ที่ใดมีธรรมะ...ที่นั่นจะพบกับทางออกของชีวิต ^_^
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2560
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
8 กุมภาพันธ์ 2560
 
All Blogs
 

2. แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป (จบ)



 

เพื่อนร่วมทุกข์จำนวนมาก  ไปศึกษา

 

การปฏิบัติธรรมกับผม  และผมได้เห็นปัญหาที่ตามมา

 

หลายอย่าง

 

                เช่น  บางท่านกลัวว่า  พอไม่ได้อยู่ใกล้ผม
แล้วจะทำไม่ได้  หรือทำไม่ถูก  ถ้าเป็นคน

 

กรุงเทพก็ยังอุ่นใจว่าจะพบผมได้อีกไม่ยากนัก

 

แต่คนต่างประเทศหรือต่างจังหวัดจะกังวลกัน

 

มากหน่อย  จึงอยากได้คู่มือสำหรับการปฏิบัติ

 

อย่างง่ายๆ  แต่เป็นระบบ  เพื่อความอุ่นใจว่าจะ

 

ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไปได้เมื่อไม่พบผม

 

                บางท่านฟังแล้วยังสับสน  ไม่เข้าใจ  หรือ

 

ไปจำธรรมที่ผมตอบคนอื่นเอาไปปฏิบัติบ้าง

 

ซึ่งเป็นคนละขั้นตอน  หรือคนละจริต  ผลก็ไม่ต่าง

 

จากการเอายารักษาโรคของคนอื่นไปรับประทาน

 

จึงอยากเห็นภาพรวมของการปฏิบัติธรรม

 

ทั้งหมดที่ผมแนะนำ  เพื่อจะคลี่คลายความ

 

สับสนตรงนี้ได้บ้าง

 

                ปัญหาอีกประการหนึ่งที่ผมทราบก็คือ

 

เพื่อนบางท่านถกเถียงกันเรื่องการปฏิบัติธรรม

 

โดยนำคำแนะนำของผมที่ได้ยินมาต่างกรรม

 

ต่างวาระ  ไปเป็นข้ออ้างอิงโต้แย้งกัน

 

                ผมจึงเห็นว่า  สมควรสรุปใจความย่อของ

 

การปฏิบัติธรรมตามที่ผมได้แนะนำหมู่เพื่อน

 

เพื่อให้เห็นภาพรวมของการปฏิบัติอย่างเป็น

 

ระบบ  ตั้งแต่เบื้องต้นเป็นลำดับไป  เพื่อแก้

 

ปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น

 

1.  การสร้างความเข้าใจขอบเขตของพระพุทธศาสนา

 

                เพื่อนที่มีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับ

 

พระพุทธศาสนามาน้อย  จะได้รับการปูพื้นความ

 

เข้าใจเสียก่อนว่า  พระพุทธศาสนาไม่ใช่ยาแก้

 

สารพัดโรค  ครอบจักรวาล  ไม่ใช่เครื่องมือ

 

อย่างเดียว  ในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม  ดังนั้น

 

ไม่ใช่ว่าเป็นนักเรียนก็เลิกเรียนเพื่อมาศึกษา

 

พระพุทธศาสนา  เพราะความรู้ทางโลกเป็นสิ่ง

 

จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในทางโลก  ผู้ศึกษา

 

พระพุทธศาสนาจำเป็นต้องรอบรู้ในศาสตร์

 

สาขาอื่นๆ  ด้วย

 

                และอย่าเข้าใจว่า  พระพุทธศาสนาเป็น

 

เรื่องอื่น  นอกเหนือจากการเรียนรู้เรื่องความทุกข์

 

และการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์  (ทางใจ)

 

เท่านั้น  พระพุทธศาสนาไม่ได้มีไว้เพื่อตอบ

 

ปัญหาเกี่ยวกับไสยศาสตร์  โชคลาง  เจ้ากรรม

 

