happy memories
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
7 ธันวาคม 2555
 
All Blogs
 

ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา ๒๕๕๕ (๒)




พระบรมสาทิสลักษณ์แบบกราฟฟิคงาม ๆ ฝีมือคุณ Tommy Korad
จาก เฟซบุคคุณ Tommy Korad



‪Love Eternally - for His Majesty King of Thailand, 2012‬ - Erwing









สยามนวมินทรกตัญชลี
๕ ธันวาคม ๒๕๕๕


กรองมาลัยพุทธรักษาปูชาพระบาท
"พ่อแห่งชาติ" พระเดชพระคุณอุ่นเกศา
กรองหญ้าแพรกดอกมะเขือเหนือศิรา
น้อมวันทา "บรมครู" ปูชนีย์


พระทรงครองทศธรรมธงนำชาติ
นำสุขสู่ประชาราษฎร์ชาติสุขี
แม้หนาวร้อนมิผ่อนพักสักนาที
คือวิถีพระทรงสอนนิกรไทย


พระเสโทท่วมพระพักตร์ประจักษ์โลก
ชาติไทยโชคภูมิบาลนานสมัย
เฉลิมพระชนม์ถวายชีวิตทั้งจิตใจ
ถวายชัยทรงสุขสันต์นิรันดร์เทอญ


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

ข้าพพระพุทธเจ้า คณะหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
ประยอม ซองทอง ร้อยกรองถวาย
นสพ.ไทยโพสต์ ๕ ธ.ค. ๒๕๕๕














๒๙. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ มีกำเนิดจากมหาวาตภัยภาคใต้ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอ ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕o๕ มีโรงเรียนหลายจังหวัดในภาคใต้ถูกพายุพัดพัง ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ และพระราชทานชื่อโรงเรียนเหล่านั้นว่า 'โรงเรียนราชประชานุเคราะห์' ซึ่งได้สร้างรุ่นแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕o๖ จำนวน ๑๒ แห่ง ปัจจุบันมีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ถึง ๔๓ แห่ง








ขณะทรงผนวช ทรงรับเครื่องราชบริขารจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี (พ.ศ. ๒๔๙๙)



๓o. ทรงผนวช ณ อุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศน์วิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยงคือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทุกเช้าทรงออกบิณฑบาตเช่นเดียวกันกับพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป จะมีราษฎรคอยใส่บาตรเป็นจำนวนมาก ระหว่างนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงสำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ





พระบรมฉายาลักษณ์จากเวบ flickr.com



๓๑. โปรดการสอนดนตรีให้แก่ข้าราชบริพารเช่นกัน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้มีพระราชดำริที่จะให้ผู้ที่ตามเสด็จฯ เช่น นายทหารราชองครักษ์และข้าราชบริพารอื่น ๆ ที่มีความสนใจจะเรียนดนตรีหาเครื่องดนตรีมาคนละชิ้น โดยทรงกำหนดให้ใช้เครื่องเป่า (ชนิดที่ไม่ใช้ลิ้น) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา เป็นต้น เป็นเครื่องฝึกหัด จัดเป็นรูปแตรวง (Brass Band) เช่นเดียวกับวงดนตรีของโรงเรียน และวงดนตรีของชาวบ้านที่ใช้ในงานบวชนาค วงดนตรีนี้ได้พระราชทานชื่อว่า 'วงดนตรีสหายพัฒนา' และมีเครื่องหมายประจำวงเป็นรูป 'กระต่ายเป่าทรอมโบน' ซึ่งทรงออกแบบโดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ผู้ได้ทรงพระกรุณารับเข้าเป็นลูกศิษย์ในวงดนตรีสหายพัฒนานี้ส่วนใหญ่มีอายุเกินวัยกลางคน และไม่เคยเรียนวิชาการดนตรีมาก่อน จึงอ่านโน้ตดนตรีไม่เป็นเลย แต่ทรงอุตสาหะคิดเทคนิคช่วยในการสอนจนกระทั่งพอเล่นได้อย่างไพเราะ






๓๒. มีพระราชดำรัสภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา คือ ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาเอก ภาษาเยอรมัน ละติน อังกฤษ ไทย ทั้งยังทรงเชี่ยวชาญภาษาบาลี สันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาฮินดูโบราณอีกด้วย เมื่อคร้งทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในต่างแดน จนเมื่อประทับเมืองไทยนานพอควรทรงหัดภาษาไทยเอง จึงทรงเชี่ยวชาญภาษาไทยเป็นอย่างดี โปรดการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องตามหลักไม่มีภาษาต่างประเทศปน นอกจากนั้นผู้เฒ่าวาเด็ง ปูเต๊ะ พระสหายแห่งสายบุรี ได้เล่าว่า พระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งกับเขาด้วยภาษายาวี






