ที่ใดมีธรรมะ...ที่นั่นจะพบกับทางออกของชีวิต ^_^
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2560
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
6 กุมภาพันธ์ 2560
 
All Blogs
 

2. เกวียนข้าวของเทวละ



 

 “สัตว์ทั้งหลาย

 

เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน

 

เป็นทายาทแห่งกรรม

 

มีกรรมเป็นกำเนิด

 

มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

 

มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

 

กระทำกรรมใดไว้

 

ดีก็ตาม  ชั่วก็ตาม

 

จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น”

 

“จะเป็นคนเลว

 

เพราะชาติกำเนิดก็หาไม่

 

จะเป็นคนดี

 

เพราะชาติกำเนิดก็หาไม่

 

แต่

 

จะเป็นคนเลว

 

ก็เพราะพฤติกรรม

 

คือการกระทำของตนเอง

 

จะเป็นคนดี

 

ก็เพราะพฤติกรรม

 

คือการกระทำของตนเอง”

 

“กรรมใดทำแล้ว

 

ทำให้เดือดร้อนภายหลัง

 

อีกทั้งทำให้ร้องไห้  น้ำตานอง

 

รับสนองผลของการกระทำ

 

กรรมนั้นไม่ดี

 

กรรมใดทำแล้ว

 

ไม่เดือดร้อนภายหลัง

 

ทั้งผู้กระทำก็เบิกบานสำราญใจ

 

ได้เสวยผลของการกระทำ

 

กรรมนั้นดี”

 

                วันหนึ่งภายหลังฤดูฝนผ่านไปแล้ว  ชาวนาทั้งหลายได้

 

เก็บเกี่ยวผลอันเกิดจากความพยายามของตน  แล้วต่างก็ขนพืช

 

ไปไว้ในยุ้งฉางของตน  รอโอกาสว่าราคาดีเมื่อไรจักได้ขาย

 

แลกเป็นเงิน  และจักได้นำเงินนั้นไปเสียค่าเช่านาและค่าใช้จ่าย

 

เลี้ยงชีวิตในครอบครัว

 

                มีชาวนาจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง

 

ต้องเช่าทำจากเศรษฐีมั่งคั่งในเมืองทั้งนั้น  พวกเจ้าของที่ดินไม่ต้อง

 

ทำอะไร  นอกจากคอยรับปันผลประโยชน์จากพวกชาวนาผู้ยากจน

 

ที่ต้องลงทุนลงแรงทำนา  เมื่อทำได้แล้วผู้เป็นเจ้าของที่ดิน

 

ตามสิทธิในกระดาษก็มาแบ่งเอาผลไปครึ่งหนึ่งบ้าง  สามในสี่บ้าง

 

แต่ชาวนาผู้ยากจนทั้งหลายก็ต้องจำใจอดทน  เพราะถ้า

 

ไม่ยอมทำเช่นนั้นก็ไม่รู้จะทำอะไร

 

                บ่ายวันหนึ่ง  พันทุ  คหบดีผู้มั่งคั่ง  ซึ่งเป็นพ่อค้าเพชรพลอย

 

เป็นเจ้าของที่ดินอันมหาศาล  เดินทางจากโกสัมพีบ้านของเขา

 

ไปยังพาราณสีด้วยกิจการค้าโดยรถม้าส่วนตัวของเขา

 

พันทุผู้นี้มีความร่ำรวยมากพอๆ  กับความเห็นแก่ตัว  มีความฉลาด

 

พอๆ  กับความคดโกงใจร้าย  ถึงเขาจะเกิดในตระกูลพราหมณ์

 

แต่เขาก็ไม่มีนิสัยเป็นพราหมณ์  เขาชอบการค้า

 

เยี่ยงพวกพ่อค้าทั้งหลาย  เพราะเป็นคนขยันในการค้า  และ

 

รู้จักเก็บมากกว่าจ่ายจึงร่ำรวย  ปกติเขามักเข้าไปในเมือง

 

พาราณสีบ่อยๆ  ด้วยธุรกิจการค้า  และไปเก็บดอกเบี้ยเงินกู้

 

เขามักเดินทางโดยรถม้า  ไปลำพังกับคนขับรถของเขาเท่านั้น

 