นายเวร  ชาติโน้นชาติหน้า  ผีสางเทวดา  ฯลฯ

 

2.  เครื่องมือในการปฏิบัติธรรม

 

                ผู้ที่เข้าใจแล้วว่าพระพุทธศาสนาสอน

 

เรื่องทุกข์และการดับทุกข์  ก็จะได้รับการ

 

แนะนำให้รู้จักเครื่องมือสำหรับการปฏิบัติธรรม

 

ได้แก่  สติ  และ  สัมปชัญญะ

 

                ผมมักจะพยายามแนะนำให้พวกเรารู้ทัน

 

สิ่งที่กำลังปรากฏกับจิต  เช่น  ความลังเลสงสัย

 

ความอยาก  ความกังวล  ความสุข  ความทุกข์

 

ฯลฯ  เป็นการหัดให้มี  สติ  ซึ่งเป็นเครื่องมือรู้

 

อารมณ์ที่กำลังปรากฏ  และเฝ้ากระตุ้นเตือน

 

พวกเราให้ทำความรู้ตัว  ไม่เผลอ  ไม่ว่าจะเผลอ

 

ส่งจิตไปทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  หรือใจ

 

ส่วนมากก็จะเผลอกันทางตา  กับทางใจ  คือหลง

 

เข้าไปอยู่ในโลกของความคิด  กับเผลอไปเพ่งจ้อง

 

อารมณ์  เอาสติจ่อแน่นเข้าไปที่อารมณ์ที่

 

กำลังปรากฏ  การกระตุ้นความไม่เผลอและไม่เผลอเพ่ง

 

ก็คือการพยายามให้พวกเรามี

 

สัมปชัญญะ  คือความรู้ตัวไว้เสมอๆ

 

3.  การเจริญสติปัฏฐาน

 

                เมื่อพวกเรามีเครื่องมือหรืออาวุธในการ

 

ปฏิบัติธรรมแล้ว  ขั้นตอนต่อไปผมจะแนะนำ

 

ให้พวกเราเจริญสติปัฏฐาน  คือ  มีสติสัมปชัญญะ

 

ระลึก  รู้  กาย  เวทนา  จิต  และ/หรือ  ธรรม

 

ตามความถนัดของแต่ละบุคคล  เช่น  ให้รู้อิริยาบถ

 

รู้ความเคลื่อนไหวระหว่างการเดินจงกลม  รู้ลม

 

หายใจเข้าออก  เบื้องต้นถ้าจิตยังไม่มีกำลัง

 

ก็ให้รู้ไปอย่างสมถะ  คือ  เอาสติจดจ่อสบายๆ

 

ลงในกายที่ถูกรู้นั้น  เมื่อจิตมีกำลังขึ้นแล้ว  ก็ให้

 

เห็นว่าอิริยาบถ  ความเคลื่อนไหวกาย  หรือลม

 

หายใจนั้นเป็นเพียงสิ่งที่  ถูกรู้  ถูกเห็น  ไม่ใช่จิต

 

มีความไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  ปรากฏ

 

อยู่ต่อหน้าต่อตานั่นเอง

 

                เมื่อทำได้อย่างนั้นแล้ว  จิตจะมีกำลังสติ

 

สัมปชัญญะมากขึ้นอีก  หากนามธรรมใด

 

ปรากฏกับจิต  ก็สามารถจะรู้เท่าทันได้  เช่น

 

เกิดความรู้สึกสุข  รู้สึกทุกข์  เกิดกุศล  อกุศลต่างๆ

 

ก็ให้รู้ทันนามธรรมนั้น  ในลักษณะสิ่งที่ถูกรู้ 

 

เช่นเดียวกับการรู้รูปนั่นเอง

 

                อนึ่ง  คนไหนมีกำลังรู้นามธรรมได้เลย

 

ผมมักแนะให้รู้นามธรรมไปเลย  หรือผู้ไม่ถนัดจะ

 

ระลึกรู้นามธรรม  สมัครใจจะรู้รูปธรรมอย่างเดียวก็ได้

 

