happy memories
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
25 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 

อุปกรณ์ที่ใช้วาดภาพต้นไผ่





ภาพจากเวบ //www.mountainearthstudio.com/html/portfolio.html


ชาวจีนได้กล่าวไว้ว่า “ในการที่จะให้งานออกมาดูดีได้นั้น คุณจะต้องเตรียมเครืองมือให้พร้อมเสียก่อน” สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า คุณภาพของเครื่องมือและลักษณะการใช้เครื่องมือมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานของคุณโดยตรง แล้วสะท้อนให้เห็นว่าพู่กันทู่ ๆ หมึกเรียบ ๆ และกระดาษธรรมดา ๆ ก็สามารถสร้างภาพวาดต้นไผ่ที่มีชีวิตชีวาและน่าสนใจได้อย่างไร พูดกันโดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบสำคัญ ๔ อย่างที่จำเป็นต้องใช้ในการวาดภาพต้นไผ่คือ พู่กัน หมึก กระดาษ และจานหินผสมหมึก จิตรกรจีนคิดว่าเครื่องมือเหล่านี้เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้ และเคารพเครืองมือในการวาดภาพเสมือน “สมบัติ ๔ อย่างในห้องเรียน” (เหวินฝังซื่อเป่า)

พู่กันจีน



ในศตวรรษที่ห้าก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการประดิษฐ์พู่กันจีนขึ้นสำหรับการเขียน (การประดิษฐ์ตัวอักษร) การวาดภาพในสมัยราชวงศ์ฉิงได้มีการพัฒนารูปแบบของพู่กันจีนจนเป็นอย่างที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ พู่กันจีนมีความละเอียดอ่อนและตอบสนองต่อความต้องการ เส้นและรอยพู่กันที่วาดลงไปนั้นสามารถเป็นไปตามความรู้สึกของจิตรกร



โดยพื้นฐานแล้ว พู่กันจีนมีอยู่ ๒ ชนิด พู่กันชนิดขนนิ่มและพู่กันชนิดขนแข็ง พู่กันมีหลายขนาดด้วยกัน โดยสามารถวาดเส้นที่มีความหนาไปจนถึงเส้นบาง และจากเส้นที่มีความอ่อนไหวจนถึงเส้นที่มีความมั่นคง จิตรกรจีนจะพูดถึงพู่กันของเขาในลักษณะที่มีความ “คม” “สม่ำเสมอ” และ “แข็งแรง”

คม (sharp) หมายถึงปลายพู่กัน ความสม่ำเสมอ (even) หมายถึงการลงขนพู่กัน การใช้พู่กันอย่างสบาย ๆ ความแข็งแรง (strong) หมายถึงขั้นตอนสุดท้ายของภาพวาดที่ปรากฏขึ้น

พู่กันมีส่วนประกอบ ๔ ส่วน ดังที่ได้แสดงไว้ในภาพบนคือ

ด้ามพู่กัน
โคนพู่กัน
ตัวพู่กัน
ปลายพู่กัน



หากขนของพู่กันมีความยาวหนึ่งนิ้วครึ่ง โคนพู่กันควรจะเข้าไปอยู่ในด้ามพู่กันหนึ่งนิ้ว และปล่อยให้ขนของพู่กันยาดของมาครึ่งนิ้วเพื่อใช้ในการวาดภาพ ดังนั้นปลายของพู่กันจะแข็งแรงและใช้งานได้ยาวนาน

ก่อนการใช้พู่กัน ให้นำพู่กันไปชุบน้ำเย็นสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งก่อนที่จะจุ่มลงในหมึก หลังจากการใช้งานแล้วให้ล้างหมึกออกจากพู่กันจนสะอาด โดยใช้น้ำเย็นและบีบให้แห้ง ท้ายสุด ให้วางพู่กันโดยให้ปลายพู่กันคว่ำลง ดังแสดงไว้ในภาพ




การเก็บพู่กันจีนที่ถูกต้อง-วิธีที่ผิด



ในการวาดภาพต้นไผ่ คุณจะใช้พู่กันเฉพาะอย่างกับงานที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปพู่กันชนิดขนแข็งใช้สำหรับการวาดเส้น ในขณะที่พู่กันขนนิ่มใช้สำหรับแต้มสี ถ้าพูดอีกอย่างหนึ่งคือการใช้พู่กันชินดขนแข็งสำหรับวาดจุดที่มีความแหลมคมเช่น เส้นของใบไม้ และใช้พู่กันนิ่มสำหรับวาดภาพที่ต้องการให้หมึกซึม จิตรกรชาวจีนได้แบ่งพู่กันออกดังนี้

พู่กันจีนมักจะถูกเรียกว่า “ปลายปากกา” (penheads) ซึ่งเป็นพู่กันชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในการประดิษฐ์ตัวอักษรของจีน (Calligraphy)

พู่กันชนิดขนนิ่ม
พู่กันทิ (Tih brush) เป็นพู่กันที่มีขนาดใหญ่ มีขนพู่กันยาวกว่าสองนิ้ว
พู่กันไป่หยุง (Pai – Yung brush) ทำด้วยขนพู่กันชนิดนุ่ม ผสมกับพู่กันที่แข็งกว่า พู่กันชนิดนี้มีทั้งขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก
พู่กันไป่เหวย (Pai – hwei bursh) มักจะใช้สำหรับวาดเส้น

พู่กันชนิดขนแข็ง
พู่กันทิ (Tih brush) เป็นพู่กันขนาดใหญ่ ทำด้วยขนพู่กันชนิดแข็ง
พู่กันกล้วยไม้และต้นไผ่ (Orchid – and – bamboo brush)
พู่กันประดิษฐ์ตัวอักษรและวาดภาพ (Calligraphy and painting bursh)
พู่กันเหวย และพู่กันถั่วแดง (Hwei brush and Red – bean bursh)