                บ่ายวันนั้นการเดินทางขลุกขลักเล็กน้อย  เพราะทาง

 

ขรุขระเป็นหลุมเป็นหล่มเนื่องจากฤดูฝนเพิ่งผ่านไป  แต่ถึงกระนั้น

 

การเดินทางก็เป็นไปโดยปกติเรื่อยมา  จนกระทั่งเห็น

 

ยอดเทวาลัยริมฝั่งน้ำ  แล้วพันทุก็ได้เห็นนักบวชผู้หนึ่งเดินอยู่

 

ข้างหน้าด้วยอาการอันสงบ  ตามองต่ำ  มุ่งหน้าไปสู่พาราณสี

 

เช่นเดียวกัน

 

                แม้พันทุจักเคยเห็นนักบวชมาบ่อยๆ  แล้วจนเคยชิน

 

แต่ครั้นมาเห็นนักบวชรูปนี้เข้า  ก็รู้สึกกิริยาอาการของท่านผู้นี้

 

น่าสนใจน่าทำความรู้จักด้วย  พันทุจึงสั่งให้หยุดรถเพื่อรับ

 

สมณะรูปนั้นไปด้วย  แต่เพราะสำคัญตนว่าเป็นพราหมณ์โดยชาติ

 

เป็นวรรณะสูง  จึงมิได้ลงจากรถไปเชิญสมณะรูปนั้น

 

เพียงแต่ถามไปว่า  “สมณะ  ท่านกำลังจะเดินทางไปไหน?”

 

                ด้วยสำเนียงอันนุ่มนวลและแจ่มใส  นักบวชรูปนั้น

 

ตอบเพียงสั้นๆ  ว่า  “อาตมภาพจักไปพาราณสี”

 

                “ถ้าเช่นนั้น  เราก็กำลังไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน

 

ขอเชิญท่านขึ้นรถไปด้วยกันเถิด”

 

                “ขอบใจท่านผู้อารี”  พูดแล้วนักบวชนั้นก็ก้าวขึ้นนั่ง

 

เคียงพันทุ

 

                รถออกเดินทางต่อไปตามถนนอันขรุขระ  พันทุมีความ

 

สนใจอาการสงบเยือกเย็นของนักบวชรูปนี้มาก  จึงได้ชวน

 

สนทนาขึ้นก่อน

 

                “ขออภัยเถิดสมณะ  ข้าพเจ้าสนใจในจริยาอันน่าเลื่อมใส

 

ของท่านมาก  ทำให้ใคร่ทราบว่า  ท่านเป็นศิษย์ของใคร”

 

                นักบวชหันมามองผู้ถามอย่างแช่มช้า  สักครู่หนึ่งจึง

 

ตอบว่า  “สมณโคดมแห่งศากยวงศ์  คือศาสดาของอาตมภาพ”

 

                “ขออภัยอีกครั้ง  ข้าพเจ้าใคร่ทราบนามของท่านด้วย”

 

                “อาตมภาพ  นารทะ  แล้วท่านเล่า?”

 

                “ข้าพเจ้า  พันทุ”

 

                การสนทนาเริ่มจะออกรส  พันทุขยับกายชิดริมที่นั่ง

 

เอียงกายพิงพนักในท่าตามสบายอย่างถือดี  เขาเลิกคิ้วแล้วซักถาม

 

ต่อไปว่า  “ดูรูปร่างท่านก็ยังหนุ่มแน่นอันอยู่ในวัยอันควร

 

หาความรื่นรมย์เยี่ยงคนหนุ่ม  เหตุไฉนท่านจึงสละบ้านเรือน

 

มามีชีวิตเช่นนี้เล่า”

 

                “อาตมภาพ  สละโลกียวิสัย  เพราะได้สดับคำสอนของ

 

พระสมณโคดม  ว่า

 

                1.  โลกอันชรานำไป  ไม่ยั่งยืน

 

                2.  โลกไม่มีผู้ป้องกัน  ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน

 

                3.  โลกไม่มีอะไรเป็นของตน  ควรละสิ่งทั้งปวง

 

                4.  โลกพร่องเป็นนิตย์  ไม่รู้อิ่ม  เพราะเป็นทาสแห่งตัณหา”

 

                พันทุขมวดคิ้ว  เพราะไม่เข้าใจในข้อธรรมทั้งสี่นั้น

 

เขาถามต่อไปว่า  “เพียงแต่ฟังคำสอนเท่านี้  ท่านก็ออกบวชเชียวหรือ?”

