์แล้วท่านทั้ง 5 นั้น

ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสตาย คลายกิเลสออก

สำรอกกิเลสหมด พระสงฆ์จึงได้เกิดขึ้นในวันนั้น ซึ่งเรียกว่า

ครบพระรัตนตรัย คือเบื้องต้นก็มีแต่เพียงพระพุทธ และ

พระธรรมคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อปัญจวัคคีย์ทั้ง

5 ได้สำเร็จบรรลุมรรคผลธรรมะวิเศษแล้ว ก็เรียกว่าเป็น

พระอริยสงฆ์ เป็นผู้ที่จะเป็นกำลังสำคัญไปช่วยเผยแผ่

ธรรมะ ในทิศต่างๆ ส่วน พระองค์นั้นก็ไปอีกทิศหนึ่ง คือ

ไปทางทิศที่พระเจ้าสุทโธทนะอยู่ เพื่อที่จะโปรดพระบิดา

พระมารดา ให้ได้ฟังพระธรรมเทศนา อันนี้เป็น

ตัวอย่างที่โบราณ อาจารย์ ท่านเขียนไว้หรือกล่าวไว้

เราทั้งหลายก็ได้ฟังบ่อยๆ แต่ ถ้าผู้ใดเอามาคิดมาพินิจมา

พิจารณาให้ละเอียดแล้ว ว่าท่านทั้ง 5 นั้น ฟังเทศน์

อย่างไรถึงได้สำเร็จในวันเดียว ถ้าเรามาคิดอย่างนี้ ว่า

ท่านเหล่านั้นท่านได้ปฏิบัติมาตั้งหลายภพ หลายชาติ

อย่างพวกเรานี้ก็สามารถที่จะได้เคยฟัง หรือได้เคยประพฤติ

ปฏิบัติเช่นนั้นมานานเหมือนกัน ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้เราทั้ง

หลายนี้ ได้เข้ามาประพฤติปฏิบัติธรรมในสถานที่นี้

แต่ก่อนเราทั้งหลายก็ไม่ได้สนใจ เมื่อได้ยินว่า ที่วัดนั้น วัดนี้

จะมีการเทศน์ เราก็ไปฟังบ้างไม่ไปฟังบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้

เราทั้งหลาย ที่ได้ตั้งใจมาปฏิบัติ เบื้องต้นก็นึกว่า เป็นการ

เฉลิมฉลองหรือเทิดพระเกียรติ ของพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็น

วันครบรอบวันเกิดพูดอย่างภาษาสามัญง่ายๆ ก็แล้วกัน

เพื่อความเข้าใจง่าย ก็มาถึงวันที่ 5 ธันวาคม ราษฎรทั้งหลาย

ทั้งหน่วยราชการและประชาชนเขามาทำการเฉลิมฉลอง

ให้ทีนี้สำหรับในสำนักนี้ เท่าที่พระภาวนาพิศาลเถระ ได้จัด

ให้มีการบวชเนขขัมมะเรียกง่ายๆ ก็เรียกว่าบวชชีบวช

พราหมณ์ โดยไม่ต้องโกนหัวโกนคิ้วเพียงแต่นุ่งขาวห่มขาว

หรือนุ่มดำห่มดำก็ได้ พากันมาตั้งใจกันมาบำเพ็ญทานแล้ว

ก็รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา เพื่อที่จะส่งเสริมเพิ่มเติม

ให้พระองค์นั้น มีพระชนม์มายุยิ่งยืนนาน ส่วนผลที่จะ

ได้แก่เรานั้น ก็คือใจของเรานั้น เป็นใจอันได้รับความเยือกเย็น

ไม่ต้องเป็นห่วงทางบ้านทางช่อง เมื่อมาพักมาปฏิบัติ

อยู่ก็รู้สึกว่าได้รับความเย็นใจ ถ้าในขณะใดใจของเราเป็น

ปกติ ในขณะนั้นเรียกว่าเราได้รับผลแห่งการปฏิบัติ

อย่างพระพุทธเจ้าในครั้งที่เป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์บำเพ็ญ