นักเรียนศิลปะที่วาดภาพต้นไผ่ ได้รับการแนะนำให้เตรียมพู่กันชนิดขนนุ่มหลาย ๆ ขนาด เพื่อใช้ในการวาดเส้นและแต้มสี และพู่กันชนิดขนแข็งหลายขนาดสำหรับการวาดภาพในรายละเอียด พู่กันจีนจะหมดสภาพหลังจากการใช้งานปลายพู่กันจะเริ่มทู่ แต่อย่าเพิ่งทิ้งไป พู่กันเก่า ๆ สามารถนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น เพื่อการระบายพื้นที่ๆมีบริเวณกว้าง การวาดจุดและการวาดเงา







หมึกจีนและจานหิมผสมหมึก


จานหมึกที่เราใช้อยู่ ซื้อมาจากเมืองจีน ทำด้วยหิน เอามาตั้งโชว์ก็สวยดี



ในการวาดภาพต้นไผ่หมึกมีส่วนสำคัญในกลุ่มจิตรกรชาวจีนถือว่าหมึกเป็นอุปกรณ์วาดภาพอย่างหนึ่ง หากคุณสามารถใช้โทนสีหมึกทั้งอ่อนและเข้มได้อย่างเหมาะสม จะทำให้หมึกมีความแตกต่างอย่างมาก มีคำพูดเก่า ๆ กล่าวว่า “หมึกมีเจ็ดสี” ซึ่งหมายความว่า หมึก สามารถให้สีต่าง ๆ ได้อย่างมากมายหมึก เป็นจิตวิญญาณในการวาดภาพของจีน และเมื่อหมึกถูกนำมาวาดภาพได้อย่างสวยงามแล้ว ภาพวาดย่อมจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างนานับปการ

หมึกจีนอยู่ในรูปของแท่งหมึกแห้ง ซึ่งมีด้วยการ ๓ ชนิด หมึกที่ทำมากจากเขม่าน้ำมันตั้งอิ๋ว เขม่ายางสน และเขม่าแลคเกอร์ หมึกที่ทำมาจากเขม่าน้ำมันตั้งอิ๋วมีคุณภาพดีที่สุดสำหรับการวาดภาพต้นไผ่ เนื่องจากมีความดำเป็นประกาย ร้านขายอุปกรณ์สำหรับงานศิลปะจะมีแท่งหมึกนี้จำหน่าย ให้เลือกชนิดที่เป็นผงละเอียดและผสมกาวเพียงเล็กน้อย มีสีดำสนิท นอกจากหมึกแท่งแล้ว ร้านจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับงานศิลปะสมัยใหม่มีหมึกน้ำจำหน่าย ซึ่งช่วยประหยัดเวลาในการบทเป็นอย่างมาก

สมมติว่าคุณกำลังจะใช้หมึกชนิดแท่ง ให้เตรียมการดังต่อไปนี้

นำเอาจานหินผสมหมึกและไว้ด้านหน้าตัวคุณ จานหมึกผสมหมึกเป็นหินเรียบเนื้อละเอียด ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีหลุมตื้น ๆ ด้านบนใส่น้ำเย็นสะอาดลงในหลุมจานหินโดยให้เปียกจนครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด จับแท่งหมึกในแนวดิ่งเพื่อให้ปลายแท่งหมึกอยู่บนด้านหินที่ฝน และหมุนแท่งหมึกไปรอบ ๆ เป็นรูปวงกลม ดังแสดงไว้ในภาพ (แต่ถ้าไม่ถนัดใช้หมึกแท่ง จะใช้หมึกแบบสำเร็จก็ได้ แนะนำหมึกของญี่ปุ่น คุณภาพจะดีกว่า)


วิธีใช้หมีกแท่ง-หมีกญี่ปุ่น


ใส่น้ำลงในหลุมจานหินไปเรื่อย ๆ จนคุณได้หมึกสำหรับใช้ในการวาดภาพ ให้บดหมึกใหม่ไว้ใช้ทุกครั้งที่คุณวาดภาพ ล้างจานหินให้สะอาดหลังจากการใช้งานแล้วเช็ดแห้ง สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากหมึกมีส่วนผสมกาวอยู่ด้วย เมื่อหมึกแห้งจะเป็นการยากที่จะล้างออก นอกจากนี้การผสมหมึกเก่ากับใหม่ จะทำให้สีที่ออกมาไม่สวยงาม และทำให้พู่กันเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

ความลับในการให้ได้สีหมึกที่สม่ำเสมอกัน คือให้ใส่น้ำเพียงหนึ่งช้อนลงในจานหินเท่านั้น แล้วบดด้วยแท่งหมึกจนได้หมึกที่มีสีเข้มและเหนียว แล้วจึงเติมน้ำลงไปอีกหนึ่งช้อนเล็กและบดอีกครั้งจนคุณได้คุณภาพของหมึกที่ต้องการในการวาดภาพ เมื่อคุณบดด้วยแท่งหมึก ให้บดช้า ๆ แล้วคุณจะได้หมึกที่มีคุณภาพดี ให้บดแท่งหมึกเบา ๆ เพื่อไม่ให้จานหินชำรุด และเก็บแท่งหมึกไว้ในกล่องระหว่างที่ไม่มีการใช้งานเพื่อไม่ให้แท่งหมึกแตก

เมื่อคุณะลายหมึกในน้ำแล้ว หมึกสามารถแบ่งได้เป็น ๕ น้ำหนักสี คือ สีถ่าน สีดำเข้ม สีดำ สีเทากลาง สีเท่าอ่อน