๓๓. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักเขียน ยามว่างพระองค์ทรงพระอักษรและทรงแปลบทความจากวารสารต่างประเทศ ทรงมีผลงานด้านวรรณกรรมและการแปลทั้งสิ้น ๑๗ เรื่อง จากการที่ทรงพระปรีชาสามารถในหลายภาษา ทำให้พระองค์เข้าพระราชหฤทัยในภาษาของผู้ประพันธ์ต้นฉบับอย่างลึกซึ้ง เป็นการแปลให้ผู้อ่านต่างวัฒนะรรมเข้าใจในเรื่องราวได้ มีอรรถรสแบบไทย แทรกพระอารมณ์ขันอย่างเหมาะสม โปรดเลือกสรรคำแปลก ๆ ทำให้พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีสีสันยิ่งขึ้น






๓๔. พระราชนิพนธ์เรื่องแรกใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นบันทึกพระราชานุกิจในรัชกาลที่ ๘ เป็นเรื่องราวราชากิจวัตรในรัชกาลที่ ๘ ทั้งกิจวัตรส่วนพระองค์ พระราชกิจ และพระราชานุกิจขณะเสด็จประพาสสถานที่ต่าง ๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในพระราชกุศล ๑oo วันพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ วันที่ ๒o กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งภาษาที่ทรงใช้จะเป็นภาษาที่สั้น กระชับ และได้ใจความชัดเจน






๓๕. บทความพระราชนิพนธ์เรื่อง 'เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์' เพื่อพระราชทานเป็นพิเศษแก่หนังสือวรรณคดี ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙o เป็นพระราชนิพนธ์รูปแบบบันทึกประจำวัน ตั้งแต่เสด็จฯ จากประเทศไทย เพื่อไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงก่อนเดินทางจากเมืองไทยไปยังตำหนักวิลลาวัฒนา คือ ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งพระราชนิพนธ์นี้้ ทรงพรรณนาความรู้สึกของพระองค์ขณะจากเมืองไทย สะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความผูกพัน และความห่วงใยในพสกนิกรของพระองค์ ประโยคหนึ่งในนั้นได้ทรงบรรยายความรู้สึกเมื่อได้ทรงขึ้นรถพระที่นั่ง แล้วมีราษฎรได้ตะโกนประโยคประวัติศาสตร์ ว่า

"ในหลวงอย่างทิ้งประชาชน"

ทำให้ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า

"ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้"





พระบรมฉายาลักษณ์จากเวบ thaisamkok.com



เป็นที่น่าประหลาดว่า ต่อมาอีกประมาณ ๒o ปี ทรงพบชายที่ร้องตะโกนทูลพระองค์ไม่ให้ทิ้งประชาชนนั้นเป็นพลทหาร และปัจจุบันเขาออกไปทำนานอยู่ในต่างจังหวัด เขากราบบังคมทูลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ไม่ทรงทิ้งราษฎร เขาทูลว่าตอนที่เขาร้องไปนั้น เขารู้สึกว้าเหว่และใจหายที่เห็นพระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จไปจากเมืองไทย กลัวจะไม่เสด็จกลับมาอีก เพราะคงจะทรงเข็ดเมืองไทย เห็นเป็นเมืองที่น่ากลัวสยดสยอง เขาดีใจมากที่ได้เฝ้าฯ อีก และกราบบังคมทูลว่า

"ท่านคงจำผมไม่ได้ ผมเป็นคนที่ร้องไม่ให้ท่านทิ้งประชาชน"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสตอบว่า

"นั่นแหละ ทำให้เรานึกถึงหน้าที่ จึงต้องกลับมา..."


