**เล็งไปที่ดวงจันทร์ ถึงแม้คุณจะพลาด คุณก็ยังอยู่ในหมู่ดวงดาว**

aod100
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




: ผู้มาเยือนตอนนี้

108 อาชีพเสริม

 ธุรกิจทำเงินทันใจ

 เงินด่วน เงินกู้ ทันใจ
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
6 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add aod100's blog to your web]
Links
 

 
การทำธุรกิจแบบ สร้างสรรค์

 ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร



 ถ้าผู้เขียนจำไม่ผิดก็ประมาณปี'30 ขณะที่ทำงานอยู่ที่ ธกส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) เป็นช่วงที่ผู้จัดการใหญ่ในสมัยนั้น (คุณจำลอง โต๊ะทอง) ประชุมเรื่อง  การพัฒนาผู้บริหารของ ธกส. 
 ……ท่านได้เอ่ยในที่ประชุมว่า  ผมอยากได้ผู้บริหารทั้งผู้จัดการสาขาและผู้อำนวยการกอง ซึ่งเป็นบุคคลที่  
  (1) มีไฟในการทำงานและมีอยู่อย่างต่อเนื่องไม่รู้จักหมด 
  (2) มีความคิดริเริ่ม พัฒนาวิธีการทำงานใหม่ๆ โดยเฉพาะด้านสินเชื่อการเกษตร
 ถ้าเราวัดหรือมีเครื่องมือประเมินคุณลักษณะที่ว่านี้ได้  เราก็จะพัฒนาผู้บริหารของธนาคารได้อย่างแน่นอน  
 ขณะเดียวกันท่านก็ถามผู้บริหารที่เข้าร่วมประชุมในขณะนั้นว่า ใครมีความเห็นอย่างไรบ้าง  ที่ประชุมก็มักจะเป็นเหมือนธุรกิจทั่วไปที่ผู้จัดการใหญ่ถามก็มักจะไม่ค่อยมีใครตอบ เพราะถ้าตอบไม่เข้าท่าอาจเสียรังวัด 
 ท่านจึงถามอย่างนั้นทุกคนในห้องนี้มีความเห็นอย่างไร (โดยปกติในการประชุมผู้บริหารระดับสูง พวกมือขวาหรือมือทำงานในแต่ละหน่วยงานก็จะมีโอกาสได้เข้าไปนั่งชั้นสอง หรือสังเกตการณ์ประชุม)  
 ผู้เขียนเองรับผิดชอบเป็นหัวหน้าแผนกด้านการวางแผนและประเมินผลหลักสูตร กองฝึกอบรม (ในขณะนั้น)
เมื่อผู้จัดการใหญ่เปิดโอกาส  จึงได้เสนอข้อมูลในขณะนั้นไปว่า มีเครื่องมือการประเมินศักยภาพผู้บริหารได้และมีหลักสูตรการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สอนกันในธุรกิจ  

 ท่านผู้จัดการใหญ่จึงบอกว่า อย่างนั้นธนาคารจะมีลูกค้าระดับผู้จัดการสาขาและผู้บริหารระดับกองหลายคนต้องเข้าออกหลักสูตรนี้แน่นอน! มักจะชอบกล่าวกันว่า คนทำงานแบบใหม่  หรือ คนทำงานที่มีภูมิรู้ (Knowledge Worker) จะต้อง
 มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาวิธีการทำงานหรือพัฒนาธุรกิจ         
 ขณะที่เจ้าของธุรกิจ ผู้บริหารระดับสูง หรือผู้ที่สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในบริษัทมักจะต้องเป็นบุคคลที่มีความคิดริเริ่มหรือความคิดสร้างสรรค์         
 บางครั้งเราก็จะพบว่า  มีหลักสูตรสร้างความคิดสร้างสรรค์  อาทิ        
     " มาอบรมเพื่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ กันเถอะ  "    
     "  อบรมอย่างไรจึงเกิดความคิด  "     
    "   สร้างความคิดสร้างสรรค์ (ทางบวก)  " 


จริงๆ แล้วน่าสงสัยมาก  ถ้าคิดสร้างสรรค์        
แล้วยังเป็นทางบวกอีกมีหรือที่ "สร้างสรรค์ค์" แล้วเป็นลบหรือเป็นศูนย์        แสดงว่า "คิดสร้างสรรค์แล้วเป็นลบ"   ถ้าคิดแบบนักคณิตศาสตร์ก็หมายความว่า        
คิดแบบติดลบใช่ไหม  คิดสร้างสรรค์เป็นศูนย์ก็คือ ไม่มีความคิด         
 คงสับสนน่าดู พับผ่าจริงๆ! ไปใช้คิดสร้างสรรค์ทางบวก       


กำเนิดความคิด



 สิ่งที่ผู้เขียนสนใจและเคยศึกษามาคือ   คนเราจะกำเนิดความคิดได้อย่างไร เพราะถ้ารู้วิธีการเราก็คงจะสามารถทำให้คน "มีวิธีการคิด"  โดยการสร้างให้เกิดขึ้นมาได้อย่างถาวร 