สีถ่านเป็นสีที่มีความเข้มมากและหนาเหมือนกับครีม ในการทำหมึกให้เป็นสีถ่านจะต้องฝนแท่งหมึกลงในน้ำบนจานหิน จนกระทั่งหมึกไม่ละลายอีกต่อไปแล้วปล่อยหมึกทิ้งไว้เช่นนั้นสักพักเพื่อให้ส่วนที่เป็นน้ำระเหยออกไป ในการทำหมึกให้เป็นสีดำเข้มนั้น ก็เพียงเติมน้ำลงไปในหมึกที่เป็นสีถ่านเล็กน้อย และเติมน้ำลงไปอีกเล็กน้อยเพื่อทำสีดำ เติมน้ำลงไปอีกเพื่อให้เป็นสีเทากลาง และเติมน้ำลงไปอีกหน่อยเพื่อให้เป็นสีเทาอ่อนซึ่งเป็นเพียงเงาบาง ๆ ของสีหมึกที่หลงเหลืออยู่เท่านั้น ภาพล่างแสดงน้ำหนักสีของสีดำที่แตกต่างกัน




คุณสามารถทดสอบโทนสีที่คุณทำออกมา โดยการใช้พู่กันแต้มหมึกเล็กน้อยแล้วป้ายฝีแปรงเร็ว ๆ ลงบนกระดาษ ใช้จานรองสะอาด ๆ (หรือจานหลุม) พร้อมกับน้ำเล็กน้อยแล้วนำพู่กันลงไปคนจนคุณได้โทนสีที่คุณต้องการ การเตรียมสีจึงเป็นอันเสร็จเรียบร้อย หลังจากการวาดภาพในแต่ละตอนให้ล้างจานหินผสมสี และผสมหมึกใหม่แต่ละครั้ง แล้วรักษาแท่งหมึกหมึกให้สะอาดโดยการล้างน้ำอยู่เสมอ ให้เก็บแท่งหมึกในที่มืด และไม่ควรแช่ทิ้งไว้หรือให้โดนน้ำ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว ควรมีกล่องไว้บรรจุแท่งหมึกเพื่อการเก็บรักษาที่ดี เนื่องจากหมึกแท่งที่ชื้นจะทำให้หมึกเป็นก้อนหยาบ ไม่สะดวกต่อการใช้งาน





กระดาษจีน



โดยพื้นฐานแล้ว การวาดภาพต้นไผ่โดยการใช้โทนสีของหมึกเหมือนกับการวาดภาพสีน้ำโดยใช้สีดำนั่นเอง ดังนั้นอาจจะต้องใช้กระดาษสำหรับสีน้ำ ในประเทศจีน (ร้านส่วนมากมีกระดาษนี้จำหน่าย) กระดาษสวน (Hsuen paper) เหมาะสำหรับการใช้งานที่สุด ไม่ว่าจะใช้กระดาษอะไรก็ตาม ให้ดูคุณภาพของกระดาษก่อนวาดภาพ เพื่อให้คุณทำงานได้อย่างไม่มีอุปสรรค กระดาษจะต้องแน่น แข็ง ไม่มีรอยเปื้อนและเหมาะสมที่จะใช้กับหมึก

กระดาษสวนมีอยู่ ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งดูดซึมหมึกได้ดีเมื่อวาดด้วยพู่กัน อีกชนิดหนึ่งลงสารส้มไว้จึงทำให้ไม่ดูดซึมหมึกและเหมาะสำหรับการวาดภาพที่ต้องใช้รายละเอียด นอกจากกระดาษแล้วในทางตะวันออกบางครั้งจิตรกรวาดภาพลงบนผ้าไหม ในการใช้ผ้าไหมเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว ผ้าไหมลิงบางชนิด (Thin “Ling” silk) ได้นำมาใช้ในการวาดภาพ โดยจะต้องลงสารส้มและแป้งเปียกก่อนที่จะน้ำมาใช้วาดภาพ

นอกจากกระดาษสวนแล้ว ยังมีการใช้กระดาษเหมียนในบางโอกาส (Mien paper) กระดาษชนิดหลังนี้ทำมาจากฝ้ายและสามารถดูดซึมน้ำได้เป็นอย่างดี และถือว่าเป็นกระดาษดิบ (Raw paper) ซึ่งในเมืองไทยเรียกกระดาษชนิดนี้ว่า “กระดาษสา” เมื่อกระดาษดิบได้รับการเคลือบด้วยยางสนและสารส้มก็จะเปลี่ยนเป็นกระดาษชนิดไม่ดูดซึม กระดาษดิบเหมาะที่จะใช้กับงานที่ต้องใช้ “ผิวกระดาษขรุขระ” เท่านั้น กระดาษสวนอย่างดีเรียกอีกอย่างว่ากระดาษข้าว เป็นกระดาษขนาดใหญ่ เช่น ขนาด ๔, ๕, ๖ ฟุต ต่อม้วน ดังนั้นจึงสามารถวาดภาพใหญ่ ๆ ได้ นอกจากนั้นยังมีเกรดที่แตกต่างกัน โดยใช้ชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เช่น กระดาษสวนเยนเหมียน กระดาษสวนยูเพน กระดาษสวนกังสองชั้น กระดาษสวนกังชั้นเดียว กระดาษสวนที่ได้มาจากต้มและตี กระดาษสารส้มซับเฉียน กระดาษสวนเต้าหู้ จิตรกรจีนจึงมีกระดาษมากมายให้เลือกเพื่อนำไปใช้งาน

ในการใช้หมึกกับกระดานั้น ให้พยายามใช้พู่กันวาดชั้นเดียว และให้พู่กันวาดอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้หมึกเลอะหรือซึมขยายออกบนกระดาษมากเกินไป