ทานถ้าพูดเป็นศัพท์ย่อๆ ว่า ทา สิ เน ปะ วิ ขะ สะ อะ เม

อุ ทา ก็ได้แก่ ทาน ท่านทั้งหลายก็ได้ทำทาน มีการให้

อามิส มีข้าวน้ำโภชนาหาร หรือให้ผ้าผ่อนท่อนสไบ ถ้าทาน

ในพระวินัยก็เช่นอย่างให้ผ้าจีวรสบงเป็นต้น ทีนี้ สิ ก็คือ ศีล

บางท่านรักษาศีล 5 บางท่านก็รักษาศีล 8 อย่างที่ได้

สมาทานกันเมื่อตอนเช้าวันนี้ หรือวันก่อนๆ ก็แล้วแต่ ทีนี้

สิ่งเหล่านี้ พระองค์ได้ทรงปฏิบัติเมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่

ทีนี้ศีล ทีนี้เมื่อมีศีลแล้วก็เกิดปัญญา เมื่อทาสิเน เน

นั้นหมายถึง เนขขัม อย่างที่ท่านทั้งหลายได้บวชอยู่นี้ คือ

การออกจากบ้านมาปฏิบัติศีลธรรมอยู่ในวัดนี้ เรียกว่า

ออกบวชจากบ้านจากเรือนเพื่อที่ต้องการจะขับไล่ไสส่ง

กิเลสตัณหาซึ่งมันมีอยู่ในใจของเรา ให้ห่างไกลออกไป ทีนี้

ทาสิเนปะ ปะ ตัวนี้หมายถึง ปัญญา ปัญญาแปลว่าความรู้

เกิดขึ้นจากการฟัง เมื่อฟังแล้วก็ต้องไปคิด คิดแล้วก็วิจัย

ให้ละเอียดลงไป พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงทำมาก่อนแล้ว

ทีนี้ต่อมา จาก ทาสิเนปะวิ วิ หมายถึง วิริยะคือความเพียร

ท่านมีบาลีอยู่ว่า วิริเยนะทุกขะมัจเจติ บุคคลที่จะล่วงพ้น

จากความทุกข์ได้ก็เพราะความเพียร อย่างพวกท่านที่ได้

มานั่งรักษาศีล 5 ศีล 8 และกำหนดดูจิตใจของตนนี้

ก็เรียกว่าทำความเพียร ถ้านอกจากนี้แล้วมิใช่เฉพาะเวลา

นั่งอย่างเดียว การเดิน ก็เรียกว่ากำหนดให้รู้ว่าเราเดิน ทีนี้

เราจะไปนอนพักผ่อนก็ให้รู้ว่าเราจะไปนอนพักผ่อนคือ

ความเพียรนั้นทำได้ทุกอิริยาบถ มีการยืนเดินนั่งนอนกิน

ดื่มทำพูดคิด เป็นต้น อันนี้นี้เรียกว่า ความเพียร เพียรเพื่อ

ละกิเลสอาสวะทั้งหลาย ซึ่งมันมีอยู่ในจิตของเรา

แล้วตั้งใจเอาแต่ความดี ทีนี้การที่มีศัพท์ต่อไปว่า ทาสิเนปะวิขะ

ขะ นี้แปลว่าว่าขันติ คือ ความอด ความทนต่อการตรากตรำ

การทรมาน ขันติตัวนี้ ถ้าเราทั้งหลาย เป็นผู้บำเพ็ญอยู่เป็นนิจ

จิตของเรานั้นจะเป็นคนเยือกเย็น ใครจะมาว่ามาด่ามาทำ

อย่างไร ใจของเราก็ไม่ได้หวั่นไหว เพราะได้เกิดความ

อดทนอดกลั้น เช่นอย่างง่ายๆ เวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย

เรามีขันติอดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น ไม่แสดงอาการทุรน

ทุราย มีสติคอยกำกับใจอยู่ว่าการอดทนต่อความยากลำบากนี้

พระพุทธเจ้าเคยบำเพ็ญมาแล้ว จนกระทั่งพระองค์ทรง

อดพระกระยาหาร เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ก็ยังไม่ได้

สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ ทีนี้คำว่า สะ ได้แก่ สัจจะ คือ

ความจริงใจ ที่พระองค์ได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติมา ตั้งแต่

เริ่มแรก ทีนี้ก็ อะ ได้แก่ อธิษฐาน ว่า ถ้าข้าพเจ้า ไม่ได้

เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อไหร่ จะไม่ได้ละจากสิ่งเหล่านี้ จะต้อง

ทำให้จนสำเร็จให้ได้ ทีนี้ถ้าพูดเป็นธรรมก็จะเป็น ทาสิเน

ปะวิขะสะอะ ได้แก่อธิษฐาน คืออธิษฐานตั้งลงในใจอย่างที่

พวกท่านทั้งหลายอธิษฐานว่า ในช่วงระยะ ตั้งแต่วันที่ 1 ที่ 2

มาจนกระทั่งถึงวันนี้ หรือจะถึงวันสุดท้าย เราอธิษฐานว่า

เราจะรักษาศีล 5 ศีล 8 ให้ครบ ตามที่เราตั้งใจไว้ ทีนี้

ในข้อที่ว่า เม นั้น ได้แก่ เมตตา คือ พรหมวิหารธรรมทั้ง 4

เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา (ทาสิเนปะวิขะสะอะเนอุ)

ข้อสุดท้ายเรียก อุ ได้แก่อุเบกขา คือ การวางเฉย ไม่ยึดมั่น

ถือมั่นในสิ่งทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ อันนี้เรียกว่า บารมี 10

ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญมาตั้งแต่ครั้งพระองค์

ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ถ้าย่อความลงมาให้สั้นอย่างที่

อาตมาได้กล่าวว่า ทาสิเนปะวิขะสะอะเนอุ นี่เรียกว่า

คาถาแห่งบารมี 10 ทัศ ทีนี้ในทานนั้นท่านจำแนกออกไปมี

อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด จนกระทั่งทั้งศีล

ทั้งทุกข์มารวมกันแล้วเรียกว่า บารมี 30 ทัศ คือ อย่างละ

สามๆ ทีนี้อย่างทานซึ่งพวกท่านทั้งหลายเคยทำอยู่

ทานอย่างเบื้องต้น เราให้ของไม่ละเอียดนักเช่นอย่างให้อาหาร

ให้พอฉันได้ นี่เขาเรียกว่าทานเบื้องต้น ทีนี้ทานใน

ท่ามกลางให้ของละเอียดอ่อนขึ้นไป ทานในที่สุด

จนกระทั่งว่า สมมุติว่า ผ้าที่เราใช้อยู่ เราจะให้ทานแก่บุคคลอื่น

ให้ผ้าที่ละเอียดกว่าที่เราใช้นั้นเรียกว่าทานอย่างละเอียด

ส่วนศีลก็เช่นเดียวกัน สีลปารมี สีลอุปปารมี สีลปรมัตถปารมี


ทีนี้ศีลในเบื้องต้นที่ท่านทั้งหลายกำลังรักษากำลังทำ

อยู่อย่างนี้ เรียกว่าเป็นศีลอย่างหยาบ ทีนี้ศีลอย่างกลาง

คือมีเจตนาแน่วแน่ละเอียดลงไปอีก ทีนี้ศีลสุดท้าย

คือความละเอียดของศีลนั้นอย่างท่านทั้งหลายได้สมาทาน

มาแล้วนำมาตรวจดูว่าไม่มีข้อบกพร่อง นับตั้งแต่ปาณาฯ

จนกระทั่งถึงอุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เป็นต้น เราไม่ได้

