ธรรมะและสมาธิ
ขอให้มีจิตเบิกบาน ในการอ่านธรรมะบันเทิง และวางมันลง เพราะเป็นเรื่องที่รู้เฉพาะตน
สมุดทักทาย นิยายธรรมะ ถามมา-ตอบไป บทสวดมนต์ คำนำก่อนอ่าน
ความศักดิ์ของพระคาถาชินบัญชร คัมภีร์หมื่นโลกธาตุ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
9 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 

ถามมา-ตอบไป หน้า 2




มีคำถาม หรือข้อคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องธรรมะ
คุยกับ อ้อง (ชัชวาล) โดยตรงได้ที่นี่นะครับ

หน้านี้ ถามมา-ตอบไป หน้าที่ 2


คลิก!ดู ถามมา-ตอบไป ย้อนหลัง หน้าที่ 1





 

Create Date : 09 สิงหาคม 2551
16 comments
Last Update : 7 กันยายน 2551 16:07:57 น.
Counter : 533 Pageviews.

 

ความเข้าใจในเรื่องศีลเพื่อเป็นสัมมาทิฎฐิที่รู้ถูก

การปฏิบัติธรรมคือ การเข้าไปรู้เฉพาะ

ศีลคือ ความปกติ ความสะอาด เป็นธรรมชาติของจิตชนิดหนึ่ง

ที่ผ่องใส มีความโปร่งโล่งเบาไม่มัวหมอง ปราศจากอุปกิเลสจรคือ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

เรามาเข้าใจในศีลแห่งอริยมรรค กับศีลแห่งปุถุชนเสียก่อน
เพราะทางสองสายนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

คนธรรมดาไปวัด ไปเอาศีล ไปรักษาศีล เพราะติดดี ติดกฏข้อบังคับ

เพราะเข้าใจว่า ศีลคือการบังคับการกระทำไม่ให้ทำชั่ว และมักจะเกิดความเข้าใจเสมอว่า

วันนี้ทั้งวัน ศีลบริสุทธิ มากๆ ศีลละเอียดมาก
ไม่มีอะไรผิดพลาดแม้แต่น้อย นี่คือติดดีจนเกินไปลืมไปสิ่งหนึ่งคือ ไปวัดเราไม่ได้เอาดี เราเอารู้

ศีลที่แท้จริงนั้นก็คือ การฝึกสติ การสำรวมระวัง การประคอง การระลึกรู้ ว่าเผลอ ว่าหลง ว่ากำลังทำผิด

ว่าเผลอไปทำผิด ว่าหลงไปคิด ว่าหลงไปอยากมีอยากได้
ว่าไม่อยากมีอยากได้ ว่าฟุ้ง เห็นว่าอกุศลเกิด(เพียรละอกุศล)

ศีลแห่งอริยมรรค ประกอบร่วมด้วยสัมมาสติเป็นองค์ประกอบใหญ่

การจะทำงานในเบื้องต้น ก็ใช้ความสำรวมระวังคือศีล5 และเมื่อมีความมั่นคงในงานชนิดนั้น

ก็เพิ่มระดับ ความสำรวมระวังในงานที่ละเอียดมากขึ้นเป็นลำดับ(สติจะว่องไวมากขึ้น)

ศีลที่แท้จริงย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับสติที่ระลึกรู้โดยปราสจากเจตนาจงใจ

เช่นเพ่ง กำหนด ตั้งท่า อยากรักษา ตรงนี้กิเลสนำ จิตย่อมมัวหมอง

ศีลคือความบริสุทธิของจิต

ที่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งไม่มัวหมอง ดังนั้นกิเลสนำไม่ได้ ติดดีไม่ได้

การรักษาศีลก็ต้องปล่อยไปแบบธรรมชาติของจิต ที่มันไม่เที่ยงและบังคับก็ไม่ได้
มันจะเกิดก็บังคับไม่ได้ มันไม่เกิดก็บังคับไม่ได้ เพราะจิตมันสะสมดีชั่ว มันจะคว้ามาเองเรื่องของมัน

หน้าที่เราคือรู้คือสำรวมระวังนี่เอง ที่จะทำให้สติระลึกรู้เกิดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ

ก็เพราะมาจากเหตุ(ธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุุ)
จากการจดจำได้ที่เกิดขึ้นมาเองโดยไม่มีเจตนาจงใจ


การที่เราไปเข้าใจว่า ศีลต้องรักษาให้ได้ทั้งวัน ศีลต้องละเอียด ศีลต้องบริสุทธิ

เมื่อเข้าใจเช่นนี้ก็จะทำให้ ศีลแห่งอริยมรรคที่เกิดขึ้นมาจากสัมมาสติ เกิดความผิดพลาดจาก

สัมมาทิฎฐิ คือความเข้าใจอย่างถูกต้อง ่คลาดเคลื่อนในองค์แห่งศีล (เพราะศีลเป็นธรรมชาติของจิต เมื่อจิตไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ ศีลก็ไม่เที่ยง มาๆไปๆก็เฉพาะเวลาที่มีสติเข้าไประลึกรู้แค่นั้น)

เพราะศีลสัมพันธ์กับจิต แปลความหมายก็ชัดเจนอยู่ คือธรรมชาติที่เป็นกลาง เที่ยงธรรม สะอาด บริสุทธิ
และเป็นปกติ คือธรรมดาของจิตชนิดนี้ ถ้ามันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และมีสติระลึกรู้เห็นความจริงของจิตชนิดนี้

เมื่อนั้นคือศีลบริสุทธิจิตก็บริสุทธิ

จิตที่ผ่องใสชนิดนี้ ถ้าประคองรักษาจะเห็น สติเร็วมาก นี่ก็เพราะเกิดกำลังของสมาธิร่วมอยู่ในศีลด้วย
และยังเห็นความจริงของจิตบริสุทธิ
แสดงความจริงของธรรมชาติคือพระไตรลักษณ์ด้วย

คือมาๆไปๆ บังคับไม่ได้ ซักพักนึง อกุศลจรก็จะปรากฏ คือ เผลอไปเพ่ง หรือหลงไปคิด

ใครบอกว่ารักษาศีลบริสุทธิทั้งวัน นั่นยังไม่เข้าใจเรื่องศีล(ยกเว้นพระอรหันต์)

เมื่อเรามาเข้าปฏิบัติ เราเข้าไปรู้เฉพาะกายและจิตใหม่ จึงมักจะเห็นว่า

อกุศลจรเป็นหมื่นรู้สึกตัวเพียงสองสามสี่ แล้วก็จรเป็นแสนรู้สึกตัวสองสามสี่

จิตเกิดดับถี่ยิบมากมายมหาศาลสะสมแต่ภพต่ำทั้งสิ้น จึงทำให้ภพภูมิมีระยะเวลาที่ยาวนาน ในเวลาเสวยกรรม

คนเกิดมาไม่กี่ปี รักษา สำรวม ในศีล จิตไปติดกุศลแม้จะน้อยกว่าน้อย
แต่อำนาจของกุศลนี้กลับมีอำนาจมาก

ผู้รักษาศีลและมีหิริโอตัปปย่อมมีสุขคติเป็นที่ตั้ง ถามว่า

เกิดมาแล้วรักษาศีลแค่สิบยี่สิบปี ทำไมสิ้นอายุขัยจึงเป็นเทวดานางฟ้าถึงแสนปีทิพย์ เป็นกัลป ตัวเลขทำไมต่างกันมหาศาลปานนั้น
กับอายุขัยการทำความดีของมนุษย์

คนทำชั่วก็เหมือนกัน เกิดมาทำชั่ว ไม่มีศีลรักษา ไม่มีความละอายแก่ใจเพื่อการสำรวมระวัง

คนชั่วกลับไปอบายต่างกัน อายุขัยเสวยกรรมก็ต่างกัน นั่นก็เพราะวิถีจิต ความคิดที่ย้อนมาทำร้ายใจ

ในระหว่างวันมีมายมายยิ่งนัก จิตที่เต็มไปด้วยอาฆาต พยาบาท ความโกรธแค้น ที่เกิดถี่ยิบเป็นล้านๆขณะ

ในระหว่างวันนั่นละ คือการสะสมภพ ความดีก็เช่นกันสะสมภพ

ดังนั้นการที่เรารักษาใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ ทำดีให้ถึงพร้อมและไม่ทำชั่วทั้งปวงนั้น สัมพันธ์ที่จิตทั้งสิ้น

ศีลจึงเหมือนบ้านที่สะอาด คนรักษา สำรวม ระวัง จึงเหมือนคนที่ทำความสะอาดบ้านด้วย สติแห่งความจริงเสมอ

ศีลแห่งอริยมรรคที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน
ระหว่างปุถุชนและพระอริยเจ้าคือ รักษาที่ใจ

ส่วนพระที่ต้องอาบัติ จิตของท่านมัวหมองจึงปิดกั้นคุณความดี
ท่านจึงต้องปลงอาบัติอยู่เสมอเพื่อการสำรวมระวังอยู่ทุกเมื่อ