ใช้หมึกสีดำอ่อนวาดลงบนกระดาษก่อน และในขณะที่กระดาษยังเปียกอยู่ให้ลงหมึกสีถ่านและสีดำเข้ม เพื่อให้โครงสีรวม ๆ ของภาพก่อน ภาพวาดจะมองดูชุ่มชื้น สีหมึกที่ทับกันอยู่นั้นจะต้องระมัดระวังอย่างดี ห้ามวาดทับซ้ำแล้วซ้ำอีกบนกระดาษ จะทำให้กระดาษช้ำและรูปภาพจะดูเลอะไม่สะอาดสดใส




อุปกรณ์ทั้งหมดที่นักวาดภาพต้นไผ่ต้องใช้

๑.​ กระดาษสำหรับวาดภาพ
๒. พู่กันจีนหลายขนาด
๓. จานหิมผสมหมึก
๔. ถ้วยแบ่งน้ำ
๕. จานแบ่งโทนของหมึก
๖. ที่ทับกระดาษ
๗. ที่บรรจุหมึกแห้ง
๙. ที่พักพู่กัน




ข้อความในบล๊อคนี้นำมาจากหนังสือ "เส้นสายพู่กันจีน"
เรียบเรียงโดย ณัฐพัฒน์
พิมพ์ที่ สนพ.วาดศิลป์ พับลิชชิ่ง
บริษัทธนบรรณจัดจำหน่าย
ราคา ๑๑o บาท


บีจีจากเวบ chaparralgrafix.com
ไลน์จากคุณขุนพลน้อยโค่วจง


Free TextEditor





 

Create Date : 25 กรกฎาคม 2551
47 comments
Last Update : 1 มีนาคม 2555 19:35:31 น.
Counter : 14404 Pageviews.

 

อ้าว โดนเิจิมซะแล้วคุณนาย

ตอนนี้เราว่าจะจำตัวอักษรและคำศัพท์ให้ได้ก่อนอ่ะนะ หยุดพักเรื่องหัดเขียนไว้ก่อน (เรื่องของเรื่องคืออู้ )

วันวัน 24 ชม. หมดไปอย่างรวดเร็ว ฝึกอะไรได้นิดๆ หน่อยๆ ก็หมดวันซะแล้ว เฮ้อ

 

โดย: LEE (lyfah ) 25 กรกฎาคม 2551 14:27:16 น.  

 

อัพอีกแล้วเหรอฮ่ะ คุณไฮกุกลับมาคราวนี้ไฟแรงจังคงชาร์ตแบตเต็มที่ เด่วกลับมาอ่านใหม่ฮ๋ะ

 

โดย: pukpui IP: 125.27.167.17 25 กรกฎาคม 2551 15:43:39 น.  

 

ตามมารอชมผลสำเร็จด้วยใจจดจ่อ

 

โดย: มิตรรัก IP: 125.27.17.149 25 กรกฎาคม 2551 17:03:07 น.  

 

โอ้โห นี่ล่ะคะเป็นศิลปะขั้นสูงได้เหมือนกันนะค่ะ เพราะว่า
กว่าจะสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้สวยๆ และให้เรา
ได้เห็นกัน ก็ต้องเตรียมพร้อมกันก่อนเลยสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ
แล้วที่สำคัญก็คือ ต้องมาเรียนรู้วัสดุที่แตกต่างกันด้วย
เพราะว่ามันให้ผลที่แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน ..


กว่าจะวาดออกมาได้ เรียกว่าไม่ใช่ง่ายๆ เลยนะค่ะคุณไฮกุ
นับถือเลยค่ะ และแน่นอนว่าเวลาเห็นภาพแล้วก็จะคิดว่า
โห นี่ล่ะหนา ไม่ได้ทำกันได้ง่ายๆ เลยนะคะเนี่ย ... สุดยอดค่ะ

 

โดย: JewNid 25 กรกฎาคม 2551 19:32:38 น.  

 

มาเป็นเพื่อนกันม๊า


up date การ์ตูน,บทความ,คลิป เพิ่มรอยยิ้มและคลายเครียดทุ๊กวัน ปล เข้าครั้งแรกโหลดนานหน่อยน๊า ใจเย๊งๆ

ฮาขี้แตกจิงๆไม่ได้โกหก อิอิคลิกที่รูปได้เย้ย

 

โดย: พลังชีวิต 25 กรกฎาคม 2551 23:04:15 น.  

 

เยี่ยมยอด
รับคารวะจากข้าน้อยด้วย
ศิษย์พี่

 

โดย: ตาพรานบุญ 25 กรกฎาคม 2551 23:14:35 น.  

 

ย่องมาเก็บความรู้ของบล๊อกที่สนจะเรียบง่าย แต่มีสาระมากครับ

 

โดย: Insignia_Museum 25 กรกฎาคม 2551 23:46:12 น.  

 

มาเก็บความรู้ ยอดจังเลยครับ

 

โดย: แมท (everything on ) 26 กรกฎาคม 2551 11:52:00 น.  