150B ที่ว่าการอำเภอแม่สาย



๓๖. บทความที่ทรงแปลและเรียบเรียงจากนิตยสารต่างประเทศนั้นมีอยู่มากมาย ได้แก่

'ข่าวจากวิทยุเพื่อสันติภาพและความก้าวหน้า' จาก 'Radio Peace and Progress' ในนิตยสาร Intelligence Digest ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘

'การคืบหน้าของมาร์กซิสต์' จาก 'The Marxist Advance Special Brief'

'รายงานตามนดยบายของคอมมูนิสต์' จาก 'Following the Communist Line'

'ฝันร้ายไม่จำเป็นต้องเป็นจริง' จาก 'No Need for Apocalypse' ในนิตยสาร The Economist ฉบับลงวัันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘

'รายงานจากลอนดอน' จาก 'London Report' ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๘

'ประเทศจีนอยู่ยง' จาก 'Eternal China' ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘

'ทัศนะน่าอัศจรรย์จากชิลีหลังสมัยอาล์เลนเด' จาก 'Surprising views from a Post Allende Chile' ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ ๒o สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘

'เขาว่าอย่างนั้น เราก็ว่าอย่างนั้น' จาก 'Sauce for the Gander…' ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ ๒o สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘

'จีนแกง ตั้วเฮียค้ายาเสพติดแห่งโลก' จาก 'Red China Drug Pushers to the World' ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ ๒o สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘

'วีรบุรุษตามสมัยนิยม' จาก 'Fashion in Heroes' โดย George F. Will ในนิตยสาร Newsweek ฉบับลงวันที่ ๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒

'เศรษฐศาสตร์ตามนัยพระพุทธศาสนา บทที่ ๔' แปลจาก 'Small is Beautiful' โดย E.F.Schumacher หน้า๕๓ - ๖๓ นามปากกา เล็กดีรสโต เนื่องจากมีพระนามลำลองว่า 'เล็ก'





ภาพจากเวบ vcharkarn.com



๓๗. พระราชนิพนธ์แปลหนังสือเล่มแรกใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ 'ติโต' โดยแปลจากหนังสือ 'Tito' ของ Phylis Auty ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ทราบถึงบุคคลที่น่าสนใจคนหนึ่งของโลก ติโต ประธานาธิบดีของยูโกสลาเวีย เป็นผู้ที่ทำให้ประเทศยูโกสลาเวียซึ่งประกอบด้วยประชาชนจากหลากหลายเผ่า มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ สามารถรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นยามที่ประเทศชาติต้องพบกับภาวะวิกฤติ หนังสือติโตนี้ได้จัดพิมพ์เป็นเล่มและวางจำหน่ายใน พ.ศ. ๒๕๓๗ ทั้งนี้ ทรงประทับพระราชหฤทัย ในวีรกรรมของจอมพลติโตมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จนทรงตั้งชื่อแมวทรงเลี้ยงขณะประทับ ณ วิลลาวัฒนา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ว่า 'ติโต'






๓๘. 'ติโต' เป็นแมวตัวเดียวที่ทรงเลี้ยงใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเลี้ยงระหว่างประทับอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ มีสีน้ำตาลเข้ม และมีหูกับส่วนต่าง ๆ ออกสีเข้มกว่าตัว อกสีอ่อน ตาสีฟ้า เป็นแมวที่ชอบการท่องเที่ยว ชอบหนีเที่ยวไปข้างนอกแล้วเข้าพระตำหนักไม่ได้เป็นประจำ ทั้งยังช่างครวญครางคล้ายจะพูดได้เป็นที่สุด จะเห็นรูปของ 'ติโต' ได้ในพระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงพระราชนิพนธ์เพลงที่เปียโน





ภาพจากเวบ vcharkarn.com



๓๙. 'นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ' เป็นพระราชนิพนธ์แปลชิ้นที่สองของพระองค์ท่าน โดยทรงแปลจากหนังสือ 'A Man Called Intrepid' ของ William Stevenson ซึ่งตอนหลังวิลเลี่ยมคนนี้ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพระองค์ท่านคือ 'Revolutionary King' แต่หนังสือเล่มนี้โดนแบนในประเทศไทย ทรงเริ่มแปลหน้าแรกเมื่อ ๒o มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒o และทรงแปลหน้าสุดท้ายเมื่อ ​๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ แต่ได้นำมาจัดพิมพ์เพื่อวางจำหน่ายก่อนหนังสือติโตซึ่งทรงแปลเป็นเล่มแรก คือจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖





ภาพจากเวบ vcharkarn.com




ภาพประกอบฝีพระหัตถ์แสดงเส้นทางเดินเรือของพระมหาชนก



๔o. หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็พระมหาวีรวงศ์ แห่งวัดราชผาติการาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒o เรื่อง "พระมหาชนก" เสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยานในกรุงมิถิลา พระองค์สนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นคว้าเรื่องพระมาหชนกเพิ่มเติมในพระไตรปิฎก และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ และทรงแปลเป็นภาษาสันสกฤตอีกภาษาหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงพระอัฉริยภาพด้านวรรณศิลป์ของพระองค์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งพระองค์ทรงแปลสองภาษาในเล่มเดียวกัน และทรงเลือกใช้ภาษาโบราณ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อคงความขลังของเนื้อหาในบางตอน เนื่องจากเนื้อหาที่ค่อนข้างซับซ้อน จึงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ 'พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน' เพื่อให้เยาวชนได้มีโอกาสอ่านได้ง่ายขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒






๔๑. ใน 'พระมหาชนก' นอกจากการแปลแล้ว ยังแสดงพระอัจฉริยภาพด้านทัศนศิลป์ไว้ด้วย นั่นคือภาพประกอบฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ซึ่งทรงใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพแสดงเส้นทางเดินเรือของพระมหาชนก รวม ๔ ภาพ คือภาพวันที่ควรออกเดินทาง ภาพวันเดินทาง ภาพวันที่เรือล่ม และภาพพระมหาชนกทรงว่ายน้ำ แล้วยังมีภาพวาดประกอบของจิตรกรชื่อดัง ๘ คน คือ จินตนา เปี่ยมศิริ, ประหยัด พงษ์ดำ, พิชัย นิรัต์, ปรีชา เถาทอง, เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ปัญญา วิจินธนสาร, ธีระวัฒน์ คะนะมะ และเนติกร ชินโย





ภาพจากเวบ dbook2.com



๔๒ 'เรื่องทองแดง' เป็นเรื่องราวของสุนัขทรงเลี้ยง 'ทองแดง' พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ได้แฝงข้อคิดคติธรรมที่มีคุณค่า โดยเฉพาะความกตัญญูรู้คุณของทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ พ.ศ. ๒๕๔๕ และฉบับการ์ตูน ตอนแรกสำนักพิมพ์จะใช้คำว่า 'คุณทองแดง' ตามความนิยมของสื่อทั่วไป แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงได้ทรงท้วงว่า 'ทองแดง' เป็นสุนัข แม้ว่าจะเป็นสุนัขทรงเลี้ยงก็ตาม สุนัขทั้งหลายในพระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐานไม่มีคำนำหน้า เรียกชื่อกันเฉย ๆ มีพระราชกระแสว่า ทองแดงไม่ใช่คนที่เป็นนางสาว และได้รับพระราชทานตราจุลจอมเกล้าฯ มีคำนำหน้าเป็น 'คุณ' ดังนั้น ใช้คำว่า 'ทองแดง' เฉย ๆ จึงจะถูกต้อง






๔๓. เมื่อก่อนจะทรงเลี้ยงสุนัขพันธุ์ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่หลัง ๆ โปรดเลี้ยงสุนัขพันธุ์ไทย เคยทรงเลี้ยงลิงเผือกอยู่ตัวหนึ่ง เพราะมีคนเอามาทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อก่อนมีโรงเลี้ยงช้างเผือกคู่พระบารมีอยู่ในสวนจิตรลดา มีคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างต้นคู่พระบารมีช้างแรก แต่ปัจจบุันโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายช้างเผือกทั้งหมดไปยังต่างจังหวัด ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมเป็นธรรมชาติ และมีอาณาเขตกว้างขวาง พระอุปนิสัยรักสัตว์ทำให้พระราชโอรส-ธิดาทุกพระองค์ทรงรักสัตว์ไปด้วย โดยเฉพาะสุนัข





พระบรมฉายาลักษณ์จากเวบ play.kapook.com



๔๔. ทรงมีความสนพระราชหฤทัยในคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่สมัยคอมพิวเตอร์เข้ามาในประเทศไทยใหม่ ๆ ทรงเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและด้วยพระองค์เอง และดังที่กล่าวมาแล้วว่า ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทยคือ ภาษาบาลีและสันสกฤต จึงทรงนำพระปรีชาสามารถทั้งสองอย่างเข้ามาใช้ด้วยกัน

หลังจากที่ทรงพระราชนิพนธ์เพลงด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ไปได้สักระยะหนึ่ง พระองค์ก็สนพระราชหฤทัยในการออกแบบรูปแบบตัวอักษร หรือฟอนต์ (Font) โดยพระองค์ทรงศึกษาโปรแกรม 'Fontastic'