 

                พระนารทะรู้ว่า  พันทุหาได้เข้าใจในข้อธรรมนั้นดีพอไม่

 

จึงอธิบายว่า  “คำสอนแต่เพียงเท่านี้แหละคือความจริงแท้

 

ของชีวิต  ขอให้คิดดูเถิด  ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายย่อมก้าวไปสู่

 

ความแก่  ความเจ็บไข้  และความตายในที่สุด  ความทรุดโทรม

 

ของร่างกายมีอยู่ทุกขณะ  แต่คนส่วนมากมองไม่เห็น

 

เพราะความเขลาเมาตน  หลงรักในรูปร่าง  จนลืมนึกถึงสภาพ

 

อันเป็นธรรมดา  ถ้าคิดดูแล้วท่านจักเห็นความจริงนี้ได้”

 

                “จริงละ...ข้าพเจ้าพอจะเข้าใจตามที่พระคุณเจ้าชี้แจงนั้นแล้ว”

 

พันทุเปลี่ยนสรรพนามที่ใช้กับพระนารทะทันที

 

พร้อมกับเปลี่ยนกิริยาและน้ำเสียงสุภาพขึ้น  “แต่ว่า...”  เขาถาม

 

ต่อไป  “เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว  จะมีประโยชน์อะไรเล่า”

 

                “การรู้แจ้งเห็นความจริงในสิ่งทั้งปวง  เป็นจุดหมาย

 

สำคัญของพุทธศาสนา  เมื่อรู้ว่า  ความจริงนั้นร่างกายเราต้อง

 

เปลี่ยนแปรไปสู่ความชรา  และถึงความตายในที่สุด

 

เป็นธรรมดาดังนี้แล้ว  ความเมาในวัย  ในความไม่มีโรค  ก็จักจาง

 

หายไป  ความกำหนัดก็ค่อยคลายลง  ในที่สุดจิตย่อมหลุดพ้น

 

จากความถือมั่น  ความหลุดพ้นนี้แหละประเสริฐอย่างยิ่ง”

 

                “ข้าพเจ้าสงสัย.....สงสัยว่าเมื่อจิตหลุดพ้นดังว่านั้นแล้ว

 

วิญญาณจักไปตั้งอยู่ที่ใดเล่า  หรือว่าจะไปรวมอยู่กับพระพรหม?”

 

                พระนารทะนิ่งคิดอยู่สักครู่หนึ่งแล้วตอบว่า  “ขอท่าน

 

จงคิดดูเถิด  อันไฟที่ดับหมดเชื้อแล้ว  กล่าวไม่ได้ว่ามันไปอยู่

 

ที่ใด  ฉันใด  จิตที่หมดกิเลสแล้วก็ฉันนั้น  ทางพุทธศาสนา

 

มิได้กล่าวว่าพรหมเป็นผู้สร้าง  เป็นผู้รักษา  แต่พูดถึงพรหม

 

ในแง่ของการปฏิบัติว่า  พรหมนั้นหมายถึงธรรม  4  ประการ  คือ

 

                เมตตา  -  ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข

 

                กรุณา  -  ปรารถนาช่วยให้เขาพ้นทุกข์

 

                มุทิตา  -  ยินดีในความสุขของผู้อื่น

 

                อุเบกขา  -  ทำใจให้เป็นกลาง  วางเฉยได้ในเมื่อ

 

ไม่สามารถจักใช้  เมตตา,  กรุณา  และมุทิตาแล้ว

 

                ผู้ใดมีคุณธรรม  4  ประการนี้  ผู้นั้นก็เป็นพระพรหมได้

 

มิได้เลือกว่าจักเป็น  ชาย,  หญิง,  เด็ก  หรือผู้ใหญ่  เป็นพรหม

 

ได้ทั้งนั้น”

 

                พันทุแย้งขึ้นว่า  “ถ้าเช่นนั้นก็หมายความว่า  พระพุทธ

 

ศาสนาสอนว่า  พระพรหมผู้สร้างโลกไม่มี...กระนั้นหรือ?”