ทำให้ขาดตกบกพร่องไม่มีด่างพร้อย อย่างนี้เรียกว่า

ปรมัตถศีล แม้ชีวิตจิตใจของเราจะเป็นอย่างไร เราต้อง

อุทิศอย่างพระโพธิสัตว์ท่านปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางแห่ง

พุทธบริษัทที่ครั้งโบราณ อาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า

แม้ร่างกายของพระองค์จะมีคนมาประหัตประหารให้ถึงแก่

ความตาย จิตใจของพระองค์ก็ไม่ได้หวั่นไหวเพราะได้

ตั้งใจรักษาศีลถึงขั้นปรมัตถศีลแล้วเรียกว่าศีลอย่างละเอียด


ทีนี้อย่างพวกเราจะทำได้อย่างนั้นหรือไม่ ต้องมา

สอบดูจิตใจของเราดูว่า ยังทำไม่ได้ขนาดนั้น ก็ได้เพียงศีล

อย่างกลาง ที่เราปฏิบัติอยู่เดี๋ยวนี้ โดยส่วนมากก็ได้เพียง

เบื้องต้นหรืออย่างกลาง ส่วนปรมตฺถศีลนั้น เป็นศีลละเอียด

จิตใจของเรานั้นละเอียดอ่อน บุคคลอื่นไม่สามารถที่จะ

ทราบได้ว่าใจของบุคคลนั้นเป็นอย่างนั้น ของบุคคลนี้เป็น

อย่างนี้ ผู้ที่จะทราบได้ก็คือเจ้าของเอง เพราะฉะนั้น

ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่ท่านได้เสียสละมาแนะนำให้โอวาท

ของพวกท่านก็มีนโยบายต่างๆ กัน แต่เมื่อรวมลงแล้ว

ก็เพื่อต้องการที่จะให้พวกท่านทั้งหลายนั้น ปฏิบัติจิตใจให้ได้

รับความสุข คือความสุขที่จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะ เราทำจริง

กะยิรา เจ กะยิราเถนัง ถ้าจะทำการใด ให้ทำการนั้นจริงๆ

เช่นอย่างพวกท่านทั้งหลายได้ตั้งใจมาบวชเป็นเนขขัมมะ

อย่างนี้ก็เรียกว่าบำเพ็ญทานบารมี ทาสิเน ข้อที่ 3

เรียกว่าเนขขัมมะ คือการออกบวช ที่นี้การบวชนั้น ได้แก่

การอบรมบ่มนิสัยใจคอของเรา บางคนเป็นคนใจร้อนบางคน

เป็นคนใจเย็น คือจิตใจของคนแต่ละคนเป็นนานาจิตตัง

มีความคิดต่างกัน เมื่อเราได้มาบำเพ็ญธรรมอย่างนี้ บุคคล

ผู้ที่มีจิตใจร้อนก็มีธรรมะ คือขันติ เป็นเครื่องยับยั้ง ตั้งใจ

ของเราว่าให้มันช้าให้มันเย็นให้เป็นผู้อดทน ต่อสิ่งที่มา

ปรากฏแก่ตา หรือเสียงที่มาปรากฏแก่หู อย่างนี้เป็นต้น


เพราะฉะนั้นพระองค์จึงได้ทรงบำเพ็ญทานบารมีทั้ง

10 ประการ ดังที่ได้กล่าวโดยย่อๆ ให้ฟัง หัวข้อสำคัญก็มี

ขันติ คือ ความอดทน เป็นตบะธรรมที่จะเป็นเครื่องชำระ

ทั้งความชั่วที่มาเกิดขึ้นกับตัวของเรา เมื่อเรามามีขันติ คือ

ความอดกลั้น อดทน เช่นนี้ บารมีข้อนี้ก็แก่กล้าขึ้นตาม

ลำดับที่เราตั้งใจปฏิบัติ เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติธรรมนี้