 

ลี...ลบเม้นท์ที่เจิมไปแระ ไม่ค่อยชอบข้อความลูกโซ๋อ่ะ

ฟังแล้วงงเล็กๆ ตัวเองกะลังเรียนภาษาอะไรอยู่อ่ะ

คุณปุย...มีเวลาก็รีบอัพ เกิดไม่ว่างเดี๋ยวหายตัวยาวอีก บล๊อคนี้อัพง่ายเพราะข้อมูลเอามาจากหนังสือเล่มเดียว รูปประกอบในเล่มก็เยอะ จะเสียเวลาก็ตอนพิมพ์นี่แหละ บล๊อควาดต้นไผ่แต่ละบล๊อคคงจะยาวหน่อย ขออนุญาตใส่ข้อมูลแบบเต็มๆเพราะเป็นบล๊อค how to ถ้าขี้เกียจอ่านก็เม้าท์ถึงเรื่องอื่นก็ได้จ๊ะ

มิตรรัก...คงอีกนานกว่าจะสำมะเร็จฮ่ะ เพราะหลังๆนี่ไม่ได้ฝึกวาดเลย

คุณนิด...ใช่ค่ะ ถ้าได้วัสดุอุปกรณ์ที่ดี ผลงานที่ออกมาก็จะดีด้วย(ยิ่งคนวาดฝีมือดีด้วยละก็ยิ่งแหล่มเลย)

ตอนแรกที่เรียนเขียนพู่กันจีนก็ไม่คิดว่าอุปกรณ์การเขียนจะมีประวัติที่ลึกซึ้งแบบนี้ คำเรียกก็เพราะดีค่ะ “เหวินฝังซื่อเป่า”...“สมบัติสี่อย่างในห้องเรียน” ไม่เป็นแค่อุปกรณ์การเขียนธรรมดา ขอบอก ตั้งแต่เราเริ่มเรียนมา ไม่ว่าพู่กันที่ใช้แล้ว หรือกระดาษที่เขียนตัวอักษร จะขาดหรือยับยังไง ถ้าไม่มีใครขอไปก็จะเก็บไว้ ไม่มีทิ้งขว้างเลยค่ะ ไม่รู้ว่าคนอื่นเป็นไงนะ แต่เรารู้สึกว่าการให้ความเคารพอุปกรณ์เครื่องเขียนทำให้เขียนได้สวยขึ้นนะ

พลังชีวิต...ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ ยกนิ้วให้เลย อัพบล๊อคทุกวัน ไม่เหมือนเรา ชอบดองบล๊อคประจำ

ตาพรานบุญ...มิกล้า มิกล้า เพิ่งจะปะหน้ากันก็ยกให้เป็นศิษย์พี่ซะแหล่ว (โธ่เอ๋ยตู ขนาดเพื่อนใหม่ยังรู้เลยว่าตูถึงวัยอันควรแว้ววววว)

Insignia_Museum...ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ อิฉันเป็นพวกหาสาระมิค่อยได้เลยต้องทำบล๊อคมีสาระกลบเกลื่อนเป็นครั้งคราวฮ่ะ

คุณแมท...ยังมีเหลืออีกหลายบล๊อค ถ้าว่างก็แวะมาอ่านอีกนะคะ

 

โดย: haiku 27 กรกฎาคม 2551 5:54:16 น.  

 

อาทิตย์สุขสันต์ครับ
เห็นแล้วอยากหัดวาดภาพด้วยภู่กันจีน จังเลย

 

โดย: มิตรรัก IP: 222.123.118.157 27 กรกฎาคม 2551 10:10:53 น.  

 


สวัสดีตอนเช้าของ เนเธอร์แลนด์ นะจ้า



ฝากก้อนเมฆที่ลอยอยู่กลางฟ้า

ฝากนภาพื้นใหญ่แผ่ไพรสาร

ฝากไปบอกถึงเธอทุกวันวาน

ว่าตัวฉันเฝ้าคิดถึง-ห่วงใย เธอ



** ขอให้มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงนะจ้า **



คุณไฮคุ จอมแก่นจอมมากเลยอะ ภาพวาดต้นไผ่เนี่ย

 

โดย: จอมแก่นแสนซน 27 กรกฎาคม 2551 11:37:04 น.  

 

จานหมึกสวยจังเลยอ่ะไฮกุ..^0^

เพิ่งปกติเห็นแต่แบบธรรมดา

ปล. ตอนนี้อ่านการ์ตูนจีนไปได้เกินครึ่งละ คิดว่าจะลุยอ่านต่อให้จบแล้วค่อยกลับเข้ายุทธจักรบล๊อก...^^

 

โดย: ตุ้ง IP: 203.144.130.176 27 กรกฎาคม 2551 13:36:30 น.  

 

น่าทึ่งมากๆค่ะ

จานหมึกอาร์ทเหลือเกิน

ตอนเด็กเคยเรียนภาษาจีน

แล้วต้องเขียนพู่กันจีน

เวลาฝนหมึก มีกลิ่นตุตุ ติดจมูกด้วย อิอิ

 

โดย: หยุ่ยยุ้ย 27 กรกฎาคม 2551 16:07:18 น.  

 

รับเปิดสอนเขียนพู่กันภาจีนคับ

ติดต่อ 087-1197671

 

โดย: จางจงวู่ IP: 202.29.39.1 27 กรกฎาคม 2551 17:01:52 น.  

 

โอ้โหหหหหหห ทำไมมันเยอะแยะไปเหมดเลยอะ

haiku จำได้นี่เก่งมาเลยนะค่ะเนี่ย แถมเขียนก็สวยด้วย

 

โดย: ความเจ็บปวด 27 กรกฎาคม 2551 20:02:56 น.  

 

หม่อมป้ายอมรับมาเถอะว่าเปิดโรงเรียนสอนภาษาจีน

 

โดย: โจเซฟิน 28 กรกฎาคม 2551 9:47:34 น.  

 


ดีจังครับได้ความรู้เข้าสมอง
ขอบคุณครับผม

have a nicedayครับผม

 

โดย: mouse4006 28 กรกฎาคม 2551 13:47:17 น.  

