ผู้ที่ควรแก่การยกย่องและเคารพ คือผู้ที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม มิใช่ผู้ที่ทรงอำนาจ แต่ไร้คุณธรรม "ป๋วย อึ้งภากรณ์"
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
8 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 
ปัญหานักกฎหมายไทย : บทความจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

การอัพบล็อกครั้งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ฉบับปีพุทธศักราช 2549


เมื่อเอ่ยถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หลายท่านอาจเคยได้ยิน ขณะที่หลายท่านอาจยังไม่รู้จัก
เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เปิดขึ้นมาเพื่อให้ทุกคน
สามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้
โดยไม่มีเงื่อนไขทางการศึกษา วัฒนธรรม
การเมืองและเศรษฐกิจใดๆมาเป็นอุปสรรค
และยังมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของ
การผลิตความรู้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาประเทศ
อย่างยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม


เรื่องที่จะนำเสนอต่อไปนี้ จขบ. เห็นว่า
มีความน่าสนใจ ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการเตือนสติ
นักฎหมายที่อยู่ในวิชาชีพในปัจจุบันและ
บางคนที่อนาคตอยากเป็นนักกฎหมายลอง
รับฟังข้อคิดเห็นเหล่านี้ไปพิจารณา
เพื่อปรับแก้สิ่งที่เป็นจุดอ่อนของเราให้หมดไป


เนื้อหาส่วนนี้ "ตัดตอน" มาจากส่วนหนึ่ง
ของบทความลำดับที่ 390 ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งนำเสนอโดย ชำนาญ จันทร์เรือง
สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านใดสนใจศึกษาเพิ่มเติม
ดูรายละเอียดได้จาก //www.midnightuniv.org


ขอบคุณมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและเจ้าของบทความ
ที่ทำให้ จขบ. มีเนื้อหามาอัพบล็อกได้อีกหนึ่งวัน อิอิ

เริ่มเลยแล้วกัน


ปัญหาที่พบกันอยู่ทุกวันนี้ก็คือ มักจะมีการกล่าวว่า
กฎหมายล้าสมัย กฎหมายเป็นธรรม โดยมองข้ามหรือมิได้วิเคราะห์
ไปให้ถ่องแท้ว่า ปัญหาข้อเท็จจริงนั้นเกิดจากตัวกฎหมาย
หรือว่าตัวผู้ใช้กฎหมายเองกันแน่

ปัญหาที่พบก็คือ
1. บุคคลากรในวิชาชีพกฎหมายเกือบทุกสาขา
เข้าสู่วิชาชีพตั้งแต่อายุยังน้อย
ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา
อัยการ ทนายความ นิติกร พนักงานสอบสวน ฯลฯ
จึงมีปัญหาด้านวุฒิภาวะ ประสบการณ์ และการใช้ดุลพินิจ

2. ระบบการคัดคนเข้าสู่วิชาชีพในปัจจุบัน
ให้ความสำคัญด้านความรู้ ความสามารถเป็นอย่างมาก

ส่วนด้านคุณงามความดีทางศีลธรรมและจริยธรรม
แทบจะไม่ได้ให้น้ำหนักกันอย่างจริงจัง ทำให้เกิดปัญหา
ทางด้านพฤติกรรมของบุคลากรในวิชาชีพกฎหมาย
ที่มักจะได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอ

3. การคัดเลือกคนเข้าเป็นนักศึกษาวิชากฎหมาย
ยังคงรับจากนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นหลัก

(เว้นแต่บางสถาบันที่รับเป็นปริญญาใบที่ 2)
เด็กนักเรียนเหล่านี้ยังไม่มีทั้งความรู้และประสบการณ์
เมื่อมาเรียนกฎหมาย จึงมีฐานความรู้อยู่ที่กฎหมาย
ลักษณะต่างๆ เท่านั้น เมื่อจบการศึกษาออกไป
จึงมักจะยึดติดกับตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ
ซึ่งลักษณะของการยึดติดอยู่ที่ตัวบทกฎหมายนี้
ดูจะอาการหนักหนาสาหัสสำหรับผู้ที่สอบได้คะแนนดี
ยิ่งสอบกฎหมายได้คะแนนดีมากเท่าไหร่
ก็จะยิ่งยึดติดกับตัวบทกฎหมายมากขึ้นเท่านั้น

4. อาจารย์สอนกฎหมายอยู่ในสภาพรอ
เพื่อจะไปที่อื่นเสียมากกว่า เพราะมีค่าตอบแทนที่สูงกว่า