เหตุที่ท่านมีศีลถึง227ข้อ เพราะท่านสละโลก ท่านจึงมีเวลาในการสำรวมที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น

การสำรวมในศีลย่อมนำพาความสุขความสะอาด
แห่งศีลที่บริสุทธิผ่องใสมาให้ด้วยสติระลึกรู้

ศีลที่บริสุทธิ์ผ่องใสจึงนำพาโภคทรัพย
ทางปัญญาอันหาไม่ได้เพราะจะรู้เอง
ในขณะที่มีศีลด้วยปัญญาที่รู้แจ้ง

ศีลคือความสะอาด ความเป็นกลางเที่ยงธรรม ศีลคือความปกติของจิต คือธรรมชาติแท้จริงของจิต

ศีลจึงนำพาเข้าหานิพานังปัจจโยโหตุ เพราะนิพพานคือความสะอาด ความบริสุทธิ ปราศจากขันธ์ ปราศจากกิเลส

จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลคือนิโรธ ความบริสุทธิ์ที่เห็นความบริสุทธิ์ ไม่เอากิเลส ละกิเลส รู้กิเลส วางอุปทานทั้งหลายสิ้น

จิตย่อมเสรีเป็นไท บรมสุขเหนือสิ่งอื่นใดเพราะไม่มีสิ่งผูกมัดอีกต่อไป

อ้องขอจบเรื่องศีลแต่เพียงเท่านี้ เอวังก็มีด้วยประการะเช่นนี้แล

ผิดพลาดขออภัยด้วยครับ เพราะเป็นความเข้าใจส่วนตัว

 

โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.179.2 12 สิงหาคม 2551 13:14:35 น.  

 

อนุโมทนาคุณแมวจ๊ะ เมล็ดกรรม

เมื่อจิตมันอาศัยรูป ไปสร้างเมล็ดขึ้นมา ถามว่าดีไม๊ คงบอกว่าดีออก มีเมล็ดแล้ว

เมล็ดนี้มันส่งต่อสายพันธ์ รุ่นต่อรุ่น เราเรียกว่าภพ

และมันก็พัฒนาสายพันธ์ตัวมันเองเสมอ ในสภาวะของสิ่งแวดล้อม

เมื่อพบแปลงนาไหน ดินดี มันก็เพาะพันธ์แบบ ละเอียด หอมระมุน หวาน ชื่นใจ

เมื่อพบแปลงนาไหน ที่แห้งแล้งกันดาล มันก็ฝ่อ เหี่ยวแห้ง หยาบกระด้าง

แปลงนามี 31 แปลง(ภพภูม) มันไปเยือนมาตลอด

อยู่ที่มันจะตกหล่นไปแปลงใด(จุติ)และ
ไปงอกใหม่ในแปลงไหน(ปฏิสนธิ)

เมล็ดพันธ์เมล็ดแรก กับเมล็ดในปัจจุบัน หาใช่อันเดียวกันไม่(จิตดวงเก่าส่งได้แค่เชื้อและก็ดับไป)

เพียงแต่เมล็ดในปัจจุบัน มันสะสมเชื้อ(บุญบาป)(อดีตกรรม) ตั้งแต่เมล็ดแรกมาจนถึงปัจจุบัน

และแล้ว มีอยู่วันหนึ่ง เมล็ดพันธ์ ได้ไปตกในนาแปลงที่ดีที่สุดแปลงหนึ่ง(พบพระธรรม)

คือการทำลายเมล็ด(ศีล สมาธิ ปัญญา)

เมล็ดพันธ์ชนิดนี้เริ่มสะสมเชื้อสายพันธ
์ที่แปลกที่สุดแบบไม่เคยปรากฏมาก่อนในโลกใบนี้

คือ ทำลายตัวเอง เพื่อความสมบูรณ์


มันเริ่มส่งต่อเชื้ออันเป็นเผ่าพันธ์ ไว้ที่เมล็ดต่อๆมา (อินทรีย์5)

แต่ก่อนเวลามันออกผล เปลือกของมันมีแต่ขรุขระ หยาบกระด้าง ดำด่าง(อกุศล)

แต่เชื้อที่ส่งต่อ เพื่อการทำลายแก่นเมล็ด

ได้ส่งผลไปที่เปลือกภายนอกที่หุ้มอยู่

เปลือกภายนอกเริ่ม สะอาด ผิวอ่อนนุ่ม ไร้ริ้วลอย (ศีลคือความสะอาดของจิต เป็นความปกติของจิต)

แมลงร้ายต่างๆที่แต่ก่อนมักจะฝากฝังไข่ เพื่อเจาะทำลายผลให้พินาศ

กลับถูกสารปกป้องแมลง(นิวรณ์ภัยร้ายกาจที่สุด
ที่ทำลายมนุษญ์ชาติ)ป้องกันเปลือกเอาไว้ได้(สมาธิ)

และแล้ว เนื้อที่ห่อหุ้มเมล็ด ก็ส่งกำลังห่อหุ้มเมล็ดเอาไว้

เนื้อยิ่งละเอียด เมล็ดก็ยิ่งละเอียดตามเนื้อ

เนื้อเมล็ดเปรียบเสมือนสมาธิที่มีกำลัง สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ มีสัมมาสติ ย่อมก็เกิด วิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้น


เมล็ดที่ยึดเมล็ดมาตลอดมานานแสนนาน

กำลังทำลายเชื้อส่งต่ออย่างค่อยเป็นค่อยไป(อุปทาน)

อ้องขอเปรียบเมล็ดฝรั่ง เห็นง่ายดี

วันหนึ่งมันสะสมเชื้อส่งต่อในการทำลายตัวตน อัตตา ที่แก่นภายใน

เมล็ดที่นำมาปลูกในรุ่นถัดๆมา
ก็จะมีเชื้อสิ่งนั้นสะสมสมมาด้วย

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เปลือกที่สะอาด เนื้อที่หอมหวน

เมล็ดที่เริ่มน้อยลง(ค่อยเป็นค่อยไป)


สมัยหนึ่งอ้องเคยสังเกตุตอนกินฝรั่ง มันมีเมล็ดห่อหุ้มเป็นชั้นๆ

แกนนอกจะเมล็ดหยาบและใหญ่ แกนในเมล็ดจะละเอียดและเล็ก

ถ้าเปรียบอาสวะ เครื่องหมักดองแล้ว

เดิมทีเมล็ดฝรั่งมันคงเต็มไปทั้งลูกทีเดียว นั่นคืออาสวะในเบื้องต้นคือ

ยึดอัตตาตัวตน(สักกายทิฎฐิ)

เปลือกก็แข็งและหนาเนื้อก็หยาบแบบ
ไม่อร่อยและไม่ได้เรื่อง(ไม่มีศีล)

ความไม่รู้และไปสัมพันธ์กับโลกคำว่าโลกคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส(อวิชชาหลงโลก)

ทำให้มันพัฒนาสายพันธ์ส่งต่อเพื่อความอยู่รอด
(อารมณ์วิปราส)

เมล็ดนานวันก็ห่อหุ้มเป็นชั้นๆ(อาสวะกิเลส)เต็มไปหมด

(เจตสิกปรุงแต่ง)เพราะมี รูป(สสารพลังงาน)(จิตอาศัยรูป)

เมล็ดในปัจจุบันที่สะสมเชื้อ ไม่ว่ากี่รุ่นต่อกี่รุ่น มันก็ต้องดำรงค์เผ่าพันธ์สืบต่อไม่มีวันจบสิ้น(สันตติ)

เมล็ดเป็นรูป เป็นอนารามณัง ไม่สามารถรู้คิดได้

แต่ตัวมันเองกลับทำลายตัวมันเอง
เข้าสู่ความสมบูรณ์แบบไม่กลับมาได้ มันก็เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง

แล้วจิตละก็เป็นธรรมชาติรู้คิด อาศัยรูป ก็ย่อมทำลาย ตัวมันเอง ได้ที่ขันธ์เช่นกัน

เมล็ดไม่เอารูป จิตไม่เอาขันธ์

ท้ายสุด เมล็ดฝรั่งก็ไร้เมล็ด ไม่สามารถสืบเชื้อต่อได้อีก จบสิ้นเผ่าพันธ์

จิตก็เช่นกัน เมื่อไร้อุปทาน เห็นเหตุ เห็นทุกข์ เห็นความจริงของขันธ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของ

พระไตรลักษณ์ จิตก็ย่อมคลายอุปทานในขันธ์ทั้งปวงออกเสียได้ ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา

จิตย่อมไร้ภพ ชาติจึงไม่ปรากฏ

ลองถามซิว่า ฝรั่งไร้เมล็ดไปไหนถ้าไม่มีคนไปยุ่งกับมัน มันจะหายไปไหน ในเมื่อมันทำลายไปถึงแก่นของมันแล้ว

จิตก็เช่นกัน เพราะทำลายขันธ์ แก่นของมันคือ ยึดขันธ์ ทำลายที่ยึดเกาะแล้ว

จิตที่ไม่เอารูป ไม่เอาขันธ์ หลังจากสิ้นจากกายเนื้อ ภพไม่ปรากฏ

จิตที่เป็นธรรมชาติชนิด
ตรัสรู้แจ้งความจริงทั้งปวงแล้ว

เราจะมองเห็นได้อีกไม๊ เราจะรู้ไม๊ว่าไปไหน เพราะเอาแต่คิดจึงไม่รู้ แต่ก็ต้องอาศัยคิด

วันนี้เล่นยาวเลยคุณแมว เมล็ดคำเดียวแท้ๆ แสดงธรรมได้ยาวเลย

ผิดพลาดขออภัยต่อท่านผู้รู้ด้วย โปรดอ่านด้วยการพิจารณา

 

โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.179.2 12 สิงหาคม 2551 21:44:11 น.  

