happy memories
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2562
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
6 ตุลาคม 2562
 
All Blogs
 

อำลา-อาลัย ดอริส เดย์ (๒)





All the best of Doris Day




กลับมาแล้วจ้า ขออำภัยอย่างแรงที่หายศีรษะนานไปหน่อย ที่จริงงานยังไม่ซาเท่าไหร่แต่อยากอัพบล็อกเต็มแก่ ดีที่ร่างบล็อกนี้ไว้ก่อนลากิจ เขียนเปิดหัวบล็อกนิดนึงก็อัพได้เลย ขออำลา-อาลัยป้าเดย์อีกรอบ รอบแรกทั้งรูปและเรื่องค้นมาจากหลายเวบ ส่วนข้อมูลบล็อกนี้มาจากข้อเขียนของ คุณดำรัส โรจนพิเชฐ ในนสพ.แทบลอยด์ไทยโพสต์ เป็นแฟนคอลัมน์ของท่าน อ่านแล้วได้รู้เรื่องวงการเพลงและนักแสดงฝรั่งรุ่นก่า ๆ แบบลงลึกในรายละเอียด ตอนที่ป้าเดย์เสียชีวิตก็คิดว่าคุณดำรัสต้องเขียนถึงแน่ ๆ แต่ผ่านไปเป็นเดือนก็ยังไม่ได้อ่านสักที เลยไปหาข้อมูลอัพบล็อกเอง อีกสักพักใหญ่ ๆ ก็ได้อ่านสมใจ ยังไงก็ขออนุญาตคุณดำรัสนำข้อเขียนทั้งหมดมาลงบล็อก อัพบล็อกไปก็คิดถึงคุณป้าไป ถึงตอนนี้ก็ยังคิดถึงหน้าสวย ๆ เสียงหวาน ๆ และผลงานการแสดงของท่านอยู่ และผู้หญิงที่ชื่อ ดอริส เดย์ จะอยู่ในใจบล็อกเกอร์ชื่อไฮกุไปอีกนานแสนนาน ขอดวงวิญญาณ คุณป้าดอริส เดย์ ไปสู่สุขคติในสัมปรายภพ และขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวคุณป้าด้วยค่ะ


บล็อกไว้อาลัยป้าเดย์บล็อกแรก
อำลา-อาลัย ดอริส เดย์








สิ่งแรกเมื่อพูดถึง ดอริส เดย์ (Doris Day) สำหรับคนอเมริกันที่โตเป็นหนุ่มสาวในยุค 60s พวกเขามักนึกถึงภาพยนตร์ที่เธอแสดงคู่กับ ร็อก ฮัดสัน อย่างเช่น Pillow Talk, Love come back ในเรื่องเธอรับบทผู้หญิงทำงาน เธอรักความเสมอภาค ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับผู้ชาย แต่ลึก ๆ แล้วเธอเป็นคนน่ารัก นุ่มนวล มีเสน่ห์ ผู้ชายหลงใหล จนหลายคนเรียกเธอว่า The Girl Next Door ก่อนหน้านั้นในยุค 50s และเรื่อยมาถึงยุค 70s เธอเป็นนักร้องเสียงใส ฟังชัด มีผลงานเพลงติดชาร์ตมากมาย อย่างเช่น Secret Love, If I give my heart to you, Que Sera Sera (Whatever will be will be) เพลงของเธอยังคงความอมตะมาจนถึงทุกวันนี้







ดอริส เดย์ มีชื่อเดิมว่า ดอริส ฟอน แคปเปิลคอฟฟ์ (Doris Von Kappelhoff) ครอบครัวเชื้อสายเยอรมัน เธอเกิดเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๑๙๒๔ ที่เมืองซินซินเนติ รัฐโอไฮโอ พ่อเป็นครูสอนดนตรี พออายุ ๘ ขวบพ่อกับแม่แยกทางกัน เธอมาอยู่กับแม่ แม่ตั้งใจจะให้เธอทำงานเป็นนักเต้นบัลเลย์ตอนโต แต่เธอประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่ออายุ ๑๕ ปี แม่เลยเลิกล้มความตั้งใจนี้ แต่มาคิดถึงช่วงที่ดอริสได้รับเชิญไปร้องเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุคู่กับ เอลลา ฟิตซ์เจอรัลด์ แม่จำได้ดีถึงเสียงร้องอันอ่อนหวานแฝงด้วยพลัง คิดว่าอนาคตทำงานเป็นนักร้องจะดีกว่า จากนั้นแม่จ้างโค้ชสอนร้องเพลงมาฝึกฝนเธอจนเข้าที่ จากนั้นในปี ๑๙๓๙ ดอริสเข้าทำงานเป็นนักร้องวงบาร์นี แรปป์ (Barney Rapp) และที่นี่เธอเปลี่ยนนามสกุลเป็น เดย์ เพื่อให้สะดวกต่อการเรียกขาน ฟังดูเป็นนักร้องอาชีพ