 

แวะมาทักทายยามเช้าคะ
ไม่ได้เข้า blog มานานมากเลยคะ โทษทีที่ตอบช้านะจ๊ะ

โอ๊ะ อยากวาดเป็นบ้างจังเลยยย

 

โดย: a_mulika 29 กรกฎาคม 2551 9:03:54 น.  

 

ตุ้ง...เราก็มีจานหมึกแบบธรรมดา เป็นทรงสี่เหลี่ยมเรียบๆ อันที่เอามาโชว์นี่พ่อไปเที่ยวเมืองจีนแล้วซื้อมาให้ ลายไม่ละเอียดมากแต่แกะสวย ราคาก็ไม่แพงด้วยนะ ชอบตรงแผงคอ แต่ละเส้นแกะออกมาได้หวานดี ไม่รู้ว่าทำด้วยหินอะไรแต่ค่อนข้างหนัก จานหมึกยาวสักคืบนึง ลองชั่งดู หนักเกือบโลแน่ะ

ปล. อ่านการ์ตูนจบไวๆน้า ตุ้งหายไปแล้วเหงาจ๊ะ

คุณยุ้ย...จานหมึกของเราเป็นแบบธรรมดา ยังมีที่วิลิศมาหรากว่านี้อีกค่ะ เห็นแล้วอยากได้แต่แพงจัดเลยฮ่ะ เราก็มีหมึกแท่งแต่ไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่ ตั้งแต่เริ่มเรียนใช้แต่หมึกแบบสำเร็จรูป มันสะดวกดีน่ะ ตะก่อนใช้หมึกจากจีน เหล่าซือให้หมึกญี่ปุ่นมา ใช้แล้วติดใจเลยใช้มาตลอด เสียแต่ไม่มีขายในเมืองไทย ต้องไปซื้อที่ญี่ปุ่น ทีแรกก็นึกว่าคงแพงมากแต่ราคาถูกกว่าที่คิด รูปขวดหมึกที่เอามาโชว์ในบล็อค​ เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดค่ะ

จางจงวู่...ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยม อ่านเม้นท์แล้วงงเล็กๆฮ่ะ คุณจางจะเปิดสอนพู่กันจีนเหรอคะ

ความเจ็บปวด...อ๊ากกก ข้าพเจ้าไม่ได้จำหรอก หน่วยความจำบกพร่องฮ่ะ ข้อความทั้งหมดมาจากหนังสือที่อยู่ท้้ายบล๊อค นั่งพิมพ์ก๊ะมือเลยเชียว

โจลี่...ไปฟังใครเม้าท์มาล่ะเนี่ย ข่าวลือล้วนๆ แค่เปิดบล๊อคสอนอย่างเดียว แถมลอกจากหนังสือมาทั้งดุ้นอีกตะหาก

mouse...ไม่เห็นครูmouseซะนานเลย ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมกันค่ะ

มิตรรัก, จอมแก่น, a_mulika......ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะจ๊ะ

 

โดย: haiku 29 กรกฎาคม 2551 20:06:43 น.  

 

เรียนภาษาจีนตอนประถมค่ะ

พูกันจีนก็เลยไม่เขียนอีกเลย นานมากแล้วค่ะ

 

โดย: หยุ่ยยุ้ย IP: 58.9.30.55 29 กรกฎาคม 2551 22:06:55 น.  

 

อ้าว ก็นึกว่าจำได้แม่น อิอิ

เพราะเห็นเรียนและวาดออกมาได้สวยซะขนาดนั้น

แหม ๆ ถึงยังก็เก่งละค่ะคุณ haiku

 

โดย: ความเจ็บปวด 29 กรกฎาคม 2551 22:09:16 น.  

 


สวัสดีตอนสามทุ่มของ เนเธอร์แลนด์ นะจ้า



เอาดอกไม้มาฝากด้วยความคิดถึง

** มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงนะจ้า **

 

โดย: จอมแก่นแสนซน 30 กรกฎาคม 2551 2:14:01 น.  

 

สวัสดีครับคุณไฮกุ

มา่นั่งพักอยู่ในบล็อกนี้นานเลยครับ
นั่งอ่านทุกตัวอักษร
ถึงได้รู้ว่าผมนี่ช่างไม่ละเมียดละไมเอาซะเลย 555
ขนาดเก็บพู่กันก็ยังเก็บผิด หุหุหุ

ดีจังครับ
อ่านแล้วได้ความรู้มากมายมหาศาล
นี่ขนาดยังไม่ได้เข้าสู่ขั้นตอนการวาดนะครับ

แค่การเตรียมตัว เตรียมอุปกรณ์ก็แจ่มแล้วครับ


รับรองบล็อกกรุ๊ปนี
ผมไม่พลาดสักตอนแน่นนอนครับ











ภาพดอกไม้ผมถ่ายจากกาดหลวงตอนกลางคืนครับ
เป็นตลาดขายส่งดอกไม้เหมือนปากคลองตลาดครับ


พาหมิงหมิงมาคารวะครับ อิอิอิ

 

โดย: ก๋า เก็กเสียง (กะว่าก๋า ) 30 กรกฎาคม 2551 5:38:07 น.  

 

 

โดย: ก๋า เก็กเสียง (กะว่าก๋า ) 30 กรกฎาคม 2551 5:41:21 น.  

 

ต้นไผ่สวยดีจังเนาะ

ปล.มาเที่ยวรานัคปูร์กันเหอะ

 

โดย: ณ มน 30 กรกฎาคม 2551 11:28:40 น.  

 

ที่บ้านเคยมีพู่กันจีนกับจานหินผสมหมึกครับ เมื่อก่อนเตี่ยจะเอาไว้เขียนชื่อยาจีนหรืออะไรไม่รู้ลงบนห่อเครื่องยาจีนที่จัดให้คนมาซื้อ
ตอนนี้หาไม่เจอแล้ว

 

โดย: ลุงแอ๊ด 30 กรกฎาคม 2551 20:30:42 น.  