 

                “พระพุทธศาสนาหาได้สอนเช่นนั้นไม่  ทางพระพุทธ

 

ศาสนามิได้สนใจในความเป็นมาของโลก  หรือเรื่องใครสร้างโลก

 

เพราะมันเป็นปัญหาที่ไม่มีประโยชน์อะไร  รู้แล้วก็ไม่ทำ

 

ตนให้พ้นทุกข์ไปได้  เป็นปัญหาที่วกวนเสียเปล่า  พระพุทธองค์

 

ท่านสอนให้คิดปัญหาเฉพาะหน้า  คือปัญหาของชีวิต

 

เพราะทุกชีวิตเป็นทุกข์  ทนได้ยาก  ควรคิดค้นว่า  ทุกข์นี้มาจากไหน

 

ทำอย่างไรจึงจักดับทุกข์นี้ได้  นี่แหละเป็นปัญหาสำคัญของ

 

พุทธศาสนา  พระพุทธองค์ตรัสเสมอว่า  ทุกข์และความ

 

ดับทุกข์  เท่านั้นที่เราสอน”

 

                “แล้วเรื่องสวรรค์เล่า  พรสมณโคดมสอน

 

เรื่องสวรรค์อย่างไร”

 

                พระนารทะตอบว่า  “สวรรค์  ก็คือความสุขอันเกิดจาก

 

กามคุณเท่านั้น  ในสวรรค์มีแต่เทวดาบ้ากาม  เทวดาองค์เดียว

 

มีเมียนับหมื่น  มากเกินไป  ไม่ต้องทำอะไรกันละ  สวรรค์เปรียบ

 

เหมือนขนมหวานที่ใช้ล่อเด็กให้หายร้องเท่านั้น  คิดดูเถิด

 

สวรรค์ยังมีความชั่วอยู่  เพราะสวรรค์มีกาม,  มีความอยาก,

 

ที่ใดมีความอยากที่นั้นย่อมมีความทุกข์  สวรรค์ยังมีทุกข์

 

เหมือนโลกมนุษย์นี้เอง  และคงจะทุกข์มากกว่า  เหตุนี้

 

พระพุทธเจ้าจึงมิสอนให้คนมุ่งไปสู่สวรรค์

 

                “ถ้าเช่นนั้น  ท่านสอนให้มุ่งไปสู่ภาวะอันใด?”

 

                “จงฟังให้ดี  ท่านผู้เจริญ  อาตมภาพกำลังจะพูดถึงเรื่อง

 

ที่ท่านอาจจะไม่เคยได้ยินได้ฟัง  และไม่เคยคิดว่าจะได้ฟังเลย

 

เพราะฉะนั้น  ขอให้ฟังและตรองดูให้ดี  พระพุทธเจ้าหาได้

 

สอนให้ใครมุ่งไปสู่อะไรไม่  เพราะความมุ่งหมายคือความอยาก

 

ความปรารถนา  ตราบใดที่ความอยาก  ความปรารถนานั้น

 

มีอยู่  ก็มีทุกข์  ไม่สมอยากก็เป็นทุกข์  สมอยากแล้วก็ทุกข์

 

เกรงจะสูญเสีย  พระองค์สอนธรรมที่ตรงกันข้ามกับความอยาก

 

สอนให้ทำลายความอยาก  ทำใจให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง

 

หมดความยินดียินร้ายอันเป็นอารมณ์โลก  อยู่ในโลก

 

อย่างรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์  มีใจสงบคงที่อยู่เสมอ  นี่คือหลักธรรม

 

ของพระองค์”

 

                พันทุแย้งว่า  “อันคนเรานี้จักดำรงชีวิตอยู่ได้ก็ต้องอาศัย

 

ความอยาก  เพราะความอยากเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้เกิด

 

กำลังงาน  ความอยากจึงเป็นตัวทำให้โลกเจริญก้าวหน้าดังที่

 

เป็นอยู่ทุกวันนี้  หมดความอยากแล้ว  โลกก็จักเสื่อมพินาศไป

 

เท่านั้น”

 

                “ช้าก่อนพ่อค้า...ท่านจงเข้าใจคำว่าเจริญให้ดี  ที่ว่าโลกเจริญนั้น

 

ท่านหมายเอาความก้าวหน้าทางวัตถุ  หรือมิใช่?