                เมื่อจิตรู้รูปธรรมหรือนามธรรมอย่างต่อเนื่องแล้ว

 

พอมีกำลังสติปัญญามากขึ้น  ก็จะเห็นว่า

 

เมื่อจิตไปรู้รูปธรรมหรือนามธรรมต่างๆ  แล้ว

 

จิตจะมีความยินดี  ยินร้าย  หรือเป็นกลาง

 

ขึ้นมา  ผมมักแนะนำหมู่เพื่อนให้ระลึกรู้ความยินดี

 

ยินร้าย  หรือความเป็นกลางนั้น  เมื่อจิตรู้

 

ความยินดี  ยินร้ายแล้ว  ก็จะเห็นความยินดี

 

ยินร้ายนั้น  เกิดดับ  เช่นเดียวกับรูปธรรมและนามธรรม

 

ทั้งปวงนั้นเอง  แล้วจิตปล่อยวางความ

 

ยินดียินร้าย  เข้าไปสู่ความเป็นกลางของจิต

 

ตอนแรกความเป็นกลางๆ  จะมีสั้นๆ  แล้วก็มีความ

 

ยินดี  ยินร้ายเกิดขึ้นอีก  ต่อมาชำนิชำนาญขึ้น

 

จิตจะเป็นกลางมากขึ้นตามลำดับ  ก็ให้ผู้ปฏิบัติรู้

 

อยู่ที่ความเป็นกลางของจิต  เมื่อจิตมีกำลังขึ้น

 

ก็จะสามารถจำแนกขันธ์ละเอียดต่อไปจนเข้าถึงใจได้

 

                ในขั้นที่จิตเฝ้าระลึกรู้ความเป็นกลางนั้น

 

ปัญญาชนจะเกิดโรคประจำตัว  2  ประการ 

 

เป็นส่วนมาก  คือ

 

                (1)  เกิดความเบื่อหน่าย  แล้วเลิกปฏิบัติ  หรือ

 

                (2)  เกิดความลังเลสงสัย  ว่าจะต้องทำ

 

อะไรต่อไปอีกหรือไม่  แล้วเลิกปฏิบัติโดยการ  รู้

 

หันมาคิดค้นคว้าหาคำตอบด้วยการ  คิด  เอา

 

                แท้จริงเมื่อจิตเข้าไปรู้อยู่ที่ความเป็นกลางแล้ว

 

ก็ให้รู้อยู่อย่างนั้น  แล้วจิตเขาจะพัฒนา

 

ของเขาไปเองเมื่อกำลังของสติ  สมาธิ  ปัญญา

 

สมบูรณ์เต็มที่

 

                นี้เป็นข้อสรุปแนวทางการปฏิบัติธรรม

 

โดยสังเขป  ที่ขอฝากไว้ให้กับหมู่เพื่อนเพื่อ

 

ประกอบการพิจารณาปฏิบัติต่อไป

 

4.  การเจริญสติสัมปชัญญะที่ไม่ถูกต้อง

 

                จากแนวทางอันเดียวกันข้างต้น

 

เมื่อแต่ละคนลงมือปฏิบัติธรรมจริงๆ  กลับปรากฏ

 

ปัญหาปลีกย่อยแตกต่างกันเป็นจำนวนมาก

 

ปัญหาหลักก็มาจากการเจริญสติสัมปชัญญะ

 

ไม่ถูกต้อง

 

                พวกเราจำนวนมากในขณะนี้  ยิ่งปฏิบัติ

 

ยิ่งเกิดความคลาดเคลื่อน  ยิ่งขยัน  ยิ่งพลาด

 

ไปไกล  จุดที่พากันพลาดมากในช่วงนี้ก็คือ

 

แทนที่จะรู้ตามความเป็นจริง  พวกเรากลับไป

 

สร้างอารมณ์อันหนึ่งขึ้นมา  แล้วพากันเข้าไปติดอยู่

 