ส่วนคนที่ยังคงอยู่ด้วยอุดมการณ์ กลับถูกมองว่า
ไม่มีโอกาสไปมากกว่าจะอยู่เพราะรัก หรือศรัทธาในวิชาชีพ
เมื่อสถานภาพของอาจารย์สอนกฎหมายเป็นเช่นนี้แล้ว
เราจะหวังถึงผลผลิตที่ออกมาได้อย่างไรเล่า

5. สถาบันการศึกษากฎหมายของไทย
มีกิจกรรมด้านวิจัยพัฒนาน้อยมาก เมื่อเทียบกับสาขาอื่น ๆ

และที่มีอยู่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานวิจัยเชิงกฎหมายเปรียบเทียบ
และใช้ข้อมูลทางเอกสารมากกว่าที่จะลงไปเก็บข้อมูลในภาคสนาม
งานพัฒนากฎหมายจึงใช้ประโยชน์จากงานวิจัยน้อยมาก

จากปัญหาข้างต้นเจ้าของบทความได้นำเสนอแนวทางแก้ไข
ที่น่าสนใจไว้ ดังนี้
1. การเป็นนักกฎหมายที่ดีมิใช่เป็นผู้ที่จำกฎหมายได้มากที่สุด
แต่สังคมต้องการการบังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรมด้วย

หลักสูตรในคณะนิติศาสตร์จึงต้องกำหนดให้นักศึกษา
เรียนรู้และเข้าใจในหลักวิชาชีพนักกฎหมาย
ที่จะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมเพียบพร้อม
ควบคู่ไปกับนิติปรัชญาที่เฉียบแหลม

2. หลักสูตรของคณะนิติศาสตร์ ควรมีลักษณะของ
การเพิ่มพูนความรู้ด้านสหวิทยาการให้มากขึ้น

เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก
การที่รู้แต่เพียงวิชานิติศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว
ไม่เพียงพอต่อการใช้งานอย่างแน่นอน

3. ในส่วนของปัญหาการกำหนดให้ผู้ที่จบมัธยมปลายเข้าศึกษาวิชากฎหมายนั้น
ในต่างประเทศมีการจัดการศึกษาวิชากฎหมายให้เป็นปริญญาที่สอง

เช่น สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ฯลฯ อย่างไรก็ตามในหลายประเทศ
เช่น ประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ
ต่างก็ยังรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษามัธยมปลายอยู่
ในส่วนของไทยเรานั้นเห็นว่าจากปัญหาที่พบดังที่กล่าวมาแล้ว
ก็น่าจะถึงเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ
การรับเข้าศึกษาวิชากฎหมายเสียใหม่ เผื่อบางทีอาจจะดีขึ้นกว่าเดิม
และคำกล่าวที่ว่า "คนส่วนใหญ่ที่มาเรียนกฎหมาย คือ คนที่อ่อนคำนวณ
หรือภาษาอังกฤษไม่ได้เรื่อง" จะได้หมดไปเสียที

4. การให้ผลตอบแทนแก่อาจารย์ผู้สอนกฎหมาย
เป็นสิ่งที่ควรคำนึงเป็นพิเศษ

โดย ทั่วไปแล้ว ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีแนวทางเป็นไปตามระเบียบ
ของทางราชการอยู่แล้ว เมื่อมาดูที่สถาบันการศึกษาของเอกชน
จะพบว่ามีความแตกต่างกันไปตามแต่หลักเกณฑ์
ที่ผู้บริหารสถาบันกำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ตาม
ผลตอบแทนยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐานความรับผิดชอบ

5. การกำหนดอายุของผู้ที่เข้าประกอบวิชากฎหมาย
ควรจะมีการกำหนดอายุให้มากขึ้นเพื่อให้มีวุฒิภาวะมากขึ้น

อาจจะกำหนดการเข้าสู่ตำแหน่งอัยการ ผู้พิพากษา ฯลฯ
เริ่มตั้งแต่ 30 หรือ 35 ปี แล้วเกษียณอายุ 65 หรือ 70 ปี
หรืออยู่ตลอดชีวิตไม่มีการเกษียณอายุแบบในบางประเทศแทน
ซึ่งจะทำให้เราได้ผู้พิพากษา อัยการ
ที่มีประสบการณ์และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้น

เจ้าของบทความสรุปว่า
ถึงเวลาที่เราจะต้องทบทวนการเรียนการสอนวิชากฎหมาย
และการคัดเลือกคนเข้าสู่ตำแหน่งของไทยเราได้หรือยัง
เพราะไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษากฎหมาย หรือการใช้กฎหมาย

หากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานให้กำเนิดและบังคับใช้ดังกล่าว
ไม่มีความรู้ดีพอแล้ว ย่อมก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมเป็นอย่างยิ่ง
ยิ่งปัญหาเกิดขึ้นมากเท่าไหร่ Rule of Law หรือ
หลักนิติธรรมย่อมห่างไกลจากความเป็นจริงมากยิ่งขึ้นเท่านั้น


อืม! ฟังเจ้าของบทความเขาว่าแล้วสงสัยถ้าจะเป็นจริง
ว่าแต่ว่าไอ้ที่มีปัญหาหรือสร้างปัญหาให้กับบ้านเมือง
จนกระทั่งบ้านเมืองวุ่นวายอยู่ทกุวันนี้
มันเป็นเพราะนักกฎหมายประเภทที่เจ้าของบทความว่าไว้หรือเปล่าก็ไม่รู้
สงสัยอย่างนี้ต้อง "ปฏิวัติ" !!!
การศึกษากฎหมายในบ้านเราใหม่เสียแล้วจริงๆ อิอิ






Create Date : 08 มิถุนายน 2550
Last Update : 12 ธันวาคม 2550 8:02:31 น. 16 comments
Counter : 1377 Pageviews.

 
กำลังจะลงเรียนกฎหมายเป็นปริญญาใบที่ 2 ค่ะ
ตอนแรกที่จะเรียนก้เพราะทำงาน----แล้วรู้สึกว่าเราน่าจะ
รู้กฏหมายมากกว่านี้นะเนี่น
----อ่านแล้วยิ่งเติมเต็มมั่กมาก--เลยอะค่ะ
เผื่อจะช่วยชาติได้มั่งเนอะ


โดย: xปูน---- (jumpoon_t ) วันที่: 8 มิถุนายน 2550 เวลา:8:49:12 น.  

 
เข้ามาทักคุณหอมกรทีไร ต้องเอาสมุดกะปากกา มาจดเล็คเช่อร์ทุกที....emo

ทำไมถึงสนใจเรื่องกฏหมายขนาดนนี้อ่ะคะ ถามได้ป่าว หรือว่าจบกฏหมายอ่ะคะ....


โดย: วิตามินโซดา วันที่: 8 มิถุนายน 2550 เวลา:9:17:12 น.  

 
มาทักทายยามเช้าที่สดใส

ขอให้มีความสุขกับวันศุกร์นะคะ

ชอบบ้านนี้อ่านแล้วเป็นงานเป็นการ

บ้านเรามีแต่เรื่องจุ๊กจิ๊ก

อิ อิ แอบถามว่าคุณหอมกรมีคนพิเศษหรือยังค๊าemoemo


โดย: เพียงแค่เหงา วันที่: 8 มิถุนายน 2550 เวลา:9:32:01 น.  

 
ขอบคุณสำหรับเรื่องที่นำมาให้อ่านค่ะ

ขอไม่แสดงความคิดเห็นน่ะค่ะ

แต่จะเก็บไปคิด^^



โดย: li_goro วันที่: 8 มิถุนายน 2550 เวลา:10:53:18 น.  

 
นักกฏหมาย กะ ศรีธนญชัย เป็นของคู่กัน

จริงเป่า อิ อิ


โดย: ปุ๊กกี้&คิตตี้ (ปุ๊กกี้&คิตตี้ ) วันที่: 8 มิถุนายน 2550 เวลา:11:47:58 น.  

 



แวะมาจัดเรตติ้ง คุคุ



โดย: mooemp วันที่: 8 มิถุนายน 2550 เวลา:16:23:44 น.  

 
emoอืมม..เวลามาบล๊อกนี้ทีไร รู้สึกว่าตัวเองมีสาระยังไงก็ไม่รู้ค่ะ ภูมิใจๆๆ emo


โดย: pataramin วันที่: 8 มิถุนายน 2550 เวลา:18:52:48 น.  

 
ขอบคุณมากๆค่ะ สำหรับเรื่องที่น่ารู้นำมาให้อ่าน
ได้ความรู้ดีจังค่ะ
emoemoemoemo


โดย: whitelady วันที่: 8 มิถุนายน 2550 เวลา:20:21:11 น.  

 
แวะมาทักทายค่ะ ขอบคุณสำหรับกำลังใจ และที่แวะไปเยี่ยมนะค่ะ และขอบคุณสำหรับความรู้ที่เอามาให้อ่านนะค่ะ


โดย: weraj วันที่: 9 มิถุนายน 2550 เวลา:12:46:46 น.  

