. . . Go the eXtra mile . . .
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ที่มาที่ไปของงานวิจัยชุมชน

ย้อนหลังไปเมื่อประมาณปี 43.. Kon1Kon เพิ่งกลับมาทำงานได้ไม่นานนัก.. เราได้รับภาระยิ่งใหญ่ คือให้ดูแลหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยมีอาจารย์อยู่เพียง 2 ท่าน..คือ Kon1Kon กะ คนอีกคนหนึ่ง.. (ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรกันจนมาถึงปัจจุบัน).. เริ่มต้นจากงงงันสุดๆ ..(จบมาคนละเรื่องกันเลย).. แต่ความที่มีใจให้ ก็เลยคิดว่าลองดูกันซักตั้ง..

เราสองคนนั่งจับเข่าคุยกันปรึกษาหารือกันตลอด ..ไปดูงานด้วยกัน..แม้กระทั่งข้ามน้ำข้ามทะเลไปเพิ่มพูนความรู้ที่อังกฤษโน่น.. แบ่งกันศึกษาค้นคว้าตำราต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง.. คุยกะคนโน้นคนนี้ ปรึกษากันทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง ช่วยกันวางแนวทาง และช่วยกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาตลอด ส่วนหนึ่งที่เราทำก็คือวางแผนวิชาที่จะสอนทั้งหมดร่วมกัน เราตั้งใจให้นศ.ได้ประสบการณ์จริง มากกว่า นั่งเรียนในห้องแคบๆ.. จึงเป็นปรัชญาของเราตลอดมาว่า นศ. ต้องเข้าไปสัมผัสปัญหาจริงในพื้นที่..

ตอนนั้นวิชาทุกวิชาในหลักสูตร เราจับมาบูรณาการกันหมด โดยใช้ Area-based เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ทุกปีนักศึกษาจะต้องเข้าศึกษาในพื้นที่ชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ใช้กระบวนการวิจัยตามวิชาระเบียบวิธีวิจัย ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลตามวิชาชุมชนและทรัพยากรฯ นำปัญหาที่พบเจอมาจัดใช้เป็นฐานเพื่อพัฒนากระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาในอีกวิชา.. นักศึกษาทุกคน โดยเฉพาะในรุ่นแรกๆ เข้าใจถึงความจำกัดของ Resources ที่เรามี แต่ที่น่าปลื้มใจก็คือ นศ. ทุกคนให้ความร่วมมือในการตั้งใจทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี..



เนื่องจากการเน้นการปฏิบัติเป็นจุดสำคัญในการจัดการเรียนการสอน..ดังนั้น งานวิจัยที่นศ.จะทำเป็นวิทยานิพนธ์ จึงเป็นแนววิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นส่วนใหญ่.. ช่วงนั้นพันธมิตรเรามีหลายคน ที่มาช่วยกัน Comment งานของนศ. รุ่นแรกๆ ที่เรากำลังจัดทิศทางให้ลงตัว...เช่น ผศ.ดร.อุทัย ดุลยเกษม อ.สนั่น เพ็งเหมือน รศ.ดร.สมยศ ทุ่งหว้า ผศ.ดร.อาแว มะแส ผศ.สุพจน์ โกวิทยา รศ.ปราณี ทองคำ ผศ.ดร.นัยนา ศรีชัย อ.อัมพร ศรประสิทธิ์ เป็นต้น.. การทำงานในช่วงแรกช่วยให้เราจัดรูปกระบวนให้เข้าที่เข้าทางและเป็นที่มาของการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการและการวิจัยแบบมีส่วนร่วม..ซึ่งเป็นความสนุกสนานและความถนัดของหน่วยวิจัยเราในปีต่อๆ มา

งานวิจัยที่เราสะสมองค์ความรู้มา จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำงานร่วมกับชุมชนและโรงเรียนในการ:
· สร้างกระบวนการเรียนรู้

· ทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

· พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

· บูรณาการหลักสูตร

· พัฒนาแหล่งเรียนรู้

· พัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม

ทั้งหมดนี้ มีปัจจัยเสริมที่ทำให้ทำงานได้สนุกสนาน น่าจะได้แก่

· มีกัลยาณมิตรในการทำงาน (team working)

· มีเครือข่ายที่ดี (Networking)

· มีทรัพยากรพอสมควร ไม่สำคัญว่าจะต้องมาก (Enough resources to function main mission)

· มีอำนาจในการบริหารจัดการด้วยตัวเองได้พอสมควร (Appropriate authority)

· และที่สำคัญ...ต้องมีใจ (Willing)

ทั้งหมดนี้ เริ่มต้นมาจาก Kon2Kon เท่านั้นจริงๆ...

กิตติกรรมประกาศ: คนอีกคนที่ร่วมบุกเบิกฝ่าฟันกันมา ก็คือท่าน ผศ.ดร.เยาวนิจ กิตติธรกุล ซึ่งต้องขอประกาศความดีและยกเครดิตให้ท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

(เนื้อหานี้เคยเขียนไว้ที่ //share.psu.ac.th/blog/kon1kon-researchbyheart/1377)
สร้าง: ส. 01 ธ.ค. 2550 @ 21:30 แก้ไข: จ. 18 ก.พ. 2551 @ 10:16



Create Date : 09 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2552 23:40:12 น. 0 comments
Counter : 303 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Kon1Kon
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




..เป็นคนธรรมดาๆ คนหนึ่งค่ะ ..
..เคยเป็นคนกรุงเทพ แต่ตอนนี้มาทำงานอยู่สงขลา ได้ทำงานเกี่ยวข้องกับชุมชนทางภาคใต้ ได้เรียนรู้สิ่งดีๆ มากมาย..
..ถนัดงานสร้างคน สอนคน วิจัยค้นคว้าในเรื่องที่ตัวเองชอบ..
..ว่างๆ ก็ชอบอ่านหนังสือ ซ้อมไวโอลิน (เพิ่งมาเรียนตอนแก่)..
..เชื่อว่าจักรวาลนี้มีผู้สร้าง มิใช่เกิดโดยบังเอิญ รักสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ ไม่อยากให้มันหมดไป..
..ยังไง ก็มาเป็นเพื่อนกัน นะคะ..
Friends' blogs
[Add Kon1Kon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.