ในอารมณ์อันนั้น

 

                ความผิดพลาดนั้นเกิดจากบางคนรู้สึกว่า

 

ตนฟุ้งซ่านมากไป  จึงเห็นว่าจำเป็นต้องฝึก

 

สมถกรรมฐานเสียก่อน  แล้วการฝึกสมถกรรมฐานนั้น

 

ก็กระทำอย่างผิดพลาด  คือ  แทนที่จะกระทำ

 

สัมมาสมาธิกลับไปทำมิจฉาสมาธิอันไม่ประกอบ

 

ด้วยความรู้ตัว  โดยการเพ่งเข้าไปที่อารมณ์อันเดียว

 

กล่อมจิตให้เคลื่อนเคลิ้มเข้าไปเกาะ

 

อารมณ์อันเดียว  แทนที่จะมีสติระลึกรู้อารมณ์

 

อันเดียวไปอย่างสบายๆ  โดยมีความรู้ตัว

 

ไม่เผลอ  ไม่เพ่ง  จิตแค่ระลึกรู้อารมณ์อันเดียว

 

อย่างสบายๆ  เป็นธรรมเอก

 

                เมื่อทำมิจฉาสมาธิ  จิตเคลื่อนไปเกาะ

 

อารมณ์ที่สร้างขึ้นมา  พอหยุดการทำสมาธิหัน

 

มาดูจิต  หรือเจริญสติปัฏฐาน  ก็เอาจิตที่เกาะ

 

ติดอารมณ์นั้นเอง  มาใช้ดูจิต  ซึ่งจิตชนิดนี้ใช้

 

เจริญสติปัฏฐานไม่ได้จริง  เพราะกระทั่งจิตติด

 

อารมณ์อยู่ก็มองไม่เห็นความจริงเสียแล้ว

 

                สาเหตุของความผิดพลาดที่เป็นกันมาก

 

อีกอย่างหนึ่งก็คือ  แทนที่จะรู้อารมณ์ไปตาม

 

ธรรมดา  ง่ายๆ  สบายๆ  พวกเราจำนวนมาก

 

กลัวจะเผลอ  กลัวจะหลงมากเกินไป  หรือใกล้

 

จะพบกับผม  จิตจะเกิดการตื่นตัวขึ้น

 

เกิดอาการเกร็ง  ระวังตัวแจ  ไม่ผิดอะไรกับนักวิ่ง

 

เวลาเข้าเส้นสตาร์ท

 

                สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ  การปฏิบัติธรรม

 

ด้วยความอยาก  เช่น  อยากรู้ธรรมเห็น

 

ธรรมเร็วๆ  อยากเป็นคนเก่ง  เป็นดาวเด่น

 

อยากได้รับการยอมรับและคำชมเชยจากหมูเพื่อน

 

พออยากมาก  ก็ต้อง  “เร่งความเพียร”  แต่แทนที่

 

จะเจริญสติ  สัมปชัญญะอย่างเป็นธรรมชาติให้

 

ต่อเนื่องตลอดเวลา  อันเป็นความหมายที่ถูกต้อง

 

ของการเร่งความเพียร  กลับกลายเป็นการ

 

ปฏิบัติด้วยความหักหาญเคร่งเครียด  ดูผิวนอก

 

เหมือนจะดี  แต่จิตภายในไม่มีความสงบสุข

 

ใดๆ  เลย

 

                สาเหตุที่นึกได้ในตอนนี้ทั้ง  3  ประการนี้แหละ

 

ทำให้พวกเราจำนวนมาก  หลงไปยึด

 

อารมณ์  อันหนึ่งไว้  แล้วคิดว่าสามารถรู้จิตรู้ใจ

 

ได้อย่างแจ่มชัด  ตอนนี้บางคนพอจะแก้ไขได้

 

บ้างแล้ว  เมื่อเริ่มรู้ทันการที่จิตไปสร้างภพของ

 