 

โอ้ขอบคุณค่ะ

เล็งมานานแล้วเรื่องพู่กันจีน แต่ไม่มีข้อมูลอะไรเลย

ได้ความรู้จากเจ๊กุ แองจีคงได้เริ่มสักทีละ

 

โดย: angy_11 31 กรกฎาคม 2551 10:45:47 น.  

 

ขอชื่นชมค่ะ
บล็อกนี้มีสาระจริงๆ
ถ้าใครคิดจะหัดเรื่องนี้ ที่นี่มีครบหมด
ยกเว้น"ฝีมือ" ที่แต่ละคนต้องหามาเอง

 

โดย: ป้ามด 31 กรกฎาคม 2551 15:14:10 น.  

 

แวะมาส่งเสียงคิดถึงก่อนไปนอนค่ะ
หลับฝันดีเน๊าะ

 

โดย: อุ้มสี 1 สิงหาคม 2551 1:55:24 น.  

 

แวะมาหลายครั้งละครับ
แต่เห็นว่ามีเนื้อหาเชิงวิชาการเลยไม่กล้าป่วน 555+

เอาเป็นว่าผมคิดถึงละกันนะครับ

 

โดย: พลทหารไรอัน 1 สิงหาคม 2551 14:31:06 น.  

 

อ่านการ์ตูนจบไปหลายวันแล้วหล่ะไฮกุ แต่เริ่มเสียดายว่าไม่น่าอ่านเลย เพราะกว่าจะออกต่อ สงสัยเราจะลืมเล่มที่อ่านไปก่อนหน้านี้อ่ะ

 

โดย: กวางตุ้งหวาน 1 สิงหาคม 2551 14:53:07 น.  

 

ไปเที่ยวกันจ้าไฮกุ


 

โดย: ณ มน 1 สิงหาคม 2551 17:45:58 น.  

 

คุณยุ้ย...เราเรียนภาษาจีนตอนอยู่มหาวิทยาลัยแน่ะ เรียนได้ช่วงนึงโรงเรียนปิดไป ตอนหลังมาเรียนที่OCAแล้วก็เรียนพู่กันจีนด้วย

ความเจ็บปวด...ถ้าตัวอักษรยังพอเขียนได้ แต่รูปนี่แค่ชอบเฉยๆยังวาดไม่เป็นเลยจ๊ะ

คุณก๋า...เป็นปลื้มที่ทำบล๊อคถูกใจคุณก๋านะคะ บล๊อคต่อไปจะบอกเทคนิคใช้พู่กันจีน ต่อจากนั้น พอเข้าบทวิธีวาดคุณก๋าจะยิ่งชอบกว่านี้เพราะรูปประกอบสวยแล้วก็เยอะด้วย

ม่ายน้อ คุณก๋าถล่มตัวเองอีกแล้ว ถ้าคุณก๋าไม่ละเมียดละไมคงแต่งบทกวีเพราะๆหรือวาดพู่่กันเดียวไม่ได้หรอก

ดูรูปดอกไม้ที่ถ่ายมาแล้วนึกว่าคุณก๋าลงมากทม.แล้วแวะไปถ่ายรูปที่ปากคลองซะอีก สีดอกไม้สดใสได้ใจเหลือเกิน

ขอบคุณสำหรับลิงค์กะรูปหลานนะคะ หลานของอิฉันแก้มยุ้ย ผิวใส น่ารักจริงๆ เห็นแล้วน่าหอมซะหลายๆฟอด ดูท่าเจ้าหนูหมิงยกกำลังสองจะหล่อกว่าพ่อแน่ๆ

แต่งไฮกุรับขวัญให้หลานชายค่า

Lunar lullaby
Softens the brightest star
In baby’s eyes.


เพลงกล่อมจันทรา
ทำให้ดาวสุกใสในตาเด็กน้อย
ดูอ่อนโยนนุ่มนวล

ณ มน...ขอบคุณที่แวะมาชวนแถมเอารูปงามๆมาฝากด้วย แล้วจะตามไปเที่ยวจ้า

ลุงแอ๊ด...แบบนี้แสดงว่าเราเป็นลูกจีนเหมือนกันซิคะ ตอนเด็กๆยังเห็นใบสั่งยาเขียนด้วยพู่กันจีนบ่อย เดี๋ยวนี้คงเขียนด้วยปากกาลูกลื่นหมดแล้วมั้ง

จี้...ถ้าจี้อยากวาดใบไผ่จีนล่ะก็มาถูกบล๊อคแล้ว ในหนังสือที่เอามาอัพบอกวิธีไว้ครบ ไว้มาอ่านตอนต่อไปน้า

ป้ามด...ขอบคุณคุณป้าที่แวะมาเยี่ยมนะคะ ชมซะนู๋เขิลลลล

คุณไรอัน...คุณพลตะหานม่ายต้องเกรงจายยยย บล๊อคไหนก็แวะมาป่วนได้ อิฉันไม่เกี่ยงน้ำหนักฮ่ะ

ตุ้ง...เหอ เหอ มารู้ตัวก็สายเสียแล้ว หลวมตัวอ่านไปตั้งเกือบร้อยเล่ม นี่แสดงว่าการ์ตูนเรื่องนี้สนุกจริงๆนะเนี่ย

ขอบคุณนัทกะคุณอุ้มที่แวะมาส่งความคิดถึงนะจ๊ะ

 

โดย: haiku 1 สิงหาคม 2551 20:24:40 น.  