 

แต่วัตถุต่างๆ  ในโลกนี้มีอะไรเป็นสิ่งยังให้เกิดความสงบสุขบ้าง?

 

ไม่มีเลย  วัตถุทั้งปวงเป็นแต่เพียงเหยื่อที่คอยป้อนให้สมอยาก

 

เท่านั้น  ความอยากนี้ป้อนเท่าไรไม่รู้จักอิ่ม  ได้สิ่งนี้แล้วก็อยากได้

 

สิ่งนั้นต่อไป  ชาวโลกจึงต้องเที่ยวเสาะหาสิ่งบำบัดความอยาก

 

ด้วยความทุกข์ตลอดชีวิต  ลองถามคนที่ชื่อว่าเป็นคนมั่งมีดูเถิด

 

เขาจักตอบว่าเขาจน  เพราะความเมาในวัตถุโลก  จึงต้องแข่งขันกัน

 

คัดค้านกัน  ทำลายกัน  นี่หรือ  คือความเจริญของโลก?

 

                “ท่านจงเข้าใจให้ถูกเถิดว่า  อันความเจริญที่แท้นั้น

 

หมายถึงชาวโลกทั้งหมดมีคุณธรรมในใจ  ทำกิจแห่งชีวิตต่างๆ

 

ด้วยรู้ว่าเป็นหน้าที่จักต้องทำด้วยความสงบใจ  รู้เท่าทัน

 

มิทำด้วยแรงความอยาก  ไม่สำเร็จก็ไม่ทุกข์  สำเร็จก็

 

ไม่ทุกข์  ชนผู้มีใจสูงเช่นนี้ย่อมเป็นผู้ที่ไม่เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน

 

เขารู้จักเสียสละส่วนของตนเพื่อส่วนรวมเสมอ  ด้วยความรู้

 

ในเหตุผล  นี่แหละคือความเจริญแท้”

 

                “อนึ่ง  คนที่หมดความอยากนั้นก็หาใช่ว่าเขาจะมีสภาพ

 

ดุจท่อนไม้  หรือก้อนหินไม่  เขาย่อมมีชีวิตจิตใจเหมือนคน

 

ทั้งหลาย  แต่ผิดกันที่ว่า  เขามีความเป็นอยู่อย่างสดชื่น  ไม่มีทุกข์

 

ร้อนใจ  เพราะว่ากิจทุกอย่างเขาทำไปตามเหตุผล

 

ตามหน้าที่  มิใช่ทำไปด้วยแรงอยาก  ดังนั้น  เมื่อผิดพลาด

 

ไม่สำเร็จ  ก็ไม่เสียใจ”

 

                พันทุยิ้มและผงกศีรษะรับรอง  “จริงอย่างพระคุณเจ้าว่า

 

ข้าพเจ้าพอจักเข้าใจแล้ว  อย่างข้าพเจ้าบัดนี้กำลังปรารถนา

 

ที่จะให้ไปถึงเมืองพาราณสีเร็วๆ  ม้ามันวิ่งเต็มฝีเท้าแล้ว  ข้าพเจ้า

 

ก็ยังไม่พอใจ  ต้องการจะให้มันวิ่งเร็วกว่านี้อีก  หลายครั้งมาแล้ว

 

ที่ข้าพเจ้าต้องนั่งเป็นทุกข์กระวนกระวายใจไปตลอดทาง”

 

                “นั่น...ความจริงปรากฏแก่ท่านบ้างแล้ว  แต่จงระวังใจ

 

ของตน  เพราะใจเป็นสิ่งที่กลับกลอกง่าย  แม้รู้จักของจริงแล้ว

 

ไม่ทันไรจักกลับไปยึดถือของปลอมอีกเหมือนเดิม”

 

                ดูเหมือนพันทุจักมิได้เอาใจใส่ในคำพูดประโยคหลัง

 

ของพระนารทะ  ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเขามีนิสัยไม่ชอบให้ใคร

 

สั่งสอนก็เป็นได้  เขาเสพูดขึ้นว่า  “สนทนากันมาก็นานแล้ว

 

ข้าพเจ้าก็ได้รับความเพลิดเพลินดี  เกือบลืมถามพระคุณเจ้าไปว่า

 

พระคุณเจ้าไปเมืองพาราณสีนี้  เพื่อสนานกายชำระบาป

 

ในแม่คงคาหรือ?”