 

ขออนุโมธนาคะ
คุณอ้องคะ ดิฉันตั้งใจรักษาอุโบสถศีลทุกวันพระ แต่ในบางครั้งจะต้องออกไปซื้อกับข้าวเพื่อมาทำอาหาร
อย่างนี้ศีลขาดไหมคะ
ในวันรักษาศีลทำอาหารที่มีเนื้อสัตว์ได้ไหมคะ ถ้าทำอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมแล้วศีลจะขาดไหมคะกังวนมากคะกลัวว่าจะรักษาศีลไม่ได้นะคะช่วยชี้ทางสว่างด้วยคะ
เวลาออกจากการรักษาอุโบสถศีลจะต้องกล่าวคำลาอย่างไรคะ
ต้องขอรบกวนด้วยคะ

 

โดย: Pam IP: 58.108.18.237 15 สิงหาคม 2551 13:58:00 น.  

 

 

โดย: อ (อ้องเขาค้อ ) 16 สิงหาคม 2551 11:37:17 น.  

 

อุโบสถศีลมีคำสมาทานอยู่และมีคำลาก่อนออกเพื่อมาถือศีล5

ในหนังสือสวดมนต์ทั่วไปน่าจะมีนะครับ

ส่วนในเรื่องศีลจะทานเจหรือไม่ จะทำอาหารเนื้อสัตว์หรือไม่ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องศีลครับ

เพราะศีลอยู่ที่การรักษา สำรวมระวังจะมีเกิดขึ้นในขณะที่เราระลึกได้และไม่ได้เกิดทั้งวัน

ศีลคือสภาวะธรรมชนิดหนึ่งที่สะอาดผ่องใสเป็นกลางเที่ยงธรรมโปร่งโล่งเบาเป็นลักษณะของความสะอาดของใจที่ปราศจากอุปกิเลสทั้งหลายครับ

ขอให้รักษาศีลด้วยสัมมาสติมีความเพียรระวัง สำรวมอยู่เสมอ รักษาที่ใจ

เราไม่ได้เอาดีที่ศีลแต่เราจะเอารู้เข้าไปที่แก่นของศีลก็คือสภาวะของศีล

เข้าไปรู้ด้วยสติก็เพียงพอแล้ว อย่าติดดี จะได้แค่เบื้องต้น แต่ถ้าเอารู้จะได้ที่แก่นคือเห็นว่าแม้แต่ศีลก็ไม่เที่ยง

จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเรามีสติบริบูรณ์เท่านั้น ศีลจึงจะสมบูรณ์ครับคือเห็นความสะอาดของจิตชนนิดหนึ่งเป็นธรรมชาติของจิตชนิดนั้นที่แสดงสภาวะธรรมให้รู้ตรงหน้าและก็จะดับไปเป็นธรรมดาแค่นั้นเอง

การทานเจถ้าช่วยให้ใจสบายก็ทานเอานะครับ แต่ถ้าคนฝึกศีลแท้จริงจะเห็นว่าขณะทานเนื้อมันมีจิตเบียดเบียนด้วยการเลือกชิ้นเนื้ออยู่

ตรงนี้ทำให้สติสำรวมระวังมากขึ้นในการทานซึ้งพระพุทธองค์ก็มีบอกเวลาทานข้าวเอาไว้เช่นกันครับ

ทุกอย่างเราเอาสติ มาเรียนรู้สภาวะ
ศีลนี่ละทำให้เกิดการสำรวม และทำให้สติเกิดได้บ่อย ขอเพียงไม่ติดดีที่ศีลมาเอารู้ว่าแก่นแห่งศีลคือเรียนรู้จิตชนิดหนึ่งจะเห็นใจที่ผ่องใสเนืองๆ

และทำให้สมาธิตั้งมั่นและเห็นพระไตรลักษณ์ญานแสดงความจริงในขณะระลึกรู้ก็แค่นั้นครับ

อนุโมทนา

 

โดย: อ้องเขาค้อ (อ้องเขาค้อ ) 16 สิงหาคม 2551 12:11:23 น.  

 

คำสอนของหลวงปู่ดูย์

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หรือ พระราชวุฒาจารย์ เป็นปรมาจารย์ทางวิปัสสนาที่เด่นที่สุดองค์หนึ่งในยุคนี้ ท่านเป็นศิษย์สำคัญรุ่นแรกของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านคืออดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ฝ่ายธรรมยุต ประเทศไทย
แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 แต่ท่านได้ฝากคำสอนที่ล้ำค่าไว้ จึงนับเป็นบุญกุศลสูงสุดแก่ผู้ได้ยินได้ฟังหรือได้อ่านคำสอนของท่าน เพราะสิ่งที่ท่านเทศน์สอน กล่าวได้ว่าเป็นสัจธรรมสูงสุด ที่ท่านได้รู้แจ้งประจักษ์จริง และนำมาเปิดเผยตีแผ่สอนเหล่าสานุศิษย์ให้มีโอกาสได้เข้าใจในธรรม

ลักษณะที่เด่นที่สุดในคำสอนของท่านคือ ผู้ฟังหรือผู้อ่านจะทราบได้ทันที่ว่า ท่านเทศน์สอนไม่เหมือนใคร ท่านจะพูดแต่เรื่องจิตล้วนๆ คำสอนของท่านสั้นแต่กินความลึกซึ้ง บางครั้งอาจต้องกลับมาอ่านหรือฟังทบทวนอีกเพื่อทำความเข้าใจกับข้อความนั้นๆ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน และเป็นการอธิบายปรากฏการณ์ทางจิต ซึ่งอยู่เหนือสมมติบัญญัติ ความคิดหรือความรู้สามัญทั่วไป

ธรรมชาติของจิตนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เข้าใจได้ยาก เพราะจิตไม่มีรูปร่าง แต่ชอบท่องเที่ยวไปไกล ดังพระพุทธพจน์ที่กล่าวถึงจิต ไว้ว่า
ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คูหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา
จิตท่องเที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในร่างกายนี้ ใครควบคุมจิตนี้ได้ ย่อมพ้นจากบ่วงมาร

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ยากในการอธิบายถึงจิต ซึ่งปราศจากรูปร่างหน้าตา หลวงปู่ดูลย์ท่านได้กรุณาอธิบายถึงจิตไว้อย่างละเอียดลออว่า

“มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และ ไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก”

“จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันจะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราจะได้พบว่า มันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหนแม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่า เป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ”

“หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิต นั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว มันก็ไม่ใช่จิต จิต นั้นโดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่ "จิต" แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังไม่ใช่ "มิใช่จิต" การที่กล่าวว่า จิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั้นแหละ ย่อมหมายถึงบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และพฤติของจิตก็ได้ถูกเพิกถอนโดยสิ้นเชิงแล้ว”

“พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย”

ตามหลักวิทยาศาสตร์ พลังงาน ไม่อาจถูกสร้างขึ้น หรือ ถูกทำลายได้เลย เพียงแต่แปรเปลี่ยน (Transform) รูปลักษณ์ไปเท่านั้น หากเปรียบเทียบ จิต ว่าเป็นพลังงานประเภทหนึ่ง ก็อาจนำมาประยุกต์ทำความเข้าใจกับความหมายข้างต้นได้บ้าง

ในการปฏิบัติอบรมจิต ถ้ายิ่งพยายามหาเหตุผลอธิบายสภาพของจิต จะยิ่งสับสน และยิ่งสร้างความสงสัย (วิจิกิจฉา) มากขึ้น กลับกลายเป็นอุปสรรค (นิวรณ์) ในการเจริญจิตให้ก้าวหน้าต่อไป เพราะมัวไปติดอยู่ในความคิด หรือ การเคลื่อนไหวของจิต ตามพื้นฐานความรู้สมมติบัญญัติที่ตนเคยเรียนรู้มาเท่านั้น

