สิงหาคม 2555

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ย้อนเวลา..เมื่อวันที่หมอบอกว่า "ลูกตัวเหลือง"

ย้อนเวลาเล่าเรื่อง โรคตัวเหลืองของเด็กแรกเกิด

ทั่วไป

ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด และเด็กเล็ก (Neonatal hyperbilirubinemia/ Neonatal jaundice) พบบ่อย และเป็นปัญหาสำคัญ ต้องให้การวินิจฉัย และรักษาในเวลาที่เหมาะสม หากวินิจฉัยไม่ได้หรือมาพบแพทย์เมื่อพ้นระยะเวลาที่จะรักษาได้ผลดี ย่อมทำให้ผู้ป่วยมีอาการมาก หรือสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะบางอวัยวะ จนไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ในเด็กคลอดครบกำหนดพบภาวะตัวเหลืองได้ประมาณ 25-50% และพบมากขึ้นในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด แต่ส่วนใหญ่เป็นภาวะตัวเหลืองที่เกิดตามปกติ

อาการตัวเหลืองเกิดได้อย่างไร?

อาการตัวเหลืองเกิดจากการมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) จำนวนมากกว่าปกติคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ ทำให้เห็นว่ามี ผิวหนังทั่วตัว และตาขาว เป็นสีเหลือง

มีกลไกการเกิดและการกำจัดสารสีเหลืองบิลิรูบินอย่างไร?

สารสีเหลือง/บิลิรูบินนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากการมีเม็ดเลือดแดงแตกได้สารที่เรียกว่า บิลิเวอร์ดิน (Biliverdin) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นสารชื่อบิลิรูบินอยู่ในกระแสเลือด โดยปกติสารนี้จะถูกนำเข้าไปสู่ตับ มีการเปลี่ยนแปลงที่เซลล์ของตับ เปลี่ยนจากสารที่ละลายน้ำไม่ได้ (แต่ละลายได้ในไขมัน) เป็นสารที่ละลายน้ำได้ แล้วขับออกจากร่างกายผ่านไปในทางเดินน้ำดี เข้าสู่ลำไส้ และขับออกทางอุจจาระ ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อย ถูกดูดซึมจากลำไส้กลับเข้าสู่กระแสเลือด และขับออกทางปัสสาวะ

สารสีเหลืองบิลิรูบินเป็นสารที่เกิดตามปกติหรือไม่?

สารสีเหลือง/บิลิรูบินนี้โดยภาวะปกติก็เกิดอยู่แล้ว เพราะเม็ดเลือดแดงมีการแตกตัวตามอายุขัยของมัน คนปกติเม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน แต่ในเด็กแรกเกิดเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าผู้ใหญ่ คืออายุประมาณ 80-90 วัน และเด็กแรกเกิดมีปริมาณเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ เด็กแรกเกิดปกติจะมีการสร้างบิลิรูบินวันละประมาณ 6-10 มิลลิกรัม (มก.)/น้ำหนักตัว1กิโลกรัม (กก.) แต่ผู้ใหญ่จะมีการสร้างบิลิรูบินวันละ 3-4 มก./ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. อีกทั้งตับของเด็กแรกเกิดยังทำงานไม่สมบูรณ์ ทำให้พบภาวะตัวเหลืองได้บ่อยในเด็กแรกเกิด (ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์ สารสีเหลืองจะผ่านรก เข้าสู่กระแสเลือดของแม่และขับออกทางตับของแม่)

เด็กตัวเหลืองมีสาเหตุจากอะไร?
เมื่อทราบกระบวนการที่ทำให้เกิด สารสีเหลือง/บิลิรูบิน และระบบการขับถ่ายสารนี้ออกจากร่างกายแล้ว จึงไม่ยากที่จะนึกถึงสาเหตุของภาวะตัวเหลือง ซึ่งได้แก่