นักปฏิบัติขึ้นมา  แทนที่จะรู้สิ่งที่กำลังปราฏ

 

ตามความเป็นจริง

 

                มีเรื่องขำๆ  เรื่องหนึ่ง  คือน้องคนหนึ่ง

 

จิตติดอารมณ์ภายในอยู่  ผมก็แนะนำว่า  ให้ดู

 

ให้รู้ว่ากำลังติดอยู่  ถ้ารู้แล้วจะได้กลับออกมา

 

อยู่ข้างนอก  และแทนที่จะเพ่งเข้าไปข้างในจะ

 

ได้หลุดออกมา  น้องคนนั้นฟังแล้วกลุ้มใจมาก

 

เพราะคิดว่าสอนให้ส่งจิตออกนอก  ยังดีว่า

 

สงสัยแล้วถามผมเสียก่อน  ไม่นำไปเล่าถวาย

 

ครูบาอาจารย์  ว่าผมสอนให้ส่งจิตออกนอก

 

มิฉะนั้น  ถ้าท่านพบผม  ท่านคงทุบผมตกกุฏิเลย

 

                ความจริงการที่หลงสร้างอารมณ์ออกมา

 

ด้านหนึ่ง  แล้วตนเองเข้าไปติดอยู่ภายในนั้น

 

ก็เป็นการส่งจิตออกนอกแล้ว  คือออกไปนอกจากรู้

 

ผมพยายามแก้การส่งจิตออกไปสร้างภพโดย

 

ไม่รู้ตัวให้  ไม่ได้ปรารถนาจะให้หัดส่งจิตออกนอก

 

แต่อย่างใด

 

                ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่พวกเราส่วนน้อย

 

เป็นกัน  ได้แก่  การหลงตามอาการของจิต  เช่น

 

หลงใน  นิมิต  แสง  สี  เสียงต่างๆ  หรือหลงใน

 

การกระตุกของร่างกาย  ฯลฯ  พอเกิดอาการขึ้น

 

บางคนก็ยินดี  บางคนก็ยินร้ายต้องคอยปลอบ

 

คอยแนะให้หันมาสังเกตรู้ความยินดียินร้าย

 

ของจิต  จนจิตเข้าถึงความเป็นกลางเอง

 

แทนการไปเพ่งใส่อาการต่างๆ  เหล่านั้น  และมีราคะ

 

โทสะ  หรือโมหะครอบงำโดยไม่รู้ตัว

 

                การปฏิบัตินั้น  ถ้าจะป้องกันความผิดพลาด

 

ก็ควรจับหลักให้แม่นๆ  ว่า  “เราปฏิบัติ

 

เพื่อรู้ทันกิเลสตัณหาที่คอยแต่จะครอบงำจิตใจ

 

ปฏิบัติไปจนจิตฉลาด  พ้นจากอำนาจของกิเลส

 

ตัณหา”  ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อสิ่งอื่น  หากปฏิบัติโดย

 

แฝงสิ่งอื่นเข้าไป  เช่น  ความอยากรู้  อยากเห็น

 

อยากเป็น  อยากได้  อยากเด่น  อยากดัง 

 

อยากหลุดพ้น  โอกาสพลาดก็มีสูง  เพราะจิตมักจะ

 

สร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา  แทนที่จะรู้ทุกอย่าง

 

ตามความเป็นจริง

 

                แล้วก็ควรสังเกตจิตใจตนเองไว้บ้าง

 

หากรู้สึกว่า  จิตใจเกิดความหนักที่แตกต่างหรือ

 

แปลกแยกจากธรรมชาติแวดล้อม  ก็แสดงว่าจิต

 

ไปหลงยึดอะไรเข้าให้แล้ว  เพราะโดยธรรมชาติ

 

ของสิ่งภายในภายนอกนั้น  มันไม่มีน้ำหนัก

 

อะไรเลย  ที่มีน้ำหนักขึ้นมา  ก็เพราะเราไปแบก

 