แต่หากเพียงทำความรู้สึกตัว รู้ซื่อๆ เอาจิตดูจิต นั่นคือ อาศัยสติเฝ้าดูจิต รู้เท่าทันการเคลื่อนไหวของจิต คือ ความคิด โดยรู้สดๆ รู้เฉยๆ (สวสํเวทนา) รู้ล้วนๆ แต่อย่าให้ไปรู้อะไรโดยเฉพาะเข้า รู้โดยไม่รู้อะไรเลย (Unknowing knowing) สภาพที่แท้จริงของจิตก็จะปรากฏออกมาให้เห็นเองว่า เป็นความว่าง ปราศจากรูปร่าง ปรากฏให้เห็นเป็นสัจจะซึ่งหลักธรรมที่แท้จริง เหนือสมมติบัญญัติทั้งหลายทั้งปวง เห็นซึ่งความเป็นพุทธะของจิต ว่าจิตคือพุทธะ พุทธะก็คือจิต คือ หลักธรรม นั่นเอง

หลวงปู่ดูลย์ท่านก็มีวิธีอธิบายเรื่องที่เราคิดว่ายากให้เป็นของง่าย อาทิ ท่านอธิบาย อริยสัจ 4 ไว้อย่างตรงไปตรงมาว่า

จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์)
ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ (ผล คือ ทุกข์)
จิตเห็นจิต เป็นมรรค (เหตุ คือ ทางดับทุกข์)
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ (ผล คือ การดับทุกข์)

ท่านชี้ให้เห็นว่า เป็นเพราะจิตส่ายแส่ออกนอกกายและจิตไปในความคิดนี้เอง ทำให้เราไปยึดติดอยู่กับความคิด เป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์ หรือ สมุทัย นำไปสู่ผลคือทุกข์ แต่เมื่อจิตเห็นจิตอย่าง แจ่มแจ้ง นั่นคือ มีสติ เห็นจิตว่ากำลังคิดอะไรอยู่หรือกำลังสั่งกายให้พูดหรือทำอะไรอยู่ตลอดเวลา นั่นคือ มรรค หรือทางดับทุกข์ เป็นเหตุให้นำไปสู่ผล คือการดับทุกข์ หรือ นิโรธ เมื่อเข้าใจเช่นนี้จะทำให้ง่ายในการเข้าใจหลักธรรมและอริยสัจ 4 และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้สะดวก โดยการเฝ้าดูจิต ดูความคิด กล่าวคือ เป็นการฝึกสติ และความรู้สึกตัว ให้คอยสอดส่องดูจิตอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ไม่ให้จิตไหลไปตามความคิด

 

โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.203.81 18 สิงหาคม 2551 22:50:17 น.  

 

จิตและจักรวาลในความหมายของหลวงปู่ดูลย์

จิตและจักรวาล มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอยู่ หลวงปู่ดูลย์ได้เมตตาอธิบายถึงเรื่องนี้ไว้อย่างพิสดารว่า จิต วิญญาณ เกิดจากรูปนามของจักรวาล และ นิพพาน เป็นการรวมของจิตบริสุทธิ์เข้ากับความว่างอันบริสุทธ
ิ์และสว่างของจักรวาลเดิม ไว้ดังนี้

“สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วน รวมแล้วมี รูป กับ นามสองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็นเหตุเกิด ตัวอวิชชา--เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา---ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม--ความว่าง--คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้”

“เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ--สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิต---จึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่ง ให้คงทนเป็นปัจจุบันเช่นนั้นได้”

“จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวง แล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิตเปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต-ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิต วิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ ‘นามว่างที่ปราศจากรูป’ นี้--เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม”

“เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว ‘จิตเห็นจิต อย่าง แจ่มแจ้ง’ จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูดและพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่า ‘นิพพาน’ ”

โดยความจริงแล้ว จักรวาลส่วนใหญ่เป็นความว่างอันมหาศาลไร้ขอบเขต ระบบสุริยจักรวาล ดาวนพเคราะห์ เช่นโลก ดาวฤกษ์ เช่นดวงอาทิตย์ แกแลกซี่ ต่างๆ เหล่านั้น ล้วนเป็นเพียงส่วนน้อยนิดของจักรวาลทั้งหมด แต่เราต่างกลับสนใจจักรวาลส่วนน้อยนิดนี้ (ไม่ถึง 5% ของจักรวาลทั้งหมด) โดยไม่ให้ความสนใจกับความว่างอันมหึมา ไร้ขอบเขตของจักรวาลทั้งหมด (หรืออีก 95% ที่เหลือจากที่เห็นได้ด้วยตาหรือสัมผัสได้ ซึ่งหนึ่งในสามส่วนที่เหลือนี้ เป็น Dark Matter และอีกสองในสามที่เหลือเป็น Dark Energy) เสมือนดังคนเราสนใจแต่ตัวเราเอง (อัตตา) ทำให้มองไม่เห็นสภาพที่แท้จริงของตนเอง
ตลอดถึงสภาวะที่ห้อมล้อมเราอยู่ว่า เป็น อนัตตา ไร้ตัวตน หรือ ความว่าง สุญญตา นั่นเอง

ในประเด็นนี้ ศาสตราจารย์ ดร. คาร์ล เซกาน (Professor Dr. Carl Sagan) ปราชญ์ทางดาราศาสตร์ชื่อดังในยุคปัจจุบัน ได้ฝากข้อคิดไว้หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะอำลาจากโลกนี้ไปด้วยโรคมะเร็ง (มรณะเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2539) โดยกล่าวถึงความบอบบางและอายุขัยอันสั้นของชีวิตมนุษย์ เมื่อเทียบกับความมหึมาและอายุ (13-15 พันล้านปี) ของจักรวาลว่า “มนุษย์เราอาศัยอยู่บนกองหินและแร่ธาตุก้อนยักษ์ ซึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์อันเป็นดาวฤกษ์ขนาดย่อม และดวงอาทิตย์นี้เป็นเพียงหนึ่งในดาวฤกษ์ 400 ล้านดวง ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นแกแลกซี่ (Galaxy) ที่เรียกกันว่า ทางช้างเผือก (The Milky Way) และทางช้างเผือกนี้เป็นเพียงหนึ่งในพันล้านแกแลกซี่ในจักรวาล และเป็นไปได้ว่า จักรวาลนี้อาจเป็นเพียงหนึ่งในบรรดาจักรวาลทั้งหลาย ซึ่งอาจมีจำนวนนับอนันต์ นี้คือจุดที่ควรใช้วิจารณญาณพิจารณาให้ลึกซึ้ง ด้วยการมองให้กว้างตามสภาพความเป็นจริงต่อชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีของมวลมนุษย์”

นอกจากนี้หลวงปู่ดูลย์ได้อธิบายถึงปรากฏการณ์ต่างๆไว้อย่างลึกล้ำว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเคลื่อนไหวได้ ซึ่งตรงกับความจริงที่ค้นพบทางวิทยาศาสตร์ เป็นที่น่าอัศจรรย์ว่า พระฝ่ายอรัญวาสี พระผู้ถือปฏิบัติธุดงค์วัตรวิปัสสนากรรมฐานสามารถรู้สึกซึ้งถึงสภาพความเป็นจริง ได้ทัดเทียมหรือลํ้ายุคกว่านักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันว่า

“ต้นเหตุเกิด ‘รูปนามของจักรวาล’ นั้น เป็นเหตุเกิด ‘รูปนามพิภพ’ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด ‘รูปนามพืช’ รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด ‘รูปนามสัตว์’ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็น สิ่งมีชีวิต”

“ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต มันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผล ให้ เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ (เกิด) การเปลี่ยนแปลง เรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็น สิ่งไม่มีชีวิต”

“เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม”

ซึ่งคำอธิบายดังกล่าว ต้องตรงตามพุทธพจน์ที่กล่าวไว้กว่า 2500 ปีก่อนยุคแห่งวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ใน อุปจาลาสูตร สังยุตตนิกาย ว่า
สพฺโพ ปจฺจลิโต โลโก
สพฺโพ โลโก ปกมฺปิโต
โลกทั้งโลก คือ ความกระเพื่อมไหว/หวั่นไหว (Trembling)
โลกทั้งโลก คือ ความสั่นสะเทือน (Vibration)
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ล้วนประกอบขึ้นด้วยสสารต่างๆ และ สสารทุกชนิดมีส่วนที่เล็กที่สุดคือ ปรมาณู ซึ่งได้แก่ อะตอม (Atom) กระนั้นก็ดี อะตอม ยังมีส่วนประกอบย่อยลงไปอีก คือ อนุภาคพื้นฐาน (Elementary particles) โดยมีแกนกลาง (Nucleus) ซึ่งรวมอนุภาคประจุบวก (Proton) และ อนุภาคไร้ขั้ว (Neutron) ไว้ และมีอนุภาคประจุลบ (Electron) วิ่งวนอยู่โดยรอบ