 

ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป

เดี๋ยวก็เป็น อีกหน่อยต้องเป็นมืออาชีพ วาดรูปขาย อิอิ

ชอบรูปแนวต้นไผ่ของจีนแบบนี้เหมือนกันค่ะ

 

โดย: ความเจ็บปวด 1 สิงหาคม 2551 22:07:06 น.  

 

ขอบคุณคุณไฮกุ
สำหรับไฮกุ
อันเพราะพริ้ง

เพราะจริงๆครับ





ดอกที่เห็นในบล็อกคือดอกว่านนางคุ้มครับ

 

โดย: ก๋า เก็กเสียง (กะว่าก๋า ) 1 สิงหาคม 2551 22:41:01 น.  

 


สวัสดีตอนสี่ทุ่มของ เนเธอร์แลนด์ นะจ้า



เอาดอกไม้มาฝากด้วยความคิดถึง

** มีความสุขมากๆในวันหยุดพักผ่อนนะจ้า **

 

โดย: จอมแก่นแสนซน 2 สิงหาคม 2551 3:20:17 น.  

 

ตอนอยุ่ญี่ปุ่น ข้าเจ้านึกว่าเขียนอักษรด้วยพู่กันมันจะสอนอันนี้ด้วยอ่ะค่ะ แต่ป่าว อดเรียน..

อยากเรียนมั่งจัง เค้าไปเรียนที่ไหนเหรอค่ะ

 

โดย: midnite-angel 3 สิงหาคม 2551 11:05:45 น.  

 

ขอบคุณที่แวะมานะคะ

เราเรียนเขียนตัวอักษรอย่างเดียวค่ะ ถ้าจะเรียนวาดภาพต้องลงอีกคอร์ส เสียดายสถาบันเปิดสอนวาดภาพเราก็เลิกเรียนพอดี

ถ้าคุณอยากเรียนก็แนะนำสถาบันที่เราไปเรียนคือ OCA ตั้งอยู่ในรร.สีตะบุตร อยู่แถวบรรทัดทอง สอนเกี่ยวกับเรื่องจีนๆ ทั้งภาษา พู่กันจีน วาดภาพ ดนตรี บทกวี

ถ้าไงเข้าไปดูเวบของสถาบันก็ได้ค่ะ
//www.ocanihao.com/

 

โดย: haiku 3 สิงหาคม 2551 12:38:10 น.  

 

ปล. คุณmidnite-angelคะ เราแวะไปที่บล๊อคคุณแล้วแต่เสียดาย ไม่รู้ทำไมเม้นท์ไม่ได้

 

โดย: haiku 3 สิงหาคม 2551 12:39:06 น.  

 

ซื้อกระดาษสำหรับวาดภาพได้ที่ไหนคะ

 

โดย: nkk IP: 122.154.10.130 24 พฤศจิกายน 2551 12:16:53 น.  

 

ที่ร้านนานมีก็มีขายค่ะ แต่ราคาจะแพงหน่อย ราคาประมาณสามสิบห้าบาท(อาจจะขึ้นแล้วก็ได้ค่ะ) เราจะซื้อที่สถาบัน O.C.A. ที่เราเคยเรียนภาษาจีน โทรไปถามแล้วยังมีขายอยู่ ราคาแผ่นนึงยี่สิบห้าบาทค่ะ

ลป.สถาบันอยู่ในรร.สีตบุตรบำรุง แถวถนนบรรทัดทอง

 

โดย: haiku 24 พฤศจิกายน 2551 17:11:02 น.  

 

ภาพนี้สวยมากครับ

 

โดย: เมธา IP: 58.9.236.30 10 มกราคม 2552 19:11:28 น.  

 

ขอบคุณคุณเมธาที่แวะมาอ่านบล๊อคนี้นะคะ

 

โดย: haiku 12 มกราคม 2552 10:19:17 น.  

 

ชอบต้นไผ่มากเพราะเด็กเราเองก็ชื่อไผ่ด้วย ต้นไผ่มีความพิเศษนะ ถ้าเพื่อนคนไหนที่ยังไม่รู้ความพิเศษของต้นไผ่ละก็ ลองไปหาข้อมูลดูนะจ้ะ แล้วจะทำให้เพื่อนๆ ชื่นชอบต้นไผ่ขึ้นมาเลยทีเดียว

 

โดย: joylovepai IP: 202.149.25.241 23 กันยายน 2552 18:01:00 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณjoylovepai ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ เราก็ชอบต้นไผ่เหมือนกัน ยิ่งรูปวาดไผ่ของจีนแล้วยิ่งชอบมาก แต่วาดยากจัง

 

โดย: haiku 29 กันยายน 2552 17:23:55 น.  

 

คุณไฮกุ
จำกันได้มั๊ย เราอยากทราบว่าหนังสือ เส้นสายภู่กันจีนหาซื้อได้ที่ไหน บ.ธนบรรณอยู่ที่ไหนค่ะ ใช้อยู่ บรม ฯ 11 หรือปล่าว
คิดถึงคุณไฮกุนะ วันนี้ไม่มี ไฮกุมาฝากนะ


 

โดย: Yotaka IP: 58.11.30.230 17 มกราคม 2555 1:16:06 น.  

 

สวัสดีจ๊ะคุณโยทะกา ขอบคุณที่แวะมาหากันนะคะ

ลองเข้าเวบหาหนังสือดู เจอในเวบซีเอ็ด ชื่อหนังสือและคนเขียนเหมือนกัน น่าจะใช่เล่มเดียวกัน แต่รูปปกหนังสือไม่ขึ้น เล่มนึงร้อยยี่ิสิบ ลองเข้าไปดูในลิงค์นี้ได้เลยค่ะ se-ed.com

 

โดย: haiku 20 มกราคม 2555 21:14:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.