ไปถือไว้เท่านั้นเอง  ลองสังเกตดูตอนนั้นก็ได้ครับ

 

ลองทำใจให้สบายๆ  สังเกตไปยังสิ่งแวดล้อม

 

ภายนอก  เช่น  อาคารบ้านเรือน  โต๊ะเก้าอี้

 

ต้นหมากรากไม้  จะเห็นว่าสิ่งภายนั้นโปร่งเบา

 

ไม่มีน้ำหนัก  เพราะเราไม่ได้เข้าไปแบกหามเอาไว้

 

ส่วนจิตใจของเรานั้น  มองย้อนเข้ามาจะเห็นว่า

 

มันหนักมากบ้างน้อยบ้าง  มันยังแปลกแยก

 

ออกจากธรรมชาติ  ธรรมดา  สิ่งที่แปลกแยก

 

นั่นแหละครับ  คือส่วนเกินที่เราหลงสร้างขึ้นมา

 

โดยรู้ไม่เท่าทันมายาของกิเลส

 

                เมื่อรู้แล้ว  ก็สังเกตจิตตนเองต่อไปว่า

 

มันยินดียินร้ายต่อสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามานั้นหรือไม่

 

แล้วก็รู้เรื่อยไปจนจิตเป็นกลางต่ออารมณ์ทั้งปวง

 

ธรรมชาติภายในกับธรรมชาติภายนอกก็จะ

 

เสมอกัน  คือไม่มีน้ำหนักให้ต้องแบกหามต่อไป

 

                พระศาสดาทรงสอนว่า  ขันธ์ทั้ง  5  เป็น

 

ของหนัก  บุคคลแบกของหนักพาไป  เขาย่อม

 

ไม่พบความสุขเลย  คำสอนของพระองค์นั้น

 

คำไหนก็เป็นคำนั้น  ขันธ์เป็นของหนักจริงๆ

 

สำหรับคนที่มีตาที่จะดูออกได้

 

“พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า

 

ความเกิด  ความแก่  ความเจ็บไข้ได้ป่วย

 

ความตายเป็นทุกข์

 

น้อยคนนักที่ฟังธรรมะตรงนี้

 

แล้วจะเข้าใจจริงๆ

 

ส่วนใหญ่ฟังแล้วก็จะเข้าใจเป็นว่า

 

เราเกิด  เราแก่  เราเจ็บ  เราตาย  เป็นทุกข์”

 

“ไม่มีใครเข้าใจจริงๆ  ว่าความจริงแล้ว

 

สภาวะของความเกิด  สภาวะของความแก่

 

สภาวะของความเจ็บ  สภาวะของความตาย

 

ต่างหากที่เป็นทุกข์

 

ไม่มี  เรา  ที่เป็นทุกข์”

 

“มีเพียงสภาวะของรูปนาม

 

ที่แสดงถึงไตรลักษณ์

 

เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  แล้วก็ดับไป

 

ควบคุมไม่ได้บังคับให้อยู่ในอำนาจ

 

ตามใจปรารถนาไม่ได้”

 

“เมื่อเข้าใจผิด  มีความเห็นผิดว่า

 

รูปนาม/กายใจเป็นของเรา

 

เมื่อรูปนามแก่เจ็บตายก็พยายามดิ้นรนหนี

 

แต่ยิ่งพยายามดิ้นก็ยิ่งทุกข์

 

เมื่อยิ่งทุกข์ก็ยิ่งดิ้น

 

แทนที่จะเห็นความจริงว่า

 

ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีผู้ทุกข์

 

เมื่อใดที่เราปฏิบัติธรรม

 

จนสามารถเห็นแต่สภาวะล้วนๆ

 

อันปราศจากสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา

 

เราจะเข้าใจในอริยสัจ  4  อย่างแจ่มแจ้ง”

 

“จากเดิมที่เห็นแต่ว่า

 

เพราะมีสมุทัยคือตัณหา  จึงทำให้เกิดทุกข์

 