 ประเด็นที่ธุรกิจหรือผู้บริหารระดับเจ้าของต่างสนใจ คือ
          ความคิดนั้นจะมีการก่อรูปและลักษณะการเกิดขึ้นมาได้อย่างไรและจะเชื่อมต่อกับความคิดครั้งก่อนได้หรือไม่  
          ทุกความคิดที่จะนำไปใช้ในธุรกิจจำเป็นจะต้องเป็นความคิดสร้างสรรค์เสมอไปหรือไม่ 
          และความคิดแบบไหนจึงจะพัฒนาไปเป็น "นวัตกรรม" หรือสร้างองค์ความรู้(Body of Knowledge) ให้เกิดขึ้นในธุรกิจ 
          CEO/MD/President บุคคลระดับชั้นนำของธุรกิจเหล่านี้ไปได้ความคิดเจ๋งๆ มาจากไหนและทำไมจึงมีได้อย่างต่อเนื่อง 



          สุดท้าย เถ้าแก่ธุรกิจ SMEs จะมีไอเดียเจ๋งๆ มากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่หรือไม่ หรือค่อยๆ เป็นการพัฒนาจนกระทั่งก้าวขึ้นเป็นธุรกิจขนาดใหญ่  



กำเนิดความคิดสร้างสรรค์ในธุรกิจ




 ทั้งหมดนี้จึงทำให้ธนาคารได้เริ่มโครงการประเมินศักยภาพผู้บริหารและเปิดหลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ขึ้นในธนาคาร  และได้เชิญวิทยากรผู้รู้และศึกษาด้านนี้มาจากมหา'ลัย ประสารมิตร  ให้เป็นผู้บรรยาย น่าจะถือว่า เป็นท่านแรก ๆ ที่ศึกษาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ในเมืองไทย ซึ่งสอนได้ดีมาก และมีวิธีการน่าสนใจกว่าที่สอนและพูด ๆ กันใน พศ.ปัจจุบันนี้ นี้ 


 ความชัดเจนในความหมายของ ความคิดสร้างสรรค์  เป็นสิ่งที่ถกเถียงและศึกษาค้นคว้ากันมาตลอดช่วงของศตวรรษที่ 20    จุดเริ่มแรกนั้นน่าจะเริ่มมาจากแนวคิดของ ทอเร้นซ์ (Torrence : 1965) และกิลฟอร์ด (Guildford : 1967) 


 ส่วนปัจจุบัน เช่น Buzan และ Edward DeBoNo หรืออีกหลายๆ คน เป็นการพัฒนารูปแบบของการฝึกทักษะการคิด (Thinking Skill) 
 ขณะเดียวกันความหมายของความคิดสร้างสรรค์ในพจนานุกรมมีให้ไว้หลายความหมาย เช่น  



- Creativity  การมีความคิดสร้างสรรค์หรือความคิดค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  (สฤษดิคุณ กิติยากร :2537, อธิบายประมวลศัพท์ธุรกิจที่ใช้ทั่วไปในภาษาอังกฤษ) 
- Creativity  ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถที่จะสร้างความคิดใหม่ๆ ที่ให้ผลในทางบวกแก่องค์กร (วิทยากร เชียงกูล : 2536, ศัพท์การบริหารจัดการ)  
 
- Create  สร้าง ประดิษฐ์ (So Sethaputra : 1940, New Modern English-Thai Dictionary) 



   " Being creative is seeing the same thing as everbody else 


  but thinking of something different "                                                                           


                                                                                                            


 จากหลายๆ แง่มุมของความคิดสร้างสรรค์  มีนิยามของความคิดสร้างสรรค์ที่น่าสนใจคือ  


 …….การรวมความสามารถเพื่อทำให้เกิดมีวัตถุ สิ่งของ และการรวมเข้าทั้งหมด ในวิธีการที่แตกต่างสำหรับจุดประสงค์ใหม่  
 ความหมายที่ง่ายที่สุดของความคิดสร้างสรรค์คือ  เป็นการกระทำของการรวมสิ่งที่มีอยู่ก่อนในองค์ประกอบที่แยกกันอยู่ ศิลป ดนตรี และการคิดค้น  เป็นส่วนหนึ่งของ ธรรมชาติในการเป็นผู้คิดสร้างสรรค์ 



 อีกมุมหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์คือ  เป็นการทำในวิถีทางของสิ่งที่สัมพันธ์กัน   ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถในการสร้างเรื่องราว การใช้ประโยชน์ของความคิดและโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาและความท้าทายในทุกๆ วัน  
  
 ทอเร้นซ์ (1965 : Guiding Creative Talent) ได้รวบรวมไว้ว่าผลของความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นขั้นสูงเสมอไป เป็นต้นว่า ต้องคิดค้นคว้าประดิษฐ์ของใหม่  ที่ยังไม่มีผู้ใดคิดมาก่อนเลย  หรือในการสร้างทฤษฎีจะต้องใช้ความคิดทางด้านนามธรรม อย่างสูงยิ่งเท่านั้น  



 ที่นำเสนอมานี้เป็นส่วนเริ่มต้นของคำให้การในจุดกำเนิดไอเดียเจ๋งๆ ครับ!!!


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut


DNT Consultants Co.,Ltd









Create Date : 06 สิงหาคม 2552
Last Update : 6 สิงหาคม 2552 23:43:15 น. 0 comments
Counter : 916 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.