ในบางครั้ง สสารมีการสูญเสียอนุภาคประจุไฟฟ้าเช่น Electron มีการแปรรูปเป็นพลังงานลักษณะต่างๆ เป็นกระแสไฟฟ้า แสงสว่าง หรือ พลังงานปรมาณู เป็นต้น หากมีการแตกแยกหรือหล่อหลอมของ Atomic Nucleus จะเกิดเป็นพลังงานปรมาณูขึ้น
Elementary particles ยังประกอบขึ้นด้วยอณูที่เล็กลงไปกว่านั้นอีก คือ ควอก (Quark) และ Antiquark โดยมีพลังประสาน (Gluon) ดึงดูดควอกให้สมดุลไว้ มิได้อยู่นิ่งอย่างที่เห็นโดยผิวเผิน แต่มีการเคลื่อนไหวอยู่ภายในตลอดเวลา ทั้งในสิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิต จึงไม่อาจคงทนสภาพเดิมอยู่ได้ และย่อมเสื่อมสลายไปในที่สุด

มีท่านผู้คงแก่เรียนหลายท่านชอบถามว่า คำกล่าวหรือเทศน์ของหลวงปู่ ดูคล้ายนิกายเซ็น หรือคล้ายมาจากสูตรเว่ยหล่างเป็นต้น ศิษย์ของท่านเรียนถามหลวงปู่ก็หลายครั้ง ในที่สุดท่านกล่าวอย่างเป็นกลางว่า

“สัจธรรมทั้งหมดมีอยู่ประจำโลกอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจธรรมนั้นแล้ว ก็นำมาสั่งสอนสัตว์โลก เพราะอัธยาศัยของสัตว์ไม่เหมือนกัน หยาบบ้าง ประณีตบ้าง พระองค์จึงเปลืองคำสอนไว้มากถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ เมื่อมีนักปราชญ์ฉลาดสรรหาคำพูดให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อจะอธิบายสัจธรรมนั้นนำมาแผ่เผยแจ้งแก่ผู้มุ่งสัจธรรมด้วยกัน เราย่อมจะต้องอาศัยแนวทางในสัจธรรมนั้น ที่ตนเองไตร่ตรองเห็นแล้วว่าถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดนำแผ่ออกไปอีก โดยไม่ได้คำนึงถึงคำพูด หรือไม่ได้ยึดติดในอักขระพยัญชนะตัวใดเลยแม้แต่น้อยเดียว”

นั่นคือ เมื่อกล่าวถึงสัจธรรมแล้ว ย่อมลงสู่กระแสเดียวกัน กระนั้นก็ดี คำสอนของหลวงปู่ดูลย์นับได้ว่าเป็นเอกเทศ และเป็นเอกลักษณ์ของท่านเอง บางตอนท่านอาจหยิบยืมคำสอนของเซ็นจาก ‘สูตรเว่ยหล่าง’ และ ‘คำสอนของฮวงโป’ มาชนิดคำต่อคำ ด้วยหลวงปู่เห็นว่า ปราชญ์ท่านได้อธิบายไว้อย่างสมบูรณ์แจ่มแจ้งที่สุดแล้ว แต่หลายๆแห่งท่านก็อธิบายถึงเรื่องอื่นๆไว้มากมายอย่างแจ่มแจ้ง พิสดาร เด็ดเดี่ยว และ อาจหาญ ด้วยภาษาใจของท่านเอง อาทิ เรื่อง อริยสัจ4 จิต-จักรวาล สสารวัตถุ-สิ่งมีชีวิต-สิ่งไม่มีชีวิต ด้วยประสบการณ์ความรู้แจ้งในจิต ในสัจธรรมและธรรมชาติของท่านเอง ซึ่งเจาะทะลุหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างค้านไม่ได้

นอกจากนี้ยังเป็นการชี้ให้เห็นว่า การประจักษ์แจ้งแห่งสัจธรรม ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นพระฝ่ายธุดงค์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น หรือ พระเซ็นผู้ไม่รู้หนังสือเยี่ยงท่านเว่ยหล่าง (สังฆปริณายกองค์ที่ 6) ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเถรวาท หรือ มหายาน เพราะความเป็น “พุทธ” ไม่ได้ขึ้นกับสิ่งเปลือกนอกเหล่านั้น และพุทธที่แท้จริง ไม่ได้มีการจำแนก แตกแยกเป็นนิกายต่างๆ ซึ่งเป็นเพียงปรากฏการณ์ภายนอกของสมมติบัญญัติ และ การบรรลุเห็นแจ้งในสัจธรรม ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนานั้น เป็นปรมัตถสัจจะ ความจริงสูงสุด เหนือเหตุผล และล่วงพ้นสมมติบัญญัติ โดยสิ้นเชิง

 

โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.203.81 18 สิงหาคม 2551 22:52:19 น.  

 

จิตคือพุทธะ ความหมายของหลวงปู่ดูย์

พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย

มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก

ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และ เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด

จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้

จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย

เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่

สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิด เมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์
อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน

ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดี และถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับ ทาง ทางโน้นเสียแล้ว

จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น

การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย

จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น

ถ้าเรามองดูพุทธะ ว่าเป็นผู้แสดงออก ซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลที่เกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุด ถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้น และไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือ พุทธะ

เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบัง จิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่
กล่าวนั้นแต่อย่างใด

เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจาก การเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปได้เลย

จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออก
จากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง

หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิต ดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว

จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด

ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง

จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก

จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา

ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย

 

โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.203.81 18 สิงหาคม 2551 22:54:30 น.  

 

ความหมายแห่งกรรมของหลวงปู่ที่จิตมันไปสะสม

จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย

ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติ
ว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่

ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและ
ผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
โดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น

มูลธาตุทั้ง ๕ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง ๔ ของรูปกายนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิต จริงแท้นั้น ไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด

จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิง และเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้น นี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้

สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา

ปรัชญา คือความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง

สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมา ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรม จะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร

โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า โดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้อง แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด

สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูปกับนาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิด ตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และ เกิดกาลเวลาขึ้น คือรูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้

เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้

จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม

ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต

ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต

เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม

สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น

เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ

ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย

ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ

เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย

ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสส
นิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน

ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์

นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น

พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ

เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น

นี่ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้ พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติ
อะไรที่ไหนดอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่นคือ พระองค์ ดับเวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดที่มาครอบงำอำพราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์

เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรม และหมดเชื้อ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์ อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่ง คือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเอง

นั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย

 

โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.203.81 18 สิงหาคม 2551 22:57:18 น.  

 

คำสอนการภาวนาที่สุดยอดแห่งการรู้จิต

อ่านแล้วใช้ได้ทั้งชีวิต

วิธีเจริญจิตภาวนา

วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก
ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว

รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม

เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณา
เปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่า
มีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ

จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป

ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร

ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป

ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต

พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง

ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วน
หนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว

เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้

ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที

เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง

ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ

เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล"

การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป

แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไ
ม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ

เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้อง
สายตาอยู่ที่คมดาบ
ที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขน
พร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย

เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย

เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ

บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ

๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)

ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ

๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน)

ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖

๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ

คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด

 

โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.203.81 18 สิงหาคม 2551 22:59:40 น.  

 

๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิต ไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณู
วิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้

คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง

๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น

เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง"

๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะ
ต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด"

๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)

เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน

เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร

เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิมเข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"

โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น เป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้น คำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต"แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น

คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่

ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลัง เพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต" เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย

การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้

 

โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.203.81 18 สิงหาคม 2551 23:00:37 น.  

 

อเหตุกจิต ๓ ประการ

๑. ปัญจทวาราวัชชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตาม อายตนะ หรือทวารทั้ง ๕ มีดังนี้

ตา ไปกระทบกับรูป เกิด จักขุวิญญาณ คือการเห็น จะห้ามไม่ให้ ตา เห็นรูปไม่ได้

หู ไปกระทบเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือการได้ยิน จะห้ามไม่ให้ หู ได้ยินเสียงไม่ได้

จมูก ไปกระทบกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ คือการได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้ จมูก รับกลิ่นไม่ได้

ลิ้น
ไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือการได้รส จะห้ามไม่ให้ ลิ้น รับรู้รสไม่ได้

กาย ไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ
คือการสัมผัส จะห้ามไม่ให้ กาย รับสัมผัสไม่ได้

วิญญาณทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นกิริยาที่แฝงอยู่ในกายตามทวาร ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบ เป็นสภาวะ
แห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๕ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอก ที่เข้ามากระทบ แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามมิให้เกิด มี เป็นเช่นนั้น ย่อมกระทำไม่ได้

การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดจากทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย ก็ควรจะกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่นเมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่คิดปรุง ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง ดังนี้ เป็นต้น (ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว)

๒. มโนทวาราวัชชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ที่มโนทวาร มีหน้าที่ผลิตความคิดนึกต่างๆ นานา คอยรับเหตุการณ์
ภายในภายนอกมากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้

ก็แต่ว่าเมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร ก็ให้กำหนดรู้ว่าจิตคิดถึงเรื่องเหล่านั้น ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์บุคคล เราเขา ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น

ทำความเห็นให้เป็นปกติ ไม่ยึดถือความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น จิตย่อม
ไม่ไหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์

๓. หสิตุปบาท คือ กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม หมายความว่า
ไม่อยากยิ้มมันก็ยิ้มของมันเอง กิริยาจิตอันนี้
มีเฉพาะเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี

สำหรับ อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ มีเท่ากันในพระอริยเจ้า และในสามัญชน นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เมื่อตั้งใจปฏิบัติตนออกจาก
กองทุกข์ควรพิจารณา อเหตุกจิต นี้ให้เข้าใจด้วย เพื่อความไม่ผิดพลาด
ในการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม

อเหตุกจิต นี้ นักปฏิบัติทั้งหลายควรทำความเข้าใจให้ได้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะพยายามบังคับสังขารไปหมด ซึ่งเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมมาก เพราะความไม่เข้าใจใน
อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ นี้เอง

อเหตุกจิต ข้อ ๓ เป็นกิริยาจิตที่ยิ้มเองโดยปราศจาก
เจตนาที่จะยิ้ม เกิดในจิตของเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี เพราะกิริยาจิตนี้เป็นผลของการเจริญ
จิตจนอยู่เหนือมายาสังขารได้แล้ว จิตไม่ต้องติดข้องในโลกมายา เพราะความรู้เท่าทัน
เหตุปัจจัยแห่งการปรุงแต่งได้แล้ว เป็นอิสระด้วยตัวมันเอง

 

โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.203.81 18 สิงหาคม 2551 23:02:49 น.  

 

รู้ตัวอยู่เสมอ

พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า
สติิมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง"

ในมุฏฐัสสติสูตร กล่าวถึงประโยชน์ของสติไว้ว่า ทำให้
คนหลับอย่างเป็นสุข ตื่นอยู่ก็เป็นสุข ไม่ฝันลามก
เทวดารักษา น้ำอสุจิไม่เคลื่อน

อีกแห่งหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสไวว้ว่า "ภิกษุผู้มีสติ
คุ้มครองตนแล้ว ย่อมอยู่เย็นเป็นสุข"

พูดง่ายๆว่า มีสติเพียงอย่างเดียว สบายไปแปดอย่างว่างั้นเถอะ

พระสงฆ์องค์เจ้า
โดยทั่วไปต่างเจริญสติกันทั้งนั้น อย่าง
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านก็เป็นพระมหาเถระอีกรูปหนึ่ง ที่
ฝึกตนด้วยสติ และสอนให้ผู้อื่นใช้สติ

ในการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรา หลวงปู่ดูลย์บอก
ให้เอาสติกำกับ ให้เป็นอยู่ด้วยสติ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถ
ไหน ให้รู้ตัวอยู่เสมอ
รู้อยู่เฉยๆไม่ต้อง
ไปจำแนกแยกแยะ
ว่าอะไรเป็นอะไร
นั่นเป็นนั่น นี่เป็นนี่
การฝึกครั้งแรก
ค่อนข้างยากหน่อย
ท่านบอกว่าเมื่อรักษา
ได้สักครู่ จิตจะ
คิดแส่ไป
ในอารมณ์ต่างๆโดยไม่มีทางรู้ทันก่อน ซึ่งเป็น
ธรรมดาของผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไปคิดในอารมณ์นั้นๆ
จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง

เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไป
เคร่งเครียดอะไรมาก ขอให้
รู้ตัวเอาไว้

ภายหลังจิตท่องเที่ยว
ไปในอารมณ์ต่างๆแล้ว เมื่อ
รู้สึกตัวทั่วพร้อม ให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตน
ในระหว่างที่จิตเที่ยวไปกับ
ในระหว่างที่จิตมีความรู้ตัว
ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร

รู้ไว้ทำไม?

ก็เพื่อเป็นอุบายสอนใจตนให้รู้จักจดจำ
ขณะที่จิตเที่ยวไปจุ้นจ้านอยู่ที่นั่นที่นี่ จิตจะไร้พลัง
ประสบกับความกระวนกระวาย เหน็ดเหนื่อย เป็นทุกข์
พอสมควร ขณะนั้นเราไม่รู้ตัว แต่ขณะที่จิตหยุดอยู่
เพราะมีสติวิ่งมานั้น จิตจะสงบ รู้ตัว เยือกเย็น สุขสบาย

ลองเปรียบเทียบขณะจิตทั้งสองเวลานั้น ก็จะรู้โทษ
ของการแส่ไปตามอารมณ์กับคุณของการรู้ตัว แล้วจะเกิด
ความรู้สึกว่าอยากจะอยู่กับจิตชนิดไหน

แน่นอนที่สุด ใครๆก็อยากจะอยู่กับจิตที่มีสติ

ทุกครั้งที่จิตวิ่งไปข้างนอก ให้พยายามรู้ตัว แล้ว
ค่อยๆดึงกลับมา ค่อยๆรักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่
ต่อไป เผลอออกไป ดึงกลับมา อย่างนี้เรื่อยไป เมื่อถึง
จุดอิ่มตัว ก็จะกลับรู้ตัวทั่วพร้อมอย่างเดิมอีก

หลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า

เมื่อรู้ตัวแล้ว ก็พิจารณาและรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบาย
อย่างนี้ ไม่นานนักก็จะสามารถคุมจิตได้ และบรรลุธรรม
ในที่สุด โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร

ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์
และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจ
ในการเจริญจิตครั้งต่อๆไป

ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ ให้ลองนึกคำว่า
"พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้
ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวนหรือเป็นเหตุ
ขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตว่า คำที่นึกนั้นชัดที่สุด
ที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานของจิิต

หลวงปู่ดูลย์ได้ให้ทางแก้ไว้ด้วย โดยใช้ "พุทโธ" จะเป็น
คำอื่นก็ได้ แต่คำ "พุทโธ" ดีที่สุด

ฐานแห่งจิตจะอยู่ไม่คงที่ เปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อย แต่ว่า
อยู่ในกายแน่นอน ไม่ต้องไปหานอกกาย

ท่านบอกว่า ฐานแห่งจิตที่นึก "พุทโธ" ปรากฏชัดที่สุด
ย่อมไม่มีอยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่

แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหน
ของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้นจะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่
จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนด
ถูกฐานแห่งจิตแล้ว

เมื่อกำหนดถูก และ "พุทโธ" ปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี
ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อยๆ อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสาย
เมื่อใด จิิตก็จะแล่นไปสู่อารมณ์ทันที

เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเอง ก็ค่อยๆนึก
พุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้
เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ
ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง

เมื่อคุมจิิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ให้ใช้สติจดจ่ออยู่ที่่
ฐานเดิมนั่นแหละ

ต่อไปก็ดูว่า มีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง อะไรเกิิดขึ้น
ก็ช่าง ให้ละทิ้งให้หมด โดยละทิ้งทีละอย่าง อะไรเกิดก่อน
ให้ละก่อน อะไรเกิดหลัง ให้ละทีหลัง แล้วเอาสติมาดูจิตต่อไป

กำหนดรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น และละอารมณ์นั้นๆให้หมด
กำหนดรู้และละไปเท่านั้น
นี่เป็นวิถีแห่งสมาธิของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

 

โดย: อ้อง IP: 125.25.203.81 18 สิงหาคม 2551 23:04:47 น.  