อาชีพนักร้องในวงทำให้เธอต้องเดินทางไปต่างเมืองกับวงอยู่เสมอ เธอพบรักและแต่งงานกับ อัล จอร์แดน นักทรอมโบนในวง สามีเป็นคนขี้หึง ทั้งสองอยู่กันไม่ยือ ท้ายสุดแยกทางกันในปี ๑๙๔๓ ไม่นานนักเธอเปลี่ยนมาอยู่กับวงเลส บราวน์ (Les Brown and His Band of Renown) ในปี ๑๙๔๕ ช่วงที่สงครามโลกยุติลงใหม่ ๆ เลส บราวน์ บันทึกเสียงเพลง Sentimental Journey โดยมี ดอริส เดย์ ร้องนำ บรรยากาศผู้คนโหยหาความทรงจำช่ววสงคราม ประกอบกับเสียงร้องฟังเคลิบเคลิ้มของเธอ ทำให้ Sentimental Journey กลายเป็นเพลงฮิต สังกัดโคลัมเบียอ้าแขนเซ็นสัญญากับ ดอริส เดย์ เข้ามาอยู่ในสังกัด เธอออกซิงเกิลแผ่น 78 rpm หลายแผ่น ดอริส เดย์ แต่งงานครั้งที่สองกับนักแซ็กโซโฟน จอร์จ เวย์ดเลอร์ (George Weidler) ท้ายสุดแยกทางกันในปี ๑๙๔๙







โชคเริ่มเข้าข้าง ดอริส เดย์ ในปี ๑๙๔๘ เมื่อ เบตตี ฮัตตัน ดารา นักร้องซึ่งถูกเลือกให้มาแสดงภาพยนตร์เรื่อง Romance on the High Seas กับโรงถ่ายวอร์เนอร์บราเธอร์ส แต่เธอปฏิเสธเพราะต้องท้อง ดอริส เดย์ ถูกนำมาเทสต์หน้ากล้องทดสอบให้ร้องเพลง Embraceable You ของ จอร์จ เกอร์ชวิน เธอสอบผ่านได้แสดง ในเรื่องเธอขับร้องอยู่ ๓ เพลง แต่งโดย แซมมี คาห์น (ทำนอง) คำร้องโดย จูลี สไตน์ เพลง It’s Magic, It’s You or None, I’m in Love ภาพยนตร์ทำรายได้งาม อีกทั้งทำให้ผู้คนรู้จักตัว ดอริส เดย์ มากขึ้น โรงถ่ายวอร์เนอร์ตัดสินใจเซ็นสัญญาต่อกับเธอ มีคิวแสดงภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง เริ่มจาก My Dream is You (1949), Tea for Two (1950), Lullaby of Broadway (1951), และ April in Paris (1952) ไตเติลภาพยนตร์เป็นชื่อเพลงฮิตที่เธอขับร้องทั้งสิ้น







ปี ๑๙๕๑ ดอริส เดย์ แสดงภาพยนตร์คู่กับดารา นักร้องเสียงแบริโทน กอร์ดอน แมคเครย์ (Gordon MacRae) สองเรื่อง ได้แก่ On Moonlight Bay (1951), By the Light of Sivery Moon (1953) เธอแสดงคู่กับ แฟรงก์ ซิเนตรา ในเรื่อง Young at Heart (1954) ซึ่งประจวบกับช่วงปลายสงครามเกาหลี บรรดาทหารผ่านศึกต่างโหวต ดอริส เดย์ เป็นขวัญใจเหล่าทหารหาญ







นอกจากภาพยนตร์เพลงแล้ว ดอริส เดย์ ยังแสดงภาพยนตร์ชีวิตหลายเรื่อง อาทิ Young Man with a Horn (1950) ในบทแฟนสาวนักทรัมเป็ตซึ่งแสดงโดย เคร์ก ดักลัส บทน้องสาว ยินเยอร์ โรเจอร์ส ใน Storm Warning (1951) เรื่องราวคดีฆาตกรรมคนเหยียดผิวลัทธิคลูคลักซ์แคลน บทภรรยานักเบสบอลแสดงโดย โรนัลด์ รีแกน ในเรื่อง The Winning Team (1952) บทรูธ เอทธิง นักร้องเพลงเศร้าในเรื่อง Love Me of Leave Me (1953)