และทรงประดิษฐ์ฟอนต์ภาษาไทย คือ ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์ และฟอนต์ไทยอื่น ๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ยังทรงประดิษฐ์ฟอนต์ภาษาอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ฟอนต์ภาษาสันสกฤต ฟอนต์ภาษาเทวนาครี ซึ่งเป็นภาษาอินเดียโบราณ มีความยากในการออกแบบกว่าฟอนต์อื่น ๆ มาก และยังทรง 'ปรุง' บัตรอวยพรปีใหม่ที่ใช้อักษรไทยประดิษฐ์พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยมาโดยตลอด






๔๕. ในวันสิ้นปีของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพร เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ทุกสถานี นอกจากพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ 'พรปีใหม่' แล้ว ยังทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจ มาปรุงแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) พระราชทานพรปีใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงาน โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า 'กส. ๙' เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร ทรงระบุท้ายโทรพิมพ์ว่า "กส. ๙ ปรุ ส.ค.ส. พระราชทาน" ที่เป็นโทรพิมพ์เหล่านี้เร่ิมเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓o





สคส.พระราชทานจากเวบ manager.co.th



๕๖. เมื่อพระองค์ได้ทรงศึกษาคอมพิวเตอร์จนเชี่ยวชาญ จึงได้้ทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ ส.ค.ส.พระราชทาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วยพระองค์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ โดยทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โทรสาร (แฟกซ์) พระราชทานไปยังหน่วยงานต่าง ๆ เมื่อทรงเปลี่ยนกรรมวิธีในการผลิตส.ค.ส. พระราชทาน เป็นคอมพิวเตอร์ ตามด้วย วัน เดือน ปี ที่ทรงประดิษฐ์ ทรงใช้กราฟิกอย่างดีเยี่ยมและเปี่ยมด้วยพระอารมณ์ขัน สะท้อนจากเหตุการณ์บ้านเมือง ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบในรอบ ๑ ปีที่ผ่านมา ในปีต่อ ๆ มา หนังสือพิมพ์รายวันได้นำลงตีพิมพ์ในฉบับเช้าวันที่ ๑ มกราคม เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง

หลัง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ โปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นพระบรมฉายลักษณ์สี เติมคำว่า "พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร ผู้พิมพ์โฆษณา"







ข้อมูลจากนิตยสาร HELLO ฉบับวันที่ ๑ ธ.ค. ๒๕๕๔ และ ๒๙ พ.ย. ๒๕๕๕









CNN : Thailand King









คำบรรยายในคลิปเพลง Love Eternally

Luxury Super Vision

present

Our King Love Eternally

The Perfect Song for the Perfect King


ครั้งแรกที่คนไทยและคนทั้งโลกจะสัมผัสได้ ถึงความพิเศษของ "พ่อ"
ผ่านบทเพลงที่ถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อสะท้อนมุมมอง
และความประทับใจของคนต่างชาติที่มีต่อ "ในหลวง"


ควบคุมการทำงานและผลิตโดยศิลปินชั้นนำระดับโลก
Kipper Eldridge
เจ้าของผลงาน ๒ รางวัล Grammy Award และ ๑ รางวัล Emmy Award
ประพันธ์และขับร้องโดยศิลปินระดับคุณภาพ Ewing








Love Eternally : รักอันเป็นนิรันดร์


You have walked over all this land
You have touched every heart and hand
You have seen a greater plan
Given your all so that we can stand


You give rain from a cloudless sky
You give strength when you hear our cry
You have faith that we will try
To be the best so this nation can rise


A thousand choices but we choose one
Ten thousand voices that become one


One in Harmony all in Unity
Together we will give you Love Eternally
One in Harmony all in Unity
Together we will give you Love Eternally


In every heart and in every home
In every place you are the light and hope
You are the shelter and when the storm has gone
Our inspiration so that we can carry on


A thousand choices but we choose one
Ten thousand voices that become one


One in Harmony all in Unity
Together we will give you Love Eternally
One in Harmony all in Unity
Together we will give you Love Eternally


You are the father You are the soul
Making this Nation whole Together we give you
Love Eternally...


เนื้อเพลงจากเวบ serithai.net








บีจีจากคุณลัคกี้ ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ thattron


Free TextEditor





 

Create Date : 07 ธันวาคม 2555
7 comments
Last Update : 12 สิงหาคม 2558 8:49:53 น.
Counter : 13928 Pageviews.