 

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


ฝึกหัดทำสมาธิภาวนา จงทำเหมือนชาวนาเขาทำนา เขาไม่รีบร้อน เขาหว่านกล้า ไถคราด ปักดำ โดยลำดับ ไม่ข้ามขั้นตอน แล้วรอให้ต้นข้าวแก่ ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังไม่เห็นเมล็ดไม่เห็นรวงข้าวเลย แต่เขาก็มีความเชื่อมั่นของเขาว่าจะมีเมล็ดมีรวงวันหนึ่งข้างหน้าแน่ๆ เมื่อต้นข้าวแก่แล้วออกรวงมาจึงเชื่อแน่ว่าจะได้รับผลแน่แล้ว เขาไม่ไปชักดึงต้นข้าวให้ออกรวงเอาตามชอบใจ ผู้กระทำเช่นนั้นย่อมไร้ผลโดยแท้

การฝึกหัดสมาธิภาวนาก็เช่นเดียวกัน จะรีบร้อนข้ามขั้นตอนย่อมไม่ได้ ต้องตั้งจิตให้เลื่อมใสศรัทธาแน่วแน่ว่าอันนี้ละเป็นคำบริกรรมที่จะทำให้จิตของ
เราเป็นสมาธิได้อย่างแท้จริง แล้วอย่าไปลังเลสงสัยว่า คำบริกรรมนี้จะถูกจริตนิสัยของเราหรือไม่หนอ คำบริกรรมอันนั้น คนนั้นทำแล้วมันเป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้ เราทำแล้วจิตไม่ตั้งมั่น อย่างนี้ใช้ไม่ได้

ถ้าจิตตั้งมั่นแน่วแน่ในคำบริกรรมที่ตนภาวนาอยู่นั้นแล้วเป็นใช้ได้ทั้งนั้น เพราะภาวนาก็เพื่อต้องการทำจิตให้แน่วแน่เท่านั้น ส่วนนอกนั้นมันเป็นตามบุญวาสนาของแต่ละบุคคล

ครั้งพุทธกาล มีพระรูปหนึ่งไปภาวนาอยู่ใกล้สระแห่งหนึ่ง เห็นนกกระยางตัวหนึ่งโฉบปลากินเป็นอาหาร ท่านเลยถือเอาเป็นคำบริกรรมภาวนาจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ นกกระยางกินปลาไม่เคยเห็นมีในกัมมัฏฐานบทใด ท่านเอามาภาวนาจนได้สำเร็จ นี้เป็นตัวอย่าง

จิตที่ตั้งใจอบรมให้อยู่ในขอบเขตของคำบริกรรม พุทโธๆๆ ซึ่งมีสติเป็นผู้ควบคุมแล้วย่อมจะละพยศตัวเองได้ แต่เราก็ต้องฝึกฝนอบรมเพราะต้องการความสุขสงบของจิต ธรรมดาของจิตย่อมมีอารมณ์ส่งส่ายหาความฟุ้งซ่านเป็นวิสัยอยู่แล้ว ดังอธิบายมาแล้ว โดยมากมันจะส่งส่ายไปในอารมณ์เหล่านี้คือ

พอเริ่มบริกรรมพุทโธๆๆ เอาจิตไปตั้งไว้ที่พุทโธๆๆ เท่านั้นแหละ มันจะไม่อยู่ในพุทโธ มันจะวิ่งไปหาการงานที่เราเริ่มจะทำหรือกำลังทำอยู่ ปรุงแต่งทำนั้นทำนี้วุ่นวายกันไปหมด กลัวมันจะไม่ดีไม่งาม กลัวมันจะไม่สำเร็จ การงานที่เรารับจากคนอื่นหรือเรารับเฉพาะส่วนตัวมันจะเสียผลประโยชน์ หรือขายขี้หน้าเขาเมื่อเรารับแล้วไม่ทำตาม ฯลฯ นี่เป็นเรื่องรบกวนใจไม่ให้เป็นสมาธิของผู้อบรมใหม่อย่างหนึ่ง

เราดึงเอาจิตมาไว้ที่พุทโธๆๆนั้นอีก บอกว่านั้นไม่ใช่หนทางแห่งความสงบ ทางสงบแท้จริงต้องเอาจิตมาตั้งไว้ที่พุทโธแห่งเดียว แล้วบริกรรมพุทโธๆๆ เรื่อยไป ฯลฯ

เดี๋ยวส่งไปอีกแล้ว โน่นคราวนี้ไปถึงครอบครัว ส่งไปหาลูกไปหาภรรยาไปหาสามี เขาจะอยู่อย่างไร เขามีสุขภาพพลานามัยดีหรือไม่หนอ ได้บริโภคอาหารดีมีรสหรือไม่หนอ ถ้าอยู่ห่างไกลกันก็คิดถึงที่อยู่ที่นอน จะอยู่จะกินอย่างไร ผู้จากไปก็คิดถึงผู้อยู่ทางบ้าน ผู้อยู่ทางบ้านก็คิดถึงผู้ไปไกล กลัวว่าจะไม่ปลอดภัย กลัวคนอื่นจะมาข่มเหง ไม่มีผู้อยู่เป็นเพื่อน กลัวจะเหงาหงอย ฯลฯ คิดไปร้อยแปดพันเก้า สุดแท้แต่จิตจะปรุงแต่งไป ซึ่งเกินกว่าเหตุทั้งนั้น

หรือถ้ายังเป็นโสด ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ ก็จะปรุงแต่งไปในทางสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่กับหมู่เพื่อนที่เคยเที่ยวสนุกเฮฮาไปในที่ต่างๆ บางคนถึงกับอุทานออกมาเป็นเสียงดังหัวเราะก๊ากก็มี กิเลสตัวนี้มันร้ายยิ่งกว่าเพื่อน

เมื่อภาวนาพุทโธๆๆ มันเห็นว่าไม่ได้การแล้ว เขาจะหนีจากเราไปแล้ว มันก็สรรหาสิ่งที่จะผูกมัดให้เราติดมั่นเข้าทุกที เราเกิดมาตั้งแต่เด็กจนโต เราก็ไม่เคยมาฝึกหัดสมาธิภาวนาเลย มีแต่ปล่อยให้จิตไปตามอารมณ์ของกิเลส เพิ่งมาฝึกหัดเดี๋ยวนี้เอง เมื่อภาวนาพุทโธๆๆเข้า จิตมันจะมารวมอยู่ที่พุทโธๆๆ จิตมันจึงดิ้นเหมือนกับบุคคลโยนปลาขึ้นจากน้ำไปบนหาดทราย ปลาย่อมดิ้นหาน้ำเป็นธรรมดา เราดึงเอาจิตให้เข้ามาหาพุทโธๆๆอีก
พุทโธๆๆ เป็นของเย็น เป็นทางที่ให้เกิดสันติสุข มีทางเดียวเท่านั้นที่ทำให้พ้นจากทุกข์ในโลกนี้ได้

เราดึงเอาจิตเข้ามาอยู่ในพุทโธๆๆอีก หากคราวนี้พอสงบลงไปได้บ้าง พอรู้สึกว่าจิตมันอยู่ พอเห็นลางๆว่าจิตมันอยู่ มีความสุขสบาย จิตสงบ ไม่มีความเดือดร้อน ตั้งใจระวังเอาสติประคองอารมณ์นั้นไว้ เอ้า.....ไปอีกแล้ว โน้น......คราวนี้ไปยึดเอาผลประโยชน์มาเป็นเครื่องอ้าง ถ้าสิ่งนั้นเราไม่ทำหรือเราไม่แสวงหาก็จะเสียโอกาสอันมีค่ามหาศาล แล้วก็เอาจิตไปจดจ่ออยู่เฉพาะสิ่งนั้นแทนคำบริกรรมพุทโธ ส่วนพุทโธมันเลยหายไปไหนแล้วก็ไม่รู้ กว่าจะรู้ว่าพุทโธหายไปแล้ว มันก็สายเสียแล้ว จิตนี้เป็นของดิ้นรนกระเสือกกระสน รักษาได้ยากเหมือนกับลิงอยู่ไม่เป็นสุข

นั่งสมาธิภาวนานานๆเข้า กลัวโลหิตจะไม่เดินหรือเดินไม่สะดวก เส้นประสาทจะตาย เกิดเป็นเหน็บชา ในที่สุดเป็นอัมพาต ถ้าไปภาวนาไกลบ้านหน่อยหรือในป่าก็ยิ่งกลัวใหญ่ กลัวเสือจะมากิน กลัวงูจะมากัด กลัวผีจะมาหลอกทำท่าทีต่างๆนานาใส่ ความกลัวตายยุบยิบไปหลายอย่างหลายประการ ล้วนแล้วแต่ตัวเองหลอกตัวเองทั้งนั้นแต่เกิดมาจนป่านนี้ยังไม่เห็นเสือกินคนเลยสักคนเดียว ผีก็ไม่เคยเห็นหลอกเลยสักที แม้แต่ตัวผีก็ไม่เคยเห็นเลยสักที ไม่ทราบว่าตัวมันเป็นอย่างไร แต่ก็ปรุงแต่งขึ้นมาหลอกตัวเอง

อุปสรรคของการภาวนาที่ชักตัวอย่างมาอธิบายนี้พอเป็นบางอย่างเท่านั้น ความจริงแล้วมันมีมากกว่านี้ตั้งหลายเท่า ผู้ภาวนาแล้วจะรู้ด้วยตัวเอง

แต่เราก็ยึดพุทโธๆๆ มาไว้ที่ใจ แล้วเอาสติควบคุมจิตให้อยู่กับพุทโธอันเดียว ภัยอันตรายทั้งปวงจะไม่มีมาแผ้วพาน