 

                “หามิได้..พ่อค้า  พระสมณโคดมมิได้สอนให้สาวกของ

 

พระองค์ล้างบาปด้วยน้ำเลย  บาปมิได้อยู่ที่ผิวกายอันจักชำระล้างได้

 

ด้วยการอาบน้ำ  แม้น้ำในแม่น้ำคงคาก็ชำระได้แต่เพียง

 

สิ่งที่สกปรกภายนอกเท่านั้น  บาปเป็นนามธรรมอยู่ที่ใจ

 

จักอาบน้ำเท่าไรก็ไม่หาย  ถ้าจักชำระ  ต้องใช้น้ำอีกอย่างหนึ่ง

 

คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  อันเป็นน้ำวิเศษ  ล้างบาปได้”

 

                พันทุนิ่งใช้ความคิดอยู่ครู่หนึ่งแล้วว่า  “ยังไม่แจ่มแจ้ง

 

พระคุณเจ้า  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  จักล้างบาปอย่างไร  โปรดอธิบาย

 

ต่อเถิด”

 

                “ท่านเป็นพราหมณ์โดยชาติ  ย่อมรู้จัก  ศีล  สมาธิ

 

ปัญญา  ดีอยู่แล้ว  และอาตมภาพคิดว่าไม่จำเป็นจักต้องอธิบาย

 

ละเอียดว่า  ศีล  ขัดเกลาความชั่วทางกายวาจาให้หมดไปอย่างไร

 

สมาธิ  ขัดเกลาความชั่วทางใจอย่างหยาบให้หมดไปอย่างไร

 

และปัญญา  ขัดเกลาความชั่วทางใจอย่างละเอียดให้หมดไป

 

อย่างไร”

 

                รถคันนั้นยังคงวิ่งเรื่อยไปตามทางอันคดเคี้ยวและ

 

ขรุขระ  ความคิดของพันทุก็วิ่งเรื่อยไปเหมือนรถคันนั้น  วอกแวก

 

สะดุด  และส่าย  โคลงเคลง  เขาไม่ค่อยเข้าใจในธรรมที่

 

พระนารทะกล่าวเท่าไรนัก  หากแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการ

 

สนทนาตามวิสัยพ่อค้า  การสนทนาจึงดำเนินมาด้วยดี

 

                ขณะที่กำลังโต้ตอบกันเพลินอยู่นั้น  ก็พอดีรถมาถึง

 

ถนนแคบตอนหนึ่ง  และต้องหยุดลงทันที  เพราะตรงหน้านั้น

 

มีเกวียนบรรทุกข้าวของชาวนาขวางทางอยู่

 

                เทวละ  ชายชาวนาเจ้าของเกวียนเป็นชาวนาที่ยากจนมาก

 

ต้องเช่านาเขาทำ  เมื่อเก็บข้าวในนาได้แล้วก็เอาบรรทุกเกวียน

 

จะนำไปขายในเมือง  แต่เกวียนของเทวละเก่ามากและ

 

บรรทุกน้ำหนักเกินพอดี  เพลาจึงหักเดินทางต่อไปไม่ได้

 

ทั้งนี้  เพราะเทวละเป็นคนเขลาไม่รู้จักประมาณ  ท่านย่อมว่า

 

“ความไม่รู้จักประมาณ  เป็นเหตุให้เกิดทุกข์เสมอ”

 

                เทวละหมดปัญญา  ได้แต่ปลดวัวออกจากแอกแล้วก็นั่ง

 

เป็นทุกข์อยู่ตรงนั้น  เป็นทุกข์ว่าจักถึงปลายทางช้าไป  ราคาข้าว

 

จักตกไปเสีย  หรือถ้าซ่อมเกวียนไม่ทัน  มืดค่ำลงก็จักลำบาก

 

ในเรื่องที่พักนอน

 

                พันทุได้เห็นเกวียนหักขวางทางอยู่เช่นนั้น  ก็รู้สึก

 

ไม่พอใจ  เพราะตรงนั้นแคบ  รถของตนจะผ่านไปไม่ได้  ด้วยนิสัย

 

เห็นแก่ตัวผสมกับความโกรธ  เขามิได้คิดถึงความเสียหายของ

 

บุคคลอื่น  มุ่งเอาแต่ใจของตนเป็นประมาณ  เขาจึงได้ร้องสั่งให้

 

มหาทุตตะคนขับรถของเขา  ให้ลงไปเข็นเกวียนนั้นหลีกทางไป

 

โดยเร็ว

 

                ก่อนที่พระนารทะจักเข้าไปห้ามปรามทัน  คนใช้ผู้คอย

 

แต่ประจบเอาใจนายของตน  ก็ใช้กำลังดันเกวียนอันมีล้อ

 

เพียงข้างเดียว  ให้เลื่อนไหลออกไปนอกทางได้สมหมาย

 

แม้เทวละจะห้ามปรามและขอร้องสักเท่าไร  มหาทุตตะก็หาฟังเสียงไม่

 

เมื่อรถม้าของพันทุผ่านไปแล้ว  เทวละก็ได้แต่บ่นพึมพำ

 

ยืนทอดอาลัย  มองดูเกวียนที่ตะแคงอยู่บนกองข้าวที่หก

 

เรี่ยราดด้วยความแค้นใจ

 

                พระนารทะได้เห็นเหตุการณ์โดยตลอด  รู้สึกสงสาร

 

นายเทวละมาก  แต่เป็นการเหลือวิสัยที่จะยับยั้งความหุนหันของ

 

พันทุและบ่าวได้  เพียงแต่ปลงธรรมสังเวชและรำพึงว่า

 

                “เราจักต้องทำงานธรรมทูตต่อไปอย่างเข้มแข็ง

 

สัตว์ในโลกที่มืดบอดยังมีอยู่อีกมาก  ความเห็นแก่ตัวยังรุ่งเรืองอยู่

 

ต้องช่วยกันทำลายความเห็นแก่ตัวของชาวโลกต่อไปอีก”

 

                เมื่อเห็นว่าเจ้าของเกวียนจักลำบากในการผลักเกวียน

 

อันหนึ่งกลับที่เดิมพระนารทะก็ดำริว่า  “พระภิกษุที่ดีย่อมช่วยเหลือ

 

คนอื่นในเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือ  เพราะชีวิตของพระ

 

อยู่ได้โดยการช่วยเหลือของคนอื่น”

 

                เมื่อตกลงใจแล้ว  พระนารทะจึงบอกแก่พันทุว่า 

 

“โปรดหยุดรถเถิด  อาตมาจักลงที่นี่”

 

                นายพันทุแปลกใจจึงถามว่า  “ก็พระคุณเจ้าจักไปเมือง

 

พาราณสีมิใช่หรือ?”

 

                “จุดหมายปลายทางของอาตมภาพอยู่ที่นั่นถูกแล้ว

 

แต่บัดนี้  อาตมภาพมีหน้าที่ที่จักต้องทำที่นี่  อีกประการหนึ่ง

 

อาตมภาพรู้สึกว่าท่านมีบุญคุณแก่อาตมภาพในการอาศัยรถมานี่

 

จึงตั้งใจจะตอบแทนบุญคุณของท่าน  โดยการลงไปช่วย

 

ชาวนาผู้นั้นขนข้าวขึ้นเกวียน  และซ่อมเกวียนให้เขาด้วย”

 

                “แปลกมาก  พระคุณเจ้าพูดแปลก  ก็คนคนนั้นมันเกี่ยวอะไร

 

กับข้าพเจ้าเล่า  พระคุณเจ้าจึงว่า  การช่วยชายคนนั้นเป็นการ

 

ตอบแทนบุญคุณข้าพเจ้า”

 

                พระนารทะตอบว่า  “ถ้าดูกันเพียงเผินๆ  ก็ไม่มีอะไร

 

เกี่ยวข้องกัน  แต่อาตมภาพรู้ว่าครั้งหนึ่งชายผู้นี้เคยเป็นพ่อ

 

ของท่านมาแล้ว”

 

                “เคยเป็นพ่อของข้าพเจ้ามาแล้ว”  พันทุทวนคำด้วย

 

น้ำเสียงอันดัง  “ชายชาวนาที่เกิดในวรรณะต่ำนั้นหรือเคยเป็น

 

พ่อของข้าพเจ้า?  มีหลักฐานอะไรจึงกล่าวเช่นนั้น?”

