บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
กรกฏาคม 2562
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
16 กรกฏาคม 2562
 

ไขมันพอกตับเพิ่มเสี่ยงโรคอะไร


ภาพ -
 น้ำตาลในเลือดสูงมากหรือสูงนาน

เพิ่มเสี่ยงไขมันพอกตับ

 

ไขมันพอกตับส่วนหนึ่ง(บางคน ส่วนน้อย ไม่ใช่ทุกคน)
มีการอักเสบ(ตับอักเสบ)ร่วมด้วย
 

คนที่มีไขมันพอกตับ ร่วมกับ ตับอักเสบ
เพิ่มเสี่ยงตับแข็ง มะเร็งตับได้ในระยะยาว

.....

ภาพ - ตับอยู่ในช่องท้องด้านบนทางขวา

  • 0 = ตับปกติ
  • 1 = ไขมันพอก(เกาะ)ตับ ทำให้ตับโตขึ้น
  • 2 = (บางคน ส่วนน้อย ไม่ใช่ทุกคน)
    เกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดพังผืด แผลเป็น
  • 3 = ตับแข็ง

.....

อ.นพ.เกบ เมียคิน

ทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับไขมันพอกตับ

ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.....

ไขมันพอกตับแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ได้แก่

(1). ไขมันพอกตับจากแอลกอฮอล์

จากการดื่มเหล้า เบียร์ ฯลฯ

 

(2). ไขมันพอกตับจากสาเหตุอื่น เช่น

  • น้ำหนักเกิน อ้วน
  • กินหวานมาก
  • ไม่ออกกำลัง

.....

สถิติจากสหรัฐอเมริกาพบว่า

คนที่เป็นโรคไขมันพอกตับ

12%

อาจมีตับอักเสบร่วมด้วย

(Non-Alcoholic Steato-Hepatitis/NASH)

.....

ตับอักเสบเรื้อรังจากแนช (NASH)

อาจเพิ่มเสี่ยงตับแข็ง

และมะเร็งตับได้ในระยะยาว

(Gastroenterology, August 23, 2018).

.....

ไขมันพอกตับ

มีความสัมพันธ์กับอ้วนลงพุง

 

การศึกษาทำใจกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงสุขภาพดี

วัย 50-79 ปี 161,808 คน

ติดตามไป 17.9 ปีพบว่า

 

(1). ผู้หญิงที่มีเส้นรอบเอวมากที่สุด

หรือ "พุงใหญ่(ลงพุง)" อย่างเดียว

เพิ่มเสี่ยงหัวใจขาดเลือด = 2 เท่า

เมื่อเทียลกับคนที่มีเส้นรอบเอวน้อยที่สุด

 

(2). ผู้หญิงที่มีหุ่นคล่้ายแอปเปิ้ล

หรือ "พุงใหญ่(ลงพุง)-เอวเล็ก"

 

= ตรงกลาง (เส้นรอบเอว) มากที่สุด

และข้างล่าง (เส้นรอบสะโพก) น้อยที่สุด

เพิ่มเสี่ยงหัวใจขาดเลือด = 3 เท่า

เมื่อเทียบกับคนที่มีหุ่นคล้ายลูกแพร๋

หรือ "พุงเล็ก-เอวใหญ่"

(Eur Heart, June 30, 2019).

.....

.....

จากการศึกษาพบว่า

คนที่มี "พุงใหญ่-เอวเล็ก"

เพิ่มเสี่ยงเบาหวาน

และโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

(JAMA, 2017;317(6):626-634).

.....

กลไกที่เป็นไปได้ คือ

ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร

ทำให้ตับอ่อนหลังฮอร์โมนอินซูลินมากขึ้น

 

อินซูลิน

เร่งการนำน้ำตาลในเลือดเข้าตับ

และเซลล์ทั่วร่างกาย

(เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด)

.....

ปกติตับจะช่วยดูดซับน้ำตาลในเลือด

สะสมเป็นแป้งไกลโคเจน

 

และสลายแป้งนี้เป็นน้ำตาล

ในช่วงที่ไม่ได้กินอาหารนาน

เพื่อให้สมองมีน้ำตาลใช้

(สมองใช้น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานหลัก)

.....

ทว่า...

ภาวะไขมันพอกตับ

จะทำให้เกิดภาวะ "ตับดื้อ"

 

หรือตับไม่ค่อยยอมรับน้ำตาลหลังอาหาร

.....

ภาวะ "ตับดื้อ"

จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารไม่ลดลงด้วย

 

หิวบ่อย

และ

อ่อนเพลียบ่อยขึ้นด้วย

 

เนื่องจากสมองขาดน้ำตาลบ่อยขึ้น นานขึ้น

จากการที่ตับดื้อ สะสมแป้งได้น้อยลง

(Eur J Gastroenterol Hepatol, Dec 2016;28(12):1443-1449).

.....

ร่างกายมีกลไกสำรอง

ในการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

คือ

 

ตับจะเปลี่ยนน้ำตาลในเลือด

เป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์

.....

และตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น

เพื่อกดดัน "ตับดื้อ"

ให้ดูดซับไขมันไตรกลีเซอไรด์

 

กลไกนี้ ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

แต่

จะทำให้ ไขมันพอกตับเพิ่มขึ้น

.....

สัญญาณที่บ่งชี้ความเสี่ยง

ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

 

ภาวะดื้อต่ออินซูลิน

(น้ำตาลในเลือดเข้าตับ

และเซลล์ทั่วร่างกายได้น้อยลง ช้าลง)

และเบาหวานได้แก่

(1). ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (มากหรือนาน)

(2). อ้วนลงพุง

.....

ภาวะดื้ออินซูลิน

ทำให้ตับอ่อนต้องผลิต

และหลั่งอินซูลินมากขึ้น

 

การมีระดับอินซูลินในเลือดสูงมากหรือนาน

เพิ่มเสี่ยงโรคต่อไปนี้

 

(1). ทำให้หลอดเลือดหดตัวเพิ่มขึ้น

คลายตัวน้อยลง

เพิ่มเสี่ยงหัวใจขาดเลือด

 

(2). สมองขาดน้ำตาล

จากการที่ตับสะสมแป้งได้น้อยลง

ทำให้หิวบ่อยขึ้น นานขึ้น

 

(3). ทำให้ไขมันพอกตับมากขึ้น

และอ้วนลงพุงมากขึ้น

..... 

การป้องกันไขมันพอกตับ

โดยเฉพาะ

การลดหวาน ลดอาหารทอด

ช่วยเพิ่มโอกาสอายุยืนได้มากในระยะยาว

 

ถึงตรงนี้... ขอให้ทุกๆ ท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.....

From - Gabe Mirkin. MD. New studies on fatty liver. July 14, 2019. https://www.drmirkin.com/weekly-ezine-page/new-studies-on-fatty-liver.html

จาก - https://oknation.nationtv.tv/blog/health2you/2015/12/23/entry-3

จาก - https://oknation.nationtv.tv/blog/health2you/2019/07/15/entry-2

จาก - https://oknation.nationtv.tv/blog/health2you/2017/04/03/entry-1




Create Date : 16 กรกฎาคม 2562
Last Update : 16 กรกฎาคม 2562 6:38:34 น. 0 comments
Counter : 1512 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com