เราก็จะแจ่มแจ้งเข้าใจว่า

 

เพราะเราไม่รู้จักทุกข์คือรูปนาม

 

โดยไปสำคัญผิดว่ารูปนามคือตัวเรา

 

จึงทำให้เกิดตัณหาอันเป็นความอยาก

 

ที่จะให้ตัวเราพ้นทุกข์และมีความสุข

 

และตัณหานั้นเองทำให้เกิดความทุกข์ทางใจ

 

ทับซ้อนขึ้นมาอีก”

 

“อริยสัจนี้เป็นธรรมะที่ลึกซึ้งละเอียดเสียจริง

 

เพราะความไม่เข้าใจอริยสัจ

 

สัตว์ทั้งหลายจึงต้องเวียนว่ายตายเกิด

 

อย่างไม่มีที่สิ้นสุด”

 

“แต่หากรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง

 

สมุทัยก็เป็นอันถูกละโดยอัตโนมัติ

 

แล้วนิโรธจะปรากฏต่อหน้าต่อตาในฉับพลัน

 

การรู้ทุกข์จนละสมุทัยแจ้งนิโรธ

 

นี้แหละ  คืออริยมรรค

 

อันเป็นทางสายเดียวที่จะนำไปสู่

 

ความพ้นทุกข์ถาวรได้”

 

“เมื่อใดที่เราเห็นว่า

 

มันเป็นแต่เพียงสภาวะล้วนๆ

 

เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  แล้วก็ดับไป

 

เป็นทุกข์  ไม่มีตัวตน  บังคับไม่ได้

 

เราก็จะเกิดสภาวะสักแต่ว่าดู

 

สักแต่ว่ารู้  สักแต่ว่าเห็น

 

ไม่เกิดตัณหาในสภาวะนั้นๆ  อีก

 

(สภาวะเป็นความรู้สึก

 

ไม่มีความนึกคิดในสภาวะนั้น”

 

พระปราโมช  ปาโมชฺโช

 

จากหนังสือแด่เธอผู้มาใหม่

 

“สันตินันท์”  พิมพ์แจกเป็นธรรมทานถวายเป็นพระราชกุศลแด่

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ

 

80  พรรษา

 

จัดพิมพ์โดย  ชมรมกัลยาณธรรม

 

พิมพ์โดย  บริษัท  ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์  จำกัด

 




 

Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2560
0 comments
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2560 18:28:20 น.
Counter : 651 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


นาคสีส้ม
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




วัตถุประสงค์ของ blog นี้ :

เนื่องจากส่วนตัวเป็นคนชอบได้หนังสือธรรมะมาจาก
ที่ต่างๆ และมักชอบซื้อมาอ่านเป็นประจำเสมอ
เลยทำให้หนังสือกองเต็มบ้านมากมาย
เวลาจะนำไปบริจาค ก็มักจะเสียดาย เพราะ
บางครั้ง บางที ก็หยิบเล่มเก่าๆมาอ่านอีกรอบ
เวลาใครมาขอรับบริจาคอะไรต่างๆ
มักจะหวงไว้ ไม่ค่อยส่งต่อหนังสือให้ใคร

จนมาคิดว่า ไม่ควรจะหวงไว้
เพราะเนื้อหาค่อนข้างมีประโยชน์
นำมาปรับใช้ในชีวิตได้เป็นอย่างดี
เลยอยากจะแบ่งปันความสุขให้คนอื่นๆ

เลยจัดทำ blog นี้ขึ้นมาค่ะ
ไว้เก็บรวบรวมเนื้อหาที่ได้อ่านแล้ว
มาเก็บไว้ที่นี่ ส่วนหนังสือก็จะนำไปบริจาค
ให้คนอื่น ได้ใช้ประโยชน์ต่อไปค่ะ

สำหรับเล่มไหนที่เพื่อนๆคิดว่าสนุก
ก็สามารถแนะนำได้นะคะ ^__^
Friends' blogs
[Add นาคสีส้ม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.