 

ขอบคุณเพื่อนบล็อกทุกท่านที่แวะมาถวายพระพรในหลวงด้วยกันในบล็อกที่แล้ว และที่โหวตให้ด้วยนะคะ ที่จริงบล็อกนี้ไม่ต้องโหวตให้ก็ได้ ตั้งใจเขียนถวายในหลวง แล้วไม่แน่ใจว่าจะเข้ากับหมวดไหนดี

พยายามอัพบล็อกให้จบทั้งสามตอนภายในอาทิตย์นี้ กำลังปั่นบล็อกภาคจบอยู่ ไม่มีเวลาตอบเม้นท์ ขออนุญาตตามไปตอบที่บล็อกเพื่อน ๆ แทนละกันนะคะ

 

โดย: haiku 7 ธันวาคม 2555 22:22:49 น.  

 

ทรงพระเจริญ

 

โดย: แม่น้องกะบูน 7 ธันวาคม 2555 23:16:28 น.  

 

เช้านี้เข้าไปอ่าน ฑีฆายุโก โหตุ มหาราชา ๒๕๕๕ ตอนที่ 1 ค่ะคุณไฮกุ
เอิงดูคลิปวิดีโออยู่นานมากๆ คลิปนี้ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนจริงๆ
ได้ฟังในหลวงให้สัมภาษณ์นักข่าวเป็นภาษาอังกฤษ หาชมและฟังไม่ได้ง่ายๆ เลย
ต้องเรียกคุณสามีมานั่งฟังด้วยเพราะเค้าก็อยากรู้จักพระองค์ท่าน

ขอมาคอมเมนต์รวมกันในตอนที่ 2 นะคะ
บล็อกนี้ได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์หลายแบบ ทั้งงานเขียน งานแปล
รวมถึงบทเพลงต่างๆ ที่คนไทยหลายคนชื่นชม
เพลง ‪Love Eternally ทั้งเนื้อร้องและความหมายเพราะมากๆ
ต้องขอบคุณคุณไฮกุที่นำทั้งภาพ เพลง บทความเต็มๆ มาฝากกัน

ในอิตาลี ข่าวทีวีมีภาพจากสนามหลวงในคืนวันที่ 5 ธันวาคม
อลังการงานสร้าง ผู้สื่อข่าวทั่วโลกให้ความสนใจ เห็นแล้วดีใจและภูมิใจลึกๆ ที่เรามีกษัตริย์อย่างในหลวงท่าน
อยากให้เด็กรุ่นใหม่ได้ศึกษาเรียนรู้เหมือนพวกเราได้รู้จักนะคะ

ส่วนตลาดนัดคริสมาส ตอนนี้ในอิตาลีคึกคัก
ถ้ามีโอกาสจะนำภาพอัพเดทมาให้ชมอีกแน่นอนค่ะ

 

โดย: diamondsky 8 ธันวาคม 2555 0:19:29 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับคุณไฮกุ

สำหรับพระองค์
ต้องทรงใช้คำว่า "ทรงพระอัจฉริยภาพ" จริงๆครับ







 

โดย: กะว่าก๋า 8 ธันวาคม 2555 5:52:14 น.  

 

มาลงชื่ออ่านเรื่องราวดีดี พร้อมโหวตให้คุณไฮกุค่ะ

 

โดย: sawkitty 8 ธันวาคม 2555 15:14:46 น.  

 

มาติดตามต่อจากบล๊อคที่แล้ว
ค่ะคุณไฮกุ ดูแล้วก็ซาบซึ้งใน
พระอัจฉริยภาพของพระองค์ค่ะ
พระบรมสาทิสลักษณ์แบบกราฟฟิค
งดงามมากเลยค่ะ

 

โดย: AppleWi 8 ธันวาคม 2555 23:40:07 น.  

 

หลายๆ เรื่องที่ได้อ่าน ทำให้ผมนึกถึงอีกหลายๆ เรื่องที่ได้อ่านมาก่อนหน้า

ผมจำได้ว่าเคยมีเพื่อนในพันทิปเอาหนังสือเล่มหนึ่งมาแนะนำ เป็นเรื่องเกี่ยวกับในหลวง ซึ่งอ่านแล้วเห็นถึงแนวคิดต่างๆ ที่น่าสนใจ น่าเสียดายที่เวลาผ่านไปนาน ไม่สามารถหาซื้อหนังสือเล่มนั้นได้ แถมตอนนี้ลืมชื่อหนังสือเล่มนั้นไปแล้วเสียอีก

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 18 ธันวาคม 2555 0:20:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.