ถ้าบุคคลผู้ที่ไม่มีศรัทธา เขาเรียกว่าทำได้ยาก ถ้าผู้มี

ศรัทธาเขาเรียกว่าทำได้ง่าย อย่างท่านทั้งหลายที่มีศรัทธา

มาทำอย่างนี้ เพราะเห็นว่าเป็นของที่ได้บุญ ทีนี้บุญนั้นเป็นคู่

แห่งความสุข คือความสุขกายสบายใจ เมื่อใจสบายแล้ว

ท่านก็ถือว่าเป็นบุญ ทีนี้กายก็เป็นบุญ ใจก็เป็นบุญ ทุกสิ่ง

ทุกอย่างเป็นบุญทั้งนั้น แต่ทีนี้ที่จะเป็นบุญได้ ต้องอาศัย

ปัญญามาพิจารณาให้ละเอียดลออว่าบุญนั้นมันเป็นอย่างไร

บาปนั้นเป็นอย่างไร ในขณะใดที่ใจของเรามีปีติยินดี หรือ

ใจของเราเยือกเย็นสงบระงับ นั่นเรียกว่าเป็นบุญ ถ้าใน

ขณะใดที่ใจของเรามีความโกรธ ความฉุนเฉียว มีความ

คับแค้นใจ ในขณะนั้น เรียกว่าใจเป็นบาป ทีนี้โบราณท่านพูด

ไว้ว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ทำไมท่านถึงพูดคำ

อย่างนี้ เพราะมันเป็นปัญหาอันละเอียดอ่อน ในขณะใดที่

จิตใจเรามีอารมณ์ อันเยือกเย็นอารมณ์ดี ท่านเรียกว่าขึ้นสวรรค์

คนทั้งหลายเข้าใจว่าสวรรค์อยู่บนชั้นฟ้า สวรรค์อยู่ในอกเท่านี้เอง

นรกก็อยู่ในอกเท่านี้เองอยู่ในใจ

ในขณะใดที่ท่านโกรธแสดงโทสะแสดงออกมาทางกายทางวาจานี้

ก็เรียกว่าตกนรกทั้งเป็น ที่จริงก็ไม่ได้ไปอยู่ที่ไหน

หรอกนรก ที่จริงมันอยู่ที่ตัวของเรานี่เอง ถ้าเรามา

พิจารณากันให้ชัดอย่างนี้เราจะได้มาแก้ไขที่จิตใจของเรา

ซึ่งมันเกิดขึ้น ให้มันละสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อมันละได้แล้ว

เราก็ได้ชื่อว่า เราเห็นผลในการมาปฏิบัติธรรม อันจะนำให้

จิตใจของท่านทั้งหลายนั้น ได้รับความรู้ความเข้าใจ

ความฉลาดความเฉลียว เกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อเราปฏิบัติไปๆ

มันก็ค่อยๆ วางไปๆ แม้แต่สังขารร่างกายของเรานี้ ถ้าเรามา

พิจารณาให้ดีแล้วอายุของเราเวลานี้มันมาถึงกี่ปี อยู่มาได้

40, 50 ปีนี้ก็เรียกว่าเป็นมหากุศลอย่างยิ่ง ที่เรายังไม่แตกดับ

ทีนี้ในกาลข้างหน้านั้นเราคาดคะเนไม่ได้ พระยามัจจุราช

คอยจ้องที่จะจับอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นเราต้องมาถาม

ตนเองว่า คุณงามความดีคืออาวุธที่จะต่อสู้กับมฤตยูคือ

ความตายนั้นมีเพียงพอแล้วหรือยัง ทีนี้อาวุธที่เราจะต่อสู้

คือเหตุที่พวกท่านทำอยู่เดี๋ยวนี้ มีทาน ศีล ภาวนา คือ อบรม

จิตใจอยู่เดี๋ยวนี้ ในขณะที่ขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา

สังขาร และวิญญาณ มันจะแตกจะดับ ในขณะนั้น ถ้าผู้ที่

เคยปฏิบัติแล้ว ไม่สะทกสะท้านต่อเวทนาที่มันกำลัง

กลุ้มรุมร่างกายของเราอยู่ คือมีสติรู้อยู่ว่ามันจะแตกเมื่อไร

แต่ว่า จิตใจนั้นไม่ได้เป็นห่วงร่างกาย คือมันวางเสีย ทีนี้

อย่างที่ท่านทั้งหลายก็คงได้เห็นว่าบางท่าน เวลาจะตายนั้น

ไม่มีการดิ้นรน ท่านหลับตาไปแล้วก็หมดไปเอง นี่เรียกว่า

ท่านตั้งสติได้ ความจำก็ไม่ลืมไม่กระวนกระวายนี่ก็เนื่อง

มาจากท่าน ปฏิบัติจิตใจของท่าน อย่างท่านทั้งหลายที่

ปฏิบัติอยู่เดี๋ยวนี้ก็เพื่อหาอาวุธเพื่อป้องกัน ต่อสู้กับพระยา

มัจจุราชคือความตายที่จะมาในข้างหน้า เมื่อเรามาย่อกันแล้วว่า

ข้างหน้าเรามีอายุเราจะอยู่ได้สักกี่ปี เมื่อเรามานึกถึง

ดูว่ามันสั้นเข้ามาทุกปีๆ ไม่ใช่อายุของเราจะยาวไปๆ

ถ้าถามดูว่าอายุเราได้เท่าไหร่ แต่ความเป็นจริงไม่ใช่ได้อายุ

แต่เป็นอายุมันล่วงเข้าไปเท่าไร มันหมดไปเท่าไรยังที่จะมี

อยู่อีกเท่าไร ถ้าเราพิจารณาให้ชัดมันก็จะเป็นอย่างนี้

เพราะฉะนั้นในการที่เรามาปฏิบัติอยู่อย่างนี้ก็เพื่อต้องการที่จะให้รู้

อยู่อย่างนี้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราก็ตั้งใจทำให้มาก เท่าที่เรา