ปี ๑๙๕๓ ดอริส เดย์ พบรักและแต่งงานกับ มาร์ตี เมลเชอร์ (Marty Melcher) แมวมองดาราและผู้จัดการส่วนตัวคณะ The Andrew Sisters สามี ฟอร์มบริษัทสร้างภาพยนตร์ Arwin Productions ในปี ๑๙๕๒ หลายเรื่อง ดอริส เดย์ แสดงนำ อย่างเช่น Calamity Jane (1953) ซึ่งเพลงประกอบในเรื่อง Secret Love ได้รับรางวัลเพลงประกอบภาพยตร์ยอดเยี่ยม The Pajama Game (1957) ดัดแปลงจากภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน เล่าถึงหญิงสหาภาพหัวใจกระดูกเหล็ก จากนั้นเธอเปลี่ยนมาแสดงหนังเข่ยาขวัญให้ผู้กำกับ อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก เรื่อง The Man Who Knew Too Much (1956) คู่กับ เจมส์ สจ๊วต เพลงเอกในเรื่องได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ได้แก่ Que Sera Sera (Whatever Will Be Will Be)







ดอริส เดย์ จัดเป็นดาราหญิงทำเงินสูงสุดคนหนึ่งในฮอลลีวูดยุคต้น 60s เธอได้รับค่าตัวสูง โดยเฉพาะหนังที่ถ่ายทำกับโรงถ่ายยูนิเวอร์แซล แสดงคู่กับ ร็อก ฮัดสัน อย่างเช่นเรื่อง Pillow Talk (1959), Love Come Back (1961), Send Me No Flower (1964) เธอแสดงคู่กับ แครี แกรนท์ ในเรื่อง The Touch of Mink (1962) แสดงคู่กับ เจมส์ การ์เนอร์ ในเรื่อง Move Over Darling (1961) แสดงคู่กับ ร็อด เทย์เลอร์ ในเรื่อง The Glass Bottom Boat (1966) และแสดงคู่กับ ริชาร์ด แฮริส ในเรื่อง Caprice (1967)







หลังจาก มาร์ตี เมลเลอร์ เสียชีวิตในปี ๑๙๖๘ ดอริส เดย์ พบว่าอดีตสามีทุจริต นำเงินรายได้ของเธอไปใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร เธอเกิดอาการทางประสาท ต้องเข้าบำบัดรักษาอยู่พักใหญ่ จากนั้นเธอกลับมาทำงานเป็นพิธีการรายการวาไรตี้โชว์ทางโทรทัศน์ชื่อ The Doris Day Show อยู่ ๔ ปี ในปี ๑๙๗๔ ศาลตัดสินให้ทนายที่ร่วมมือกับสามีทุจริตยักยอกเงินรายได้ของเธอ จ่ายค่าเสียหายให้เป็นเงิน ๒๒ ล้านเหรียญฯ เธอพบรักและแต่งงานอีกครั้งกับ แบรรี คอมเดน ในปี ๑๙๗๖ สุดท้ายแยกทางกันในปี ๑๙๘๒ เหตุผลที่สามีให้การต่อศาลเป็นเพราะ ดอริส เดย์ ให้ความสนใจกับสัตว์เลี้ยงของเธอมากกว่าตน







บั้นปลายชีวิต ดอริส เดย์ ย้ายไปอยู่เมืองคาร์เมล แคลิฟอร์เนีย เธอตั้งมูลนิธิสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยง (Doris Day Animal Foundation) ดูแลสุนัข แมวจรจัดที่ป่วยและพิการ ไร้ที่พักพิง อัลบั้มชุดสุดท้ายของเธอชื่อ My Heart ออกมาในปี ๒๐๑๑ เป็นอัลบั้มรวมเพลงที่เธอบันทึกเสียงไว้ในอดีต แต่ถูกเพิกเฉย แช่อยู่บนหิ้ง ดอริส เดย์ เสียชีวิตด้วยโรคชราที่บ้านพักเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ขณะที่มีอายุ ๙๕ ปี















ข้อมูลจากบทความของ คุณดำรัส โรจนพิเชฐ (dumrasfilm@Yahoo)
นสพ.แทบลอยด์ไทยโพสต์ ๒๑-๒๗ ก.ค. ๒๕๖๒











บีจีจาก xmple.com กรอบจากคุณ Hawaii_Havaii ไลน์จากคุณญามี่

Free TextEditor





 

Create Date : 06 ตุลาคม 2562
0 comments
Last Update : 6 ตุลาคม 2562 22:54:35 น.
Counter : 3527 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณวลีลักษณา, คุณtoor36, คุณRananrin, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณกะว่าก๋า, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณหอมกร, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณInsignia_Museum, คุณRinsa Yoyolive, คุณเรียวรุ้ง, คุณSweet_pills, คุณเริงฤดีนะ, คุณThe Kop Civil, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณmcayenne94, คุณสองแผ่นดิน, คุณALDI, คุณSai Eeuu, คุณnewyorknurse, คุณJinnyTent, คุณก้นกะลา, คุณอุ้มสี, คุณปรศุราม, คุณผีเสื้อยิปซี, คุณชีริว, คุณtuk-tuk@korat


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.