  1. มีสารบิลิรูบินสร้างมากขึ้นกว่าปกติ โดยมีสาเหตุได้หลายอย่าง ทั้งสาเหตุจากมารดา และตัวเด็กเอง เช่น มีการแตกของเม็ดเลือดแดงของลูกเนื่องจากหมู่เลือดของแม่และของลูกไม่ตรงกัน จึงมีสารที่เป็นภูมิต้านทาน (แอนติบอดี/ Antibody) จากแม่มาสู่ลูกโดยผ่านทางรก สารดังกล่าวจะไปจับที่ผนังของเม็ดเลือดแดงของลูก ซึ่งร่างกายลูกมีกระบวนการกำจัดเม็ดเลือดแดงเหล่านี้ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงของลูกแตก
    นอกจากนี้การมีเลือดออกในเด็กแรกเกิด และคั่งอยู่ในที่ใดที่หนึ่งจำนวนมาก เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกก็จะได้สารบิลิรูบินมาก

    การติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย ตั้งแต่ในครรภ์ เช่น ติดเชื้อ หัดเยอรมัน ซิฟิลิส หรือเชื้อซีเอ็มวี (CMV, Cytomegalovirus) เป็นต้น

    การติดเชื้อในกระแสเลือดหลังคลอด เช่น เชื้อแบคทีเรีย และเชื้ออื่นๆ ก็ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้

    เม็ดเลือดแดงผิดปกติแต่กำเนิด ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ไม่ว่าจะเกิดจากรูปร่างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ การมีส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ทั้งความผิดปกติของการสร้างสารสีแดงที่เรียกว่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในโรคธาลัสซีเมีย (มักเกิดจากกลุ่มที่เป็น ธาลัสซีเมีย ชนิด อัลฟา) หรือจากการที่มีเอนไซม์ (Enzyme) ที่จำเป็นสำหรับความแข็งแรงของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ เช่น ภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD) ล้วนทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย

    เด็กที่มีภาวะขาดออกซิเจน เด็กที่มีแม่เป็นโรคเบาหวาน เด็กที่เกิดก่อนกำหนด และเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก ทำให้สร้างบิลิรูบินมากกว่าปกติ

  2. ความผิดปกติในกระบวนการนำสารบิลิรูบินในเลือดไปสู่เซลล์ตับ สารบิลิรูบิน จะไปที่เซลล์ตับ โดยมีโปรตีน (อัลบูมิน/Albumin หรือไข่ขาว) ในเลือดเป็นตัวนำไป หากโปรตีนต่ำมากๆ จะขาดตัวนำสารนี้ไปที่ตับ

    เมื่อไปที่ตับจะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงสารบิลิรูบินจากที่ไม่ละลายน้ำไปเป็นสารที่ละลายน้ำและขับออกจากร่างกายได้ หากเอนไซม์นี้ผิดปกติ หรือหากมียา หรือสารชนิดอื่นมาแย่งจับ หรือขัดขวางการทำงานเอนไซม์นี้จะทำให้สารบิลิรูบินไม่ถูกเปลี่ยนไปเป็นสารที่จะขับออกได้ จึงมีสารบิลิรูบินคั่งอยู่ในเลือด/ในร่างกายมาก

  3. กระบวนการขับถ่ายออก คือเมื่อสารบิลิรูบินถูกเปลี่ยนแปลงที่เซลล์ของตับแล้ว จะถูกนำออกจากตับโดยผ่านทางท่อน้ำดี แล้วไปออกสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น จากนั้นขับออกทางอุจจาระ ท่อน้ำดีในตับเปรียบเหมือนคลองเล็กคลองน้อยที่จะนำน้ำดีออกสู่แม่น้ำใหญ่คือลำไส้