 
อยากจะ เรียนกฎหมาย แต่ ไม่อยาก คลั่ง ลัทธิ และอุดมการณ์ เถื่อน ๆ ทำอยางไร คับ !!

emo



โดย: พญางูใหญ่ วันที่: 10 มิถุนายน 2550 เวลา:11:24:09 น.  

 
สวัสดีค่ะ...สบายดีไหมค่ะ... ?
ไม่ได้มาหาเลย..คิดถึงกันไหมเนี่ย..

สนุกมีความสุขกับการทำงานนะคะ...


โดย: ดอกหญ้าเมืองเลย วันที่: 11 มิถุนายน 2550 เวลา:7:57:40 น.  

 
ช่วงนี้ อ.มานิตย์ จิตจันทร์กลับ กำลังดังเลยเนอะ ได้แต่อ่านสิ่งที่ อ.เค้าวิพากษ์น่ะค่ะ ยังไม่ได้ยินเสียงตัวเป็น ๆ เลย

จะลองไปหามาฟังดูค่ะ

ป.ล. อีตาไกรศักดิ์ สมควรโดนถีบ พี่ว่ามั้ย อิ อิ

ป.ล. 2 อนุญาต มะมีสระ อิ จิง ๆ ด้วย

ป.ล. 3 จริง ๆ ไม่ใช่ จิง ๆ


โดย: ปุ๊กกี้&คิตตี้ (ปุ๊กกี้&คิตตี้ ) วันที่: 11 มิถุนายน 2550 เวลา:9:59:58 น.  

 
นำดอกไม้มาฝาก
ปัญหาเรื่องนักกฎหมาย ละเอียดอ่อนเหมือนกัน
อาชีพนี้ต้องมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดีมาก และความน่าเชื่อถือ




ดอกฟอร์ซิธเธีย (Forsythia)



โดย: law of nature วันที่: 10 มิถุนายน 2550 เวลา:2:34:46


โดย: หอมกร วันที่: 12 ธันวาคม 2550 เวลา:8:06:24 น.  

 
อยากได้งานวิจัย ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสติปัญญาแต่เป็นถาษาอังกฤษ มีพี่ท่านใดมีหรือรู้จักช่วยบอกได้ไหมคับว่าที่ไหนบ้างหรือ รู้จักวิจัยพบเห็นผ่านตาบาง


โดย: เท็น IP: 58.9.159.197 วันที่: 31 มีนาคม 2551 เวลา:1:06:10 น.  

 
ไม่ว่าการศึกษาศาสตร์ใดๆหากผู้ศึกษาขาดหรือไม่มีความมั่นคงทางสำนึก็มิอาจนำศาสตร์นั้นๆมาปรุงแต่งให้เข้ากับบริบททางสังคมได้โดยต้องยอมรับว่าโดยนัยยะทางสังคมไทยยังประกอบไปด้วยการเอารัดเอาเปรียบโดยอาศัยสถานะทางชนชั้นปกครองหรือชนชั้นทางเศรษฐกิจเอาเปรียบผู้ที่ด้อยกว่าตัวอย่างมีให้เห็นมากที่ปรากฎและไม่ปรากฎต่อสาธารณะ


โดย: มู๋ วัดพุทธนครสวรรค์ IP: 118.172.230.89 วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:20:15:39 น.  

 
ผู้เขียนเองต่อสู้เพื่อต้องการเห็นความเป็นธรรมให้เกิดในสังคมมาโดยตลอดทั้งที่รับราชการจนใกล้เกษียณได้รับความปวดร้าวมากพอแต่ในสำนึกยังเตือนสติเสมอว่า"ยังมีคนรอให้ช่วยอีกมาก"ดังนั้นทุกท่านที่เข้ามาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้พึงระลึกและเตือนสติทุกคนที่เตือนได้ให้เคารพในสิทธิผู้อื่นและทำหรือสร้างหรือรังแกผู้อื่น ให้น้อยที่สุดอีกทั้งแชร์ความรู้สึกซึ่งกันและกันแบ่งปันความสุขกันและกัน เท่านั้นก็คงเพียงพอ


โดย: มู๋ วัดพุทธนครสวรรค์ IP: 118.172.230.89 วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:20:24:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หอมกร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 64 คน [?]




ทำงานราชการมีจิตใจรักชาติไม่น้อยกว่าใคร จากเดิมทำบล็อกหลากหลายที่ตนเองสนใจ ปัจจุบันเน้นแปะเรื่องราวจากภาพยนตร์ไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการตัดสินใจไปดู
Hello ! Hello ! Hello ! ขอบคุณสำหรับการเยี่ยมเยียนจ้า
Friends' blogs
[Add หอมกร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.