จะกระทำได้ อย่าละ อย่าวาง อย่าท้อถอย กลับไปบ้าน

ไปท่องแล้วก็ทำอยู่ ต้องมีเวลาว่างจนได้ ก่อนที่จะ

หลับจะนอนนั้น เราจะต้องไหว้พระสวดมนต์ เท่าที่เราจำได้พอ

นอกจากนั้นจะหาโอกาสนั่งกำหนดจิตใจ ของเรา

ประมาณสัก 5 นาที หรือ 10 นาที หรือกำหนดได้จนกระทั่ง

30 นาที หรือ ชั่วโมงก็ยิ่งดี แล้วค่อยนอน ทีนี้เมื่อนอนลงไป

ก็กำหนดตั้งสติกำหนดดูว่า เราจะหลับเมื่อไหร่ ดูที่ลมหายใจนั้น

เอาสติคอยจดจ่ออยู่ที่ปลายจมูก และสะดือ หายใจเข้า

หายใจออก เมื่อรวมแล้วเราจะใช้คำบริกรรมว่า พุทโธ

หรือ ธัมโม หรือ สังโฆ บทใดบทหนึ่งซึ่ง ถูกกับจริตของเรา

เราเอาคำนั้น ไม่อย่างนั้นเราไปนับ หนึ่งสองก็ได้ หายใจเข้าหนึ่ง

หายใจออกสอง หรือนับไปจนกระทั่งนับหนึ่งสองสาม

หรือจนกระทั่งหนึ่งไปจนถึงร้อย จบแล้วก็กลับมานับอีก

ตั้งแต่หนึ่งไปถึงร้อย ทีนี้ที่นับนั้นต้องมีสตินะ ว่าทีนี้มันจะหลับ

ในตอนไหน ตอน 50 หรือ 60 หรือ ถึง 100 นี่ลอง

ทดลองดูง่ายๆ แต่ว่าเราทั้งหลายฟังครูบาอาจารย์ท่าน

บรรยายไปท่านก็บรรยายถึงว่า จิตมันละกิเลส ได้ชั้นนั้น

ชั้นนั้น ชั้นนั้น สำหรับผู้ที่ปฏิบัติก็คงจะเป็นจริงอย่างนั้น

แต่ว่าข้อต่างๆ อย่างที่อาตมาแนะเมื่อกี้นี้ โดยส่วนมากคนไม่ค่อย

ทำกัน ไปติดในคำสอนในหนังสือว่าเจริญอย่างนั้นจะ

ต้องได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตฺถฌาน ละอันนั้นได้

ละอันนี้ได้ ความเป็นจริงเรามาทำเบื้องต้นอันนี้ให้มัน

คล่องแคล่ว พยายามดูว่าเวลาจิตของเรามันจะหลับนั้น

มันจะหลับในตอนไหน เอาง่ายๆ เอานับนี่ก็ได้ เอาหนึ่งสอง

มันจะหลับตอนหนึ่ง หรือตอนสอง นี่เป็นนโยบาย หรือเป็น

อุบายง่ายๆ ถ้าเราว่าพุทธหายใจเข้า โธ หายใจออก

อันไหนมันง่ายให้เอาอันนั้น ถ้าทำได้อย่างนี้จนกระทั่งมัน

คล่องแคล่ว ที่บางคนว่านอนไม่หลับ ทำอย่างไรก็ไม่หลับ

ต้องใช้ ยาระงับ แต่ความเป็นจริง ยาของพระพุทธเจ้า คือ

ถ้ามันไม่หลับจริงๆ ก็พยายามดูลมหายใจ นับหนึ่งสองนี่เอง

ที่ไม่หลับนั้นมันมีอารมณ์อย่างอื่นมาครอบงำจิตใจ

ของเราอยู่มันคิดไปว่าจะอย่างนั้นจะทำอย่างนี้จะทำอย่างไร

จึงจะได้เงินเท่านั้นเท่านี้ มันคิดปรุงแต่งไป ท่านเรียกว่า

จิตสังขาร คือจิตมันปรุงมันแต่งอยู่เสมอไม่มีเวลาหยุดหย่อน

เพราะฉะนั้นในการที่ท่านทั้งหลาย ได้มีศรัทธาคือความเชื่อมั่น

ภาษาพระความเลื่อมใส ตั้งใจมาปฏิบัติธรรม

ในคราวครั้งกระนี้ จงให้เป็นผลบุญผลกุศล นำตนของตนให้

ไปสู่สุขติคือความสงบทางใจ ได้ทุกเมื่อดังนั้นที่อาตมาได้มี

โอกาสมาให้โอวาทของพวกท่านทั้งหลาย ก็นึกว่าท่านทั้งหลาย

คงจำเอาเพียงง่ายๆ แล้วเอาไปประพฤติปฏิบัติ

ขัดเกลาจิตใจของตน จะได้รับความสุขคือความสุขกาย

สบายใจ สมได้ในพุทธภาษิตว่า จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง

จิตที่เรารักษาแล้วย่อมได้รับความสุข หรือทรมานแล้วได้รับ

ความสุข หรือ นัตถิ สันติ ปะระมัง สุขัง สุขอื่นยิ่งกว่า

ความสงบไม่มี ในที่สุดแห่งการให้โอวาทนี้ ขอท่านทั้งหลาย

จงมีกำลังกายกำลังใจ อันเข้มแข็งได้ประพฤติ

ปฏิบัติธรรม ดังที่เราได้ตั้งใจ ตั้งสัจจาอธิษฐานไว้ในเบื้องต้น

จนกระทั่งถึงวันครบวันที่เราจะเลิกจากการปฏิบัติ

เพื่อเฉลิมฉลองพระชนม์มายุของพระเจ้าแผ่นดิน

และเป็นการฉลองอายุของเราด้วย


ในที่สุดนี้ด้วยอานุภาพแห่งคุณพระพุทธ อานุภาพ

แห่งคุณพระธรรม อานุภาพแห่งคุณพระสงฆ์

จงดลบันดาลให้ทุกๆ ท่าน ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ปรารถนา