    ดังนั้นหากมีการอุดตันของท่อน้ำดี โดยสาเหตุที่เกิดจากกายวิภาค คือท่อน้ำดีตีบตัน (Biliary atresia) หรือเกิดจากเซลล์ตับอักเสบ และบวมมาก จนท่อน้ำดีถูกเบียด หรือมีสารบิลิรูบินเข้มข้นอยู่จำนวนมากเหมือนโคลนไปทับถม ทำให้สารบิลิรูบินที่สร้างมาใหม่ๆ ไหลออกมาไม่ได้ ล้วนมีผลทำให้เกิดอาการตัวเหลืองได้ และแม้แต่การมีลำไส้อุดตัน หรือภาวะที่ลำไส้ขยับตัวเคลื่อนไหวน้อยในเด็กแรกเกิดที่ยังรับนมแม่ได้น้อย เนื่องจากแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอในช่วงแรกๆ (Breastfeeding jaundice) จึงส่งผลทำให้มีการคั่งของน้ำดี ทำให้น้ำดีถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดมากขึ้น จึงเกิดตัวเหลืองได้
    ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของบิลิรูบินจากที่ไม่ละลายน้ำ มาเป็นสารที่ละลายน้ำได้น้อยกว่าปกติจึงขับถ่ายบิลิรูบินได้น้อยกว่าปกติ

    เริ่มเลยดีกว่า..

    เมื่อวันที่หมอบอกว่าลูก มีค่าตัวเหลือง สูงกว่าปกติ

    เมื่อวันที่หมอนัดลูกกลับมามาตรวจหลังจากคลอด 7 วัน (..............) วันนั้นลูกยังตัวเล็กอยู่มากๆ น้ำหนักแค่ 2,600 กรัม เอง วันที่มาหาหมอตัวแม่เองก็ยังไม่แข็งแรงดี แผลผ่าตัดก็ยังเจ็บๆอยู่ ลุก นั่ง ยังไม่ค่อยคล่อง เมื่อถึงคิวตรวจ หมอจับลูกนอน กดตรงหน้าอกเล็กๆ ของลูก ลูกเก่งมากเลยไม่ร้องไห้ซักนิด หลังจากนั้นหมอก็หันมาบอกพ่อกับแม่ว่า " ลูกดูตัวเหลืองผิดปกตินะครับ หมอขอเจาะเลือดดูหน่อยนะคับ "  เท่านั้นแหละแม่ก็ ตายแล้ว แล้วจะเจาะตรงไหนเนี่ย ลูกยังเล็กอยู่เลยเจ็บแย่ ทำไงดี ทำไง ...... หมอก็พูดบอกว่าเจ็บนิดเดียว เราจะได้ค่าที่แน่นอน แม่ก็เลยเอาวะ ..เจาะก็เจาะ..

    หลังจากนั้นพ่ออุ้มลูกไปเจาะเลือด แป๊บเดียว เสียงร้องลั่น ออกมา โหย...ลูกจ๋าแม่สงสารลูกจับใจ..แม่เอาลูกมาอุ้ม ปลอบประโลม สักพักลูกก็เหมือนจะรู้ เงียบ...นั่งรอผลเลือด 30 นาที Zzzzzz...
    มาแล้ว ผลเลือด TOT หมอบอกว่า ค่าของลูกอยู่ที่ 16 ซึ่งเกินกว่าเด็กปกติ ปกติ ต้องไม่เกิน 15 ของลูกเกินมานิดนึง แต่ว่าค่าจะเพิ่มเรื่อย ถ้าพุ่งไปถึง 20 ลูกจะต้องถูกถ่ายเลือดทางสะดือ..โอว้พระเจ้า ม่ายนะ..ลูกต้องไม่เป็นอะไร มี 2 ทางเลือก คือ

    1. กลับบ้าน แล้วอีก 2 วันมาตรวจ เจาะเลือดอีกครั้ง ถ้าค่าลดลงหรือเท่าเดิมก็ดีไป 
       ถ้าเพิ่มขึ้นก็น่ากลัว
    2. นอนส่งไฟที่โรงพยาบาล ค่าใช่จ่ายเบ็ดเสร็จ ประมาณ 6,000 บาท แม่นอน ร.พ.
        กับลูกได้เลย ส่องไฟเสร็จ เจาะเลือดตรวจอีกครั้งถ้าลดลง ก็กลับบ้านได้

    แม่กับพ่อเครียดกันเลยทีเดียว วินาทีนั้นแม่รู้สึกสงสารลูกและเป็นห่วงลูกจับใจ น้ำตาไม่อาจกลั้นได้ ร้องไห้มันตรงนั้นเลย ..ทำไมอ่ะ ลูกฉันยังเล็กอยู่เลย ทำไมต้องมาเป็นอะไรแบบนี้ด้วย..ปรึกษากัน สุดท้าย ก็ตัดสินใจนอน ร.พ. ดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของลูก

     

    นี่คับ รูปลูกกับการส่องไฟ ต้องติดผ้า ปิดตาไว้หนาๆ เพราะแสงมันแรงมาก กลัวสายตาจะเสีย เมื่อเข้าห้องพักผู้ป่วย ลูกก็ถูกเข็นไปห้องเนอสเซอรี่ ไปทำการปิดตาและเปลื้องผ้า แล้วก็ใส่ลูกมาในตู้ส่องไฟ กลับมาก็ร้องไห้ใหญ่เลย สงสัยจะไม่ชอบ.. ไม่ชอบก็ต้องทนนะลูก

    ผ้าปิดตาที่เห็นในรูป กว่าจะได้แบบนี้ ต้องวีนพยาบาลอยู่หลายรอยเลยนะ ตอนแรกติดมาเป็นก้อนๆ ดิ้นนิดเดียวก็หลุดลงมา ถ้ามาปิดจมูกลูกฉันเธอจะทำยังไง หื้อ.. แจ้งพยาบาลไป 3 - 4 รอบ ทำไงก็เหมือนเดิม รอบสุดท้ายเลยจัดหนัก
    " Smiley หลุดตลอด ไม่ได้พักกันพอดี ต้องมาคอยดูว่าผ้าจะปิดจมูกเมื่อไร ไม่มีวิธีที่ดีกว่านี้หรอ ช่วยทำให้หน่อยนะ
    .. "



    วันนั้นพ่อต้องไปทำงาน แลกเวรไม่ได้ เพราะมันกะทันหันเกินไป แม่ก็เลยต้องตาม ตากับยาย มาช่วยดูลูก เพราะตัวแม่เองก็ยังเจ็บแผลอยู่ ...คืนนั้น ทุกคนไม่ได้นอนเลยลูก ลูกร้องทั้งคืน นอนประมาณ 20 นาทีก็ร้อง ..ลูกคงร้อน คงไม่ชอบเนอะ ..แม่ได้แต่บอกว่า ทนนะลูกพรุ่งนี้ก็หายแล้ว




    ลูกจ๋า อย่าร้องไห้ ถ้าแม่เจ็บแทนได้ แม่จะทำ...แต่มันไม่ได้ ฉะนั้นตอนนี้ลูกต้องทนนะ แม่เป็นกำลังใจให้อย่างถึงที่สุด พ่อก็ห่วงลูก ถึงไปทำงานก็โทรมาถาม ตลอด...
    แม่กับพ่อรักและห่วงลูกนะคับ Smiley



    หมอบอกว่า " เวลาส่องไฟ ลูกจะฉี่และถ่ายบ่อย เพราะ ร่างกายจะขับสารเหลืองออกมา"
    แม่ก็เลยจับลูกใส่ มามี่โปะโกะ ซะเลย..
    หลังจากส่องไฟไป 1 คืน ตรวจเลือดอีกครั้ง ผลออกมาปรากฏว่า ค่าลดลง เหลือ 12 แล้ว เย้ เย้ เย้ ดีใจที่สุดเลย ลูกหายแล้ว เย็นวันนั้นกลับบ้านได้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ลูกตัวเหลืองนั้น หมอบอกว่า น่าจะเกิดจาก คลอดก่อนกำหนด ( ลูกคลอดสัปดาห์ที่ 36 ) เนื่องจากสาเหตุอื่น ลูกปกติดีทู๊กอย่าง ... ในที่สุด ลูกของแม่ก็หายแล้ว

    ปัจจุบัน ลูกแม่แข็งแรงและน่ารักมากๆ  4 เดือน 17 วันแล้ว หัวเราะก็เก่ง ยิ้มก็เก่ง 




    น่าร๊ากที่สุดเลยคร้าบ

    หมูน้อยโฮชิ




Create Date : 17 สิงหาคม 2555
Last Update : 17 สิงหาคม 2555 14:39:48 น.
Counter : 3764 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

hochimylove
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments