happy memories
Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
15 กันยายน 2552
 
All Blogs
 

ครูศิลป์ พีระศรี




ภาพจาก picuki.com


อัพบล๊อคฉลองวันคล้ายวันเกิดให้ครูศิลป์ พีระศรี แต่กว่าจะอัพได้ก็เกือบหมดวันแล้ว อ่านนสพ.เมื่อสองวันก่อน เจอข่าวของครูเลยรีบเขียนอย่างด่วน นึกว่าจะไม่ทันซะแล้ว ทีแรกก็หาข้อมูลในเวบได้เยอะมาก แต่นึกได้ว่ามีหนังสือเกี่ยวกับศิลปินชาวอิตาเลียนที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย ไปค้นมาเปิดดู มีเรื่องของครูอยู่ด้วย ข้อมูลไม่ยาวมาก รูปก็สวยเฉียบ (แต่สแกนแล้วรูปไม่งามเท่าต้นฉบับ ) ก็เลยยกมาให้อ่านทั้งดุ้น ส่วนข้อมูลในเวบที่หาได้ก็แยกเป็นอีกบล๊อคนึง

เคยแต่อ่านเรื่องราวของท่าน รู้สึกได้ว่าท่านเป็นครูที่ดีมาก ทุ่มเทและให้ความรักแก่ลูกศิษย์อย่างจริงใจ ถึงจะเป็นคนต่างชาติแต่ก็รักความเป็นไทยมากกว่าคนไทยหลาย ๆ คนซะอีก ขอกราบดวงวิญญาณของครูศิลป์ด้วยจิตคารวะค่ะ




คอร์ราโด เฟโรชี
(พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๕o๕)


คอร์ราโด เฟโรชี หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ที่เมืองฟลอเรนซ์ บิดาเป็นคนหัวรุนแรง จึงไม่สามารถจุนเจือครอบครัวได้ดีนัก ในวัยเด็ก แทนการหย่อนใจด้วยวิธีการที่สิ้นเปลืองเงินทอง บิดาจะพาไปชมวิหารและพิพิธภัณฑ์เมืองฟลอเรนซ์ ทำให้เฟโรชีซาบซึ้งและแสดงพรสวรรค์ทางด้านศิลปะมาแต่เยาว์วัย ครอบครัวจึงพยายามสนับสนุนและส่งเสริมอย่างเต็มความสามารถ จนเฟโรชีสามารถเข้าเรียนที่สถาบันวิจิตรศิลป์ได้เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี




เฟโรชีศึกษาที่สถาบันนี้รวมเวลา ๗ ปี และเมื่อบวกกับสิ่งที่เรียนรู้จากผลงานทางศิลปะประดามีที่อยู่ในเมืองฟลอเรนซ์ ก็นับว่าเฟโรชีมีพร้อมทั้งความรู้และเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนที่กรุงเทพฯ ในภายหลัง




ศาสตรจารย์ประหยัด พงษ์ดำ จิตรกรและอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นศิษย์ของเฟโรชีเมื่อ ๔o ปีมาแล้ว เล่าถึงวิธีการสอนของเฟโรชีไว้ว่า "เราเรียนโดยยึดการฝึกฝนทุกวันเป็นพื้น ปีแรกเรียนเรื่องโครงสร้างร่างกายมนุษย์ ปีที่ ๒ เรื่องกล้ามเนื้อตามภาพวาดของเลโอนาร์โด ดา วินซี ปีที่ ๓ เรียนเกี่ยวกับสัตว์ และปีสุดท้ายเรื่องแสงและเงา โดยเรียนจากธรรมชาติ



ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ


อาจารย์ศิลป์ พีระศรี มักพาเราไปตามชายทะเล ภูเขา และพวกเราก็ดีอกดีใจตามอาจารย์ไปทุกแห่ง อาจารย์สอนเรื่องศิลปะโรมัน กอธิค ศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา สอนเกี่ยวกับสไตล์และรสนิยมของยุคสมัยที่ล่วงเลยเนิ่นนานมาแล้ว..." และยังกล่าวถึงบุคลิกของคอร์ราโดในขณะนั้นว่า "อาจารย์เฟโรชีรูปหล่อ เป็นเทพบุตรกรีกสำหรับลูกศิษย์สาว ๆ และเป็นครูสำหรับพวกเราทุกคน"



คอราโด เฟโรชี สุภาพบุรุษจากฟลอเรนซ์ ถ่ายภาพนี้ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ครูศิลป์ปั้นอนุสาวรีย์ผู้กล้าหาญ ณ เกาะเอลบาก่อนเดินทางมาประเทศสยาม



รูปปั้นครูในสวนของมหาวิทยาลัยศิลปากร


โรมาโน บุตรชายซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ กล่าวถึงความเป็นครูของบิดาในลักษณะเดียวกัน "คุณพ่อจะให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกศิษย์ แต่ก็ต้องการให้พวกเขาพยายามเรียนรู้อย่างมากที่สุดเป็นการตอบแทน..."



ห้องทำงานของครูศิลป์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์


พิมพ์ดีดตัวเก่งของครูศิลป์


ก่อนหน้าลูกศิษย์คนไทย เฟโรชีมีลูกศิษย์อิตาเลียนด้วยเช่นกัน เนื่องจากได้เข้าสอนสถาบันวิจิตรศิลป์ที่ฟลอเรนซ์ แต่ขณะเป็นอาจารย์ที่นี่เอง เฟโรชีได้รับการว่าจ้างให้เข้ารับราชการ ในตำแหน่งช่างปั้นสังกัดกรมศิลปากรที่กรุงเทพฯ ในพ.ศ. ๒๔๖๖ ขณะอายุได้ ๓๑ ปี



ตราประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์


เมื่อเริ่มทำงานที่กรมศิลปากรใหม่ ๆ เฟโรชีประสบปัญหาทั้งทางกายซึ่งเกิดจากห้องทำงานที่คับแคบ เพราะต้องใช้ร่วมกับช่างปั้นชาวไทยอีก ๒ คน และในทางปัญญาอันเนื่องมาแต่วิธีคิดที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะ เพราะในเมืองไทยขณะนั้นยังยึดติดอยู่กับประเพณี และรูปแบบที่เคยปฏิบัติตาม ๆ กันมาโดยไม่ยอมรับของใหม่



Feroci and his School, interior decorations, Villa Norasing


ในช่วงนี้เองที่เฟโรชีได้สร้างผลงานชิ้นสำคัญ ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียง คือการปั้นพระบรมรูปสัมฤทธิ์ครึ่งองค์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านริศรานุวัตติวงศ์ พระบรมรูปนี้แลดูมีพลัง เอาการเอางาน แต่ในขณะเดียวกันก็บ่งบอกถึงพระปรีชาญาณอันแรงกล้าขององค์ต้นแบบอย่างพอเหมาะอีกด้วย



พระบรมรูปสัมฤทธิ์ครึ่งองค์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์


หลังจากนั้น เป็นการปั้นพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ ซึ่งล้วนครองราชย์ในยุคที่ประเทศประสบความวิกฤต คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย



พระบรมรูปรัชกาลที่ ๑



รูปปั้นพระบรมรูปทรงม้า



พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี


เพียงชั่วเวลา ๑o ปี เฟโรชีก็มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะศิลปิน ผลงานชิ้นสำคัญคือการก่อตั้งโรงเรียนศิลปากรขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยเป็นทั้งผู้บริหารและอาจารย์ จากเดิมที่เป็นอาจารย์และช่างปั้น อันเป็นบทบาทที่กระตุ้นให้มีการศึิกษาศิลปะในรูปแบบใหม่ นักศึกษารุ่นแรกมีด้วยกันทั้งหมด ๗ คน ที่ภายหลังมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างสรรค์ศิลปะไทยสมัยใหม่ คือ เฟื้อ หริพิทักษ์, พิมาน มูลประมุข และสิทธิเดช แสงหิรัญ ซึ่งสำเร็จการศึกษาในพ.ศ. ๒๔๘๑




แต่แม้จะมีชื่อเสียง ก็ใช่ว่าเฟโรชีจะมีฐานะร่ำรวย ความร่ำรวยเพียงประการเดียวที่เขาเห็นจะเป็นความรักที่มีต่อลูกศิษย์เท่านั้น ในห้องทำงานนั้นมีสิ่งของเครื่องใช้อยู่เพียงไม่กี่ชิ้น คือพิมพ์ดีดเก่า ๆ ๑ เครื่อง เครื่องเล่นแผ่นเสียง ๑ เครื่อง ลูกโลก ๑ อัน และพระพุทธรูป ๑ องค์ เท่านั้น พิมพ์ดีดโอลิมเปียเครื่องเก่า ๆ นี้เองที่เฟโรชีพิมพ์บรรดาตำราต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ศิลปะของประเทศไทย ได้แก่ "ทฤษฎีสี" (พ.ศ. ๒๔๘๘) "ทฤษฎีแห่งองค์ประกอบ" (พ.ศ. ๒๔๘๗) "คู่มือศัพท์" "ศิลปะอังกฤษ - ไทย" (พ.ศ. ๒๔๘๗) "ศิลปกับวัฒนธรรม" (พ.ศ. ๒๔๙๖) "ศิลปะเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่" (พ.ศ. ๒๕o๑) "สุดโต่งในศิลปะ" (พ.ศ. ๒๕o๓) "รูปเปลือยและศิลปะอนาจาร" (พ.ศ. ๒๕o๔)



ครูศิลป์เขียนบทความศิลปะโดยพิมพ์ดีดด้วยตัวเองภายในห้องทำงาน


นอกจากผลงานเกี่ยวกับศิลปะตะวันตกเหล่านี้แล้ว ยังมีงานเขียนเกี่ยวกับศิลปะไทยอีกหลายเล่ม เช่น "จิตรกรรมไทย" "ประติมากรรมพุทธศาสนา" "ที่มาและพัฒนาการจิตรกรรมฝาผนังของไทย" และ "การเข้าถึงศิลปะสุโขทัย" ซึ่งแสดงถึงแนวคิดพื้นฐานที่ว่า ค่านิยมทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมจะต้องอยู่ร่วมกับลักษณะสร้างสรรค์ของศิลปะสมัยใหม่ ๆ ผลงานของศิลปินไทยจะต้องเป็นไทยอยู่ ต่างจากงานศิลปินชาติอื่น ๆ ที่มีวัฒนธรรมผิดแผกออกไป งานเขียนเหล่านี้แสดงว่าเฟโรชีสามารถเข้าถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง โดยที่มิได้ขาดจากวัฒนธรรมเดิมของตน แน่นอนว่าปัญหาที่ยังโต้เถียงกันอยู่ก็คือ การก่อให้เกิดความกลมกลืนกันระหว่างโลกศิลปะที่ต่างกันจนยากที่จะรวมกันได้เช่น ตะวันออกกับตะวันตกนี้ ในทางปฏฺิบัติแล้วสามารถทำได้หรือไม่


ผลงานของครู






รูปปั้นบรอนซ์คุณมาลินี พีระศรี ภริยาของครู


อนุสาวรรีย์ประชาธิปไตยเป็นตัวอย่างของงานในลักษณะนี้ เฟโรชีได้รับมอบหมายให้ออกแบบอนุสาวรีย์นี้ ซึ่งสร้างประมาณช่วงท้ายของพุทธศตรวรรษที่ ๒๔ รายละเอียดที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือ ลูกศิษย์ของเฟโรชีเองเป็นแบบสำหรับการปั้นรูปบุคคลที่เป็นส่วนหนึ่งของอนุสาวรีย์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การให้ศิลปินเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยและมีบทบาทในสังคม อันเป็นสิ่งที่เฟโรชีพยายามให้เกิดขึ้นนับแต่มาถึงเมืองไทย พ.ศ. ๒๔๖๗ นั้น ได้บรรลุผลอย่างแท้จริงในการสร้างอนุสาวรีย์แห่งนี้เอง ศิลปินและสังคมได้ประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน และนำไปสู่ความสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณ



อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย




ลายปูนปั้นนูนต่ำ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย


ลวดลายน้ำพุอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย



อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ



"พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" พระพุทธรูปยืนปางลีลาขนาดใหญ่ ประดิษฐาน ณ ใจกลางพุทธมณฑล


ในพ.ศ. ๒๔๘๖ โรงเรียนประณีตศิลปกรรมได้รับการยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัย และเฟโรชีได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีแห่งกำเนิดศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ในพ.ศ. ๒๔๘๗ เฟโรชีเปลี่ยนชื่อเป็น ศิลป พีระศรี กลายเป็นคนไทยซึ่งมีความผูกพันกับประเทศไทยเช่นเจ้าของประเทศคนหนึ่ง



โลโก้วันงานครบรอบร้อยปี ศิลป์ พีระศรี


ศิลปะในประเทศไทยก็ได้พัฒนา ต่อมามีการจัดงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติใน พ.ศ. ๒๔๙๒ ครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๙๓ ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การยูเนสโกใน พ.ศ. ๒๔๙๖ และใน พ.ศ. ๒๕o๓ ศิลปินไทยก็ได้เข้าร่วมงานนิทรรศการประติมากรรมนานาชาติ ที่หอศิลป์แห่งลอนดอน ร่วมกับศิลปิน "ใหญ่" เช่น มัวร์ คัลเดอร์ ฟอนตานา และมารีนี



โปสเตอร์จัดงานวันครบรอบร้อยปีศิลป์ พีระศรี



แสตมป์ครบรอบร้อยปีศิลป์ พีระศรี



ของที่ระลึกวันฉลองครบรอบร้อยปี ศิลป์ พีระศรี


ศิลปินไทยมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งที่นิวยอร์คและโตเกียวด้วยเช่นกัน และศิลป์ พีระศรี ก็คงต่อสู้เพื่อให้ศิษย์เด่นดังในระดับนานาชาติจนถึงวาระสุดท้ายในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕o๕ ขณะกำลังเตรียมโครงการจัดตั้งหอศิลป์สมัยใหม่ ร่างของศิลป์ พีระศรี ถูกนำไปยังเมืองฟลอเรนซ์ มีนักศึกษาและศิลปินจากมหาวิทยาลัยศิลปากรไปคารวะอยู่เป็นเนืองนิจ ในฐานที่ศิลป์ พีระศรี คือบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทยและเป็นบิดาของพวกเขาด้วย



ภาพและข้อมูลจากหนังสือ
Italiani alla Corte del Siam
(ชาวอิตาเลียนในราชสำนักไทย)
และอาจารย์ศิลป์กับลูกศิษย์


บีจีจากคุณเนยสีฟ้า

Free TextEditor





 

Create Date : 15 กันยายน 2552
33 comments
Last Update : 15 กันยายน 2563 22:48:38 น.
Counter : 21960 Pageviews.

 

เพิ่งจะได้อ่านประวัติของท่านก็วันนี้เองค่ะ คุณไฮกุ

อาจารย์เป็นคนรูปโฉมงามนะคะ

แต่เหนือความงดงามของรูปโฉม คือ คุณความดีที่ท่านมอบแด่แผ่นดินไทย

ว่าแต่ภริยาของท่านเป็นคนไทยเหรอคะ คุณไฮกุ



 

โดย: หยุ่ยยุ้ย 15 กันยายน 2552 18:59:31 น.  

 

ครูศิลป์ทำคุณประโยชน์ให้วงการศิลปะของบ้านเรามากมาย ลูกศิษย์ของท่านเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมายเลยค่ะ

เห็นด้วยว่าท่านเป็นผู้ชายที่หล่อมากาา เพิ่งจะเห็นท่านตอนยังหนุ่มฟ้อ รูปที่ห้านั่นไง รูปงามยังกะเทพบุตรกรีกเลยค่ะ

 

โดย: haiku 15 กันยายน 2552 20:42:59 น.  

 

เคยแต่ทราบคร่าวๆ
แต่วันนี้ได้อ่านแบบละเอียดเลย
ท่านเป็นคนดีที่ทำประโยชนืให้บ้านเมืองเราทั้งๆที่ไม่ใช่คนไทยในสายเลือด
แต่จากการทำงานท่านรักเมืองไทยยิ่งกว่าคนไทยเดี๋ยวนี้บางคนอีกนะคะ


...พรุ่งนี้ยังไม่มีอะไรที่คิดจะอัพเลยคะ แหะๆ

 

โดย: มัยดีนาห์ 15 กันยายน 2552 20:59:00 น.  

 

เป็นลูกศิษย์ของลูกศิษย์ ท่าน พอดีจบจากสถาบันนี้ค่ะ ทุกคนรักท่านมาก ไม่มีท่านไม่มีศิลปากร

 

โดย: chubedu 15 กันยายน 2552 21:11:32 น.  

 

เขาบอกว่าอยากรู้ว่าครุเก่ง
ให้ดูลูกศิษย์

ตอนนี้ลูกศิษย์ของครูศิลป์มากมายเต็มประเทศ

นี่คือผลิตผลอันน่าภาคภูมิใจของท่านจริงๆครับ




 

โดย: กะว่าก๋า 15 กันยายน 2552 22:31:16 น.  

 

เคยอ่านประวัติของท่าน ศิลป์ พีระศรี
แล้วรู้สึกชื่นชมยกย่องท่านมากๆ
นึกถึงเพลง Santa Lucia เพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร
สืบเนื่องจาก ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเป็นชาวอิตาลี ซึ่งมีชื่อเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) และชอบร้องเพลงนี้บ่อย ๆ เวลาทำงาน หลังจากนั้น คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ได้นำทำนองเพลงนี้ มาใส่เนื้อร้องภาษาไทย โดยใช้ชื่อเพลงว่า "ศิลปากรนิยม


Friends18.com Orkut MySpace Hi5 Scrap Images
Friends18.com Picture Comments

 

โดย: ลุงแอ๊ด 15 กันยายน 2552 22:56:49 น.  

 



หวัดดีค่ะคุณไฮ
โอ...ดีจังเลยค่ะ เพราะเคยได้ยินเรื่องราวของท่านแบบผ่าน ๆ
วันนี้ ได้ข้อมูลที่ละเอียดและเพิ่มความรู้มากเลยค่ะ
ขนาดนั่งมองรูปของท่านจากกล่องเม็นท์เนี่ย
ก็ยัง feel in touch ท่านเลยนะคะว่าท่านเป็นบุคคลพิเศษจริง ๆ
ไม่ว่าท่านจะอยู่สรวงสวรรค์ชั้นไหนมินก็ขอให้ท่าน
มีแต่ความสุขชั่วนิรันดร์กาลอ่ะค่ะ
ปล. มีความสุขกับวันพุธนะคะคุณไฮ

 

โดย: มินทิวา 16 กันยายน 2552 5:35:53 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับคุณไฮกุ







 

โดย: กะว่าก๋า 16 กันยายน 2552 6:02:19 น.  

 


ผลงานและประวัติของท่านเยอะมากค่ะ
เห็นแล้วน่าชื่นใจแทนประเทศไทยที่มีโอกาส
ที่ได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิเช่นนี้มาเป็น
ผู้ปลูกถ่ายต้นไม้หลากหลายต้นให้กับเมืองไทย
เพราะเริ่มจาก 1 คือท่าน ณ ตอนนี้เลยมี
ศิลปินเก่งๆ ของบ้านเราหลายคนเต็มไปหมดเลย

....
โอ้โห ... พูดถึงน้องชายเรื่องคั่วกาแฟ ...
แสดงว่าก็ต้องรักและดื่มกาแฟจัดจริงๆ ถึงได้มีแผน
ทำการคั่วเอง ขายเองเช่นนี้ค่ะ ... ว่าแล้ว
พูดเรื่องหอมไป 3 บ้าน 8 บ้าน ... เหมือนว่า
จะได้กลิ่นกาแฟมาแล้วนะค่ะตอนนี้ โชยยยย กรุ่นค่ะ

 

โดย: JewNid 16 กันยายน 2552 9:22:21 น.  

 

ผมเคยอ่านประวัติท่านมาบ้าง..

น่าประทับใจจริงๆครับ..

---------------------

จากบ้าน..

ใครๆก็ว่าเรามาถููกทาง...

ผมว่าเรามาผิดทางครับ..

การแก้ปัญหาด้วยความไม่รู้..

ผลที่ตามมาคือ..


ร่างไร้วิญญาณของวีรบุรุษ ครับ.



------------------

สวัสดีตอนสายโด่งนะครับ.

 

โดย: ต๊ายตาย..นี่มัน..!!! (อสัญแดหวา ) 16 กันยายน 2552 10:31:15 น.  

 

มันเป็นเพราะผมต้องเรียนต่ออีกตั้ง4ปี ถ้าไม่นับว่าอยากเรียนต่อต่างประเทศ ผมเลยไม่อยากมีแฟนอายุใกล้เคียงกัน เพราะสาวเจ้าคงอยากรีบแต่งก่อน30 ก็เลยต้องหาแฟนเด็กหน้าตาจิ้มลิ้มแทน 55+

 

โดย: นางาเสะ ไลท์ 16 กันยายน 2552 11:31:08 น.  

 


MusicPlaylistRingtones
Create a MySpace Playlist at MixPod.com



เอาเพลง santa lucia ของเอสวิส มาฝากค่ะ เข้ากับบล็อกดีๆของคุณไฮกุไหมหนอ

 

โดย: ยิปซีสีน้ำเงิน 16 กันยายน 2552 13:24:18 น.  

 

พระเจ้า ไหงไม่ยอมให้ฟัง แงๆๆ
คุณไฮกุลบทื้งไปได้เลยนะคะ

 

โดย: ยิปซีสีน้ำเงิน 16 กันยายน 2552 13:29:53 น.  

 



สวัสดีวันสีเขียวค่ะ คนเก่งของป้าหู้...

ขอให้มีความสุข มากๆนะคะ

 

โดย: ป้าหู้เองจ่ะ (fifty-four ) 16 กันยายน 2552 14:46:30 น.  

 



ได้รู้จักประวัติครูท่านนิดๆ หน่อยๆตอนที่เรียนค่ะคุณไฮกุ
แต่ด้วยที่เรียนมาคนละสายงานของท่าน
เลยได้รู้แต่เพียงคร่าวๆ จากที่เพื่อนคุยให้ฟังเท่านั้น
มาบ้านคุณไฮกุวันนี้แล้ว ได้เนื้อหาครบถ้วนเชียวค่ะทั้งรูปประกอบ
ที่ทำให้เห็นความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย อย่างห้องทำงาน แต่การทำงานที่มีคุณค่ามากๆ

เรื่อง Lovers in Prague ท่าทางฮิตมากๆ นะคะ
เพราะที่บลอคมีคนมาถามว่ากำแพงแห่งความหวังอยู่ตรงไหน
ถามเพื่อนชาวเชคแล้ว เขาก็ไม่รู้น่ะคะ
คุณไฮกุรู้ไหมเอ่ย





 

โดย: Sweety-around-the-world 16 กันยายน 2552 15:55:51 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับคุณไฮกุ







 

โดย: กะว่าก๋า 17 กันยายน 2552 6:52:59 น.  

 

น้องนาห์...ประวัติท่านในบล๊อคนี้ยังไม่ละเอียดเท่าไหร่ค่ะ ต้องอีกบล๊อคที่อัพคู่กันสิ ข้อมูลเพียบ เรียกว่าหาได้เท่าไหร่ก็ใส่ไว้หมด นี่ถ้ามีเวลาเขียนเยอะ บล๊อคคงยาวกว่านั้น

คุณchubedu...ขอบคุณมากที่แวะมาเยี่ยมนะคะ คุณโชคดีจัง ได้เรียนที่ศิลปากรด้วย เราเคยไปดูนิทรรศการศิลปะ ชอบบรรยากาศของมหาวิทยาลัยมากเลยค่ะ

คุณก๋า...ใช่เลยค่ะ ลูกศิษย์ของครูศิลป์มีบทบาทในวงการศิลปะบ้านเรานับไม่ถ้วน ซื้อหนังสือ "อาจารย์ศิลป์กับลูกศิษย์" เก็บไว้เป็นนาน เพิ่งจะหยิบออกมาอ่าน เห็นรายชื่อของลูกศิษย์ของท่านแล้วก็ทึ่ง มีแต่ศิลปินและผู้ที่มีชื่อเสียงทั้งนั้น ยังอ่านเนื้อหาได้ไม่กี่มากน้อย เปิดไปเจอบทที่ครูถวัลย์ ดรรชนีเขียนถึงครู อ่านแล้วชอบมาก เห็นภาพเลยว่าครูศิลป์มีวิธีสอนที่ไม่เหมือนใคร และเข้าใจลูกศิษย์เป็นอย่างดี อ่านหัวข้อ "นี่นาย..." แล้วอมยิ้มถึงขันฮากลิ้ง

"นี่นาย...อันนี้ นายแกล้งทำเกินไป มันไม่ซินเซียร์นะนาย มันมากเกินไป มันเป็นบาโรคนะนาย มันไม่มีข้างใน มันกลวงนะนาย ฉันว่ามันไม่ดีนี่นาย...ของนายมันเป็นโปสเตอร์นะนาย เพอร์สเปคตีฟนายผิดนะนาย มันไม่เป็นศิลปนะนาย นายไม่เข้าใจฟิลลิ่ง มันไม่มีสปิริตนะนาย"

"นี่นาย...ควายของนาย แอ็คชั่นมากเกินไปนะ ฉันว่าม้าเท่านั้นทำท่านี้ วัวควายไม่ทำนาย" (อันนี้ฮาอย่างแรง )

"นี่นาย...นายตกเพอร์สเปคตีฟอีกแล้ว นายมารีเอ็กแซมกับฉันนะนายก่อนกลับบ้าน"

"นี่นาย...เราเรียนศิลปะนะ ทำไมนายถึงไปให้เขาฝึกทหาร ซ้ายหัน ขวาหัน คนนะนาย ไม่ใช่ควาย"

"นี่นาย...ถ้านายรักฉัน ทำศิลปะนะนาย นายไม่ต้องจัดงานวันเกิดให้ฉัน นายจัดห้องเรียนให้สะอาด นายโกนหนวดแล้ว คนภูเขา วันนี้นายเป็นฮิวแมนบีอิ้งแล้ว ก่อนนั้นนายเป็นลิงนะนาย"

"นี่นาย...ฉันคิดว่า ที่นายขอห้าร้อยบาทไปซื้อผ้าร้อยเมตรมาเขียนโปสเตอร์แห่งชาติ ฉันให้นายห้าบาทพอแล้วนาย เขียนเมตรเดียวพอ อาร์ทเอ็กซิบิชั่่น ฉันออกวิทยุแล้ว ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์แล้ว ฉันไม่ใช่โสเภณีนะนาย เราทำงานศิลปะ คนดูเขาอยากมาเอง ฉันไม่ได้ขายตัว ฉันทำศิลปะนะนาย"

ครูถวัลย์เขียน "นี่นาย..." เกือบสามหน้าได้ อ่านแล้วนึกอยากเป็นลูกศิษย์ครูจับใจเลยค่ะ

ลุงแอ๊ด...พอลุงแอ๊ดพูดถึง คุณยิปซีก็เอาเพลงมาแปะให้ฟังเลย เพิ่งอ่านในหนังสือว่าท่านชอบร้องเพลงนี้บ่อย ๆ แถมลูกคอพลิ้วสุด ๆ เคยฟังแต่เพลงฝรั่ง เพิ่งรู้ว่ามีเวอร์ชั่นภาษาไทยด้วย

คุณมิน...เราก็รู้เรื่องท่านแบบผิวเผิน ทำบล๊อคแล้วถึงมีโอกาสได้อ่านเรื่องของท่านเยอะขึ้น เราว่าคนที่เป็นลูกศิษย์ครูนี่โชคดีมากเลยนะ อยากให้เมืองไทยมีครูศิลปะแบบท่านเยอะ ๆ ค่ะ

คุณนิด...มีเวลาเขียนบล๊อคแค่สองวันเอง ไม่งั้นคงมีข้อมูลเยอะกว่านี้อีกค่ะ ท่านฝากผลงานไว้ในแผ่นดินไทยมากมายจริง ๆ ทั้งอนุสาวรีย์หรือพระบรมรูปที่เห็นกันจนชินตา ก็ได้มารู้ว่าเป็นฝีมือของท่านทั้งนั้น

น้องชายชอบดื่มกาแฟสุด ๆ เลยค่ะ พิถีพิถันมาก ใช้เครื่องทำกาแฟอย่างดีเชียว แรก ๆ ก็คั่วกาแฟดื่มเอง คั่วทีกลิ่นกาแฟโชยไปสามบ้านแปดบ้านอย่างที่บอกจริง ๆ ขนาดเราไม่ดื่มกาแฟยังหลงกลิ่นเลย ชงกินเองไม่พอ ยังขนเครื่องไปชงแจกที่ทำงาน เพื่อน ๆ ชอบใจกันยกใหญ่ ตอนหลังออเดอร์กาแฟคั่วกันตรึม จนเดี๋ยวนี้น้องชายต้องซื้อกาแฟดิบมาทียกกระสอบเลย

คุณแดหวา...เราว่าวิธีแก้ปัญหาภาคใต้คงต้องเปลี่ยนซะที แก้กันมาหลายปีแต่ไม่ได้ผล ยังมีข่าวชาวบ้านกะเจ้าหน้าที่ตายไม่หยุดหย่อน ได้ยินข่าวจนกลายเป็นความชินชาไปแล้ว ภาวนาให้เหตุการณ์ทางภาคใต้สงบเรียบร้อยได้สักทีค่ะ

น้องไลท์...ยังต้องเรียนอีกสี่ปี แล้วเผื่อต้องไปเรียนเมืองนอกอีก เป็นคุณหมอคงต้องเรียนต่อนาน รวมแล้วอาจจะเกือบสิบปีเลยเชียวนา แบบนี้น้องไลท์ต้องเลือกสาวเอ๊าะ ๆ หน่อย อย่างวัยน้องเต้ยนี่ก็น่าจะโอเช ไม่งั้นคุณเธอคงได้แต่งเกินสามสิบแน่น้อนนน

คุณยิปซี...ฟังเพลงได้เรียบร้อย ไม่ต้องลบทิ้งแล้วค่า ขอบคุณมากที่แปะเพลงประจำบล๊อคให้ กะลังหาอยู่เชียว ได้เวอร์ชั่นที่เพราะมากซะด้วย

ป้าหู้...อืมม สีเขียวในรูปสีหวานเย็นตาดีแท้ ขอบคุณที่เอามาฝากนะคะ

คุณไก่... ไม่แน่ใจว่ากำแพงนั่นอยู่ตรงไหนของปราคค่ะ จำได้แต่ว่า เป็นกำแพงที่พระเอกกะนางเอกเขียนคำอธิษฐานแล้วเอาไปแปะไว้ ในเรื่องเรียกว่ากำแพงปรารถนา หารูปในซีรีส์มาได้ แต่ถ่ายใกล้เกิน คงดูไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนอ่ะนะ

 

โดย: haiku 17 กันยายน 2552 10:27:53 น.  

 

อ่านเม้นท์คุณไฮกุ
แล้วแอบยิ้มไปด้วย

"นี่นาย.."


อิอิอิ


ในบรรดาลูกศิษย์ครูศิลป์
ผมชอบอาจารย์ถวัลย์มากที่สุด

เคยเห็นงานจริงของท่าน

สุดยอดครับ


 

โดย: กะว่าก๋า 17 กันยายน 2552 11:48:04 น.  

 

"นาย
ถ้านายรักฉัน
คิดถึงฉัน
นายไม่ต้องทำอะไร
นายทำงาน"

 

โดย: "ผู้รับใช้ที่ต้อยต่ำต่องานศิลปะของฉัน" (ใบไม้ต้องลม ) 17 กันยายน 2552 11:49:23 น.  

 

มาแล้วมาแล้ว..เจ้าค่ะ..
ต้องขอโทษด้วยมีภาระกิจต้องทำเจ้าค่ะ


หมวกที่ถักถวายพระเจ้าค่ะ

 

โดย: แอบมาเยี่ยมคุณไฮกุเจ้าค่ะ (yoja ) 17 กันยายน 2552 12:18:32 น.  

 



วันนี้คุณให้ยิ้มกับใครแล้วหรือยัง ???


มาเยี่ยมพร้อมแบ่งปันรอยยิ้มค่ะ
มีความสุขกับวันดีสีแสดนะคะคุณไฮกุ
……………………

เคยทราบประวัติและผลงานของท่านมาบ้าง
ท่านเป็นผู้ที่งามพร้อมจริงๆค่ะ


คมคำ : ยิ้ม เป็นสิ่งดีๆที่เรามอบให้กันได้โดยไม่ต้องซื้อหา



 

โดย: ร่มไม้เย็น 17 กันยายน 2552 15:21:50 น.  

 

ร่วมรำลึกถึงอาจารย์ศิลป์ครับ

 

โดย: Insignia_Museum 17 กันยายน 2552 20:34:38 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับคุณไฮกุ






 

โดย: กะว่าก๋า 18 กันยายน 2552 5:56:49 น.  

 

ท่านเปรียบดังครูของผมเช่นเดียวกันครับ เนื่องด้วยผมจบมาทางสายศิลปกรรม...ผมยังจำคำพูดของท่านได้เสมอ ท่านกล่าวไว้ว่า (พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว) เป็นประโยคสั้นๆ ที่เป็นสัจธรรมข้อนึงของชีวิตเลยทีเดียวครับ สำหรับผม...(ขอกราบครูทางนี้เลยละกันนะครับ)

 

โดย: yosa 18 กันยายน 2552 11:49:53 น.  

 

สวัสดีค๊าคุณไฮกุ

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆๆ แบมได้ความรู้ขึ้นมาอีกเลยค่ะ

คุณไฮกุ สบายดีนะคะ

ช่วงนี้แบมว่างค่ะ ว่างก็เลยอัพบล๊อกค่ะ เดี๋ยวจะหายไปอีกแล้วค่ะ

อาทิตย์หน้าไปทำงานที่ waymouth อีกแล้วคะ่ พักที่นั่งหนึ่งคืนค่ะ เพราะสามีบอกว่าไม่อยากขับกลับ ทำงานให้เสร็จๆๆไปเลยค่ะ สองวัน

และที่ทำงานติดทะเลเลยค่ะ ก็เลยจะเตรียมตัวไปจับหอย จับปลา แถวนั้น หุหุ(แต่อากาศเริ่มหนาวแล้วค่ะ)

ปีนี้แบมคิดว่าน่าจะ หนาวกว่าปกติ


คิดถึงคุณไฮกุเสมอนะคะ

เทคแคร์ค่ะ

จุ๊บๆๆๆ


 

โดย: baam IP: 91.108.73.2 18 กันยายน 2552 16:28:01 น.  

 

ช่างน่าฉงนในความเป็นมนุษย์

เหมือนๆกัน..

คนหนึ่งกลับสร้างอะไรให้กับโลก

ตั้งมากมาย..


มีอะไรที่แตกต่าง

ระหว่างความเป็นมนุษย์นั้น?

ความเพียร จินตนาการ สติปัญญา

เหตุใดจึงมีความไม่เท่าเทียม?






 

โดย: ชายผู้หล่อเหลา..กว่าแย้นิดนึง.. (อสัญแดหวา ) 18 กันยายน 2552 22:04:39 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับคุณไฮกุ







 

โดย: กะว่าก๋า 19 กันยายน 2552 6:06:17 น.  

 



ดี.อ่านประวัติท่านมามากเลยค่ะ
เคยหวังจะอยู่ภายใต้ร่มเงา
แต่ความสามารถไม่พอ
แต่ความนับถือไม่คลายค่ะ




 

โดย: d__d (มัชชาร ) 19 กันยายน 2552 8:13:12 น.  

 

คุณก๋า...ท่านชอบเรียกนักเรียนว่า "นาย" ตลอด ฟังแล้วน่ารักดีค่ะ

เราก็ชอบงานของครูถวัลย์ค่ะ ฝีแปรงเฉียบขาดมาก เคยเห็นภาพวาดตัวจริงมาแล้วเหมือนกัน ท่านจัดนิทรรศการแสดงภาพที่กทม. เรายังแวะไปชมหลายรอบเลยค่ะ

ลูกศิษย์ครูอีกท่านที่เราชอบงานของท่านมากคือ ครูอังคาร กลัยาณพงศ์ ชอบทั้งงานเขียนและภาพวาด เจอหนังสือที่ท่านเขียนเป็นไม่ได้ ต้องซื้อเก็บหมด ลายไทยฝีมือครูก็สุดยอด มีเอกลักษณ์ มองปุ๊บก็รู้ว่าใครวาด

คุณใบไม้ต้องลม...

คุณวา...มาทีไรก็เอาบุญมาฝากทุกที คราวนี้ถักหมวกถวายพระด้วย ขออนุโมทนาบุญด้วยค่า

คุณป้ากุ๊กไก่...พอเห็นรูปแล้วยิ้มตามทันทีเลยค่ะ ขอบคุณที่แวะมาส่งยิ้มให้นะคะ

คุณIM...โห สุดยอดเลย มีใบปิดงานแสดงนิทรรศการครั้งแรกเก็บไว้ด้วย เก๋่ากึ๋กได้ใจมาก ขอบคุณที่เอามาฝากนะคะ

คุณyosa...คำพูดของท่านอีกประโยคนึงที่เป็นอมตะคือ "ชีวิตสั้นแต่ศิลปะยืนยาว" เป็นเรื่องที่จริงที่สุดเลยเนอะ

ที่จริงเราก็เป็นลูกศิษย์ของลูกศิษย์ท่านอีกทีเหมือนกันนะ ก็ครูอวบ สาณะเสนไง เคยเรียนวาดลายไทยกับท่านค่ะ ครูศิลป์เข้าใจลูกศิษย์ของท่านจริง ๆ ครูอวบเล่าไว้ในหนังสือว่า

."..ผมเรียนจบแล้ว ผมก็เข้าไปคุยกับอาจารย์แล้วโดนทักว่า
"นายรู้มากไป คนรู้มากเป็นศิลปินไม่ได้นาย"
"ทำไมอาจารย์? ผมจบมา ผมเป็นศิลปินไม่ได้ ทำไมครับ" ผมถาม ชักยัวะขึ้นมาเหมือนกัน
"รู้มากไป" ท่านตอบ "นายรู้มากไป คนรู้มากเป็นศิลปินไม่ได้นาย"
แล้วท่านก็ให้ผมสอนหนังสือ สอนคณะมัณฑณศิลป์ รู้มากก็ไม่ได้ ท่านไม่ให้เป็นศิลปปิน แล้วมันก็จริงอย่างท่านว่า รู้มากในเรื่อง Acadamic นี่มันปอด มันคิดมาก"

คุณแบม...ดีใจที่แวะมาเยี่ยมกันนะคะ พักนี้นาน ๆ จะเห็นคุณแบมว่างสักทีนึง เห็นลุยงานหนักแล้วเป็นห่วงสุขภาพค่ะ คุณแบมเริ่มว่าง เราก็ยุ่งพอดี ต้องแว่บหายสักพัก

แหมน่าอิจฉาเชียว ได้ทำงานไปชมวิวทะเลไป อากาศที่โน่นเริ่มหนาวแล้ว ระวังสุขภาพด้วยนะจ๊ะ

คุณแดหวา...ก็เป็นมนุษย์นี่นะ มีดีและไม่ดีปะปนกันไป ส่วนสำคัญนอกเหนือไปจากสามสิ่งที่คุณแดหวาพูดถึงนั่น เราว่ากรรมนี่แหละเป็นเครื่องกำหนดให้คนแตกต่างกันไป

คุณดี...เราก็นับถือท่านมากค่ะ ท่านไม่เพียงเป็นครูที่ยอดเยี่ยม แต่ถือได้ว่าเป็นปราชญ์ด้วย เพราะงั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมลูกศิษย์ของท่านถึงเป็นคนคุณภาพทั้งนั้น เป็นศิลปินแห่งชาติก็หลายท่านเลยค่ะ

 

โดย: haiku 19 กันยายน 2552 18:47:49 น.  

 

หวัดดีครับ มาเยี่ยมครับผม


++++++++++++++++++++

//www.agel-sense.com/html/products.html




p-dome@hotmail.com

 

โดย: 9domengi 28 กันยายน 2552 22:06:16 น.  

 

ขอบคุณคุณ9domengiที่แวะมาอ่านประวัติครูศิลป์นะคะ ดีใจที่ได้รู้จักกันค่ะ

 

โดย: haiku 29 กันยายน 2552 17:35:35 น.  

 

ถ้านายคิดถึงฉัน นายทำงาน
ระลึกถึงเสมอครับ

 

โดย: ตาพรานบุญ 29 กันยายน 2552 22:41:12 น.  

 

ขอบคุณคุณตาพรานบุญที่แวะมาอ่านบล๊อคนี้นะคะ

 

โดย: haiku 30 กันยายน 2552 19:36:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.