 

                “พันทุ...จิตของท่านยังหนาแน่นอยู่ด้วยความโลภ

 

โกรธ  หลง  แม้ในเรื่องปัจจุบันชาตินี้  ก็ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง

 

แล้วจักไปเข้าใจเรื่องอดีตได้อย่างไร”

 

                พระนารทะพูดจบก็จ้องหน้าพันทุ  เมื่อเห็นพันทุนิ่งอยู่

 

ท่านจึงพูดต่อไปว่า  “พันทุ...ท่านจงทราบเถิดว่า  การเกิดแล้ว

 

เกิดอีกเป็นของยาวนาน  มีเบื้องต้นและที่สุดอันผู้ใดหยั่ง

 

ไม่ถึง  ทุกคนในโลกนี้ตลอดจนสัตว์เดียรัจฉานไม่มีแม้ชีวิตเดียว

 

ที่ไม่เคยเป็นญาติกันกับชีวิตอื่น  ทุกชีวิตคือสายเลือด

 

อันเดียวกันทั้งนั้น  ถ้าเชื่อตามนี้  การเบียดเบียนกันก็จักเบาบางไป”

 

                แต่...พันทุผู้ถือตน  ก็หาได้เข้าใจอะไรในคำพูดของ

 

พระนารทะไม่  ด้วยมานะถือว่าตนเป็นผู้มั่งคั่ง  เกิดในตระกูลสูง

 

จึงไม่ยอมรับฟังเหตุผลของพระนารทะ  เพราะตามธรรมดา

 

คนเรานั้น  ถ้ารับอะไรไว้ในใจจนไม่มีที่ว่างพอสำหรับเรื่องอื่นแล้ว

 

ก็ยากที่จะเข้าใจสิ่งใดได้  จึงมีหลักว่า  “ขณะฟังความคิดเห็น

 

ของใครนั้น  ควรที่จักทำใจให้ว่างก่อน”

 

                พันทุ  สั่งให้หยุดรถตามความปรารถนาของพระนารทะ

 

พระนารทะได้กล่าวขอบคุณพันทุอีกครั้งหนึ่ง  แล้วคนขับก็ลงแส้

 

บังคับม้าให้ลากรถต่อไปยังจุดหมาย

 

จากหนังสือกรรมสนองกรรม

 

ผู้แต่ง  พระธรรมโกศาจารย์  (ปัญญานันทภิกขุ)

 

เรียบเรียง  :  พ.ศ. 2499

 

จัดพิมพ์โดย  กองทุนปัญญานันทธรรม  ศูนย์สืบอายุพระพุทธศาสนา

 

                     วัดชลประทานรังสฤษฏ์

 

 




 

Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2560
0 comments
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2560 16:45:08 น.
Counter : 480 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


นาคสีส้ม
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




วัตถุประสงค์ของ blog นี้ :

เนื่องจากส่วนตัวเป็นคนชอบได้หนังสือธรรมะมาจาก
ที่ต่างๆ และมักชอบซื้อมาอ่านเป็นประจำเสมอ
เลยทำให้หนังสือกองเต็มบ้านมากมาย
เวลาจะนำไปบริจาค ก็มักจะเสียดาย เพราะ
บางครั้ง บางที ก็หยิบเล่มเก่าๆมาอ่านอีกรอบ
เวลาใครมาขอรับบริจาคอะไรต่างๆ
มักจะหวงไว้ ไม่ค่อยส่งต่อหนังสือให้ใคร

จนมาคิดว่า ไม่ควรจะหวงไว้
เพราะเนื้อหาค่อนข้างมีประโยชน์
นำมาปรับใช้ในชีวิตได้เป็นอย่างดี
เลยอยากจะแบ่งปันความสุขให้คนอื่นๆ

เลยจัดทำ blog นี้ขึ้นมาค่ะ
ไว้เก็บรวบรวมเนื้อหาที่ได้อ่านแล้ว
มาเก็บไว้ที่นี่ ส่วนหนังสือก็จะนำไปบริจาค
ให้คนอื่น ได้ใช้ประโยชน์ต่อไปค่ะ

สำหรับเล่มไหนที่เพื่อนๆคิดว่าสนุก
ก็สามารถแนะนำได้นะคะ ^__^
Friends' blogs
[Add นาคสีส้ม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.