สิ่งใดขอให้ได้สิ่งนั้น ตามความมุ่งมาตรปรารถนา และให้เป็น

ผู้มีบุญวาสนาได้ปฏิบัติขัดเกลาจิตใจของตน เพื่อพ้นจาก

กองทุกข์ตลอดไป.


ยถาปิ อุทเก ชาตํ ปุณฺฑรีกํ ปวฑฺฒติ

โนปลิปฺปติ โตเยน สุจิคนฺธํ มโนรมํ

ตเถว จ โลเก ชาโต พุทฺโธ โลเก วิหรติ

โนปลิปฺปติ โลเกน โตเยน ปทุมํ ยถา

ดอกบัวเกิดและเจริญงอกงามในน้ำ แต่ไม่ติดน้ำ

ทั้งส่งกลิ่นหอม ชื่นชูใจให้รื่นรมย์ ฉันใด

พระพุทธเจ้าทรงเกิดในโลกและอยู่ในโลก

แต่ไม่ติดโลก เหมือนบัวไม่ติดน้ำ ฉันนั้น

มาจากหนังสือ: ธรรมโอวาท ตอน สุขทุกข์อยู่ที่ใจ

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2559

ดำเนินการผลิตโดย : ก้อนเมฆแอนด์กันย์กรุ๊ป

ผู้จัดทำ: ครอบครัว พฤนท์ธันญ์ และ ครอบครัว ธีระกฤตานนท์

คุณอารียา ธนโชตินันทน์

คุณจักริน ตันติสถิรพูล และ คุณเบญจมาศ เตชวิวรรธน์

พร้อมครอบครัวทั้งสอง

ผู้ถอด CD : คุณพิรุณ จิตรยั่งยืน

ที่มา : บันทึกการแสดงพระธรรมเทศนา (7 ธ.ค. 2537)




Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2560
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2560 21:41:48 น. 0 comments
Counter : 708 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นาคสีส้ม
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




วัตถุประสงค์ของ blog นี้ :

เนื่องจากส่วนตัวเป็นคนชอบได้หนังสือธรรมะมาจาก
ที่ต่างๆ และมักชอบซื้อมาอ่านเป็นประจำเสมอ
เลยทำให้หนังสือกองเต็มบ้านมากมาย
เวลาจะนำไปบริจาค ก็มักจะเสียดาย เพราะ
บางครั้ง บางที ก็หยิบเล่มเก่าๆมาอ่านอีกรอบ
เวลาใครมาขอรับบริจาคอะไรต่างๆ
มักจะหวงไว้ ไม่ค่อยส่งต่อหนังสือให้ใคร

จนมาคิดว่า ไม่ควรจะหวงไว้
เพราะเนื้อหาค่อนข้างมีประโยชน์
นำมาปรับใช้ในชีวิตได้เป็นอย่างดี
เลยอยากจะแบ่งปันความสุขให้คนอื่นๆ

เลยจัดทำ blog นี้ขึ้นมาค่ะ
ไว้เก็บรวบรวมเนื้อหาที่ได้อ่านแล้ว
มาเก็บไว้ที่นี่ ส่วนหนังสือก็จะนำไปบริจาค
ให้คนอื่น ได้ใช้ประโยชน์ต่อไปค่ะ

สำหรับเล่มไหนที่เพื่อนๆคิดว่าสนุก
ก็สามารถแนะนำได้นะคะ ^__^
Friends' blogs
[Add นาคสีส้ม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.