ขอให้เชื่อมั่นในพุทโธจริงๆเถอะ รับรองว่าไม่มีอันตรายแน่นอน เว้นเสียแต่กรรมเก่าที่เขาเคยได้กระทำไว้ นั่นเป็นของสุดวิสัยแม้พระพุทธเจ้าก็ป้องกันให้ไม่ได้

ผู้ภาวนาทั้งหลายแรกๆศรัทธายังอ่อน ไม่ว่าจะบริกรรมอะไรก็แล้วแต่เถอะ จะต้องถูกกิเลสเหล่านี้รบกวนด้วยกันทั้งสิ้น เพราะกิเลสเหล่านี้มันเป็นพื้นฐานของโลก เมื่อเรามาทำภาวนาทำจิตให้เป็นอันเดียวเท่านั้นแหละ กิเลสมันเห็นว่าเราจะหนีจากบ้าน กิเลสเหล่านั้นมันมารุมล้อมไม่ให้เราหนีจากโลกนี้ได้

ผู้มาเห็นโทษของมันว่ามันร้ายแรงอย่างนี้แล้ว ทำใจให้กล้าหาญ ศรัทธาให้หนักแน่นมั่นคง คิดเสียว่าเราได้หลงเชื่อกิเลสมาหลายภพหลายชาติแล้ว คราวนี้เราจะยอมเชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า เอาพุทโธ ไม่ให้จิตหนีจากพุทโธ เมื่อเราตั้งปณิธานไว้อย่างนั้นแล้ว จิตก็จะดิ่งลงสู่อารมณ์อันเป็นหนึ่งเข้าถึงสมาธิได้

ด้วยอำนาจจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียวนั่นแหละเป็นเหตุนำจิตให้เข้าถึงสมาธิได้

ผู้เข้าถึงสมาธิทีแรกจะมีอาการอย่างนี้ เราจะไม่ทราบเลยว่าสมาธิหรือจิตเป็นเอกัคคตารมณ์เป็นอย่างไร เราเพียงแต่ตั้งสติให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ด้วยอำนาจจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียวนั่นแหละเป็นเหตุนำจิตให้เข้าถึงสมาธิได้ แล้วก็ไม่ได้นึกว่าอาการของสมาธิเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และอยากให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่มันเป็นของมันเองโดยอัตโนมัติ ใครๆจะบังคับให้เป็นไม่ได้

ในขณะนั้นจะมีความรู้สึกเหมือนกับเราอยู่อีกโลกหนึ่ง(โลกจิต) มีความสุขสบายวิเวกหาอะไรเปรียบมิได้ในโลกนี้

เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว จะรู้สึกเสียดายอารมณ์อันนั้น แลจำอารมณ์อันนั้นได้แม่นยำ ที่พูดกันอยู่ทุกวันนี้ล้วนแล้วแต่จิตถอนออกมาจากอารมณ์ทั้งนั้น ในขณะที่จิตกำลังรวมอยู่นั้น ใครจะพูดจะทำอะไรไม่รับรู้ทั้งหมด
เราต้องฝึกหัดจิตให้เข้าถึงสมาธิอย่างนี้อยู่บ่อยๆเพื่อให้ชำนิชำนาญ แต่อย่าไปจำอารมณ์เก่า อย่าอยากให้เป็นอย่างเก่า มันจะไม่เป็นอย่างนั้นซ้ำจะยุ่งใหญ่ เป็นแต่เราคอยบริกรรมพุทโธๆๆให้จิตอยู่ในคำบริกรรมนั้นก็แล้วกัน มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน

จิตเป็นสมาธิใหม่ๆ เมื่อมันเป็นอีกมันจะไม่เป็นอย่างเก่า แต่ก็ช่างมัน มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน ขอให้มันเป็นสมาธิก็แล้วกัน ที่มันเป็นหลายอย่าง มันจึงได้ความรู้กว้างขวางและมีอุบายมาก

ที่อธิบายมาโดยย่อนี้พอเป็นนิทัศน์อุทาหรณ์ ขอผู้ทำตามนี้จงอย่าได้เอามาใส่ใจ มันจะเป็นสัญญา ภาวนาจะไม่เป็นไป เพียงแต่จำไว้เป็นเครื่องเทียบเคียงในเมื่อเราภาวนาเป็นไปแล้ว

ผู้ภาวนาทั้งหลาย ไม่ว่าจะภาวนาพุทโธ หรือยุบหนอพองหนอ หรือสัมมาอะระหัง อะไรแล้วแต่ เมื่อจิตจะรวมเป็นสมาธิแล้ว ไม่ว่าจิตเราจะรวมหรือกำลังรวมอยู่ หรืออะไรทั้งหมด แต่มันรวมของมันเองโดยอัตโนมัติ แม้ที่สุดแต่คำบริกรรมอยู่นั้นไม่ทราบมันวางแต่เมื่อไหร่ มันจะมีแต่ความสงบสุขอยู่อันหนึ่งต่างหาก ซึ่งมิใช่โลกนี้แลโลกอื่นหรืออะไรทั้งหมด และไม่มีใครหรือสิ่งอะไรทั้งหมด เป็นสภาพของมันต่างหาก (ซึ่งเรียกว่าโลกของจิต)

ในที่นั้นจะไม่มีคำว่าโลกนี้หรืออื่นใดๆทั้งสิ้น สมมติบัญญัติในโลกอันนี้จะไม่ปรากฏในที่นั้น เพราะฉะนั้น ในที่นั้นมันจะไม่เกิดบัญญัติอะไรทั้งสิ้น เป็นแต่หัดจิตให้เป็นสมาธิไว้เทียบเคียงกับจิตที่ไม่เป็นสมาธิว่าผิดแปลกต่างกันอย่างไร จิตเข้าถึงสมาธิแล้วเมื่อถอนออกมาพิจารณาในทางโลกกับทางธรรม มันต่างกันอย่างไรกับจิตที่ไม่ได้เป็นสมาธิ

 

โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.203.81 18 สิงหาคม 2551 23:06:45 น.  

 

ขออนุโมธนาคะ
ขอถามคำถามสักอย่างนะ
จะรู้ได้อย่างไรว่าทางที่เราเลือกไม่ใช้บุญเก่าหรือกรรมเก่านำพา
ขอบคุณคะ

 

โดย: Pam IP: 58.108.53.117 30 สิงหาคม 2551 20:27:08 น.  

 

ทางเลือกแห่งวาสนา

ชีวิตคนเราจะอยู่กับความเคยชินในอดีตกรรม
สิ่งที่ผ่านมาในภพเก่า ได้สะสมจนเป็นวาสนาจดจำจนชิน

นิสัยในอดีตชาติกับนิสัยในปัจจันชาติ
ยังเหมือนเดิมเพียงแต่ขึ้นอยู่กับว่าจะไปคบคนพาล
หรือคบบัณฑิต

คนโบราณใช้คำว่า
บุญนำพาวาสนาส่งเสริม คือ สิ่งที่เป็นการกระทำทางกายวาจาและใจ
ในการให้การเสียสละ จะเป็นกำลังทำให้ระลึกถึงวาสนาที่ดีที่สะสมออกมาได้

ด้วยการถูกกระตุ้นเมื่ออยู่ใกล้กับสิ่งที่ดี
เช่นเคยทำสมาธิ ชอบสวดมนต์ ชอบฟังธรรม และภาวนามาก่อน

เวลาได้ทำจะรู้สึกว่า สุขใจ มีปีติ ทำได้ดี
ไม่เบื่อหน่าย

บุญเก่าจึงเหมือนสิ่งที่เคยชิน เคยกระทำมาก่อน และชอบในสิ่งนั้นๆ
พออยู่ใกล้ก็จะถูกกระตุ้นด้วยจิตสำนึกในอดีตกรรม

พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายก็สะสมบารมีมาเรื่อยๆด้วยเหตุนี้

อธิษฐานบารมี บารมีทั้งสิบอย่าง สะสมจนเป็นนิสัย เป็นบุญ เป็นกรรมเก่าที่กระทำมาทั้งนั้น

ขอให้จงเชื่อในบุญ ในกรรม แต่อย่าไปยอมแพ้กรรม ไปแก้กรรม ไปสวดอ้อนวอน ขอความสุข ความร่ำรวย

เพราะพระพุทธองค์สอนที่เหตุที่ผลไม่ใช่สอนให้เรางมงาย
ท่านจึงตรัสเอาไว้ว่า
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เหตุจากทำดีก็ต้องได้ดี เหตุจากการสะสมบุญที่ดีจึงได้สิ่งที่ดี
นี่คือวาสนาที่สะสมในสันดานของจิตแต่ละบุคคล

เมื่อถูกกระตุ้น ก็จะกระทำได้ดี ได้เร็วครับ
ี้

 

โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.217.174 4 กันยายน 2551 20:41:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


อ้องเขาค้อ
Location :
เพชรบูรณ์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คนโง่ที่หลงสิ่งแปรปรวนมานาน
Friends' blogs
[Add อ้องเขาค้อ's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.